Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความดันโลหิตในขณะตั้งครรภ์ (pregnancy induced hypertention) - Coggle…
ความดันโลหิตในขณะตั้งครรภ์ (pregnancy induced hypertention)
หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ อาจพบร่วมกับการมีโปรตีนในปัสสาวะ เเละมีอาการบวมร่วมด้วย มักเกิดขึ้นในระยะครึ่งของการตั้งครรภ์
ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (Chronic/preexisting hypertension)
หมายถึง ภาวะความดันโลหิตที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ หรือวินิจฉัยได้ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ วามดันโลหิตนั้นยังคงสูงอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์หลังคลอด ผู้ป่วยที่มี chronic hypertension อยู่เดิมอาจมี superimposed preeclampsia ได้ถ้าพบproteinuria ที่เกิดขึ้นมาใหม่หลังจากอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ไปแล้ว
ครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก (Preeclampsia) ให้วินิจฉัยโดยใช้เกณฑ์การตรวจพบความดันโลหิตสูงร่วมกับเกณฑ์การทำงานผิดปกติของอวัยวะสำคัญอย่างน้อย 1 อย่าง
เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะ preeclampsia
เกณฑ์การวินิจเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงให้ใช้เกณฑ์
เกณฑ์การวินิจฉัยเกี่ยวกับโปรตีนในปัสสาวะ โดยการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเป็นหลัก
อาการและอาการแสดง
ความดันโลหิตสูง หรือความดันโลหิตวิกฤต- Systolic ≥ 140 mm.Hg. หรือ Diastolic ≥ 110 mm.Hg. เมื่อวัด 2 ครั้ง ห่างกัน 2 ชั่วโมง
มีโปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria)
ตรวจพบปัสสาวะอย่างน้อย 300 มิลลิกรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง หรืออัตราส่วนโปรตีนเอตินีนในปัสสาวะสูง ≥ 0.3 หรือ ระดับโปรตีนในปัสสาวะโดยใช้แผ่นตรวจ (dipstick) มีโปรตีน
ตั้งแต่ 1+ ขึ้นไป
หากไม่พบโปรตีนในปัสสาวะตามเกณฑ์ ให้วินิจฉัยโดยใช้เกณฑ์การตรวจพบความดันโลหิตสูงร่วมกับเกณฑ์การทำงานผิดปกติของอวัยวะสำคัญต่อไปนี้อย่างน้อย 1ข้อ
เกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 /µl
การทำงานของไตผิดปกติ ค่า serum creatinine สูงกว่า 1.1 mg/dl สูงกว่าค่าปกติอย่างน้อย 2 เท่า โดยตรวจไม่พบโรคไต
การทำงานของตับผิดปกติ ค่าเอนไซม์ตับ AST หรือ SGOT และค่า ALT หรือ SGPT สูงกว่าค่าปกติ 2 เท่าขึ้นไป
มีอาการทางสมองและอาการทางตา เช่น ปวดศีรษะ ซึม หมดสติ ตารพร่ามัว หรือมีจุดบอดในลานสายตา
มีภาวะน้ำท่วมปอด
ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (gestational hypertension) ภาวะความดันโลหิตที่วินิจฉัยได้ครั้งแรกในระหว่างตั้งครรภ์หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์โดยไม่มีโปรตีนในปัสสาวะ หรือมีโปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า 300 มิลลิกรัมในปัสสาวะ 24 ชั่วโมง และมีความดันโลหิตกลับสู่ระดับปกติภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด บางครั้งอาจถูกจัดกลุ่มเป็นภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราว (Transient hypertension)
ความรุนแรงของภาวะ preeclampsia
mild preeclampsia ค่า Systolic ≥ 140 mm.Hg. แต่ไม่ถึง 160 mm.Hg. หรือมีค่า Diastolic ≥ 90 mm.Hg. แต่ไม่ถึง 110 mm.Hg. หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
Severe preeclampsiaค่า Systolic ≥ 160 mm.Hg. หรือมีค่า Diastolic ≥ 110 mm.Hg. หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
ครรภ์เป็นพิษระยะชัก (Eclampsia)
หมายถึง ภาวะครรภ์เป็นพิษที่มีภาวะชักร่วมด้วยโดยสาเหตุของการชักไม่ได้และไม่เกิดเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ลมบ้าหมู หรือโรคทางสมอง เป็นต้นระยะชักเกิดขึ้นได้ทั้งระยะก่อนคลอด ขณะคลอดแลหลังคลอด โดยพบสัดส่วนของการชักทีเกิดภายหลัง 48 ชั่วโมงหลังคลอด ประมาณร้อยละ 10
ครรภ์เป็นพิษซ้อนทับกับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง (Preeclampsia superimposed on
chronic hypertension)
หมายถึง สตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง เมื่อตั้งครรภ์แล้วพบมีภาวะครรภ์เป็นพิษแทรกซ้อน การวินิจฉัยภาวะ superimposed preeclampsia ในสตรีตั้งครรภ์ความดันโลหิตสูงเรื้องรังที่ไม่เคยมีโปรตีนในปัสสาวะก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ให้ใช้เกณฑ์การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะที่เกิดขึ้นใหม
ผลกระทบของภาวะความดันโลหิตสูงต่อมารดาและทารก
ผลต่อสตรีตั้งครรภ์
ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (abruptio placentae)
ภาวะเลือดไม่แข็งตัว
ภาวะหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction)
ภาวะหัวใจล้มเหลว จากการมี venous return เพิ่มอย่างรวดเร็ว
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (renal failure) เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง
ภาวะปอดบวมน้ำ
เลือดออกในสมอง (cerebral hemorrhage)
เลือดออกในตับจนมีการตายของเซลล์ตับ (necrosis)
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia)
ภาวะหลุดลอกของเรตินา และอาจมีตาบอดชั่วคราว
ภาวะหลอดเลือดอุตัน (deep venous thrombosis)
ผลต่อทารก
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ขาดออกซิเจน มีกรดคั่ง
ทารกคลอดก่อนกำหนด
แท้งหรือเสียชีวิตในครรภ์
ทารกตายในครรภ์เฉียบพลันหรือตายในระยะแรกเกิด
ในกรณีที่ได้รับการรักษาด้วย magnesium sulfate ในระยะคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
1.1 ซักประวัติเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่นความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเบาหวานครรภ์ไข่ปลาอุก โรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง รวมทั้งประวัติในครอบครัว เป็นต้น
1.2 ประวัติอาการและอาการแสดงของภาวะ preeclampsia เช่น ปวดศีรษะ ตาพร่ามัวเจ็บใต้ชายโครงขวา อาการบวม การเพิ่มของน้ำหนัก เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
2.1 ช่างน้ำหนัก เฝ้าระวังในรายที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่า 1กิโลกรัม/สัปดาห์หรือ 3 กิโลกรัม/เดือน
2.2 วัดความดันโลหิตหลังพักอย่างน้อย 10 นาทีใช้ cuffในขนาดที่เหมาะสมโดยวัดในท่านั่งหรือ ่านอนศีรษะ 30 องศา ให้แขนข้างที่วัดวางอยู่ในระเดียวกับหัวใจ
2.3 การประเมินรีเฟล็ก (grading reflexes)
แนวทางการรักษา
กรณีที่เป็น Preeclampsia without severe features
กรณีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์หรือมากกว่า ควรให้คลอด
กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ แนะนำให้ expectant management โดยเฝ้าตรวจติดตามอาการของมารดาและทารกในครรภ์
ในระยะหลังคลอด เฝ้าระวังความดันโลหิตต่ออย่างน้อย 72 ชั่วโมงหลังคลอดใน โรงพยาบาล
กรณีที่เป็น Severe preeclampsia
ให้ stabilize มารดาด้วย MgSO4
ต้องรับไว้ในโรงพยาบาล
แนะนำให้ยาลดความดันโลหิตในรายที่ความดันโลหิตยังคงสูง
ประเมินภาวะของมารดาและทารกในครรภ์ หากไม่ stable พิจารณาให้คลอดทันทีโดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์
ในกรณีที่ภาวะของมารดาและทารกในครรภ์ stable พิจารณา ให้การรักษา
กรณีอายุครรภ์ 34 สัปดาห์หรือมากกว่า ควรให้คลอดหลังจาก stabilize
มารดาแล้ว
กรณีอายุครรภ์ 24 สัปดาห์หรือน้อยกว่า (previable) ให้คลอดหลังจาก
stabilize มารดาแล้ว ไม่แนะนำให้ expectant management
กรณีอายุครรภ์อยู่ระหว่าง 24 ถึง 33 สัปดาห์
แนะนำให้ corticosteroid และให้ตั้งครรภ์ต่อ (expectant management
ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ยาป้องกันการชัก (anticonvulsant)Magnesium Sulfate (MgSO4) เป็น drug of choice สำหรับการรักษ าภ า ว ะpreeclampsia ยามีฤทธิ์ทำให้การขยายตัวของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงที่มดลูกและไต ยานี้ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้บ้างแต่ส่งผลให้ความถี่ และความรุนแรงของ
การหดรัดตัวของมดลูกลดลงด้วย
ยาดความดันโลหิต (antihypertensive drugs)ผลข้างเคียง ร้อนวูบวายทั้งตัว ซึมง่วงนอน มีเหงื่อออกมาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง รีเฟล็กลดลง
2.1 hydralazine ( Apresoline หรือ Napresol )ยาออกฤทธิ์โดยตรงที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือด ทำให้
หลอดเลือดคลายตัวมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลงผลข้างเคียง ได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ
2.2 Labetalol (Avexar)ยาออกฤทธิ์ทั้ง alpha และ beta adrenergic receptors โดยออกฤทธิ์ยับยั้งระบบประสาท sympathetic ส่วนปลายผลข้างเคียง ความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ คัดจมูก หายใจลำบาก
2.3 Nifedipine (Adalat)กลุ่มยา calcium channel blocker ออกฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตโดยการป้องกัน calcium เข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดผลข้างเคียง ได้แก่ ปวดศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ เหงือกอักเสบ ท้องผูก