Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
1 ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
ลำไส้จะบีบตัวเพื่อให้กากอาหารเคลื่อนที่ไปรวมกันที่ลำไส้ตรง และขับถ่ายสู่ภายนอกร่างกายทางทวารหนัก ที่เรียกว่า อุจจาระ
Reflex
ถ้าอุจจาระเคลื่อนตัวจาก Sigmoid จนถึง Rectum จะเกิดการปวดถ่ายอุจจาระ
เมื่อรับประทานอาหารทำให้เกิดการยืดขยายของลำไส้ส่วนต้น เกิดเคลื่อนไหวแบบ Peristalsis บีบก้อนอาหาร และขับอุจจาระออกไป
ลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่สะสมกากอาหาร และดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย (น้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคส) ออกจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหนียว และข้นจนเป็นก้อนแข็ง
เป็นกระบวนการของร่างกายในภาวะปกติที่ขับของเสียอันเกิดจากการย่อยอาหาร
2 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
2.6 ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits)
ควรมีการฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือเมื่อรู้สึกอยากถ่ายให้รีบไปถ่าย หากมีการกลั้นอุจจาระไว้จะทำให้เกิดท้องผูกได้
2.7 ความเหมาะสม (Opportunity)
สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือห้องน้ำไม่สะอาด ท่าทางในการขับถ่าย
2.5 อารมณ์ (Emotion)
เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
2.8 ยา (Medication)
ยา Atropine และ Morphine จะทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ทำให้เกิดท้องผูกได้
2.4 การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body movement)
ทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติ ส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
2.9 การตั้งครรภ์ (Pregnancy)
เกิดอาการท้องผูกเป็นประจำ และเกิดโรคริดสีดวงทวารในหญิงตั้งครรภ์
2.3 ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
น้ำจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้ง แข็งเกินไป
2.10 อาการปวด (Pain)
อาการปวดถ่ายอุจจาระผู้ป่วยจะไม่ยอมเบ่งถ่ายอุจจาระ เพราะกลัวเจ็บทำให้อั้นอุจจาระไว้ จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกตามมา
2.2 ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake)
พืชผัก ผลไม้ ที่มีกากใยมากทำให้อุจจาระสามารถขับเคลื่อนได้ดีกว่าอาหารที่กากใยน้อย
2.11 การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery and Anesthesia)
การดมยาสลบชนิดทั่วไป เป็นสาเหตุของการเกิด Peristalsis ลดลง อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือหลายวันในการกลับคืนสู่การทำงานปกติ
2.1 อายุ (Age)
เด็กเล็ก ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุ ตั้งแต่ 24-30 เดือนขึ้นไป มีการถ่ายอุจจาระวันละหลาย ๆ ครั้ง
ผู้สูงอายุ มักจะมีปัญหา กล้ามเนื้อหูรูดหย่อนยาน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ปัญหาการขับถ่ายอุจจาระจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยอื่น
2.12 การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
ส่งผลรบกวนการทำงานของลำไส้ชั่วคราว ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำให้ลำไส้สะอาด
3 ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
ลักษณะของอุจจาระปกติ
สำหรับเด็กเล็กอุจจาระอาจจะเป็นสีเหลืองเข้มขึ้น อยู่กับชนิดของอาหารที่รับประทาน
การที่อุจจาระมีสี เกิดจากน้ำดี (Bile) ถ้าไม่มีการขับน้ำดีเข้าสู่ลำไส้จะทำให้อุจจาระมีสีซีด
ลักษณะอ่อน มีรูปร่าง
อุจจาระปกติมีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม
ลักษณะอุจจาระผิดปกติ
อุจจาระเป็นก้อนเล็กๆ แข็ง แห้ง
อุจจาระเป็นสีดำ มีกลิ่นแรง ร่วมกับอาการปวดท้องเกิดจากความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจเกิดเลือดไหลจากกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่
อุจจาระเป็นสีขาวซีดเหมือนสีขี้เถ้า
อุจจาระมีเลือดสดปนออกมา
อุจจาระคล้ายดินร่วน เหลว ปวดถ่ายเร็ว
อุจจาระมีเลือดสดและคันก้น
อุจจาระเป็นมูกวุ้น เหมือนน้ำมูก
4 สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
4.1 ภาวะท้องผูก ( Constipation )
ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1สัปดาห์
สาเหตุ แบ่งออก 2 ประเภท
ภาวะท้องผูกปฐมภูมิ โดยภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
ภาวะท้องผูกทุติยภูมิ เกิดจากความเจ็บปุวยหรือการรักษาด้วยยา
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ฝิ่น
การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร
ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของไขสันหลัง
ลดลงของการเคลื่อนไหวของลำไส้
การทำหน้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อพื้นเชิงกราน
ภาวะผิดปกติของลำไส้
ต้องออกแรงเบ่งมาก ถ่ายไม่สุด เกิดความเจ็บปวด
ถ่ายอุจจาระออกมาแห้งแข็ง ขับถ่ายลำบาก
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
อุจจาระ อาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง หรือผนังลำไส้หย่อนตัวเป็นถุงสะสมอุจจาระไว้ พบในผู้สูงอายุ
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
แน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ วิงเวียน
ในผู้ป่วยโรคตับ อาจเกิดอาการสับสน หมดสติ
ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid)
4.2 การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal Impaction)
การล้วงอุจจาระ (Evacuation)
ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย
ปูผ้ายางรองใต้ผู้ป่วย วางหม้อนอนไว้ใกล้ ๆ
สวมถุงมือ แล้วใช้นิ้วที่หล่อลื่นด้วยเจลหล่อลื่นสอดทางทวารหนัก
ล้วงก้อนอุจจาระออกใส่ในหม้อนอนหรือถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ ต้องทำด้วยความนุ่มนวลและรวดเร็ว
การพยาบาล
เป้าหมายสำคัญ คือ ช่วยเหลือเอาอุจจาระออกจากร่างกาย
การล้วงอุจจาระ (Evacuation)
ให้ยาระบาย การสวนอุจจาระใช้ในกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผล
สาเหตุ
เป็นอาการที่ สืบเนื่องจากท้องผูก สะสมอุจจาระไว้ในไส้ตรงเป็นเวลานาน
อุจจาระเป็นน้ำเหลวไหลซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
ตรวจทางทวารหนัก จะพบก้อนแข็งๆ ของอุจจาระ หรือไม่พบหากก้อนนั้นอยู่สูงเกินไป
อยากถ่ายตลอดเวลาแต่ถ่ายไม่ออก
4.3 ท้องอืด
การพยาบาล
ค้นหาสาเหตุแล้วช่วยเหลือตามสาเหตุ
กระตุ้นให้เคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ให้ระบายแก๊สออกได้
การใส่สายทางทวารหนักเพื่อระบายลม
การใช้ยาขับลม ยาระบาย
ใส่ NG tube เพื่อระบายลม น้ำย่อย อาจต่อกับเครื่อง suction
อธิบายถึงสาเหตุและการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด
แสดงความเข้าใจและให้กำลังใจ
จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45 ̊ - 60 ̊
สาเหตุ
มีแก๊สมากในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
เกิดจากการมีน้ำคั่งมากในช่องท้อง เช่น ท้องมานน้ำ
มีการสะสมของอุจจาระมาก จากการไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
อวัยวะในช่องท้องใหญ่ผิดปกติ เช่น ตับโต ม้ามโต
มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมากจากอาหารไม่ย่อย
4.4 การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
การพยาบาล
1) ด้านร่างกาย
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือกเป็นเวลาที่สะดวก
ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลา
ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
ดูแลเสื้อผ้าที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหวัด
2) ด้านจิตใจสังคม และจิตวิญญาณ
ทำสมาธิและมีสติรู้อยู่เป็นปัจจุบันตลอดเวลาเอาธรรมะเป็นที่พึ่งและปล่อยวางจะช่วยทำให้ใจเกิดปีติในใจและสุขใจ
ควรให้กำลังใจ และสร้างเสริมกำลังใจกับผู้ป่วยให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และกล้าที่ออกสังคมอย่างมั่นใจ
ส่งผลให้เกิดภาวะเก็บกด พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และเก็บตัวไม่ยอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
3) ผลด้านสังคม
เมื่อการกลั้นอุจจาระไม่ได้ เป็นเรื่องน่าอับอายส่งผลให้ไม่ต้องการออกสังคม หรือพบปะผู้คนโดยไม่มีเหตุจำเป็น
4) ผลด้านจิตวิญญาณ
ความรู้สึกเสียคุณค่าในตนเองลดลง และขาดการแสดงออกถึงความต้องการการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางศาสนากลัวสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในอนาคต
2) ผลด้านจิตใจ
สูญเสียความรู้สึกมีคุณค่า / ความนับถือต่อตนเอง
1)ผลด้านร่างกาย
จึงทำให้มีอุจจาระไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว จึงเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและอาจเกิดแผลจากการระคายเคืองเสียดสีของผิวหนังบริเวณรอบรูทวาร
4.6 การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
การพยาบาล
1.การทำความสะอาดช่องเปิดลำไส้
ระยะที่ 2 หลังผ่าตัด 7-10 วัน แผลผ่าตัดจะเริ่มติดดี และเริ่มมีอุจจาระออกทาง Stoma ให้ใช้สำลีสะอาด และน้ำต้มสุกทำความสะอาด Stoma และผิวหนังรอบๆ แล้วซับให้แห้ง
ระยะที่3 หลังผ่าตัด 6-8 สัปดาห์ แผลจะยุบบวม และมีขนาดคงที่ ระยะนี้สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำ และสบู่อ่อนแล้วซับให้แห้ง ขณะอาบน้ำสามารถทำความสะอาดเหมือนการล้างทวารหนัก
ระยะที่ 1 หลังผ่าตัด 4-5 วันทำความสะอาดแบบการทำแผลด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
2.การปิดถุงรองรับอุจจาระ เพื่อป้องกันผิวหนังรอบๆสัมผัสกับอุจจาระที่ผ่านออกจากลำไส้
แบ่งเป็น2ชนิด
ถุงปลายปิด ใช้สำหรับอุจจาระที่ค่อนข้างเป็นก้อน
ถุงปลายเปิด ใช้สำหรับของเสียที่เป็นน้ำ อุจจาระเหลว และมีปริมาณมาก
3.การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
รับประทานอาหารที่ป้องกันอาการท้องผูก เช่น น้ำผลไม้ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก็ส เช่น น้ำอัดลม และควรหลีกเลี่ยง การเคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ การเคี้ยวอาหารปิดปากไม่สนิทการดูดน้ำจากหลอด
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรืออาหารหมักดองเพราะอาจทำให้ท้องเดิน
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่น เช่น ไข่ หน่อไม้ฝรั่ง กระเทียม เครื่องเทศ ส่วนอาหารที่ลดกลิ่น เช่นคะน้า ตำลึง ผักบุ้ง โยเกิร์ต เป็นต้น
ควรรับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ ในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน
4.การออกกำลังกายและการทำงาน
ระยะแรก ผู้ป่วยควรออกกำลังกายเบา ๆ
หลังผ่าตัด 3-6เดือน ออกกำลังกายได้ตามปกติ เช่น เทนนิส แบดมินตัน วิ่ง
5.การฝึกหัดการขับถ่าย
เบ่งถ่ายอุจจาระทุกวัน ตอนเช้า
ต้องใช้ยา Dulcolax หรือ Glycerine เหน็บรูเปิดลำไส้ จะช่วยให้การขับถ่ายเป็นเวลา
โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้องหัดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง
6.ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อ
การตีบของ Stoma การอุดตันการทะลุของลำไส้
การระคายเคืองของผิวหนังรอบบริเวณช่องเปิดลำไส้
ชนิดของ Stoma ที่เป็นช่องทางขับถ่ายอุจจาระ
จำแนกออกเป็น 2 ชนิด
1.Colostomy เป็นทวารหนักชนิดลำไส้ใหญ่
2.Ileostomy เป็นทวารหนักชนิดลำไส้เล็ก
4.5 ภาวะท้องเสีย(Diarrhea)
สาเหตุ
2) จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่แสดงออกทางร่างกาย เรียกว่า “Psychosomatic disorder”
3) การได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
1) จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม เป็นต้น
ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้และการถ่ายอุจจาระหลาย ๆ ครั้ง
ในกรณีที่มีอาการอุจจาระร่วง / ท้องเสียอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ทำให้ร่างกายสูญเสียไบคาร์บอเนต ส่งผลให้เกิดภาวะกรดเกิน ในร่างกายได้
เกิดภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
การพยาบาล
2) ช่วยเหลือผู้ป่วยให้ถ่ายได้ทัน และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ป่วย
3) ช่วยเหลือให้ถ่ายในท่าที่เหมาะสม
1) ประเมินสภาพผู้ป่วย
4) การดูแลเรื่องอาหาร ในกรณีเด็กเล็กเมื่อเกิดท้องเดินควรงดนมในระยะแรก
เมื่ออาการขาดน้ำหายไปจึงเริ่มให้อาหาร และค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นในแต่ละวัน
5) ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำและเกลือแร่
6) สังเกตความผิดปกติอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย พร้อมทั้งสังเกตประเมินอาการ และติดตามผลการตรวจเลือด
7) สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระความถี่ของการถ่ายอุจจาระ และประเมินความรุนแรงของอาการและอาการแสดง
8) ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ ให้การพยาบาลตามความจำเป็นและเหมาะสม
9) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หรือการกลับซ้ำเป็นอีก
5การสวนอุจจาระ
การใส่สารอาจจะเป็นน้ำ น้ำมัน หรือสารเคมีเข้าไปในลำไส้ใหญ่ส่วนล่างโดยผ่านทางทวารหนัก
5.1 วัตถุประสงค์
เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ป่วยจะต้องดมยาสลบ
เตรียมคลอด
เตรียมตรวจทางรังสี
เพื่อการรักษา เช่น การระบายพิษจากแอมโมเนียคั่งในกระแสเลือดในผู้ป่วยโรคตับ เป็นต้น
ลดปัญหาอาการท้องผูก
5.2 ชนิดของการสวนอุจจาระ
แบ่งเป็น 2 ชนิด
1 Cleansing enema เป็นการสวนล้าง
การสวนน้ำ หรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่
ทำให้เกิดการระคายเคืองของ Colon หรือ Rectum
กระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนไหว และขับอุจจาระออกมา
ชนิดของน้ำยาที่ใช้สวนล้าง
ได้แก่
1) Tap water enema (TWE) เป็นการสวนเอาน้ำสะอาด
ไม่นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะอิเล็กโตรไลต์ไม่สมดุล หรือผู้ป่วยเด็ก
2) Soap sud enema(SSE) เป็นการสวนด้วนน้ำสบู่ ทำให้เกิดลำไส้ใหญ่อักเสบได้
ถ้าสบู่ร้อนเกินอาจเกิด Methemoglobinemia ร่างกายเขียวคล้ำ หายใจลำบาก ชีพจรเต้นเร็ว
3) Normal saline solution enema(NSSenema) เป็นการสวนล้างด้วยน้ำเกลือ
ใช้ในผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยที่มีลำไส้อักเสบ หลีกเลี่ยงใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มี Na คั่ง
4) Fleet enema เป็นการสวนอุจจาระโดยน้ำยาสำเร็จรูป เป็นสารละลายโซเดียมออกฤทธิ์เร็ว 5 นาที
5) Oil enema เป็นการสวนอุจจาระด้วยน้ำมัน ใช้ในกรณีอุจจาระอุดตัน
2 Retention enemaการสวนเก็บ
เป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml.
ที่นิยมใช้
1) Oil-retention enema เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว กระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวดีขึ้น
2) Medicated enema เป็นการสวนเก็บด้วยยา เพื่อลดเชื้อแบคทีเรีย
ในลำไส้ใหญ่ ก่อนทำการผ่าตัดเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่ / การสวนเพื่อการวินิจฉัยโรค
6 ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
2) ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
เด็กอายุ 10 เดือน ถึง 10 ปี ใช้ในปริมาณ 250–500 ml.
เด็กอายุ 10–14 ปี ใช้ในปริมาณ 500–750 ml.
ผู้ใหญ่ใช้ในปริมาณ 750 – 1,000 ml.
เด็กเล็กใช้ในปริมาณ150–250 ml.
3) ท่านอนของผู้ป่วยท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ (Sim’s position) ให้เข่าขวา งอขึ้นมากๆ ถ้าผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายไม่ได้ให้นอนหงาย
1) อุณหภูมิของสารน้ำอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ105 ̊ F (40.5 ̊C)
4) แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วย
ในเด็กเล็กไม่ควรเกิน 3 นิ้ว
ควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน 1 ฟุตเหนือระดับที่นอน
5) การปล่อยน้ำเปิด Clamp ให้น้ำไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
เพื่อให้ผู้ป่วยเก็บน้ำได้หมด
6) ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้ สอดลึก 2-4 นิ้ว
เด็กโต สอดลึกประมาณ 2–3 นิ้ว
เด็กเล็ก สอดลึกประมาณ 1–1.5 นิ้ว
7) การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น เช่น KY jelly
8) ทิศทางการสอดหัวสวนให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้ว
9) ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่ หลังจากปล่อยน้ำผู้ป่วยจะทนไม่ได้ ควรให้ผู้ป่วยหายใจทางปากยาวๆ เพื่อผ่อนคลายและกลั้นอุจจาระ จนกว่าน้ำจะหมด เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว
10) การแก้ไขเมื่อน้ำในหม้อสวนไม่ไหล ได้ถูกต้อง
ผู้ป่วยเบ่ง ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก ลึกๆ ทางปากช้าๆ
ปลายหัวสวนติดผนังลำไส้ ต้องเลื่อนหัวสวนออกมา
อุจจาระติดปลายหัวสวน ค่อยๆดึงหัวสวนออกมาเปลี่ยนใหม่
7 การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
7.3 วิธีปฏิบัติ
1) การเก็บอุจจาระส่งตรวจหาความผิดปกติ และส่งตรวจหาเลือดแฝง
ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในหม้อนอนที่สะอาด และแห้ง
การเก็บตัวอย่างที่ต้องปลอดการปนเปื้อนปัสสาวะ น้ำ และสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ เช่น กระดาษทิชชู
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
ลงบันทึกทางการพยาบาลลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน
2) การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
ลงบันทึกทางการพยาบาล ลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน
ให้ผู้ป่วยเบ่งถ่ายเล็กน้อย ใช้ไม้พันสำลีใส่เข้าไปในรูทวาร 1-2 นิ้ว แล้วจุ่มไม้พันสำลีลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ปิดฝาทันที
7.2 อุปกรณ์เครื่องใช้
3) ไม้แบน สำหรับเขี่ยอุจจาระ
4) กระดาษชำระ
2) ใบส่งตรวจ
5) หม้อนอน
1) ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
7.1 ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
2) การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง (Occult blood) ตรวจในรายที่สงสัยว่ามีเลือดแฝงในอุจจาระ
3) การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ (Stool culture) เพื่อนำไปเพาะเชื้อ
1) การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ (Fecal examination หรือ Stool examination)
8 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
3.การวางแผนการพยาบาล (Planning)
วัตถุประสงค์
เกณฑ์การประเมินผล
การวางแผน
4.การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
2.ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
5.การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)