Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ความสำไคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
ในภาวะปกติอุจจาระจะมีส่วนประกอบเป็นน้ำประมาณร้อยละ70-80 ส่วนที่เป็นของแข็งครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบคทีเรีย โดยส่วนใหญ่สารอาหารและสิ่งที่มีคุณค่าจากอาหาร จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางล าไส้เล็กก่อนที่อาหารจะเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องอืด (Flatulence)
สาเหตุ
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อยรับประทานอาหารมากเกินไปหรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60องศาเพื่อให้กระบังลมหย่อยตัว
ธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด แสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ
ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
สาเหตุ
อาการเริ่มแรกคือ ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระเป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
ใช้ยาระบายเพื่อทำก้อนอุจจาระอ่อนนุ่มและหล่อลื่นหรือการสวนอุจจาระในกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผล
การล้วงอุจจาระ
คือการล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
ทำให้มีการถ่ายอุจจาระและผายลมออกมาทันทีเมื่อรู้สึกปวดถ่าย
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
ผลด้านร่างกาย
ทำให้มีอุจจาระไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว จึงเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและอาจเกิดแผลจากการระคายเคืองเสียดสีของผิวหนัง
ผลด้านจิตใจ
ทำให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าและความนับถือต่อตนเอง
ผลด้านสังคม
เป็นเรื่องน่าอับอายส่งผลให้ไม่ต้องการออกสังคม หรือพบปะผู้คนโดยไม่มีเหตุจำเป็น จึงกลายเป็นคนแยกตัวออกจากสังคม
ผลด้านจิตวิญญาณ
ความรู้สึกเสียคุณค่าในตนเองลดลง
การพยาบาลผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไม่ได้
ทำความสะอาดด้านร่างกายและดูแลผิวหนังให้สะอาด
ภาวะท้องผูก(Constipation)
หมายถึง การขับถ่ายซึ่งอุจจาระมีลักษณะแห้งแข็ง ต้องออกแรงมากช่วยในการเบ่งเพื่อขับอุจจาระออกมาลำบากเกิดความเจ็บปวดเมื่อถ่ายอุจจาระ
สาเหตุ
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ
มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยภาวะขาดน้ำ
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ
ฝิ่นหรือยาระงับปวดที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่นที่ส่งผลต่อแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ยับยั้งการเคลื่อนไหวของลำไส้
การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหารจากการล่าช้าของการขับถ่ายทำให้อุจจาระแข็ง
ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของไขสันหลังอันเป็นผลของการไม่เคลื่อนไหวการสูญเสียการรับความรู้สึกของทวารหนัก
ภาวะท้องผูกจากการลดลงของการเคลื่อนไหวของลำไส้และเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของประสาทที่ลำไส้และการติดยาระบาย
ภาวะผิดปกติของลำไส้มีความสัมพันธ์กับภาวะท้องผูก
การทำหน้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานจากการหดรัดตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อและหูรูดระหว่างการขับถ่าย
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้องท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร
เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เป็นโรคริดสีดวงทวาร
แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหา
ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง หรือผนังลำไส้หย่อนตัวเป็นถุงสะสมอุจจาระไว้ พบในผู้ป่วยสูงอายุ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
แนะนำกระตุ้นและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2,000–2,500cc.
แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ และควรฝึกระบบขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
แนะนำให้ออกกำลังกาย
แนะนำสมุนไพรซึ่งเป็นอาหารหรือนำมาปรุงอาหารจะช่วยการขับถ่ายอุจจาระใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ
ภาวะท้องเสีย(Diarrhea)
สาเหตุของภาวะท้องเสีย
จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์
ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
เกิดภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้และการถ่ายอุจจาระหลาย ๆ ครั้ง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องเสีย
ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มีจำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
แสดงการช่วยเหลือด้วยท่าที่เหมาะสมและเต็มใจ
ช่วยเหลือชำระล้างและทำความสะอาดหลังการถ่ายอุจจาระ
การดูแลเรื่องอาหาร
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ
ในเด็กเล็ก ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุตั้งแต่24-30เดือนขึ้นไป ในเด็กเล็กอาจมีการถ่ายอุจจาระวันละหลายๆ ครั้ง
ชนิดของอาหารที่รับประทาน
อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ที่มีกากใยมาก
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
น้ำจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้งแข็งเกินไป ทำให้อุจจาระอ่อนตัว
การเคลื่อนไหวของร่างกาย
การเคลื่อนไหวของร่างกาย จะช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
อารมณ์
เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงเช่น หงุดหงิด หรือวิตกกังวลเป็นต้น จะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร น้ำรวมทั้งการออกกำลังกาย
ยา
อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดินอาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
การตั้งครรภ์
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมดลงก็ขยายตัวโตด้วยทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลาย
อาการปวด
โรคริดสีดวงทวาร การผ่าตัดส่วนลำไส้ตรงและการผ่าตัดหน้าท้อง
การผ่าตัดและการดมยาสลบ
การดมยาสลบชนิดทั่วไป
การตรวจวินิจฉัยโรค
การตรวจวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินอาหารส่งผลรบกวนการทำงานของลำไส้ชั่วคราว
การสวนอุจจาระ
วัตถุประสงค์
เตรียมตรวจทางรังสี
เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ป่วยจะต้องดมยาสลบ
ลดปัญหาอาการท้องผูก
เพื่อการรักษา
ชนิดของการสวนอุจจาระ
Cleansing enema
เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้
ชนิดการสวนล้าง
Tap water enema (TWE)เป็นการสวนเอาน้ำสะอาดเข้าในลำไส้
Soap sud enema(SSE) เป็นการสวนอุจจาระโดยใช้น้ำสบู่ผสมน้ำ
Normal saline solution enema(NSSenema) เป็นการสวนอุจจาระโดยใช้สารละลาย0.9 % NSS
Fleet enema เป็นการสวนอุจจาระโดยน้ำยาสำเร็จรูปคือสารละลายHypotonic
Oil enema เป็นการสวนอุจจาระโดยใช้น้ำมันพืช นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีอุจจาระอุดตัน
Retention enema
การสวนเก็บเป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml.
Oil-retention enema เป็นการสวนเก็บน้ำมัน เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว
Medicated enema เป็นการสวนเก็บด้วยยา เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าไปในร่างกายทางทวารหนัก
วิธีปฏิบัติ
การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ครบถ้วน
จัดท่านอนให้ถูกต้องคือนอนตะแคงซ้าย งอเข่าขวาไปข้างหน้า เลื่อนผู้ป่วยมาชิดขอบเตียงการนอนตะแคงซ้ายจะทำให้ลำไส้ส่วน Descending อยู่ด้านล่าง
คลุมผ้าเปิดเฉพาะบริเวณทวารหนักไม่เปิดเผย ลดอาการเกร็งของผู้ป่วยจากความเขินอายและทำให้เกิดความมั่นใจ
ปิด Clampหัวสวนไว้เทน้ำยาใส่หม้อสวนแขวนหม้อสวนสูงกว่าระดับทวารหนักของผู้ป่วย 1ฟุต (12 นิ้ว)เหนือจากระดับที่นอน
เปิด Clampเพื่อไล่อากาศในสายสวน และหัวสวนปิด Clamp หัวสวนหล่อลื่นหัวสวนด้วย KY jellyไล่อากาศเพื่อทดสอบว่าหัวสวนไม่อุดตัน
สอดหัวสวนเข้าทวารหนักให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ3นิ้ว แล้วเบนปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส้
จับหัวสวนให้แน่กระชับมือเปิด Clamp ให้น้ำไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ5-10 นาทีระหว่างท าการสวนให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจยาวๆ
ค่อยๆ ดึงสายสวนออกเบาๆปลดหัวสวนออกห่อด้วยกระดาษชำระวางใน ชามรูปไตบอกให้ผู้ป่วยนอนท่าเดิมพยายามเก็บน้ำไว้ในลำไส้ 5-10 นาที
สอดBed panกั้นม่านให้มิดชิด หลังถ่ายเสร็จใช้ Bed padปิดคลุม Bed panหรือในรายที่เดินได้ให้ผู้ป่วยลุกเดินไปห้องน้ำเอง
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการขับถ่ายอุจาจาระ
การวางแผนการพยาบาล(Planning)
เกณฑ์การประเมินผล
มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกากใย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระ
ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ใช้ยาระบาย
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
การปฏิบัติการพยาบาล(Implementation)
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้
แนะนำให้ออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหวช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ
นะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่มีกากใย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล(Nursing diagnosis)
ท้องผูกเนื่องจากมีพฤติกรรมใช้ยาระบายเป็นประจ า
การประเมินผลการพยาบาล(Evaluation)
เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใย และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
มีการถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ใช้ยาระบาย
การประเมินภาวะสุขภาพ(Health assessment)
S:“ทานยาระบายก่อนนอนเป็นประจำทุกคืนไม่ชอบอาหารประเภทผัก และผลไม้”
O: จากการตรวจร่างกายพบAbdomen:Distension, Tympanic sound, Decrease bowel sound 1-2 time/min
ข้อควรคำนึงในการสวนอุจจาระ
อุณหภูมิของสารน้ำอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ105 ̊F (40.5 ̊C)
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
ท่านอนของผู้ป่วยท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ
การปล่อยน้ำเปิดClamp ให้น้ำไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
สารหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น เช่นKY jellyเป็นต้น หล่อลื่นให้ยาวประมาณ 2-3 นิ้วในผู้ใหญ่ และ 1นิ้วในเด็ก
ทิศทางการสอดหัวสวนให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบนปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส้
การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติจากสาเหตุที่ผู้ป่วยเบ่งควรบอกให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจเข้ายาวๆ
ข้อห้ามในการสวนอุจจาระ
ลำไส้อุดตัน (Bowel obstruction)
มีการอักเสบของลำไส้
มีการติดเชื้อในช่องท้อง
ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้ส่วนปลาย
อาการแทรกซ้อนจากการสวนอุจจาระ
การระคายเคืองต่อเยื่อบุลำไส้
ผนังลำไส้ถลอก หรือทะลุ
ภาวะเป็นพิษจากน้ำ (Waterintoxication)
การติดเชื้อ
การคั่งของโซเดียม
ภาวะ Methemoglobinemia
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ
การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง
ตรวจในรายที่สงสัยว่ามีเลือดแฝงในอุจจาระ
ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้
ผู้ป่วยมีพยาธิปากขอ
วิธีปฏิบัติ
ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในหม้อนอนที่สะอาดและแห้งใช้ไม้แบนเขี่ยอุจจาระจำนวนเล็กน้อยใส่ภาชนะ
ลงบันทึกทางการพยาบาลลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ
ภาชนะที่ใช้เก็บตัวอย่างอุจจาระต้องปลอดเชื้อและมีอาหารเลี้ยงเชื้อ เก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 4-10 ̊C
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
ให้ผู้ป่วยเบ่งถ่ายเล็กน้อย ใช้ไม้พันสำลีใส่เข้าไปในรูทวาร 1-2 นิ้ว แล้วจุ่มไม้พันสำลีลงในอาหารเลี้ยงเชื้อปิดฝาทันที
ลงบันทึกทางการพยาบาล ลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 3
ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่มๆ
Type 4
ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม
Type 2
ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน
Type 5
ลักษณะเป็นก้อนนุ่มๆ แยกออกจากันชัดเจน
Tye 1
ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว
Type 6
ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุยมีขอบขยักไม่เรียบ
Type 7
ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน