Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy หรือ hydatidiform mole) - Coggle…
การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy หรือ hydatidiform mole)
คือ โรคของเนื้อรก(gestational trophoblastic disease [GTD])ชนิดหนึ่งที่เกิดจากความแปรปรวนทางพันธุกรรมในเนื้อรก ทำให้เนื้อรก (chorionic villi) เสื่อมสภาพกลายเป็นถุงน้ำเล็กๆ ใสๆ เกาะเป็นกระจุก คล้ายพวงองุ่น ซึ่ง GTD เป็นกลุ่มโรคที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการตั้งครรภ์ ที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของ placenta trophoblast
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุของการเกิดโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า ครรภ์ไข่ปลาอุกมีความสัมพันธ์กับเศรษฐานะยากจน ขาดสารอาหารการตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 16 ปี และอายุมากกว่า 40 ปี ประวัติแท้งเองมากกว่าสองครั้ง ภาวะมีบุตรยากซึ่งมักพบร่วมกับการกระตุ้นให้ไข่ตกด้วยยา clomiphene (Clomid) และประวัติเคยตั้งครรภ์ไข่ปลาอุกมาก่อนจะมีโอกาสเกิดมากกว่าคนทั่วไปถึง 16 เท่า
อาการและอาการแสดง
เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เกิดจากชิ้นเนื้อไข่ปลาอุกแยกตัวออกจากรก มีการแตกของเส้นเลือดฝอยของมารดาทำให้มีเลือดขังอยู่ในโพรงมดลูก เลือดอาจจะออกมากและนานจนทำให้มีภาวะซีด
เม็ดโมลหลุดออกมาทางช่องคลอด ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้ ส่วนใหญ่จะเกิดการแท้งเองเมื่ออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์ ปัจจุบันพบน้อยลงมาก
ขนาดมดลูกโตกว่าอายุครรภ์ เกิดจากการเพิ่มจำนวนของ trophoblast และมีเลือดค้างอยู่ในโพรงมดลูก บางรายที่มดลูกขนาดปกติหรือขนาดเล็กเนื่องจากอาจมีชิ้นส่วนหลุดออกมาบ้างแล้วหรือเป็น partial mole
อาการแพ้ท้องรุนแรง มักพบในรายที่มีขนาดมดลูกโตมาก และมีระดับ hCG > 100,000 mIU/mL.
ถุงน้ำรังไข่ (Theca lutein ovarian cyst) พบในราย complets mole โดยตรวจอัลตราซาวด์พบถุงน้ำรังใช่ขนาด 6-12 เซนติเมตรทั้งสองข้าง โดยเกิดจากการถูกกระตุ้นด้วย hCG ที่มีระดับสูง
ครรภ์เป็นพิษ พบในราย cornplete mole มักเกิดก่อนอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ โดยตรวจพบความดันโลหิตสูง มีโปรตีนในปัสสาวะ มี hyperreflexia มักพบในรายที่มีขนาดมดลูกโตมากและ
มีระดับ hCG ที่สูงมาก
คอพอกเป็นพิษ ในรายที่พบ tachycardia, warm skin, tremor ต้องตรวจยืนยัน โดยจะพบค่า free T4 (free thyroxine) และ T3 (tri-iodothyronine) สูงกว่าปกติ ซึ่งหลังจากยุติการตั้งครรภ์แล้ว ภาวะนี้จะหายไปเอง
Trophblastic embolization พบน้อย เป็นการแพร่กระจายของ trophoblast ไปที่ปอดอาจมีอาการขณะทำหัตถการหรือภายใน 4 ชั่วโมงหลังทำหัตถการ
9 การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง จะพบลักษณะเหมือนกลุ่มของหิมะ หรือปุยเมฆ (snow storm pattern) กระจายอยู่ทั่วไปในโพรงมดลูก
ผลกระทบ
ส่งผลให้ไม่มีตัวอ่อน ถุงน้ำคร่ำ หรือเนื้อรกเจริญขึ้นภายในไข่ แต่เกิดถุงน้ำรังไข่จำนวนมากคล้ายพวงองุ่นเจริญขึ้นมาแทน
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ เป็นวิธีการตรวจที่แม่นยำและนิยมมากที่สุด โดยจะตรวจพบลักษณะดังนี้
ลักษณะของ complete mole ที่พบ ได้แก่ snow storm pattern ไม่พบถุงการตั้งครรภ์หรือทารก ไม่มีน้ำคร่ำ และพบถุงน้ำรังไข่ทั้ง 2 ข้าง
ลักษณะของ partial mole ที่พบได้แก่ ตรวจพบ cystic spaces เฉพาะที่ในเนื้อรก พบส่วนของทารก พบมีน้ำคร่ำ แต่อาจมีปริมาณลดลง และไม่พบถุงน้ำรังไข่
แนวทางการรักษา
ทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง ส่วนใหญ่ทำโดยการขูดมดลูกด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ (suction curettage) รวมกับการให้ oxytocin เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดี ป้องกันการตกเลือด และในบางรายอาจพิจารณาให้การรักษาโดยการตัดมดลูก (hysterectomy) ซึ่งมักทำในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเนื้อรก
ติดตามระดับฮอร์โมน hCG เป็นการประเมินการเกิดมะเร็งเนื้อรกที่ได้ผลดี พิจารณาติดตามดังนี้
2.1 ประเมินระดับฮอร์โมน Serum B-hCG ทุก 1-2 สัปดาห์จนกระทั่งให้ผลลบ หลังจากนั้นตรวจทุกเดือนเป็นเวลา 6 เดือน
2.2 ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปไว้เป็นเกณฑ์ (baseline physical examination) และนัดตรวจเป็นระยะจนครบ 1 ปี
2.3 ถ่ายภาพรังสีปอตเป็นระยะ ควรนัดตรวจทุกเดือนถ้ายังตรวจพบฮอร์โมน hCG และตรวจทุก 2 เดือนจนไม่พบ hCG หลังจากนั้นควรตรวจปีละครั้ง
2.4 ตรวจประเมินอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและอวัยวะสืบพันธุ์ภายในเป็นระยะเพื่อดูการแพร่กระจายของมะเร็งเนื้อรก
ให้คุมกำเนิดอย่างเคร่งครัดอย่างน้อย 1 ปี เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้ระดับฮอร์โมน hCG สูงขึ้นซึ่งอาจเกิดความสับสนกับการเกิดมะเร็งของเนื้อรก
กรณีที่เกิดมะเร็งเนื้อรก (chroriocacinoma) พิจารณาให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด