Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 การดูแลและบํารุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ - Coggle Diagram
หน่วยที่ 4 การดูแลและบํารุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
4.1.1 ด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายใน และภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
เมนบอร์ด (Main board) แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้
2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon
การ์ดแสดงผล (Display Card)การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
แรม (RAM) RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
ฮาร์ดดิส (Hard Disk )แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูลชนิดแข็ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง(Internal Hard Disk) และประเภทที่เชื่อมต่อภายนอก (External hard disk) ปัจจุบันได้มีการผลิตฮาร์ดดิสความจุตั้งแต่ 6 GB ขึ้นไป โดยมีมาตรฐานการเชื่อมต่อ IDE SCSI และ USB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามมาตรฐานแบบ SCSI จะมีประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลได้ดีกว่า จึงเป็นที่นิยมใ ช้ในงานประมวลผลข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากฮาร์ดดิสที่ผลิตในปัจจุบันได้แก่ Seagate, IBM, Maxtor, Quatum
เคส (Case)
เคสหรือตัวถัง เป็นส่วนประกอบที่เป็นกล่องที่ห่อหุ้มอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์
ไว้ทั้งหมดส่วนมากคนทั่วไปมักจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิดภายในเคสก็จะมีพื้น
ที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่ เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ การ์ดต่างๆ
แรม ปัจจุบันนิยมเคสรูปทรงแนวตั้งเพื่อประโยชน์ในการติดตั้งดุปกรณ์ได้โดยง่าย ทั้ง
ยังประหยัดเนื้อที่การทำงานอีกด้วย
เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกอุปกรณ์จะไม่สามารถทำงานได้หากไม่มีกระแสไฟฟ้า
ยกเว้นจะมีแบตเตอรี่สำรองไฟ เช่น แบตเตอรี่ในเครื่องโน้ตบุ๊ก เป็นต้น เพาเวอร์ซัพ
พลายจะทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้
เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ชี้ และเลีอกโปรแกรม ข้อมูล คำสั่งที่ต้องการได้เร็วกว่าการใช้แป้นพิมพ์ ในงานทางด้านกราฟิกจะเป็นตัวช่วยในการวาดภาพ การเล่นเกมส์ เมาส์มีจำหน่ายหลายแบบ หลายราคา หลายยี่ห้อ ตั้งแต่ราคาไม่ถึงหนึ่งร้อยจนถึงหลักพัน โดยเมาส์จะมีแบบที่เชื่อมต่อกับพอร์ตแบบ PS/2 ซึ่งมีขั้วต่อแบบกลมเล็ก เมาส์พอร์ตแบบ USBที่มีขั้วต่อเป็นทรงสี่เหลียมแบนๆ
จอภาพ (Monitor)
จอภาพเป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่แสดงผลลัพธ์การประมวลผล การทำงานของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ด้านหลังจอภาพมีสายไว้ต่อเข้ากับการ์ดจอ จอภาพมีหลาย
ขนาดให้เลีอกใช้งาน เช่น 15,17,19,20,21,24 นิ้ว มีทั้งจอภาพแบบ LCDหรือ
ที่เรียกกันทั่วไปว่าจอแบน
4.1.2 ด้านซอต์ฟแวร์ (Software) หรือ โปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
4.1.3 ด้านผู้ใช้งาน (Peopleware) หรือ ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
บุคลากร (Peopleware) หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
ประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้
ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้ เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการงานที่มอบหมายให้ทำ(Assignment)สารบัญวัตถุประสงค์
ลดการใช้วัสดุย่อยสลายยาก
ใช้วัสดุที่เป็นมิตรับสิ่งแวดล้อม
Reuse