Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่10 การส่งเสริมการขับอุจจาระ - Coggle Diagram
บทที่10 การส่งเสริมการขับอุจจาระ
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
ลักษณะอุจจาระที่ผิดปกติ
ความถี่
มากกว่าวันละ6ครั้งหรือ 1-2วัน ครั้งเดียว
มากกว่าวันละ 3ครั้งหรือ สัปดาห์ละครั้ง
ลักษณะ
เหลว แข็ง
รูปร่าง
ขนาดเล็กคล้ายดินสอ
กลิ่น
กลิ่นเปลี่ยนเหม็นมาก
อื่นๆ
เลือด, หนอง, มูก,แปลกปลอม, พยาธิ
อุจจาระเป็นน้ ามันเยิ้ม เป็นมูก
สี
ขาว หรือคล้ายดินเหนียว
ดำ (Melena) แดง ซีด และเป็นมันเยิ้ม
ลักษณะอุจจาระที่ปกติ
ความถี่
เด็ก: (นมมารดา)วันละ4-6ครั้ง (นมขวด)วันละ1-3ครั้ง
ผู้ใหญ่: วันละ 2ครั้งหรือ สัปดาห์ละ3 ครั้ง
ลักษณะ
อ่อนนุ่ม
รูปร่าง
เท่ากับขนาดความกว้างของลำไส้ตรง
กลิ่น
มีกลิ่นเฉพาะ:จากอาหารตกค้าง
อื่นๆ
อาหารไม่ย่อย, แบคทีเรียที่ตายแล้ว, ไขมัน, สีนํ้าดี,
เซลล์หรือเยื่อบุลําไส้, นํ้า
สี
เด็ก:สีเหลือง
ผู้ใหญ่:สีนํ้าตาล
ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
การขับถ่ายอุจจาระจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นการขับของเสียออกจากร่างกายหากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจท าให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสมของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้นย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น ดังนั้นการขับถ่ายอุจจาระจึงถือได้ว่าเป็นทั้งการนำสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกไปและเป็นการสร้างระบบขับถ่ายที่ดีต่อร่างกายและดีต่อสุขภาพของร่างกายเรา
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
ความเหมาะสม
สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่าย สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือห้องนํ้าไม่สะอาดส่งผลให้บุคคลไม่อยากถ่ายอุจจาระจึงกลั้นอุจจาระ และทำให้เกิดอาการท้องผูกได้และท่าทางในการขับถ่าย ท่านั่งจะช่วยในการขับถ่ายได้สะดวก
ยา
อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดินอาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
ความสมํ่าเสมอในการขับถ่าย
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจวัตรประจําวัน การรับประทานอาหาร
นํ้า รวมทั้งการออกกำลังกาย และการพักผ่อน
การตั้งครรภ์
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมดลงก็ขยายตัวโตด้วย ทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลาย ในการเบ่งถ่ายอุจจาระจึงต้องใช้แรงเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกเป็นประจำและเกิดโรคริดสีดวงทวารในหญิงตั้งครรภ์
อารมณ์
เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงเช่น หงุดหงิด หรือวิตกกังวล จะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน และการทำงานของระบบประสาทSympatheticมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ อารมณ์ของบุคคลจะมีผลกระทบต่อการทำงานของลำไส้
อาการปวด
โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) การผ่าตัดส่วนล าไส้ตรง
(Rectal surgery) และการผ่าตัดหน้าท้อง (Abdominal surgery) เมื่อมีอาการปวดถ่ายอุจจาระผู้ปุวยจะไม่ยอมเบ่งถ่ายอุจจาระเพราะกลัวเจ็บทำให้อั้นอุจจาระไว้ จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกตามมา
การเคลื่อนไหวของร่างกาย
การเคลื่อนไหวของร่างกาย จะช่วยทำให้การท างานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
การผ่าตัดและการดมยาสลบ
การดมยาสลบชนิดทั่วไป (General anesthesia: GA) เป็นสาเหตุของการเกิดPeristalsisลดลง และขณะท าการผ่าตัดจะไปกระทบกระเทือนการทำงานของลำไส้ท าให้เกิดPeristalsisลดลงชั่วคราวเรียกว่า “Paralytic ileus”อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือหลายวันในการกลับคืนสู่การทํางานปกติ
ปริมาณนํ้าที่ร่างกายได้รับ
นํ้าจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้งแข็งเกินไป ทำให้อุจจาระอ่อนตัว และยังช่วยกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ได้ดี ทำให้มีการถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
การตรวจวินิจฉัยโรค
การตรวจวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินอาหารส่งผลรบกวนการทำงานของลำไส้ชั่วคราว ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำให้ลำไส้สะอาด
ผู้ป่วยต้องได้รับ การงดนํ้าและอาหาร (NPO) หรือรับประทานอาหารเหลวใส (Clear liquid) หรือทําการสวนอุจจาระ(Enema) จนทำให้ลำไส้สะอาดก่อนการส่งตรวจเรียกว่า “การเตรียมลำไส้”(Bowel prep)
ชนิดของอาหารที่รับประทาน
อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ที่มีกากใยมาก
อายุ
ในเด็กเล็ก ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุตั้งแต่
24-30เดือนขึ้นไป ในเด็กเล็กอาจมีการถ่ายอุจจาระวันละหลายๆ
ครั้ง เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์กล้ามเนื้อจะลดขนาดลง และกําลังกล้ามเนื้อก็จะลดลง จึงลดจำนวนครั้งของการขับถ่ายอุจจาระแต่ในผู้สูงอายุมักจะมีปัญหา กล้ามเนื้อหูรูดหย่อนยานความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ปัญหาการขับถ่ายอุจจาระจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยอื่น
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มี
ปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
การพยาบาลผู้ปุวยที่กลั้นอุจจาระไม่ได้
ด้านจิตใจสังคม และจิตวิญญาณ
การดูแลเรื่องจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะเก็บกด (Depression) พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และเก็บตัวไม่ยอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรให้กำลังใจ และสร้างเสริมกำลังใจกับผู้ปุวยให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และกล้าที่ออกสังคมอย่างมั่นใจ ส่วนด้านจิตวิญญาณให้ทําสมาธิและมีสติรู้อยู่เป็นปัจจุบันตลอดเวลาเอาธรรมะเป็นที่พึ่งและปล่อยวางจะช่วยทำให้ใจเกิดปีติในใจและสุขใจ
ด้านร่างกาย
ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลาโดยเฉพาะหลังการขับถ่ายอุจจาระทุกครั้งเพื่อปูองกันการระคายเคืองและเกิดแผล
ดูแลเสื้อผ้าที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหวัด ซึ่งจะท าให้มีอาการไอ จาม อาจทำให้มีอุจจาระเล็ดออกมาขณะไอและจามได้
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือกเป็นเวลาที่สะดวก
ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
ผลด้านสังคม
เมื่อการกลั้นอุจจาระไม่ได้ เป็นเรื่องน่าอับอายส่งผลให้ไม่ต้องการออกสังคม หรือพบปะผู้คนโดยไม่มีเหตุจำเป็น จึงกลายเป็นคนแยกตัวออกจากสังคม
ผลด้านจิตใจ
ทำให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าและความนับถือต่อตนเองและอาจส่งผลรุนแรงมากขึ้นจากปฏิกิริยาของบุคคลที่อยู่รอบข้างซึ่งมีการแสดงออกถึงความน่ารังเกียจต่อสิ่งที่ได้รับรู้
ผลด้านจิตวิญญาณ
ความรู้สึกเสียคุณค่าในตนเองลดลง และขาดการแสดงออกถึงความต้องการการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนากลัวสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในอนาคต
ผลด้านร่างกาย
ทำให้มีอุจจาระไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว จึงเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและอาจเกิดแผลจากการระคายเคืองเสียดสีของผิวหนังบริเวณรอบรูทวารซึ่งผิวหนังมีลักษณะอ่อน และเกิดความสกปรกเปรอะเปื้อนของเสื้อผ้า
และเครื่องใช้
ภาวะท้องเสีย(Diarrhea)
ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง การถ่ายอุจจาระหลาย ๆ ครั้ง
เป็นการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและการพักผ่อน
เกิดภาวะเสียสมดุลน้ าและเกลือแร่ในร่างกาย (Electrolyte imbalance)
การพยาบาลผู้ปุวยที่มีภาวะท้องเสีย
ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดนํ้าและเกลือแร่
สังเกตความผิดปกติอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย พร้อมทั้งสังเกตประเมินอาการ และติดตามผลการตรวจเลือด และอุจจาระทางห้องปฏิบัติการ
สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระความถี่ของการถ่ายอุจจาระ
และประเมินความรุนแรงของอาการและอาการแสดง
การดูแลเรื่องอาหาร ในระยะแรกมักให้งดอาหารและนํ้าทางปาก (NPO)
ให้ดื่มเฉพาะนํ้าหรือสารนํ้า ซึ่งสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย เมื่ออาการดีขึ้นจึงเริ่มให้อาหารอ่อน ไม่มีกากใยอาหารมาก ไม่มีไขมัน ในกรณีเด็กเล็กเมื่อเกิดท้องเดินควรงดนมในระยะแรก เมื่ออาการขาดนํ้าหายไปจึงเริ่มให้อาหาร และค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นในแต่ละวัน
ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ ให้การพยาบาลตามความจําเป็นและเหมาะสม เพื่อให้ผู้ปุวยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มีจำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หรือการกลับซ้ํ้าเป็นอีก กรณีที่มีการติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร
ประเมินสภาพผู้ปุวย
สาเหตุของภาวะท้องเสีย
จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่แสดงออกทางร่างกาย เรียกว่า “Psychosomatic disorder”
การได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์(Sideeffect)
จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม
ภาวะท้องอืด (Flatulence หรือAbdominal distention)
การพยาบาลผู้ปุวยที่มีภาวะท้องอืด
อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด
แสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ
ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60องศาเพื่อให้กระบังลมหย่อยตัว
ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นลดอาการแน่นหน้าอกและทำให้หายใจสะดวก
สาเหตุจากอาหารไม่ย่อย
ตรวจร่างกายโดยวิธีการดู การคลำ การเคาะและการฟัง
Bowelsoundลงบันทึกไว้ทุก 4ชั่วโมงตามเวลาวัดสัญญาณชีพ
แนะนําให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หรืองดนํ้าและอาหารทางปากชั่วคราวหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือผายลมได้ทำให้อาการท้องอืด
ลดลง ผู้ปุวยรู้สึกสุขสบายขึ้น
สังเกตอาการท้องอืดโดยการสอบถามผู้ปุวยถึงอาการท้องอืด
สาเหตุ
มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ตับโต ม้ามโต ท้องมานนํ้า (Ascites)
มีการสะสมของอาหารหรือนํ้ามาก อาหารไม่ย่อย
รับประทานอาหารมากเกินไปหรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
การทําความสะอาดแผลทวารเทียม
เนื่องด้วยลำไส้ที่เปิดออกมาทำหน้าที่ระบายอุจจาระออกมามีถุงรองรับ เมื่อต้องเปลี่ยนถุงรองรับ ด้วยการดึงถุงที่มีกาวติดกับผิวหนังออก แล้วใช้สำลีสะอาดชุบน้ํ้าสะอาดเช็ดทำความสะอาดStomaก่อน แล้วเช็ดผิวหนังรอบๆ ให้สะอาด เช็ดด้วยสำลีแห้ง แล้วปิดถุงใหม่ลงไปสังเกตรอยแดงหรือผื่นและระวังมีแผลถลอกจากการดึงพลาสติกกาวที่ติดแน่นกับผิวหนัง
คำแนะนำสำหรับผู้ปุวยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง
หลังผ่าตัดประมาณ 7-10วัน แผลที่บริเวณ Stoma ก็จะแห้งสนิท และระบบขับถ่ายอุจจาระก็จะเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกันผู้ป่วยจึงสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามเดิมหลังผ่าตัด 6–8เดือน สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่หักโหมรุนแรง และ ไม่ควรยกของหนักเพราะอาจเป็นสาเหตุการเกิดไส้เลื่อนได้รับประทานอาหารได้ทุกประเภท ยกเว้นบางโรคที่ต้องควบคุมการรับประทานอาหาร เช่นผู้ป่วยเบาหวาน โรคตับ โรคไต ความดันโลหิตสูงเป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สและกลิ่น เช่น ถั่ว สะตอ ชะอม นํ้าอัดลม เบียร์ เป็นต้นแต่ผลิตภัณฑ์บางชนิดมีตัวช่วยเก็บกลิ่นด้วยควรดื่มนํ้าอย่างน้อย วันละ 6–8แก้ว หลีกเลี่ยงปัญหาท้องผูก
การพยาบาลผู้ปุวยที่ถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
การออกกำลังกายและการทำงาน
การรับประทานอาหารที่เหมาะสมผู้ปุวยต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารควรทราบถึงการเลือกชนิดของอาหารที่มีผลต่อการขับถ่ายอุจจาระ
การฝึกหัดการขับถ่ายโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้องหัดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและเบ่งถ่ายอุจจาระทุกวัน ตอนเช้า นอกจากนี้ อาจต้องใช้ยา Dulcolaxหรือ Glycerineเหน็บรูเปิดลำไส้ จะช่วยให้การขับถ่ายเป็นเวลา
การปิดถุงรองรับอุจจาระเมื่อทำความสะอาดStomaและผิวหนังรอบๆแล้ว ต้องปิดด้วยถุงรองรับอุจจาระเพื่อปูองกันผิวหนังรอบๆสัมผัสกับอุจจาระที่ผ่านออกจากลำไส้ ทำให้ระคายเคือง และเป็นแผลได้ง่าย
ภาวะแทรกซ้อนสังเกตและดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือการระคายเคืองของผิวหนังรอบบริเวณช่องเปิดลำไส้การติดเชื้อการตีบของ Stomaการอุดตันการทะลุของลำไส้อาการท้องเสีย
การทำความสะอาดช่องเปิดของลำไส้ และผิวหนังรอบๆ
การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
การพยาบาลผู้ปุวยที่มี
การอัดแน่นของอุจจาระ
การช่วยเหลือเอาก้อนอุจจาระออกจากร่างกายโดยการล้วงอุจจาระ (Evacuation) และอาจใช้ยาระบายเพื่อทำให้ก้อนอุจจาระอ่อนนุ่มและหล่อลื่นหรือการสวนอุจจาระในกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผล
การล้วงอุจจาระ (Evacuation)
การล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการช่วยเหลือผู้ปุวยในกรณีที่ผู้ปุวยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมาตามปกติ ประมาณ 4-5 วัน หรือมีอาการท้องอืดตึง
สาเหตุ
อาการเริ่มแรกคือ ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระเป็นนํ้าเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้ ซึ่งต่างจากท้องเดิน ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องมาก ปวดอุจจาระ อยากถ่ายตลอดเวลาแต่ถ่ายไม่ออก อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยคือบั้นเอว ท้องอืด แน่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจตื้นๆ ความดันโลหิตสูงขึ้น เมื่อตรวจทางทวารหนักโดยสวมถุงมือ และสอดนิ้วที่หล่อลื่นด้วยเจล หล่อลื่นผ่านเข้าไป (Rectal exam) จะพบก้อนแข็งๆ ของอุจจาระ หรือไม่พบหากก้อนนั้นอยู่สูงเกินไป
ภาวะท้องผูก(Constipation)
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหาร เป็นแอมโมเนียดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปยังสมองในผู้ปุวยโรคตับจะเกิดอาการHepatic encephalopathy
เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid)
ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง หรือผนังลำไส้หย่อนตัวเป็นถุงสะสมอุจจาระไว้ พบในผู้ปุวยสูงอายุ หรือผู้ปุวยอัมพาต
เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Incontinence)
เกิดอาการแน่นท้องท้องอืด ปวดท้อง
ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะวิงเวียน
การพยาบาลผู้ปุวยที่มีภาวะท้องผูก
แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ
และควรฝึกระบบขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
แนะนำให้ออกกำลังกาย
สังเกตความถี่การใช้ยาระบายหรือยาถ่ายพยายามลดการใช้จนสามารถเลิกใช้ยาระบาย หรือใช้ในกรณีที่จำเป็นเพื่อเป็นการปูองกันไม่ให้ผู้ปุวยต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ
แนะนำ กระตุ้นและช่วยให้ผู้ปุวยได้รับนํ้าให้เพียงพอควรดื่มนํ้าอย่างน้อยวันละ 2,000–2,500cc.ถ้าไม่มีข้อห้าม
แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ปุวยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ
โดยเฉพาะอาหารที่มีกากใยมากๆ
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
แนะนำสมุนไพรซึ่งเป็นอาหารหรือนำมาปรุงอาหารจะช่วยการขับถ่ายอุจจาระใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ
สาเหตุภาวะท้องผูก
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ
อาจเกิดจากความเจ็บปุวยหรือการรักษาด้วยยามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ
โดยภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยภาวะขาดน ้าการเคลื่อนไหวลดลงแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
ข้อคํานึงในการสวนอุจจาระ
ท่านอนของผู้ปุวยท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งควํ่า (Sim’s position)
ให้เข่าขวา งอขึ้นมากๆ ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถนอนตะแคงซ้ายได้อาจจัดให้นอนหงาย แต่ไม่ควรให้อยู่ในท่านั่ง
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
แรงดันของสารน้ํ้าที่สวนให้แก่ผู้ป่วย ควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน 1 ฟุตเหนือระดับที่นอนในเด็กเล็กไม่ควรเกิน 3 นิ้ว
อุณหภูมิของสารน้ํ้าอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ105 ̊F (40.5 ̊C)
ทิศทางการสอดหัวสวนให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบนปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส้
การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น เช่นKY jellyเป็นต้น หล่อลื่นให้ยาวประมาณ 2-3 นิ้วในผู้ใหญ่ และ 1นิ้วในเด็ก
ระยะเวลาที่สารนํ้ากักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่หลังจากที่ปล่อยสารนํ้าเข้าไปในลำไส้ใหญ่จนผู้ปุวยรู้สึกทนต่อไปไม่ได้ ควรให้ผู้ป่วยหายใจทางปากยาวๆ เพื่อผ่อนคลายและกลั้นอุจจาระต่อไปอีก 5–10นาที หรือเท่าที่จะทนได้เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัวลง
ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้และลักษณะของสายสวนอุจจาระ การสอดสายสวนเข้าทวารหนัก สอดลึก 2-4 นิ้ว สายยางที่ใช้ควรเป็นชนิดที่อ่อนนุ่ม โค้งงอได้ง่าย มีรูเปิด 1–2รู ปลายมน หากต้องการให้ผู้ป่วยกักเก็บสารน้ าได้ดีควรใช้สายยางขนาดเล็กเด็กโต สอดลึกประมาณ2–3นิ้วส่วนเด็กเล็ก สอดลึกประมาณ1–1.5นิ้ว
การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติจากสาเหตุที่ผู้ป่วยเบ่ง ควรบอกให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจเข้ายาวๆแต่หากเกิดจากปลายหัวสวนติดผนังลําไส้ ให้ถอยหัวสวนออกมาเล็กน้อยหลังจากเลื่อนหัวสวนแล้วสารละลายก็ยังไม่ไหล อาจมีอุจจาระติดที่ปลายหัวสวน ค่อยๆดึงหัวสวนออกมาแล้วเปลี่ยนหัวสวนอันใหม่
การปล่อยนํ้าเปิดClamp ให้นํ้าไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ถ้าสารละลายปริมาณมากอาจใช้เวลานาน10-15 นาที
การสวนอุจจาระ
ชนิดของการสวนอุจจาระ
Cleansing enema
เป็นการสวนนํ้าหรือนํ้ายาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลําไส้ โดยการทำให้เกิดการระคายเคืองของ Colonหรือ Rectum รวมทั้งทำให้ลำไส้โป้งตึงด้วยนํ้าหรือนํ้ายาและขับอุจจาระออกมา มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาอาการท้องผูก อุจจาระอัดแน่นช่วยล้างลำไส้ใหญ่ให้สะอาด ก่อนทำการเตรียมส่งตรวจ การผ่าตัด หรือการส่ง เอกซเรย์วินิจฉัยโรคและช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ ในช่วงเข้าโปรแกรมฝึกการขับถ่าย
Normal saline solution enema(NSSenema) เป็นการสวนอุจจาระโดยใช้สารละลาย0.9 % NSSนิยมใช้ ในผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยที่มีลำไส้อักเสบ ไม่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคหัวใจวาย หรือผู้ป่วยที่มีการ คั่งของเกลือโซเดียมในร่างกาย
Fleet enema เป็นการสวนอุจจาระโดยนํ้ายาสําเร็จรูปคือสารละลายHypotonicบรรจุในขวดพลาสติกลักษณะของขวดมีหัวสวนอยู่ในตัว และหล่อลื่นด้วยวาสลิน ให้ผลดีหลังสวนประมาณ 5นาที เหมาะสำหรับ การสวนอุจจาระแก่ผู้ใหญ่ และผู้ที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการคั่งของโซเดียมในร่างกาย
Soap sud enema(SSE) เป็นการสวนอุจจาระโดยใช้น้ าสบู่ผสมนํ้าใช้นํ้าสบู่เข้มข้น 15ml.ในนํ้า 1,000 ml.แต่โดยทั่วไปมักผสมกับนํ้าจนเป็นสีนํ้าซาวข้าวการสวนอุจจาระด้วยนํ้าสบู่อาจทําให้เกิด ลำไส้ใหญ่อักเสบได้และถ้านํ้าสบู่ได้รับความร้อนจะทำให้เกิดภาวะของ Methemoglobinemiaทำให้ร่างกายมีอาการเขียวคลํ้า อ่อนเพลีย มึนงง หายใจลําบาก ชีพจรเร็วกว่าปกติ
Oil enema เป็นการสวนอุจจาระโดยใช้นํ้ามันพืช นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีอุจจาระอุดตัน ให้ผลหลังสวนประมาณ 30นาที
Tap water enema (TWE) เป็นการสวนเอานํ้าสะอาดเข้าในลำไส้ ไม่นิยมใช้ในผู้ปุวยที่มีภาวะอิเล็กโตรไลต์ไม่สมดุล หรือผู้ป่วยเด็ก
Retention enema
การสวนเก็บเป็นการสวนนํ้ายาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml.
Medicated enema เป็นการสวนเก็บด้วยยา เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าไปในร่างกายทางทวารหนัก
Oil-retention enema เป็นการสวนเก็บนํ้ามัน เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว กระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวดีขึ้น
วัตถุประสงค์
เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ปุวยจะต้องดมยาสลบ
เตรียมคลอด
เตรียมตรวจทางรังสี
เพื่อการรักษาเช่น การระบายพิษจากแอมโมเนียคั่งในกระแสเลือดในผู้ป่วยโรคตับ
ลดปัญหาอาการท้องผูก