Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3 :star:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีบุคลิกภาพ - Coggle Diagram
บทที่3
:star:
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีบุคลิกภาพ
กลุ่มทฤษฎีบุคลิกภาพโดยแบ่งตามประเภท
ทฤษฎีบุคลิกภาพ ของเคริตชเมอร์
เครทส์เมอร์ (Ernest Kretschmer) เป็นจิตแพทย์และนักจิตวิทยาชาวเยอรมัน เกิดปี ค.ศ. 1888 ได้แบ่งบุคลิกภาพของคนออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะทางร่างกาย (สรีระ) และนิสัยเขาเน้นว่า มนุษย์สามารถจำแนกลักษณะโดยถือเอาโครงร่างเป็นหลักและสรุปว่าบุคลิกภาพมี 4 แบบ ดังนี้คือ
ประเภท Asthenic หรือ Leptosomic type ได้แก่พวกที่โครงร่างมีลักษณะผอมสูง ชะลูด ลีบเล็ก ท้องแฟบ แบบบาง ไหล่แคบ กระดูกใหญ่ ขาแขนยาว อกแฟบ กล้ามเนื้อน้อย ผิวไม่มีเลือดแฝด ร่างกายทุกส่วน หน้าอก คอ ขา ลำตัว ขาดลักษณะความหนาทึบ พวกนี้มีลักษณะนิสัยเงียบขรึม คิดมาก ค่อนข้างเก็บตัว มักมีใจคอผิดปกติได้ง่ายหากมีอะไรกระทบกระเทือนจิตใจ
ประเภท Pyknic type ได้แก่พวกที่มีโครงร่างลักษณะอ้วนเตี้ย, ท้องพลุ้ย, มีใบหน้ากลมและลำตัวกลมป้อมเตี้ย เป็นพวกที่ศีรษะเล็ก หน้าอก กระเพาะอาหารพัฒนาสมบูรณ์ยิ่งกว่าส่วนอื่นๆ ลำตัวสมบูรณ์ด้วยไขมัน ลำคอหนา ใบหน้าแบน แขนขาสั้น ใบหน้าเต็ม ไหล่กว้าง มีนิสัยปล่อยตัวตามสบาย เป็นแบบพวกแสดงตัว ชอบแสดงตัว อารมณ์อ่อนไหวเปลี่ยนแปลงง่าย โกรธง่ายหายเร็วถ้ามีสิ่งล่อใจดีๆ ชอบอยู่เป็นกลุ่ม หัวเราะได้ทั้งวันไม่ชอบทำงานหนัก
ประเภท Athetotic or Athletic or Muscular type ได้แก่พวกร่างกายสมส่วนแบบนักกีฬา รูปร่างสันทัด เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อแข็งแรง กล้ามเนื้องาม ช่วงขาช่วงแขนสมส่วน ร่างกายสูงพอเหมาะ อกผายไหล่ผึ่ง เป็นพวกมีพละกำลัง บางครั้งชอบก้าวร้าว
ประเภท Dysplastic type เป็นพวกไม่สมประกอบ ร่างกายบางส่วนผิดปกติธรรมดา หรือร่างกายผิดส่วน ค่อนข้างมีสติปัญญาต่ำ หรือมีปมด้อย พวกนี้มักมีพฤติกรรมที่ค่อนข้างเป็นปัญหา มีลักษณะรูปร่างปะปนผสมผสานจากทุกๆ แบบที่กล่าวมา ไม่สามารถจัดเข้าประเภทใดประเภทหนึ่งดังกล่าวแล้วได้ มีลักษณะนิสัยเกเร สับสน ไม่เข้าใจตน การรับรู้ตนไม่ดีนัก
ทฤษฎีบุคลิกภาพ ของคาร์ล กุสตาฟ จุง
แบบแสดงตัว (Extrovert) เป็นบุคลิกภาพประเภทแสดงตัว ชอบเข้าสังคมรักความสนุกสนาน ชอบการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เป็นจริง มีมนุษยสัมพันธ์ดี กล้าที่จะแสดงออก ชอบความเป็นผู้นำต้องการเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คบคนง่าย ชอบเผชิญปัญหามากกว่าการหนีปัญหาอย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงจะพบว่าคนบางคนจะมีบุคลิกภาพแบบกลางๆ กล่าวคือ มักจะมีบุคลิกภาพเป็นไปตามสถานการณ์ เช่น ในสถานการณ์หนึ่งอาจมีบุคลิกภาพแบบแสดงตัว ในอีกสถานการณ์หนึ่งอาจเป็นแบบเก็บตัวก็ได้ จุงจัดคนประเภทนี้อยู่ในพวกแอมบิเวิร์ต
แบบเก็บตัว (Introvert) เป็นบุคลิกภาพของบุคคลที่มีแน้วโน้มเป็นพวกเก็บตัว ชอบความสงบเงียบไม่ชอบการเข้าสังคม ขี้อาย พอใจที่จะอยู่เบื้องหลัง ขาดความมั่นใจในตนเอง ชอบใช้วิธีหนีปัญหามากกว่าเผชิญปัญหา ส่วนดีของบุคลิกภาพแบบเก็บตัวนี้มักจะเป็นบุคลิกของ นักประดิษฐ์และนักคิดค้นทั้งหลาย แต่ส่วนเสียมักจะเกิดอาการซึมเศร้า แยกตัว และไม่สนใจสังคม
ทฤษฎีบุคลิกภาพตามลักษณะโครงสร้างร่างกาย ของเชลดอน
สามารถสรุปได้ว่ารูปร่างแบบพื้นฐานแบ่งเป็น 3 แบบ คือ
รูปร่างอ้วน Endomorphy) มีลักษณะรูปร่างอ้วน เนื้อนิ่มและลำตัวมีขนาดกลม รูปร่างไม่ดี มีน้ำหนักมาก รับประทานอาหารมาก มีความเชื่องช้าอืดอาด ไม่สะอาด มีเพื่อนมาก มีนิสัยชอบการเข้าสมาคม ชอบการนอนและการกิน ชอบให้ร่างกายสบายและเป็นบุคคลที่มีความสุข
รูปร่างลำสัน Mesomorphy) มีลักษณะรูปร่างแข็งแรง มีมัดกล้ามเนื้อ มีการพัฒนาทางร่างกายมีกล้ามเนื้อแข็งแรงมองดูดี มีเพื่อนมาก มีความสุข มีคนชอบมาก มีความประณีต มีความเร็ว ชอบช่วยเหลือบุคคลอื่น มีลักษณะรูปร่างแบบนักกีฬา ชอบการต่อสู้ มีพลังชอบการผจญภัย ชอบการออกกำลังกายและมีความกล้าหาญ
รูปร่างผอม (Ectomorphy) มีลักษณะรูปร่างที่กล้ามเนื้อและกระดูกยังไม่รับการพัฒนา หน้าอกแบนราบ ลำตัวมีขนาดบางและอ่อนแอ ศีรษะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ มีน้ำหนักเบารับประทานอาหารได้น้อย ชอบความเงียบ มีความวิตกกังวลใจ มีความหวาดกลัวไม่ชอบการต่อสู้ มีคุณสมบัติที่มีจิตสำนึกของตัวเอง มีอารมณ์อ่อนไหว มีความกังวลใจ ชอบอยู่ตามลำพัง ชอบการใช้ความคิดเป็นต้น
กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยม
ทฤษฎีบุคลิกภาพ ของมาสโลว์
ทฤษฏี Maslow’s Hierarchy of needs Theory แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ไว้ดังนี้
ขั้นที่ 4 ความต้องการการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem needs) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
ความต้องการนับถือตนเอง (Self-respect) คือ ความต้องการมีอำนาจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามารถและความสำเร็จ มีความเคารพนับถือตนเอง
ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem from others) คือ ความต้องการชื่อเสียงเกียรติยศ การยอมรับยกย่องจากผู้อื่น
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรัก และความเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs) เมื่อ 2 ขั้นแรกได้รับการสนองความต้องการแล้ว มนุษย์จะสร้างความรักและความผูกพันกับผู้อื่น
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน (Basic needs) ซึ่งมีพลังมากที่สุดเพราะเป็นความต้องการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 5 ความต้องการที่จะเข้าใจประจักษ์ตนเองอย่างแท้จริง (Self-actualization needs) เป็นความต้องการเพื่อตระหนักรู้ความสามารถของตนกับประพฤติปฏิบัติตนตามความสามารถ และสุดความสามารถ โดยเพ่งเล็งประโยชน์ของคนอื่นและของสังคมส่วนรวมเป็นสำคัญ
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and security needs) ความต้องการในขั้นนี้จะเกิดเมื่อขั้นแรกได้รับการตอบสนอง ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการที่จะรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง หากไม่ได้รับการตอบสนองหากไม่ได้รับการตอบสนองจะเกิดความรู้สึกหวาดกลัว ผวา
ทฤษฎีตัวตน ของโรเจอร์
2.ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) คือ ตัวตนตามข้อเท็จจริง ข้อมูลคล้ายกับตนที่มองเห็น แต่เป็นสิ่งที่ยากเพราะบางคนอาจจะเข้าข้างตนเอง ไม่ยอมรับรับตามที่เป็นจริงเพราะรู้สึกด้อยกว่าคนอื่น
1.ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) รวบรวมข้อมูลตนตามที่ตนมองเห็นออกมาก่อน อาจจะจดบันทึกข้อมูลไว้ตามที่นึกได้ ไม่จำเป็นต้องนึกให้หมดในครั้งเดียว เพราะบางทีเราก็ลืมเรื่องบางอย่างของตนเองได้ มองตามที่เราเคยเห็นว่าตนเองเป็นอย่างไรมาก่อน ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง
3.ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) คือตัวตนที่อยากมีอยากเป็น เป็นข้อมูลที่ทุกคนมีอยู่ในใจอยู่แล้ว แต่บางคนอาจจะปฏิเสธสิ่งที่อยากเป็น แล้วเลือกอย่างอื่นที่ง่ายกว่า ทั้งที่จริงไม่ชอบ
กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้จากสังคม
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบจงใจกระทำ ของสกินเนอร์
ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer)
หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้รับหรือนำเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ และทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น อาหาร คำชมเชย ฯลฯ
ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer)
หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ
การลงโทษ (Punishment)
การลงโทษ (Punishment) คือ การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี 2 ทางได้แก่
การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)
พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนำสิ่งเร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป
การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)
พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น
ทฤษฎีการเรียนรู้จากตัวแบบ ของแบนดูร่า
กระบวนการความเอาใจใส่ (Attention) ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มีความใส่ใจการเรียนรู้ก็จะไม่เกิดขึ้น
กระบวนการจดจำ (Retention) ผู้เรียนสามารถจดจำสิ่งที่ตนเองสังเกตและไปเลียนแบบได้ถึงแม้เวลาจะผ่านไปก็ตาม
กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (Reproduction) เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกมาเป็นการการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ
กระบวนการการจูงใจ (Motivation) แรงจูงใจของผู้เรียนที่จะแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบที่ตนสังเกต เนื่องจากความคาดหวังว่า การเลียนแบบจะนำประโยชน์มาให้
กลุ่มทฤษฎีการเคลื่อนไหวทางจิต
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ของฟรอยด์
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งจิตออกเป็น 3 ระดับดังนี้
จิตกึ่งสำนึก
ส่วนของจิตใจ ที่มิได้แสดงออกเป็นพฤติกรรม ในขณะนั้น แต่ เป็นส่วนที่รู้ตัว สามารถดึงออกมใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
จิตไร้สำนึกหรือจิตใต้สำนึก
ภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้
จิตสำนึกหรือจิตรู้สำนึก
ภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่ได้แก่ การแสดพฤติกรรม เพื่อให้ สอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นจริง
อีโก้ (Ego)
ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id โดยอาศัยกฎเกณฑ์ ทางสังคม และหลักแห่งความจริง (Reality principle) มาช่วยในการตัดสินใจ ไม่ใช่แสดงออกตามความ พอใจของตนแต่เพียงอย่างเดียว
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego)
หมายถึงมโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน โดยอาศัยหลักของศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมต่าง ๆ ใน สังคมนั้น Superego จะเป็นตัวบังคับ และควบคุมความคิดให้แสดงออกในลักษณะที่เป็นสมาชิกที่ดีของ สังคม
อิด (Id)
หมายถึงตัณหาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัดเกลา ซึ่งทำให้ มนุษย์ทำทุก อย่างเพื่อความพึงพอใจของตนเองหรือทำตามหลักของความพอใจ (Pleasure principle) เปรียบเหมือนสันดานดิบของ มนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น สัญชาติญาณ แห่งการมีชีวิต
ทฤษฎีจิตวิทยาปัจเจกบุคคล ของแอดเลอร์
แอดเลอร์ทำให้ได้ข้อสรุปปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกของบุคคลไว้ 3 ประการ ดังนี้
ลำดับการเกิดของเด็กในครอบครัว (Order of Birth)
แอดเลอร์ให้ความสำคัญต่อสังคมระดับครอบครัวเป็นอันดับแรก โดยสังเกตจากบุคลิกภาพของลูกคนโต คนกลาง และคนสุดท้อง ซึ่งจะแตกต่างกันไปอย่างเห็นได้เด่นชัด จึงทำให้เชื่อว่าเป็นเพราะประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากพ่อแม่แตกต่างกันไป
ความรู้สึกว่ามีปมด้อยและสร้างปมเด่นชดเชย (Inforiority Feeling and Compensation)
แอดเลอร์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีปมด้อย ซึ่งในระยะแรกจากการสังเกตผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาในคลินิกของแอดเลอร์ พบว่าในวัยเด็กคนไข้เหล่านี้มักมีความบกพร่องทางร่างกายเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมาจึงพบว่านอกจากสภาพร่างกายที่เป็นปมด้อยแล้ว ยังเป็นผลมาจากประสบการณ์ต่างๆ ที่บุคคลได้รับจากสังคม
ประสบการณ์ในวัยเด็ก (Chilhood Experience)
ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการอบรมเลี้ยงดูในระยะแรกของชีวิต ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี ซึ่งแอดเลอร์ได้ให้ความสนใจประสบการณ์เหล่านี้เป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพเป็น อย่างยิ่ง