Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อมูลด้านสุขภาพ 11 แบบแผน กอร์ดอนของหญิงไทย อายุ 71 ปี แพทย์วินิจฉัยว่าเป…
ข้อมูลด้านสุขภาพ 11 แบบแผน กอร์ดอนของหญิงไทย อายุ 71 ปี แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรค Acute diarrhea (ท้องร่วงเฉียบพลัน) คือท้องร่วงที่เป็นมาน้อยกว่า 7 วัน
แบบแผนที่ 10 การเผชิญปัญหา และความทนทานต่อกิจกรรม
ข้อมูลการซักประวัติ
ก่อนการเจ็บป่วย : โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีภาวะเครียดที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต เมื่อมีปัญหาก็จะพูดคุยปรึกษากันภายในครอบครัว คือแม่ และสามี ช่วยกันแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม เป็นคนมองโลกในแง่บวกใช้หลักการดำเนินชีวิตโดยให้กำลังใจตนเอง
ขณะอยู่โรงพยาบาล ผู้ป่วยไม่แสดงความวิตกกังวลใดๆที่เกี่ยวกับโรค รู้สึกดีใจยิ้มแย้มเมื่อเห็นลูกเข้ามาพูดคุยด้วย
สรุปแบบแผนที่ 10 เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเนื่องจากเหนื่อย อ่อนเพลีย
เกณฑ์การประเมิน -ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม -ผู้ป่วยไม่มีบาดแผลส่วนใดของร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
3.จัดวางสิ่งของให้ผู้ป่วยหยิบได้ง่าย
4.ตรวจสอบความแข็งแรงของไม้กั้นเตียง ถ้ามีการเคลื่อนหลุดต้องรีบแก้ไข
2.ประเมินกำลังกล้ามเนื้อ motor power
แบ่งเป็น 6 ระดับ คือ
ระดับ 5 : ต้านแรงแพทย์ได้เต็มที่
ระดับ 4 : ต้านแรงแพทย์ได้ไม่เต็มที่
ระดับ 3 : ยกแขน ขา ลอยจากพื้นได้ แต่ต้านแรงแพทย์ไม่ได้
ระดับ 2 : เคลื่อนไหวแขนขาได้บนพื้น แต่ไม่สามารถยกขึ้นจากพื้นได้
ระดับ 1 : มีการเกร็งของกล้ามเนื้อ แต่ไม่มีการเคลื่อนไหว
ระดับ 0 : ไม่มีการเกร็งของกล้ามเนื้อเลย
1.ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม Morse Fall Scale
ระดับความเสี่ยง คะแนน 0 –24 หมายถึง ไม่มีความเสี่ยงต่อการลื่น/ตก/หกล้ม คะแนน 25 –50 หมายถึง มีความเสี่ยงต่อการลื่น/ตก/หกล้ม คะแนน ≥ 51 หมายถึง มีความเสี่ยงสูงต่อการลื่น/ตก/หกล้ม
5.ดึงไม้กั้นเตียงขึ้นทั้ง 2 ด้านทุกครั้ง
6.จัดให้มีคนเฝ้าและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ขณะไปเข้าห้องน้ำ และขณะอยู่บนเตียง
7.ติดตั้งสัญญาณเรียกไว้ใกล้ตัวผู้ป่วย ถ้าต้องการความช่วยเหลือให้กดสัญญาณเรียกได้ตลอดเวลา
8.ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียว ญาติควรอยู่ใกล้ชิดเพื่อช่วยเหลือทันท่วงที
9.กระตุ้นให้ญาติมีทักษะในการช่วยเหลือผู้ป่วย เช่น การสังเกต การพยุง ความไวในการตัดสินใจ และการประเมิน
10.ญาติช่วยดูแลห้องน้ำให้แห้งเสมอป้องกันการลื่นล้ม
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตก หกล้ม ให้ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุและปลอดภัย
การประเมินผล -ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม
-ผู้ป่วยไม่มีบาดแผลส่วนใดของร่างกาย
การประเมินผล : ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ ไม่มีบาดแผลตามร่างกาย
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยมีสีหน้าอ่อนเพลีย พูดคุยกับคนรอบข้างดีและให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลดี
แบบแผนที่ 1 การรับรู้สุขภาพและการจัดการสุขภาพ
สรุปแบบแผนที่ 1 มีไข้เนื่องจากติดเชื้อในลำไส้
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยมีอุณภูมิกายลดลงและส่งเสริมความสุขสบายให้กับผู้ป่วย
การพยาบาล
6.ดูแลให้ได้รับยาฆ่าเชื้อ metronidazole และ ceftriaxone
7.แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารอ่อน งดอาหารรสจัด งดดื่มนม และผลไม้ต่างๆ
5.ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ พาราเซตตามอน ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการไข้
8.ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการนอนพักผ่อน ให้เงียบสงบ สะอาด ระบายอากาศได้ดี
3.ดูแลให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายโดยการห่มผ้าห่ม เมื่อผู้ป่วยหนาวสั่น ไม่ควรเช็ดตัวลดไข้เพราะจะกระตุ้นให้สร้างความร้อนมากขึ้น
2.ดูแลเช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดา เมื่ออุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15-20 นาที เพื่อลดอุณหภูมิ
4.เมื่ออุณหภูมิลดลงแล้วไม่ควรห่มผ้าหนาเกินไป เพื่อระบายอากาศ
1.วัดสัญญาณชีพและประเมินระดับความรู้สึกตัว ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการ
9.ติดตามและประเมินอาการหลังให้การพยาบาลทุก 4 ชั่วโมง
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยและญาติบ่นว่าผู้ป่วยตัวร้อน หน้าแดง
O: ผู้ป่วยมีลักษณะเหนื่อยอ่อนเพลีย
อุณหภูมิกาย 39.1 องศาเซลเซียส (27/8/2563) ถ่ายเหลว 5-6 ครั้ง RR= 22/min WBC = 11220 cell/mm3 Neutrophil = 57.8 % Eosinophil = 0.1 % Lymphocyte = 34.9 % Monocyte = 6.8 %
การประเมินผล ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย ลุกจากเตียงไปเข้าห้องน้ำเองได้ และพูดคุยถามตอบรู้เรื่อง อุณหภูมิกายลดลงเหลือ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส ตัวไม่ร้อน หน้าไม่แดง
เกณฑ์การประเมิน ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย อุณหภูมิกายลดลง 36.5-37.5 องศาเซลเซียส เดินไปเข้าห้องน้ำเองได้
ไม่ซึม ขับถ่ายปกติ เป็นก้อน RR= 20/min WBC = 4000-11000 cell/mm3 Neutrophil = 40-70 % Eosinophil = 0-6 % Lymphocyte = 20-50 % Monocyte = 2-6 %
ข้อมูลการซักประวัติ
ก่อนการเจ็บป่วย ผู้ป่วยทราบว่าตนเองมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ไม่เคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน ปฏิเสธโรคประจำตัว ไม่ชอบรับประทานอาหารมัน และไม่รับประทานเนื้อหมู รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ ผัก ผลไม้รับประทานหลังอาหารทุกมื้อ รับรู้ตนเองว่า 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการถ่ายเหลว ปวดแสบใต้ลิ้นปี่ มีไข้ และมีอาการถ่ายเหลว ปวดจุก 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ขณะอยู่โรงพยาบาล ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเป็น Acute diarrhea (ท้องร่วงเฉียบพลัน) คือท้องร่วงที่เป็นมาน้อยกว่า 7 วัน และต้องรักษาโดยการรับประทานยาฆ่าเชื้อ metronidazole และ ceftriaxone ร่วมกับให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำและการดื่มน้ำเปล่ามากๆ เพื่อชดเชยสารน้ำที่สูญเสียไปกับการอุจจาระและปัสสาวะ
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
หญิงไทยอายุ 71 ปี รูปร่างสมส่วน ผิวสีดำคล้ำ ผมสีดำ ผมไม่มีรังแคและนุ่ม ลักษณะบางและหลุดร่วงง่าย ผิวหนังแห้ง ปากแห้ง นอนพักบนเตียงมีสีหน้าอ่อนเพลีย เคลื่อนไหวได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ความทนต่อกิจกรรมลดลง ถามตอบรู้เรื่องไม่มีภาวะสับสน นอนราบได้หายใจปกติ มีอาการหอบเหนื่อย ลุกไปเข้าห้องน้ำมีคนช่วยพยุง
แบบแผนที่ 11 คุณค่าและความเชื่อ
ข้อมูลการซักประวัติ
ก่อนการเจ็บป่วย : ผู้ป่วยนับถือศาสนาพุทธ ศาสนกิจที่ทำเป็นประจำ คือ เข้าวัดทำบุญทุกวันพระ เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา และมีศาสนาเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
ขณะเจ็บป่วย : ผู้ป่วยมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และคิดว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกคนต้องเผชิญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเกิดโรคต่างๆขึ้นกับร่างกายเป็นเพราะร่างกายของเราที่อ่อนแอและสารพิษที่ทำลายร่างกาย
แบบแผนที่ 3 การขับถ่าย
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
ลักษณะท้องแบนราบไม่แข็ง กดไม่เจ็บ คลำไม่พบก้อนที่ท้องและไม่มีอาการแน่นท้องและกลั้นปัสสาวะได้ ไม่มีแผลบริเวณหน้าท้อง ไม่มีมูกเลือดปนอุจจาระ
สรุปปัญหาที่พบ: ไม่พบข้อมูลที่เป็นปัญหา
ข้อมูลการซักประวัติ
ก่อนการเจ็บป่วย ผู้ป่วยสามารถลุกไปเข้าห้องน้ำได้เองโดยไม่ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ อุจจาระทุกวันในตอนเช้า วันละ 2 ครั้ง อุจจาระมีสีเหลือง ลักษณะเป็นก้อน ไม่มีภาวะปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะเล็ดเวลาไอจาม ปัสสาวะมีสีเหลืองใสไม่ตกตะกอนไม่มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ ปัสสาวะไม่แสบขัด เคยใช้ยาระบาย ดื่มน้ำวันละ 1.5 ลิตร
ขณะอยู่โรงพยาบาล หลังจากได้รับการรักษาในวันที่ 25/08/63 ผู้ป่วยลุกไปเข้าห้องน้ำเองโดยมีคนคอยช่วยเหลือ ขับถ่ายอุจจาระวันละ 5-6 ครั้ง ลักษะเป็นน้ำ ไม่มีมูกเลือด ปัสสาวะวันละ 2 – 3 ครั้งต่อวัน ไม่มีลุกไปปัสสาวะตอนกลางคืน ไม่มีภาวะปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะเล็ดเวลาไอจาม ปัสสาวะมีสีเหลืองใสไม่ตกตะกอนไม่มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ ปัสสาวะไม่แสบขัด สามารถกลั้นปัสสาวะได้ปกติ
แบบแผนที่ 8 การมีบทบาทและสัมพันธภาพ
ข้อมูลการซักประวัติ
ผู้ป่วยเมื่ออยู่ร่วมกับครอบครัวจะมีหลายบทบาท คือ มีบทบาทของการเป็นแม่ บทบาทการเป็นภรรยาที่ดีของสาทีทำหน้าที่ดูแลความสะอาดเรียบร้อยภายในบ้านทำกับข้าวให้สมาชิกในครบครัวได้รับประทาน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อเพื่อนบ้านโดยการไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับเพื่อนบ้านไม่คิดอิจฉาคนอื่น แบ่งปันอาหารและร่วมรับประทานอาหารกับเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง
ขณะอยู่โรงพยาบาล ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพที่ดีต่อครอบครัวขณะเจ็บป่วยมีลูกและหลานมาคอยดูแลช่วยเหลือเสมอผู้ป่วยมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยข้างๆเตียง การเจ็บป่วยครั้งนี้ไม่มีผลกระทบต่อบทบาทของผู้ป่วยมากนักเนื่องจากลูกและหลานของผู้ป่วยดูแลและให้กำลังใจดี ถ้าหากกลับไปรักษาตัวที่บ้านหลานจะทำหน้าที่ทำกับข้าวแทนยายและจัดการความเรียบร้อยภายในบ้าน
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยมีสีหน้าอ่อนเพลีย เมื่อมีพยาบาลเข้าไปพูดคุยก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
สรุปปัญหาที่พบ: ไม่พบข้อมูลที่เป็นปัญหา
แบบแผนที่ 9 เพศและการเจริญพันธ์ุ
ข้อมูลการซักประวัติ
ก่อนการเจ็บป่วย ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองเพศหญิงอยู่ในวัยผู้ใหญ่ อายุ 71 ปี สถานภาพสมรส มีบุตรแล้ว ก่อนหน้านี้มีการแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมตามวัย และการแต่งกายมีความเหมาะสมกับเพศ ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปี ปัจจุบันหมดประจำเดือนแล้ว
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยมีสีหน้าอ่อนเพลีย ไม่มีอารมณ์หงุดหงิด มีการแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม ให้ความร่วมในการรักษาพยาบาลดี แต่งกายเรียบร้อยสวมชุดผู้ป่วยของทางโรงพยาบาล
สรุปปัญหาที่พบ: ไม่พบข้อมูลที่เป็นปัญหา
แบบแผนที่ 6 ด้านความคิดและการรับรู้
ข้อมูลการซักประวัติ
ก่อนการเจ็บป่วย ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี พูดคุยรู้เรื่องถามตอบได้ถูกต้องความคิดความจำดีสามารถเล่าเรื่องราวเป็นลำดับขั้นตอนได้สื่อสารกับผู้ฟังรู้เรื่องไม่ถามคำถามซ้ำๆ สามารถบอกวัน เวลา สถานที่ ได้ถูกต้อง จำแม่และสามีของตนเองได้ การมองเห็นชัดเจน อ่านหนังสือไม่ออก การได้กลิ่นปกติดี
ขณะอยู่โรงพยาบาล หลังจากเข้ารับการรักษา ผู้ป่วย ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีพูดคุยตอบคำถามได้ไม่สับสน
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง รับรู้ วัน เวลา สถานที่ จำแม่และน้องสาวได้ หูได้ยินปกติสามรถตอบคำถามได้ไม่ทวนคำถามซ้ำๆ การมองปกติสามารถอ่านหนังสือไม่ออก มีประสาทสัมผัสที่ดี สามารถบอกความเจ็บปวด ร้อน เย็น ทู่แหลมได้ ให้ความร่วมมือในการรักษา มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
สรุปปัญหาที่พบ: ไม่พบข้อมูลที่เป็นปัญหา
แบบแผนที่ 7 การรับรู้และอัตมโนทัศน์
สรุปปัญหาที่พบ: ไม่พบข้อมูลที่เป็นปัญหา
ข้อมูลการซักประวัติ
ก่อนการเจ็บป่วย ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองเป็นผู้หญิงขยันทำงาน เป็นคนอัธยาศัยดี ใจเย็นเข้ากับคนอื่นได้ง่าย มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวดีและเป็นมิตรกับเพื่อนบ้าน รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า สามารถช่วยเหลือตนเองได้หาเงินเลี้ยงแม่ได้ ไม่เป็นภาระของครอบครัว พอใจในสิ่งที่มีพอใจในรูปร่างหน้าตาไม่ดูถูกตนเอง ไม่มีภาวะซึมเศร้า
ขณะอยู่โรงพยาบาล ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองต้องนอนที่โรงพยาบาลเพราะตนเองไม่สบาย เป็น Acute diarrhea (ท้องร่วงเฉียบพลัน) คือท้องร่วงที่เป็นมาน้อยกว่า 7 วัน คิดว่าการเจ็บป่วยครั้งนี้มีผลต่ออนาคตในวันข้างหน้า ผู้ป่วยจึงตระหนักถึงการรับประทานอาหารมากขึ้น เลือกรับประทานแต่อาหารที่ปรุงสุก สะอาด
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี มีสีหน้าอ่อนเพลีย หายใจเร็ว
แบบแผนที่ 5 การนอนหลับและการพักผ่อน
ข้อมูลการซักประวัติ
ก่อนการเจ็บป่วย ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เข้านอนเป็นเวลา ตื่นนอนเวลา 05.00 น. ทุกวันปกติผู้ป่วยปิดไฟนอนถ้ามีแสงสว่างมากผู้ป่วยจะนอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีสะดุ้งตื่นกลางดึก ไม่ลุกปัสสาวะกลางคืน ไม่นอนหลับพักในช่วงกลางวัน ไม่นอนกรน ไม่มีปัญหาในการนอนหลับ ไม่ใช้ยานอนหลับ กิจกรรมก่อนเข้านอนคือดูละครและเล่นโทรศัพท์ สามารถจัดการปัญหาการนอนหลับได้
ขณะอยู่โรงพยาบาล ผู้ป่วยนอนหลับสนิท นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ลุกไปปัสสาวะกลางดึก แล้วกลับเข้ามานอนได้ปกติ และนอนพักผ่อนช่วงกลางวันเนื่องจากอ่อนเพลีย
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
ผู้ป่วยมีสีหน้าท่าทางอ่อนเพลียและหลับพักในช่วงกลางวัน
แบบแผนที่ 4 กิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย
ข้อมูลการซักประวัติ
ก่อนการเจ็บป่วย ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ได้แก่ ทำอาหาร รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัวได้เอง สามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยออกกำลังกายทุกวัน ไม่มีอาการแน่นหน้าอก ในกิจกรรมประจำวันเริ่มจากการตื่นนอนประมาณ 05.00 น. ทำกิจวัตรประจำวัน เช่นอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน หุงข้าว ประกอบอาหารเช้า และจะออกไปตักบาตรทุกเช้ากลับมารับประทานมื้อเช้าร่วมกับสามี 07.00 น หลังจากรับประทานมื้อเช้าเสร็จก็ทำกิจการส่วนตัว เมื่อถึงเวลา 12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง ผู้ป่วยไม่ออกกำลังกายและประกอบอาหารเย็นรับประทานอาหารเย็นเวลา 17.00 น. หลังจากรับประทานอาหารเย็นเสร็จก็ดูละครและเข้านอนเป็นเวลา 22.00 น. เสมอ
ขณะอยู่โรงพยาบาล ผู้ป่วยไม่ออกกำลังกาย มีท่าทางอ่อนเพลียเล็กน้อย เคลื่อนไหวได้ ลุกขึ้นนั่งบ้างเป็นบางครั้ง ทำกิจวัตรช่วยเหลือตัวเองได้เกือบทั้งหมดแต่ต้องมีคนช่วยดูแลใกล้ๆ
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
การตรวจขนาดของกล้ามเนื้อ(muscle size) กล้ามเนื้อต้นแขนและกล้ามเนื้อต้นขาทั้ง 2 ข้าง มีขนาดเท่ากัน การตรวจความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle tone) กล้ามเนื้อสามารถต้านแรงของผู้ตรวจได้ปกติ การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ(muscle power) กล้ามเนื้อมีกำลังของกล้ามเนื้ออยู่ในเกรด V สามารถออกแรงได้เต็มที่ สามารถต้านแรงโน้มถ่วงและแรงของผู้ตรวจได้ ประเมินข้อเข่า ทั้ง 2 ข้าง ไม่มีอาการบวมหรือผิดรูป ข้อศอกทั้ง 2 ข้าง ไม่มีอาการกดเจ็บ มีขนาดที่ปกติ ไม่พบอาการบวมผิดรูป
สรุปปัญหาที่พบ: เสี่ยงต่อการพลักตกหกล้มเนื่องจาก เหนื่อยเพลีย
แบบแผนที่ 2 โภชนาการ
เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจาก เบื่ออาหาร
ข้อมูลสนับสนุน
S: ผู้ป่วยบอกว่ารับประทานอาหารได้น้อยลง
O: ผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่หมดจาน คลื่นไส้ อาเจียน
รูปร่างสมส่วน
มีส่วนสูง 146 ซ.ม. น้ำหนัก 44 กก. BMI = กิโลกรัม/ตารางเมตร
เกณฑ์การประเมิน
-มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ½ กิโลกรัม/สัปดาห์
-ความเบื่ออาหารลดลง รับประทานอาหารได้อย่างน้อย ½ ถ้วย/มื้อ
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาลและเหตุผล
7.ชั่งน้ำหนักผู้ป่วยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเพื่อติดตามอาการ
2.แนะนำที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารโปรตีนสูง ธาตุเหล็ก และงดรับประทานอาหารรสจัด รสเปรี้ยว และผักผลไม้ เพราะจะทำให้ลำไส้บีบตัวมากขึ้น
4.จัดอาหารให้น่ารับประทานและรับประทานขณะอุ่นๆเพื่อให้อยากอาหารมากขึ้นและป้องกันการติดเชื้อ
5.แนะนำให้ญาตินำอาหารมาเองโดยไม่ขัดกับโรคที่เป็นเพื่อให้ไม่เบื่ออาหาร
3.อาหารควรเป็นลักษณะอาหาร อ่อน หรือเหลวข้นไม่ควรเป็นน้ำเพื่อช่วยให้กลืนง่ายและย่อยง่าย
1.ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันเพื่อเพิ่มความอยากอาหาร
10.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูความก้าวหน้าของการหายจากโรคที่เป็น
6.ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารในมื้อเดียวได้ในปริมาณมากพอ แนะนำให้อาหารครั้งละน้อยๆ เพิ่มจำนวนมื้ออาหารเป็นวันละ 5-6 มื้อ และไม่ควรเร่งรีบในการรับประทานอาหารเพื่อให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
8.ชั่งน้ำหนักผู้ป่วยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งเพื่อติดตามอาการ
9.จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาดและสุขสบาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น
การประเมินผล
ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มื้อละ 1/3 ถ้วย วันละ 4-5 มื้อ มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเป็น 46 กิโลกรัม
ข้อมูลการตรวจร่างกาย
ปาก : ริมฝีปากสีน้ำตาลอมชมพู แห้ง ไม่มีแผลที่มุมปาก ไม่มีตุ่มหรือผื่น ปากไม่บวม ช่องปากสะอาดไม่มีแผลในช่องปาก ไม่มีกลิ่นปาก ฟันขาวสะอาด ไม่มีหินปูนเกาะตามซอกฟัน ไม่ใส่ฟันปลอม ไม่มีฟันผุ เหงือกไม่บวมแดง เคี้ยวอาหารได้ปกติ ลิ้นปกติไม่เฉเอียง ไม่มีการอ่อนแรงของลิ้น ลิ้นไม่บวม เยื่อบุช่องปาก เพดานปากสีชมพู ไม่ซีด ไม่มีตุ่มเม็ดผื่น เหงือกสีชมพูขนาดปกติคลุมคอฟันมิดชิด ลิ้นไก่อยู่ตรงกลางไม่เฉเอียง
คอ : ทอนซิลอยู่ระหว่าง anterior และ posterior pillar ขนาดไม่โตเกิน pillar ไม่แดง หลอดลมคออยู่ตรงกลางคอ นิ้วทั้งสองแยงได้สะดวกเท่ากัน คลำเนื้อนุ่มๆได้ทั้ง 2 ข้าง เท่ากัน
ตรวจต่อมไทรอยด์ ส่วน Isthmus ของไทรอยด์ จะไม่เคลื่อนขึ้นข้างบนขณะกลืนน้ำลาย คลำไม่พบก้อนเคลื่อนขึ้น ต่อมไทรอยด์ ทั้งกลีบซ้ายและขวานุ่ม คลำหารูปร่างและขอบเขตได้ไม่ชัดเจน
ตรวจต่อมน้ำเหลือง : ( lymphnode ) Pre auricular, post auricular, occipital, parotid , jugulodigastric, submandibular, submental, superficial cavical, deep cervical , posterior cervical , supraclavicular คลำไม่พบต่อมน้ำเหลืองโตและไม่มีอาการกดเจ็บ
ข้อมูลการซักประวัติ
ขณะอยู่โรงพยาบาล ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย คลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะเบื่ออาหาร เนื่องจากลำไส้บีบตัวมากเกินไป รับประทานอาหารเสร็จจะถ่ายอุจจาระออกทันที และมีอาการเหนื่อย เพลีย เนื่องจากลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อย 5-6 ครั้ง/วัน ส่วนอาหารมื้อเช้า มื้อเที่ยง และมื้อเย็น เป็นอาหารอ่อน (Soft diet) คือ ข้าวต้มหมูสับ ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารและน้ำได้เอง ลุกไปเข้าห้องน้ำมีคนช่วย ดื่มน้ำวันละประมาณ 1.5 ลิตร
BMI= 20.64 กิโลกรัม/ตารางเมตร (รูปร่างสมส่วน)
ก่อนการเจ็บป่วย ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้เองโดยไม่ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ ตรงเวลาเสมอ อุปนิสัยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ส่วนใหญ่รับประทานเนื้อปลา เนื้อไก่ ไม่ชอบรับประทานของทอด ของมัน อาหารที่ชอบ คือ นึ่งปลากับน้ำพริกผักลวก อาหารที่รับประทานในแต่ละวันส่วนมากเป็นอาหารประเภท ผัด แกง ต้ม หลังรับประทานอาหารเสร็จทุกมื้อผู้ป่วยจะกินผลไม้เป็นประจำ เช่น แตงโม ลองกอง องุ่น แก้วมังกร เป็นต้น ผู้ป่วยมีเครื่องกรองน้ำ ดื่มน้ำได้มากปริมาณ 1.5 ลิตร/วัน