Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
เป็นการขับของเสียออกจากร่างกายหากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้
ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสมของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้นย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ (Age)
ในเด็กเล็ก ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุตั้งแต่ 24-30 เดือนขึ้นไป
ในผู้สูงอายุมักจะมีปัญหา กล้ามเนื้อหูรูดหย่อนยานความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ปัญหาการขับถ่ายอุจจาระจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยอื่น
ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake)
อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ที่มีกากใยมาก จะช่วยทำให้อุจจาระสามารถขับเคลื่อนได้ดีกว่าอาหารที่กากใยน้อย
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
น้ำจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้อุจจาระมีลักษณะ นุ่มพอดี ไม่แห้งแข็งเกินไป ทำให้อุจจาระอ่อนตัว
การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body movement)
การเคลื่อนไหวของร่างกาย จะช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
ผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวได้น้อย หรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหวจะทำให้การทำงานของลำไส้ลดลง
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องการถ่ายอุจจาระ อุจจาระมักจะแข็งเป็นก้อนหรืออาจเกิดท้องผูกได้
อารมณ์ (Emotion)
เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด หรือวิตกกังวลเป็นต้นจะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน และการทำงานของระบบประสาทSympatheticมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
อารมณ์ของบุคคลจะมีผลกระทบต่อการทำงานของลำไส้
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits )
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร น้ำ รวมทั้งการออกกำลังกาย และการพักผ่อน อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระได้
ควรมีการฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือเมื่อรู้สึกอยากถ่ายให้รีบไปถ่าย หากมีการกลั้นอุจจาระไว้จะทำให้เกิดท้องผูกได้
ความเหมาะสม(Opportunity)
สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่าย สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือห้องน้ำไม่สะอาดส่งผลให้บุคคลไม่อยากถ่ายอุจจาระจึงกลั้นอุจจาระ และทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
ยา(Medication)
อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดินอาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
การตั้งครรภ์(Pregnancy)
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมดลงก็ขยายตัวโตด้วย ทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลาย
อาการปวด (Pain)
โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) การผ่าตัดส่วนลำไส้ตรง (Rectal surgery) และการผ่าตัดหน้าท้อง (Abdominal surgery)
เมื่อมีอาการปวดถ่ายอุจจาระผู้ปุวยจะไม่ยอมเบ่งถ่ายอุจจาระเพราะกลัวเจ็บทำให้อั้นอุจจาระไว้ จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกตามมา
การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery andAnesthesia)การดมยาสลบชนิดทั่วไป (General anesthesia: GA)
เป็นสาเหตุของการเกิดPeristalsisลดลง และขณะทำการผ่าตัดจะไปกระทบกระเทือนการทำงานของลำไส้
ทำให้เกิด Peristalsis ลดลงชั่วคราวเรียกว่า “Paralytic ileus”อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือหลายวันในการกลับคืนสู่การทำงานปกติ
การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
การตรวจวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินอาหารส่งผลรบกวนการท างานของลำไส้ชั่วคราว ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำให้ลำไส้สะอาด
ผู้ป่วยต้องได้รับ การงดน้ำและอาหาร (NPO) หรือรับประทานอาหารเหลวใส (Clear liquid) หรือท าการสวนอุจจาระ(Enema) จนทำให้ลำไส้สะอาดก่อนการส่งตรวจเรียกว่า “การเตรียมลำไส้”(Bowel prep)
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 1
Separate hard lumps, like nuts(Difficult to pass)ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่วคนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
Type 2
Sausage shaped but lumpy(ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 3
Like a sausage but with cracks on surface(ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่มๆ)
Type 4
Like a sausage or snake, smooth and soft(ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5
Soft blobs with clear-cut edges(ลักษณะเป็นก้อนนุ่มๆ แยกออกจากันชัดเจน)
Type 6
Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool(ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุยมีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 7
Watery, no solid pieces(entirely liquid)(ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูก(Constipation)
การขับถ่ายซึ่งอุจจาระมีลักษณะแห้งแข็ง ต้องออกแรงมากช่วยในการเบ่งเพื่อขับอุจจาระออกมาลำบากเกิดความเจ็บปวดเมื่อถ่ายอุจจาระ
มีอาการอยากถ่ายที่เรียกว่า “การถ่ายอุจจาระไม่สุด”
การถ่ายอุจจาระน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้งหรือไม่ถ่ายอุจจาระติดต่อกัน 3 วัน จึงถือว่าเกิด “ภาวะท้องผูก”
สาเหตุ
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ
โดยภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยภาวะขาดน้ำการเคลื่อนไหวลดลงแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ
อาจเกิดจากความเจ็บป่วยหรือการรักษาด้วยยา
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้องท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะวิงเวียน
เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid)
แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหาร เป็นแอมโมเนียดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปยังสมอง
ในผู้ป่วยโรคตับจะเกิดอาการ Hepatic encephalopathy
ภาวะที่ผู้ป่วยเกิดมีอาการทางสมอง ได้แก่ สับสนซึมและโคม่าซึ่งเป็นผลจากภาวะตับวาย อาการรุนแรงเรียกว่า Hepatic comaทำให้เสียชีวิตได้
ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง หรือผนังลำไส้หย่อนตัวเป็นถุงสะสมอุจจาระไว้
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Incontinence) เนื่องจากก้อนอุจจาระไปกดปลายประสาทของกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการขับถ่ายสูญเสียหน้าที่
การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
สาเหตุ อาการเริ่มแรก
ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระเป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
ซึ่่งต่างจากท้องเดิน ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องมาก ปวดอุจจาระ อยากถ่ายตลอดเวลาแต่ถ่ายไม่ออก
เมื่อตรวจทางทวารหนักโดยสวมถุงมือ และสอดนิ้วที่หล่อลื่นด้วยเจล หล่อลื่นผ่านเข้าไป (Rectal exam) จะพบก้อนแข็งๆ ของอุจจาระ หรือไม่พบหากก้อนนั้นอยู่สูงเกินไป
การล้วงอุจจาระ (Evacuation)
การล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการช่วยเหลือผู้ปุวยในกรณีที่ผู้ปุวยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมาตามปกติ ประมาณ 4-5 วัน หรือมีอาการท้องอืดตึง
อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ถุงมือสะอาด 2คู่และหน้ากากอนามัย (Mask)
2) สารหล่อเลื่อน เจล หล่อลื่น ถ้าไม่มีใช้วาสลินหรือสบู่เหลว
3) ผ้ายางรองก้นและกระดาษชำระ
4)หม้อนอนหรือ ถุงพลาสติกส าหรับใช่อุจจาระ
ภาวะท้องอืด (Flatulence หรือAbdominal distention)
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่ผายลม ไม่สบายในท้องซึ่งเกิดจากมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นจากลมภายในลำไส้
สาเหตุ
มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อย รับประทานอาหารมากเกินไปหรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
1)จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60องศาเพื่อให้กระบังลมหย่อยตัว ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นลดอาการแน่นหน้าอกและทำให้หายใจสะดวก
2) อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด แสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ
3) ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
ผลด้านร่างกาย
เนื่องด้วยการขับถ่ายอุจจาระที่ควบคุมไม่ได้ จึงทำให้มีอุจจาระไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว
อาจเกิดแผลจากการระคายเคืองเสียดสีของผิวหนังบริเวณรอบรูทวารซึ่งผิวหนังมีลักษณะอ่อน
เกิดความสกปรกเปรอะเปื้อนของเสื้อผ้าและเครื่องใช้
ผลด้านจิตใจ
เนื่องด้วยอุจจาระเป็นเรื่องของความไม่สะอาดทั้งกลิ่นและสิ่งขับถ่าย อุจจาระจึงทำให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าและความนับถือต่อตนเอง
อาจส่งผลรุนแรงมากขึ้นจากปฏิกิริยาของบุคคลที่อยู่รอบข้างซึ่งมีการแสดงออกถึงความน่ารังเกียจต่อสิ่งที่ได้รับรู้
ผลด้านสังคม
เนื่องด้วยการถ่ายอุจจาระ เป็นเรื่องส่วนตัวที่ต้องควรระมัดระวัง
เมื่อการกลั้นอุจจาระไม่ได้ เป็นเรื่องน่าอับอายส่งผลให้ไม่ต้องการออกสังคม หรือพบปะผู้คนโดยไม่มีเหตุจำเป็น
ผลด้านจิตวิญญาณ
ความรู้สึกเสียคุณค่าในตนเองลดลง และขาดการแสดงออกถึงความต้องการการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนากลัวสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในอนาคต
การพยาบาลผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไม่ได้
ด้านร่างกาย
1) ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
2)การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือกเป็นเวลาที่สะดวก เช่น ตอนเช้าตรู่ เป็นต้น
3)ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลาโดยเฉพาะหลังการขับถ่ายอุจจาระทุกครั้งเพื่อปูองกันการระคายเคืองและเกิดแผล
4)ดูแลเสื้อผ้าที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
5)รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหวัด ซึ่งจะทำให้มีอาการไอ จาม อาจทำให้มีอุจจาระเล็ดออกมาขณะไอและจามได้ ส่งผลให้ขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน
ด้านจิตใจสังคม และจิตวิญญาณ
การดูแลเรื่องจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะเก็บกด (Depression) พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และเก็บตัวไม่ยอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป
ผู้ดูแลจึงควรให้กำลังใจ และสร้างเสริมกำลังใจกับผู้ป่วยให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และกล้าที่ออกสังคมอย่างมั่นใจ
ส่วนด้านจิตวิญญาณให้ทำสมาธิและมีสติรู้อยู่เป็นปัจจุบันตลอดเวลาเอาธรรมะเป็นที่พึ่งและปล่อยวางจะช่วยทำให้ใจเกิดปีติในใจและสุขใจ
การสวนอุจจาระ
เป็นกิจกรรมทางการพยาบาลซึ่งเป็นบทบาทกึ่งอิสระที่มีการใส่สารอาจจะเป็นน้ำ น้ำมัน หรือสารเคมีเข้าไปในลำไส้ใหญ่ส่วนล่างโดยผ่านทางทวารหนัก
วัตถุประสงค์
1) ลดปัญหาอาการท้องผูก
2)เตรียมตรวจทางรังสี
3) เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ปุวยจะต้องดมยาสลบ
4) เตรียมคลอด
5) เพื่อการรักษาเช่น การระบายพิษจากแอมโมเนียคั่งในกระแสเลือดในผู้ปุวยโรคตับ
ชนิดของการสวนอุจจาระ
Cleansing enema
เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้
Retention enema
การสวนเก็บเป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml.
ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
การสวนอุจจาระเป็นการใส่สายสวนและสารละลายเข้าสู่ร่างกาย เพื่อความปลอดภัยของการสวนอุจจาระมีข้อควรระวังในการสวนอุจจาระ
อุณหภูมิของสารน้ าอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ105 ̊F (40.5 ̊C)
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
ท่านอนของผู้ป่วยท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ ให้เข่าขวา งอขึ้นมากๆ ถ้าผู้ปุวยไม่สามารถนอนตะแคงซ้ายได้อาจจัดให้นอนหงาย แต่ไม่ควรให้อยู่ในท่านั่ง
แรงดันของสารน้ าที่สวนให้แก่ผู้ปุวย ควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน 1 ฟุตเหนือระดับที่นอนในเด็กเล็กไม่ควรเกิน 3 นิ้ว
การปล่อยน้ าเปิดClamp ให้น้ าไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ถ้าสารละลายปริมาณมากอาจใช้เวลานาน10-15 นาทีเพื่อให้ผู้ปุวยเก็บน้ าได้หมด
ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้และลักษณะของสายสวนอุจจาระ
การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น เช่นKY jellyเป็นต้น หล่อลื่นให้ยาวประมาณ 2-3 นิ้วในผู้ใหญ่ และ 1นิ้วในเด็ก
ทิศทางการสอดหัวสวนให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบนปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของล าไส้
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ
การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง
การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ
อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
2)ใบส่งตรวจ
3) ไม้แบน ส าหรับเขี่ยอุจจาระ
4) กระดาษช าระ
5)หม้อนอน