Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์, นางสาวสิริภาพร คำวงศ์ 6101210125 เลขที่ 6…
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ
(hepatitis A virus: HAV)
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ
หากตรวจพบน้ำดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทำงานผิดปกติ
ซึ่งทำให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น ผู้ที่หายจากการเป็นโรคแล้วมักจะมีภูมิคุ้มกัน และจะไม่เป็นพาหะ ไม่เป็น chronic hepatitis หรือ chronic liver disease
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 แต่หากมีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอด
อาจมีการแพร่กระจายเชื้อไปยังทารกในระยะคลอด หรือระยะหลังคลอดได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกาย
ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV
เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด
และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV
และตรวจการทำงานของตับ
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค และการรักษา
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย
มาตรวจตามนัด และหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
(Hepatitis B virus)
อาการและอาการแสดง
ในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลำพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้นและส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
ทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด
และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือเคยมีอาการแสดงของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี เคยสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคตับอักเสบ
จากไวรัสบี หรือคนที่เป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย
พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจการทำงานของตับ และตรวจหา antigen และ antibody ของไวรัส ได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรอง อธิบายให้เข้าใจการดำเนินของโรค แผนการรักษา เน้นย้ำความสำคัญของการมาตรวจตามนัด ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน
ระยะคลอด
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด ให้การดูแลโดยยึดหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะหลังคลอด
หากมารดาหลังคลอดมีหัวนมแตกและมีการอักเสบติดเชื้อของหัวนม แนะนำให้งดให้บุตรดูดนม ล้างมือให้สะอาดก่อนการดูแลทารกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนำบุตรมาตรวจตามนัด
หัดเยอรมัน
(Rubella/German measles)
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจาย
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
รู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อย
ทารกในครรภ์
ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ ปอดบวม กระดูกบาง หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน
การตรวจร่างกาย
อาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ำเหลืองโต บางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI) เพื่อหา titer ของ antibody ของเชื้อหัดเยอรมัน หากผล HAI titer น้อยกว่า 1:8 หรือ 1:10 แสดงว่าไม่ติดเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ และควรเจาะเลือดตรวจหา HAI titer อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อยืนยันการติดเชื้อในสตรีตั้งครรภ์ โดยหาก HAI titer ครั้งที่ 2 สูงกว่าครั้งแรกอย่างน้อย 4 เท่า แสดงว่ามีการติดเชื้อ
การพยาบาล
สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันหัดเยอรมันหลังคลอดทุกราย และหลังการให้วัคซีนจะต้องคุมกำเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
แนะนำให้มารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินของโรค และแผนการรักษา
สุกใส
(Varicella-zoster virus: VZV)
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผ่นหลัง
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทำให้ซึมลง และมีอาการชัก ทำให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ทารก
การติดเชื้อในครรภ์อาจทำให้ทารกเกิดความพิการก่อนกำเนิดได้, การติดเชื้อปริกำเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย
มีไข้ มีผื่นตุ่มน้ำใสตามไรผม ตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ ลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG ต่อไวรัสสุกใสไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์ โดยการเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการฉีดวัคซีน
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง
รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค
การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
ระยะคลอด
เน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด แนะนำให้แยกของใช้สำหรับมารดา กรณีพ้นระยะการติดต่อ
หรือมีการตกสะเก็ดแล้ว สามารถแนะนำเกี่ยวกับการให้นมได้ ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที หากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5 วันก่อนคลอดถึง 2 วันหลังคลอด
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส
(Cytomegalovirus: CMV)
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของ mononucleosis syndrome
คือ ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวม
ตับอักเสบ และอาการทางสมอง
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
หากมีการติดเชื้อซ้ำ หรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์ จะมีทำให้การดำเนินของโรครุนแรงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด ส่วนทารกแรกเกิดนั้นอาจไม่มีอาการแสดงใด จนถึงมีอาการรุนแรง
การประเมินและการการวินิจฉัย
การซักประวัติ
เกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต ลักษณะของอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้น
การตรวจร่างกาย
มีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ข้ออักเสบ และตรวจพบอาการและอาการแสดงของโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้น พบเชื้อ CMV ในปัสสาวะ และในเม็ดเลือดขาว, Amniocentesis for CMV DNA PCR, การตรวจ Plasma specimen for culture หรือ quantitative real-time PCR
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
ระยะคลอด
ควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
การติดเชื้อโปรโตซัว
(Toxoplasmosis)
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารกในครรภ์
กรณีทื่ทารกมีการติดเชื้อแต่กำเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะสำคัญ คือ ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง
ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่ติดเชื้อ สมองและตาจะถูกทำลาย
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค
ประวัติมีอาการอ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ
การตรวจร่างกาย
มักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย
อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ
ทดสอบน้ำเหลืองดู titer IgG และ IgM
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการรักษา ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา
ระยะคลอด
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที
จากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment
หรือ 0.5% erythromycin ointment
หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3)
หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า
(Zika)
อาการและอาการแสดง
ไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ
ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด
ทารก
ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท
ตาและการมองเห็น
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
โดยการซักประวัติอาการของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
มีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต
ตัวเหลือง ซีด บวมปลายมือปลายเท้า
เลือดออกตามผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี RT-PCR
และการตรวจหาภูมิคุ้มกัน (IgM) ด้วยวิธี ELISA
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
อาการและอาการแสดง ความรุนแรง และการป้องกัน
รวมทั้งการสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงของโรค
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์
(COVID-19 during Pregnancy)
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือ ไอ น้ามูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารกในครรภ์
พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่มีการติดเชื้อ
ระยะเวลาและประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
รวมถึงประวัติอาการและอาการแสดงของโรค
การตรวจร่างกาย
มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ามูก เจ็บคอไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหา viralnucleic acid
การส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกพบมีปอดอักเสบ
การพยาบาล
การดูแลเพื่อป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ
เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกัน
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
การดูแลสตรีที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน
งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
นางสาวสิริภาพร คำวงศ์ 6101210125 เลขที่ 6 Sec B