Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4 สุขภาพจิตกับบุคลิกภาพ, Ads_H_46, images, Ads_H_46 - Coggle…
บทที่4
สุขภาพจิตกับบุคลิกภาพ
ความหมายของสุขภาพจิต
สุขภาพจิต
หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการดำเนินชีวิตที่เป็นสุขสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้
ความแตกต่างระหว่างโรคจิตโรคประสาท
ความหมายของโรคจิต
หมายถึง ภาวะความผิดปกติหรือความแปรปรวนทางจิตที่รุนแรงสูญเสียการทำงานของจิต
ความหมายของโรคประสาท
หมายถึง ความผิดปกติทางจอตที่มีความรุนแรงน้อยกว่าโรคจิต ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากใช้กลวิธานปรับตัวไปในทางที่ผิด
ประเภทของโรคจิตและโรคประสาท
โ
รคจิตจำแนกเป็น 4 ประเภท
ได้แก่ โรคจิตแบบซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคจิตชนิดหวาดระแวง และบุคลิกภาพแปรปรวน
ส่วนโรคประสาท
ได้แก่ โรคประสาทชนิดวิตกกังวล โรคประสาทชนิดฮิสทีเรีย โรคประสาทชนิดหวาดกลัว และโรคประสาทชนิดย้ำคิดย้ำทำ
วิธีเสริมสร้างสุขภาพจิตตนเอง
ฝึกควบคุมอารมณ์ของตนเองอยู่เสมอ สะสมไมตรี ไม่หนีอุปสรรค
วิธีการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้มีความผิดปกติทางจิต ได้แก่
จิตเภสัชบำบัด
การรักษาทางกายบำบัด
การรักษาด้วยการช็อตไฟฟ้า
การทำจิตบำบัด
อาชีวบำบัด
การรักษาโดยการฟื้นฟูด้วยการบันเทิงบำบัด
การศึกษาพิเศษเพื่อการฟื้นฟูสภาพเชาว์ปัญญา
การบริหารจิตตามวิธีการทางพระพุทธศาสนา
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต
สาเหตุจากตัวบุคคล
ปกติบุคคลทั้งหลายย่อมต้องการความรัก ความเป็นเจ้าของ ความมีชื่อเสียง แต่เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองความอยากได้อยากมีตามที่ปรารถนา ย่อมก่อให้เกิดความทุกข์ตามมา
สาเหตุเกิดจากปัญหาสัมพันธภาพภายในครอบครัว
เกิดจากบุคคลไม่สามารถจัดการกับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวได้โดยเฉพาะคู่ชีวิต
สาเหตุมาจากฐานะทางเศรษฐกิจและภาวะค่าครองชีพที่ไม่สมดุลกัน
บุคคลแต่ละคนต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดในการดำรงชีวิต การมีรายรับไม่พอกับรายจ่าย
สาเหตุเกิดจากความเสื่อมทรามทางสังคม
สังคมใดที่เสื่อมทรามขาดการพัฒนาทางจิตใจคนในสังคมย่อมเต็มไปด้วยความขัดแย้ง ชิงดี ชิงเด่น การเอารัดเอาเปรียบ
ลักษณะของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิต
ความหมายของความผิดปกติทางจิต
หมายถึง การแปรปรวนทางอารมณ์และความคิด
ลักษณะบ่งชี้ผู้มีความผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรง
หลงผิดคิดว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่ อยู่นิ่งนานๆไม่ได้ เพ้อฝันเกินความจริง
ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี
เกิดความผิดหวังแล้วสามารถสามารถควบคุมตัวเองได้ เข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และแก้ปัญหาที่เผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะพฤติกรรมและการแสดงออกที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพจิต
การแสดงออกทางพฤติกรรม การแสดงออกด้านอารมณ์และความคิด
ลักษณะพฤติกรรมของผู้มีปัญหาสุขภาพจิต ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัด
คือการแสดงออกทางพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับอายุ บทบาททางเพศไม่สอดคล้องกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่