Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ, การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก - Coggle…
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
อุจจาระจะมีส่วนประกอบเป็นน้ำประมาณร้อยละ 70-80
สารอาหารและสิ่งที่มีคุณค่าจากอาหาร จะ ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางลำไส้เล็ก
เส้นใยอาหาร ประเภทเซลลูโลสและลิกนินซึ่งไม่ถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียจะเหลืออยู่ในอุจจาระ
น้ำหนักของอุจจาระขึ้นอยู่กลับปริมาณของเส้นใยอาหาร
ความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระมักเกิดขึ้นเมื่อตื่นนอนหรือหลังมื้ออาหาร
การออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอทุกวันก็ช่วยใน การขับถ่าย
การขับถ่ายอุจจาระเป็นสิ่งสำคัญเป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย
การขับถ่ายอุจจาระจึงถือได้ว่าเป็นทั้งการนาสารพิษและของ เสียที่ตกค้างอยู่ในลาไส้ออกไปและเป็นการสร้างระบบขับถ่ายที่ดีต่อร่างกาย
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ (Age)
ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake)
ปริมาณน้าที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
การเคลื่อนไหวของร่างกาย(Body movement)
อารมณ์ (Emotion)
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits )
ความเหมาะสม (Opportunity)
ยา (Medication)
การตั้งครรภ์ (Pregnancy)
อาการปวด (Pain)
การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery and Anesthesia)
การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 1
Separate hard lumps, like nuts (Difficult to pass) ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
Type 2
Sausage shaped but lumpy
(ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 3
Like a sausage but with cracks on surface
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่ม ๆ)
Type 4
Like a sausage or snake, smooth and soft
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5
Soft blobs with clear-cut edges
(ลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ แยกออกจากันชัดเจน)
Type 6
Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool (ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 7
Watery, no solid pieces (entirely liquid) (ลักษณะเป็นน้าไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
ลักษณะของอุจจาระปกติท่ัวไปจะอ่อนนุ่มมีสีอยู่ระหว่าง เหลือง น้าตาลอ่อนไปจนถึง น้าตาลเข้มขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทาน
ลักษณะอุจจาระผิดปกติสามารถบ่งบอกโรคและพฤติกรรมสุขภาพ
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูก (Constipation)
การขับถ่ายซึ่งอุจจาระมีลักษณะแห้งแข็ง ต้อง
ออกแรงมากช่วยในการเบ่งเพื่อขับอุจจาระออกมาลำบากเกิดความเจ็บปวดเมื่อถ่ายอุจจาระ และมีอาการอยากถ่ายที่เรียกว่า “การถ่ายอุจจาระไม่สุด” การขับถ่ายอุจจาระเป็นปกติของคนเราจะถ่าย อุจจาระวันละ 1-2 ครั้งหรือสัปดาห์ละ3ครั้งดังนั้นการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าสัปดาห์ละ3ครั้ง หรือไม่ถ่ายอุจจาระติดต่อกัน 3 วัน จึงถือว่าเกิด “ภาวะท้องผูก”
สาเหตุ ภาวะท้องผูก
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ
ภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการ
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ภาวะขาดน้ำ การเคลื่อนไหวลดลงแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ
อาจเกิดจากความเจ็บปุวยหรือการรักษาด้วยยา
มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ฝิ่น หรือยาระงับปวดที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่นที่ส่งผลต่อแรงตึงตัวของ
กล้ามเนื้อเรียบของลำไส้
การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร
ภาวะท้องผูกจากการลดลงของการเคลื่อนไหวของลาไส้และเกี่ยวข้องกับ ความผิดปกติของประสาทที่ลาไส้ และการติดยาระบาย
การทาหน้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อพื้นเชิงกราน จากการหดรัดตัวที่ผิด ปกติของกล้ามเนื้อและหูรูดระหว่างการขับถ่าย
ภาวะผิดปกติของลาไส้ มีความสัมพันธ์กับภาวะท้องผูก
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดศีรษะวิงเวียน
เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) เกิดจากอุจจาระที่แห้งแข็งกดหลอด เลือดดำรอบๆ ทวารหนัก ทำให้เลือดไหลกลับไม่สะดวกเกิดโป่งพอง และแตกได้
แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหาร เป็นแอมโมเนีย ดูดซึมเข้า กระแสเลือดไปยังสมอง
ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Incontinence)
การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
สาเหตุ อาการเริ่มแรก
ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระ เป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
การพยาบาลผู้ปุวยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
การช่วยเหลือเอาก้อนอุจจาระออกจากร่างกาย
โดยการล้วงอุจจาระ (Evacuation) และอาจใช้ยาระบายเพื่อทำให้ก้อนอุจจาระอ่อนนุ่มและหล่อลื่น หรือการสวนอุจจาระในกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผล
การล้วงอุจจาระ (Evacuation)
การล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการ ช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมา ตามปกติ ประมาณ 4-5 วัน หรือมีอาการท้องอืดตึง
อุปกรณ์เครื่องใช้
ถุงมือสะอาด 2 คู่ และหน้ากากอนามัย (Mask)
สารหล่อเลื่อน เจล หล่อลื่น ถ้าไม่มีใช้วาสลิน หรือสบู่เหลว
ผ้ายางรองก้นและกระดาษชำระ
หม้อนอนหรือ ถุงพลาสติกสาหรับใช่อุจจาระ
วิธีปฏิบัติ
1) แนะนำตัว และบอกวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยทราบ
2) ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่า ขาขวา งอเล็กน้อย (Sim’s position)
3) ปูผ้ายางรองให้ผู้ป่วย และวางหม้อนอนหรือถุงพลาสติกไว้ใกล้ ๆ
4) พยาบาลสวมถุงมือ 2 ชั้น แล้วใช้นิ้วชี้หล่อลื่นด้วยเจลหล่อลื่น (วาสลินหรือสบู่เหลว) บอกผู้ป่วยให้รู้ตัวแล้วสอดนิ้วชี้เข้าทางทวารหนัก พร้อมให้ผู้ป่วยช่วยอ้าปากหายใจยาว ๆ เพื่อช่วยผู้ป่วยผ่อนคลายและไม่รู้สึกเจ็บ
5) ล้วงเอาก้อนอุจจาระออกใส่ในหม้อนอนหรือถุงพลาสติกที่เตรียมไว้
6) เช็ดทำความสะอาด
7) ทำความสะอาดเครื่องใช้และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
8) ลงบันทึกทางการพยาบาล
ภาวะท้องอืด (Flatulence หรือ Abdominal distention)
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่ผายลม ไม่สบายในท้องซึ่งเกิดจากมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นจากลมภายในลำไส้
สาเหตุ
มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อย
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา เพื่อให้กระบังลมหย่อยตัว ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นลดอาการแน่นหน้าอกและทาให้หายใจสะดวก
อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด แสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ
ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระและผายลมออกมาทันทีเมื่อรู้สึกปวดถ่าย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย มักเกิดจากการรบกวนที่หูรูดทวารหนัก
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
ผลด้านร่างกาย
เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและอาจเกิดแผลจากการระคายเคืองเสียดสีของผิวหนังบริเวณรอบรู ทวารซึ่งผิวหนังมีลักษณะอ่อน และเกิดความสกปรกเปรอะเปื้อนของเสื้อผ้าและเครื่องใช้
ผลด้านจิตใจ
ทำห้เกิดการสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าและความนับถือต่อตนเอง
ผลด้านสังคม
กลายเป็นคนแยกตัวออกจากสังคม
ผลด้านจิตวิญญาณ
ขาดการแสดงออกถึงความต้องการการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ทางศาสนากลัวสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในอนาคต
การพยาบาลผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไมไ่ด้
ด้านร่างกาย
ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือก เป็นเวลาที่สะดวก
ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลา โดยเฉพาะหลังการขับถ่าย อุจจาระทุกครั้งเพื่อปูองกันการระคายเคืองและเกิดแผล
ดูแลเสื้อผ้า ที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหวัด
ด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ควรให้ กาลังใจ และสร้างเสริมกาลังใจกับผู้ปุวยให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และกล้าที่ออก สังคมอย่างมั่นใจ ส่วนด้านจิตวิญญาณให้ทาสมาธิและมีสติรู้อยู่เป็นปัจจุบันตลอดเวลา เอาธรรมะเป็น ที่พึ่งและปล่อยวาง จะช่วยทาให้ใจเกิดปีติในใจและสุขใจ
ภาวะท้องเสีย (Diarrhea)
ภาวะท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง หมายถึง การเพิ่มจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ
และการที่อุจจาระเป็นน้ำเหลว หรือมีมูกปน โดยถือว่าถ่ายเป็นน้ำเหลว 3 ครั้งในเวลา 12 ชั่วโมง หรือ ถ่ายเป็นน้ำปนมูกเพียงครั้งเดียว มักกลั้นอุจจาระไว้ไม่ได้นาน หรือกลั้นไม่ได้เลย
สาเหตุของภาวะท้องเสีย
จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และอารมณ์ จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่แสดงออกทางร่างกาย เรียกว่า “Psychosomatic disorder”
การได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
เกิดภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง
การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
การผ่าตัดเอาลาไส้มาเปิดออกทางหน้าท้อง เพื่อให้เป็นทางออกของอุจจาระ มักทาใน
ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพท่ีลำไส้ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การติดเชื้อที่ทำให้ลำไส้เกิดเน้ือตาย (Ulcerative colitis and Crohn’s disease) การมีถุงยื่นออกมาร่วมกับมีการอักเสบร่วมกับลำไส้ใหญ่ (Diverticulitis) การมีติ่งเนื้อในลำไส้ (Familial polyposis) การได้รับบาดเจ็บบริเวณลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก การอุดตันของลาไส้ใหญ่จากลำไส้กลืนกัน (Volvulus) และการอักเสบของลาไส้ใหญ่ จากการได้รับรังสีรักษา เป็นต้น การผ่าตัดเปิดลำไส้ใหญ่ทางหน้าท้อง เรียกว่า “Colostomy” การ ผ่าตัดเปิดลำไส้เล็กทางหน้าท้อง เรียกว่า “Ileostomy” เพื่อให้อุจจาระออกแทนทวารหนักเดิม
การสวนอุจจาระ
การสวนอุจจาระ(Enema)เป็นกิจกรรมทางการพยาบาลซึ่งเป็นบทบาทกึ่งอิสระ ที่มีการใส่ สารอาจจะเป็นน้า น้ามัน หรือสารเคมีเข้าไปในลาไส้ใหญ่ส่วนล่างโดยผ่านทางทวารหนัก
วัตถุประสงค์
ลดปัญหาอาการท้องผูก
เตรียมตรวจทางรังสี
เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ปุวยจะต้องดมยาสลบ
เตรียมคลอด
เพื่อการรักษา เช่น การระบายพิษจากแอมโมเนียคั่งในกระแสเลือดในผู้ป่วยโรคตับ
Cleansing enema
เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้น ให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยการทำให้เกิดการระคายเคืองของ Colon หรือ Rectum รวมทั้งทำให้ลำไส้โปุงตึงด้วยน้าหรือน้ายาและขับอุจจาระออกมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก อุจจาระอัดแน่น ช่วยล้างลำไส้ใหญ่ให้สะอาด ก่อนทาการเตรียมส่งตรวจ การผ่าตัด หรือการส่งเอกซเรย์วินิจฉัยโรค
Retention enema การสวนเก็บ
การสวนเก็บ เป็นการสวนน้ายาเข้าไปเก็บไว้ในลาไส้ใหญ่ ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml.
ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
อุณหภูมิของสารน้ำอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 105 ̊F (40.5 ̊C)
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
ท่านอนของผู้ป่วย ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ (Sim’s position)
แรงดันของสารน้าที่สวนให้แก่ผู้ป่วยควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน1ฟุตเหนือ ระดับที่นอน ในเด็กเล็กไม่ควรเกิน 3 นิ้ว
การปล่อยน้ำ เปิด Clamp ให้น้ำไหลช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้
การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น
ทิศทางการสอดหัวสวน ให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบน ปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส้
ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่
การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
เป็นการตรวจสุขภาพพื้นฐานการตรวจหนึ่ง หรือการวินิจฉัยโรค เบื้องต้นของโรคระบบทางเดินอาหาร การตรวจอุจจาระเป็นการตรวจที่ง่ายขั้นตอนการตรวจไม่ ยุ่งยากไมเ่จ็บตัวไม่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงการตรวจลักษณะอุจจาระด้วยตาเปล่าร่วมกับการตรวจด้วย กล้องจุลทรรศน์และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาความผิดปกติใน ระบบทางเดินอาหาร เช่น ภาวะติดเชื้อ ภาวะเลือดออก มะเร็งในลาไส้ใหญ่
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ
แนะนำ กระตุ้น และช่วยให้ผู้ปุวยได้รับน้าให้เพียงพอ ควรดื่มน้าอย่างน้อยวัน ละ 2,000–2,500 cc. ถ้าไม่มีข้อห้าม
แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ
จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
แนะนำให้ออกกำลังกาย
สังเกตความถี่การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย
แนะนำสมุนไพรซึ่งเป็นอาหารหรือนำมาปรุงอาหารจะช่วยการขับถ่ายอุจจาระ ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่น แกงขี้เหล็ก แกงส้มผักกระเฉด กล้วยน้าว้าสุก