Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การเข้าถึงผู้เรียน - Coggle Diagram
บทที่ 3 การเข้าถึงผู้เรียน
ความสำคัญของการสร้างไมตรีระหว่างศิษย์และครู
การสร้างไมตรีจิตระหว่างศิษย์และครูเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองฝ่ายที่ดำเนินได้ตลอดรอดฝั่งจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าผู้เรียนรู้สึกสนุกกับการเรียนการสอนของครูผู้นั้น
ผลดีสำหรับครู
ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการสอนผู้เรียน
สามารถบริหารจัดการผู้เรียนได้ง่ายกว่าเนื่องจากได้รับความร่วมมือ
สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากได้รับความร่วมมือจากผู้เรียน
กระตุ้นให้ครูมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นเนื่องจากการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
ผลดีต่อผู้เรียน
รู้สึกสนุกกับการเรียน
ผู้เรียนให้ความร่วมมือมากขึ้นและยินดีที่จะเรียนรู้
มีความเป็นไปได้ที่่จะพัฒนาผลการเรียน
ผู้เรียนมีใจจดจ่ออยากศึกษาเล่าเรียน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อไมตรีจิต
รูปร่างลักษณะภายนอกและภาษากายของครู
ผู้เรียนจะประเมินครูในครั้งแรกที่ได้พบกัน ดังนั้นครูจึงต้องปรับรูปร่างลักษณะภายนอกให้มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อให้เกิดความประทับใจเมื่อแรกพบ หากผู้เรียนพบว่าครูมีความเป็นมืออาชีพจริงจัง จริงใจและพอใจในงานหรืออาชีพ ครูนั้นก็จะได้รับความเคารพจากผู้เรียนเหล่านั้น
ส่วนภาษากายของครูที่สื่อออกมาก็จะแสดงให้เห็นถึงทัศนคติต่อผู้เรียนด้วย เช่น หากครูเดินเข้าห้องด้วยการกอดอกและไม่สบตา ผู้เรียนอาจพิจารณาไปว่าครูไม่มีความสนใจที่จะสอนพวกเขาก็ได้
เจตคติของครูในการใช้ถอยคำเชิงบวก
หากครูต้องการให้ผู้เรียนมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนการสอน ครูต้องเป็นผู้เริ่มก่อนโดยการเลือกใช้ถ้อยคำที่แสดงออกถึงทัศนคติเชิงบวกนั้นต่อผู้เรียน โดยการเลือกใช้คำที่แสดงถึงการเคารพและเอาใจใส่ต่อการเรียนของผู้เรียนเหล่านั้น เมือผู้เรียนรับรู้ได้ดังนั้น ก็จะตอบสนองกลับมาในลักษณะเดียวกัน
เจตคติของครูในการเป็นแม่แบบความประพฤติ
แสดงความสนใจ
ยิ้มให้ผู้เรียน
รับฟัง
แสดงความจริงในการพัฒนาของผู้เรียน
แสดงความห่วงกังวลหากผู้เรียนทำได้ไม่ดี
รู้จักที่จะเรียนรู้อารมณ์และจำแนกได้ว่าเมื่อไรที่ผู้เรียนมีปัญหา
เจตคติของครูในการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง
ทักทายผู้เรียน
เรียกชื่อผู้เรียน
ใช้คำว่า กรุณา หากต้องการให้ผู้เรียนปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
กล่าว ขอบคุณ เมื่อผู้เรียนได้ปฏิบัติตามที่ขอร้อง
ขอร้องให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม มิใช่ออกคำสั่ง
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในชั้นเรียน
สภาพแวดล้อมในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนการสอน ชั้นเรียนจะต้องมีความอบอุ่น ต้อนรับ และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนต้องการมาเข้าเรียนทุกวัน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ที่จะเคารพ
ลักษณะของสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนที่เชิญชวนให้อยากเรียน
สะอาดเป็นระเบียบ
ต้อนรับผู้เรียน
สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน
กระตุ้นส่งเสริมให้เรียนรู้
มีทรัพยากรการเรียนการสอนหลากหลาย
เชิญชวนให้ผู้เรียนได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของตนเอง
กลยุทธ์การสร้างไมตรีจิต
สร้างไมตรีจิตส่วนตัว
ครูต้องรู้จักและเรียกชื่อผู้เรียนทุกคนในชั้นเรียนของครูได้ เกร็ดวิธีช่วยสร้างไมตรีจิตส่วนตัวกับผู้เรียนได้แก่
ศึกษาหมายเลขและชื่อผู้เรียนในชั้นเรียนของท่าน 2-3 ครั้ง เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการอ่านออกเสียงชื่อผู้เรียน
หากครูท่านอื่นไม่ทราบ ครูควรขอให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงชื่อของตน การทำเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดหรือเสียหน้าต่อเหล่าผู้เรียนในชั้น
ให้ผู้เรียนเขียนชื่อบนกระดาษวางไว้บนโต๊ะเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ครูท่านอื่นๆในการเรียกชื่อผู้เรียน
ครูอาจให้ผู้เรียนออกแบบกระดาษเขียนชื่อตนเองอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแสดงบุคลิกลักษณะของตนออกมา และครูต้องไม่ลืมที่ชื่นชมงานเหล่านั้น
ครูอาจจัดทำแผนผังที่นั่งของผู้เรียนไว้ที่โต๊ะครู เพื่อช่วยในการขานชื่อผู้เรียนได้ถูกต้องและช่วยในการกำหนดการจัดที่นั่งในรายวิชาอื่นๆด้วย
สร้างการทำงานร่วมกันในชั้นเรียน
ครูอาจเริ่มปีการศึกษาด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรม นอกจากครูจะได้ทราบชื่อผู้เรียนแล้ว ครูยังเห็นภาพรวมของการทำงานร่วมกันในชั้นเรียนอีกด้วย เกร็ดวิธีช่วยสร้างการทำงานกันในชั้นเรียน ได้แก่
ครูอาจให้ผู้เรียนเล่นเกมสอบถามข้อมูลของเพื่อนร่วมชั้นที่ต้องการทำความรู้จักด้วย
ครูอาจแบ่งกลุ่มผู้เรียนโดยกำหนดให้ต่อภาพ โดยมีกติกาต้องสลับชิ้นส่วนภาพเหล่านั้น และผู้เรียนจะต้องหาชิ้นส่วนที่ต้องการจากกลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะด้วยการสอบถาม การแลกเปลี่ยนหรือการเจรจาต่อรอง กลุ่มแรกที่ดำเนินการเสร็จจะเป็นผู้ชนะ
ครูอาจแบ่งกลุ่มผู้เรียนโดยกำหนดให้ผู้เรียนผู้หนึ่งจดจำประโยคหรือวลีและบอกต่อไปยังเพื่อนในกลุ่มของตน และต้องเขียนถ้อยคำที่ถูกต้องบนกระดาน กลุ่มแรกที่ดำเนินการเสร็จเป็นผู้ชนะ
การมีเจตคติด้านความเข้าใจและเอาใจใส่ต่อผู้เรียน
เพื่อแสดงให้ผู้เรียนเห็นว่าครูเอาใจใส่ ครูควรรับฟังและพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่ผู้เรียนบอกกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งผู้เรียนในช่วงวัยรุ่นมักคิดว่าตนเพียงคนเดียวที่มีปัญหามากมายซึ่งล้วนไม่มีทางออก
ตรวจดูประวัติผู้เรียนจากแบบฟอร์ม จากครูที่เคยสอน ไม่ว่าจะเป็นผลการศึกษา จุดเด่น จุดด้อย ประเด็นที่ต้องการเอาใจใส่เป็นพิเศษ พื้นเพครอบครัว
หากเป็นครูคนแรก ครูต้องกำหนดแบบฟอร์มที่มีข้อมูลพื้นฐาน หลังจากนั้นครูอาจขอพบและคุยกับผู้เรียนเป็นการส่วนตัวได้ เพื่อซักถามและบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ภายหน้า
ครูอาจขอพบผู้เรียนบ่อยๆเพื่อติดตามความเป็นไปในชีวิต การทำเช่นนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่ดีในการสื่อสารกับผู้เรียน และเป็นการจัดการปัญหาแต่เนิ่นๆหรือเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาๆได้
เมือครูพูดคุยกับผู้เรียนอย่าด่วนสรุป ครูต้องรับฟังปัญหาเสียก่อน แทนการบอกว่าผู้เรียนควรทำเช่นไร ครูควรให้ผู้เรียนได้คิดครึกตรอง โดยครูเป็นผู้คอยแนะนำและช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขด้วยตนเอง การทำเช่นนี้ เป็นการสอนให้ผู้เรียนรู้จักแก้ไขปัญหาและมีทักษะของการตัดสินใจได้ และเรียนรู้ที่จะยอมรับผลที่เกิดขึ้น
ครูอาจให้ผู้เรียนเขียนบันทึกประจำวันส่งท่าน โดยครูจะต้องถือเป็นเอกสารลับ ทั้งนี้ครูอาจแสดงข้อคิดเห็นเป็นการส่วนตัวได้
ครูอาจเลือกวิธีการส่งบันทึกประจำ 2 สัปดาห์ผ่านทางอีเมลล์ แต่ต้องกำชับว่าเพื่อการแลกเปลี่ยนขอคิดเห็นเท่านั้น เพื่อป้องกันอีเมลล์ที่ไม่จำเป็น
ครูอาจกำหนดอีเมลล์เฉพาะสำหรับรับอีเมลล์ของผู้เรียน กรณีอีเมลล์มีจำนวนมาก อาจเขียนจดหมายก็ได้ ครูควรกำชับว่าเป็นเรท่องใดก็ได้ทั้งด้านการเรียนหรือด้านอื่นๆ