Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
เป็นการขับของเสียออกจากร่างกายหากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสมของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้น ย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ
ในเด็กเล็กอาจมีการถ่ายอุจจาระวันละหลาย ๆ ครั้ง เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์กล้ามเนื้อจะลดขนาดลง และก าลังกล้ามเนื้อก็จะลดลง จึงลดจำนวนครั้งของการขับถ่าย
ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake)
อาหารจำพวกพืชผัก ผลไม้ ที่มีกากใยมากจะช่วยทำให้อุจจาระสามารถขับเคลื่อนได้ดีกว่าอาหารที่กากใยน้อย
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
น้ำจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้ง แข็งเกินไป
การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body movement)
ช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
อารมณ์ (Emotion)
เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน และการทำงานของระบบประสาท Sympathetic
มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits )
ควรมีการฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือเมื่อรู้สึกอยากถ่ายให้รีบไปถ่าย หากมีการกลั้นอุจจาระไว้จะทำให้เกิดท้องผูกได้
ความเหมาะสม (Opportunity)
สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่ายสถานที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือห้องน้ำไม่สะอาดส่งผลให้บุคคลไม่อยากถ่ายอุจจาระจึงกลั้นอุจจาระ
ยา (Medication)
อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดิน
อาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
การตั้งครรภ์(Pregnancy)
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมดลงก็ขยายตัวโตด้วย ทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลายส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกเป็นประจำ และเกิดโรคริดสีดวงทวารในหญิงตั้งครรภ์
อาการปวด (Pain)
เมื่อมีอาการปวดถ่ายอุจจาระผู้ป่วยจะไม่ยอมเบ่งถ่ายอุจจาระเพราะกลัวเจ็บทำให้อั้นอุจจาระไว้ จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกตามมา
การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery and Anesthesia)
การดมยาสลบชนิดทั่วไป (General anesthesia: GA) เป็นสาเหตุของการเกิด Peristalsis ลดลงและขณะทำการผ่าตัดจะไปกระทบกระเทือนการทำงานของลำไส้ทำให้เกิด Peristalsis ลดลงชั่วคราวเรียกว่า“Paralytic ileus” อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือหลายวันในการกลับคืนสู่การทำงานปกติ
การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
การตรวจวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินอาหารส่งผลรบกวนการทำงานของลำไส้ชั่วคราว
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
ลักษณะของอุจจาระ
Type 1 Separate hard lumps, like nuts (Difficult to pass)ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
Type 2 Sausage shaped but lumpy
(ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 3 Like a sausage but with cracks on surface
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่ม ๆ)
Type 4 Like a sausage or snake, smooth and soft
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5 Soft blobs with clear-cut edges
(ลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ แยกออกจากันชัดเจน)
Type 6 Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool
(ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 7 Watery, no solid pieces (entirely liquid)
(ลักษณะเป็นน้ าไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
สาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
สี
เด็ก
ปกติ สีเหลือง ผิดปกติ ขาว หรือคล้ายดินเหนียว สาเหตุ ไม่มีน้ำดี
ผู้ใหญ่
ผิดปกติ สีน้ำตาล ดำ (Melena) สาเหตุ มีธาตุเหล็กปนอยู่หรือ
มีเลือดออกในทางเดินอาหาร
ผิดปกติ แดง สาเหตุ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร
มีริดสีดวงทวาร หรือบริโภคผัก
ผิดปกติ ซีด และเป็นมันเยิ้ม สาเหตุ พร่องหน้าที่การดูดซึมของไขมัน
กลิ่น
ปกติ มีกลิ่นเฉพาะจากอาหารตกค้าง ผิดปกติกลิ่นเปลี่ยนเหม็นมาก สาเหตุการติดเชื้อจากเลือดในอุจจาระ
ลักษณะ
ปกติ อ่อนนุ่ม ผิดปกติ เหลว และแข็ง สาเหตุ ท้องเสียหรือการดูดซึมลดลงแข็ง ท้องผูก
ความถี่
เด็ก
ปกติ (นมมารดา) วันละ 4-6 ครั้ง(นมขวด) วันละ 1-3 ครั้ง ผิดปกติมากกว่า วันละ 6 ครั้งหรือ 1-2 วัน ครั้งเดียว สาเหตุกิจกรรมการเคลื่อนไหว มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ผู้ใหญ่
ปกติ วันละ 2 ครั้งหรือ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ผิดปกติ มากกว่าวันละ 3 ครั้งหรือ สัปดาห์ละครั้ง สาเหตุ กิจกรรมการเคลื่อนไหวมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
รูปร่าง
ปกติ เท่ากับขนาดความกว้างของ
ลำไส้ตรง ผิดปกติ มีขนาดเล็กคล้ายดินสอ สาเหตุมีการอุดตันในทางเดินอาหารหรือมีการบีบตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น
อื่นๆ
อาหารไม่ย่อย, แบคทีเรียที่ตายแล้วเลือด, หนอง, มูก,แปลกปลอม, พยาธิมีเลือดออกในทางเดินอาหาร,
สาเหตุ รับประทานอาหารบูด, มีการระคายเคือง, มีการอักเสบ,และมีพยาธิ
สาเหตุ อุจจาระเป็นน้ำมันเยิ้มกลุ่มอาการพร่องการดูดซึม, ลำไส้อักเสบ, โรคของตับอ่อน, มีการผ่าตัดเกี่ยวกับลำไส้
เป็นมูก
สาเหตุ มีการระคายเคืองของล าไส้, มีการอักเสบ, มีการติดเชื้อหรือได้รับ
อันตราย
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูก (Constipation)
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ภาวะขาดน้ำ การเคลื่อนไหวลดลงแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ
ฝิ่น
การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร
ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของไขสันหลัง
ภาวะท้องผูกจากการลดลงของการเคลื่อนไหวของลำไส้และเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของประสาทที่ล าไส้และการติดยาระบาย
การทำหน้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อพื้นเชิงกราน
ภาวะผิดปกติของลำไส้
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนปวดศีรษะวิงเวียน
เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) เกิดจากอุจจาระที่แห้งแข็งกดหลอดเลือดดำรอบๆ ทวารหนัก ทำให้เลือดไหลกลับไม่สะดวกเกิดโป่งพอง และแตกได้
แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหาร เป็นแอมโมเนีย ดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปยังสมองในผู้ป่วยโรคตับจะเกิดอาการ Hepatic encephalopathy
ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง หรือผนังลำไส้หย่อนตัวเป็นถุงสะสมอุจจาระไว้ พบในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ปุวยอัมพาต
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Incontinence)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีเส้นใยและกากมาก ๆ
แนะนำ กระตุ้น และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอ
แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ และควรฝึกระบบขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
แนะนำให้ออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวของร่างกายจะมีผลต่อการบีบตัวของลำไส้ช่วยให้การถ่ายอุจจาระเป็นปกติ
สังเกตความถี่การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย พยายามลดการใช้จนสามารถเลิกใช้ยาระบาย
แนะนำสมุนไพรซึ่งเป็นอาหารหรือนำมาปรุงอาหารจะช่วยการขับถ่ายอุจจาระใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ
การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
สาเหตุ อาการเริ่มแรก
ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระ
เป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
การช่วยเหลือเอาก้อนอุจจาระออกจากร่างกายโดยการล้วงอุจจาระและอาจใช้ยาระบายเพื่อทำให้ก้อนอุจจาระอ่อนนุ่มและหล่อลื่นหรือการสวนอุจจาระในกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผล
การล้วงอุจจาระ (Evacuation)
การล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการช่วยเหลือผู้ปุวยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้
อุปกรณ์เครื่องใช้
ถุงมือสะอาด 2 คู่ และหน้ากากอนามัย (Mask)
สารหล่อเลื่อน เจล หล่อลื่น ถ้าไม่มีใช้วาสลิน หรือสบู่เหลว
ผ้ายางรองก้นและกระดาษชำระ
หม้อนอนหรือ ถุงพลาสติกสำหรับใช่อุจจาระ
วิธีปฏิบัติ
แนะนำตัว และบอกวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยทราบ
ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ ขาขวา งอเล็กน้อย (Sim’s position)
ปูผ้ายางรองให้ผู้ป่วย และวางหม้อนอนหรือถุงพลาสติกไว้ใกล้ ๆ
พยาบาลสวมถุงมือ 2 ชั้น แล้วใช้นิ้วชี้หล่อลื่นด้วยเจลหล่อลื่นบอกผู้ป่วยให้รู้ตัวแล้วสอดนิ้วชี้เข้าทางทวารหนัก พร้อมให้ผู้ปุวยช่วยอ้าปากหายใจยาว ๆเพื่อช่วยผู้ป่วยผ่อนคลายและไม่รู้สึกเจ็บ
ล้วงเอาก้อนอุจจาระออกใส่ในหม้อนอนหรือถุงพลาสติกที่เตรียมไว้
เช็ดทำความสะอาด จัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย และเก็บเครื่องใช้
ทำความสะอาดเครื่องใช้และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ภาวะท้องอืด (Flatulence หรือ Abdominal distention)
สาเหตุ
มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อย รับประทานอาหารมากเกินไป หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา เพื่อให้กระบังลมหย่อยตัว ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นลดอาการแน่นหน้าอกและทำให้หายใจสะดวก
อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด แสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ
ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
สาเหตุจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหวหรือความสามารถในการขยับตัว
ได้ลดลงหรือหลังการผ่าตัดไม่ยอมขยับตัวเนื่องจากมีความกลัวต่าง ๆ
สาเหตุจากได้รับยาระงับปวดที่มีอาการข้างเคียงทำให้ลดการ
เคลื่อนไหวของลำไส้
มอร์ฟีน
สาเหตุจากอาหารไม่ย่อย
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
ผลด้านร่างกาย
ผลด้านจิตใจ
ผลด้านสังคม
ผลด้านจิตวิญญาณ
การพยาบาลผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไม่ได้
ด้านร่างกาย
ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือกเป็นเวลาที่สะดวก
ดูแลเสื้อผ้า ที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลา
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหวัด ซึ่งจะทำให้มีอาการไอ จาม อาจทำให้มีอุจจาระเล็ดออกมาขณะไอและจามได้
ด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ผู้ดูแลจึงควรให้กำลังใจ และสร้างเสริมกำลังใจกับผู้ป่วยให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ภาวะท้องเสีย (Diarrhea)
สาเหตุของภาวะท้องเสีย
จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
อาหารที่มีแมลงวันตอม
จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และอารมณ์
การได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
Ceftriaxone (Cef-3)
Claforan
Azithromycin
ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
เกิดภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย (Electrolyte imbalance)
เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้และการถ่ายอุจจาระหลาย ๆ ครั้ง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องเสีย
ประเมินสภาพผู้ป่วย
ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มีจำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
การดูแลเรื่องอาหาร ในระยะแรกมักให้งดอาหารและน้ำทางปาก (NPO)
ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำและเกลือแร่
สังเกตความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย พร้อมทั้งสังเกตประเมินอาการ
สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระ ความถี่ของการถ่ายอุจจาระ และประเมินความรุนแรงของอาการและอาการแสดง
ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ ให้การพยาบาลตามความจำเป็นและเหมาะสม
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หรือการกลับซ้ำเป็นอีก
การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
การผ่าตัดเอาลำไส้มาเปิดออกทางหน้าท้อง เพื่อให้เป็นทางออกของอุจจาระ มักทำในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ลำไส้
ชนิดของ Stoma ที่เป็นช่องทางขับถ่ายอุจจาระ
Colostomy
Ascending colostomy นำส่วนต้นของลำไส้ใหญ่มาเปิดออกชนิดนี้จะค่อนข้างใหญ่อยู่ด้านขวาของหน้าท้องส่วนล่าง อุจจาระเป็นน้ำมีเนื้อปนเล็กน้อย
Transverse colostomy (Loop colostomy) นำส่วนขวางของลำไส้ใหญ่มาเปิดออก ส่วนใหญ่จะเป็นการเปิดแบบชั่วคราว อุจจาระที่ออกค่อนข้างเหลว
Sigmoid colostomy (End colostomy) นำส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มา
เปิดออกส่วนใหญ่จะเปิดถาวรอยู่บริเวณหน้าท้องส่วนล่างด้านซ้าย มักท าในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งทวารหนักและหูรูด อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อน (Form soft stool)
Ileostomy
เป็นทวารหนักชนิดลำไส้เล็ก ลำไส้ที่นำมาเปิดออกจะเป็นส่วนปลายของลำไส้เล็ก (Ileum) อยู่ที่หน้าท้องส่วนล่างด้านขวา
ชนิดที่เป็นรูเปิดเดียว (End ileostomy)
2 รูเปิด (Loop ileostomy)
อุจจาระที่ออกจะเป็นน้ำ (Watery stool) มีกลิ่นอุจจาระเล็กน้อย
การพยาบาลผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
การทำความสะอาดช่องเปิดของลำไส้ และผิวหนังรอบ ๆ
ระยะที่ 1 หลังผ่าตัด 4-5 วัน ทำความสะอาดแบบการทำแผลด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
ระยะที่ 2 หลังผ่าตัด 7-10 วัน แผลผ่าตัดจะเริ่มติดดี ใช้สำลีสะอาด และน้ำต้มสุกทำความสะอาด Stoma และผิวหนังรอบ ๆ แล้วซับให้แห้ง
เปิดด้วยถุงรองรับอุจจาระ
ระยะที่ 3 หลังผ่าตัด 6-8 สัปดาห์แผลจะยุบบวมและมีขนาดคงที่ทำความสะอาดด้วยน้ า และสบู่อ่อน แล้วซับให้แห้ง
การปิดถุงรองรับอุจจาระ เมื่อทำความสะอาด Stoma และผิวหนังรอบ ๆ
การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารควรทราบถึงการเลือกชนิดของอาหารที่มีผลต่อการขับถ่ายอุจจาระ
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรืออาหารหมักดอง เพราะอาจทำให้ท้องเดิน
รับประทานอาหารที่ป้องกันอาการท้องผูก
น้ำผลไม้
การออกกำลังกายและการทำงาน
ระยะแรก ผู้ป่วยควรออกกำลังกายเบา ๆ
หลังผ่าตัด 3-6 เดือน ออกกำลังกายได้ตามปกติ
การฝึกหัดการขับถ่าย โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้องหัดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง และเบ่งถ่ายอุจจาระทุกวัน ตอนเช้า
ภาวะแทรกซ้อน สังเกตและดูแลตนเอง
การทำความสะอาดแผลทวารเทียม
เมื่อต้องเปลี่ยนถุงรองรับ ด้วยการดึงถุงที่มีกาวติดกับผิวหนังออก แล้วใช้ลำสีสะอาดชุบน้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาดStoma ก่อน แล้วเช็ดผิวหนังรอบ ๆ ให้สะอาด เช็ดด้วยสำลีแห้ง แล้วปิดถุงใหม่ลงไป สังเกตรอยแดงหรือผื่น
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง
หลังผ่าตัดประมาณ 7-10 วันระบบขับถ่ายอุจจาระก็จะเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกัน ผู้ป่วยจึงสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามเดิม
หลังผ่าตัด 6–8 เดือน สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่หักโหมรุนแรง และ ไม่ควรยกของหนักเพราะอาจเป็นสาเหตุการเกิดไส้เลื่อนได้
การสวนอุจจาระ
วัตถุประสงค์
ลดปัญหาอาการท้องผูก
เตรียมตรวจทางรังสี
เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ปุวยจะต้องดมยาสลบ
ชนิดของการสวนอุจจาระ
Cleansing enema เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้
Tap water enema (TWE) เป็นการสวนเอาน้ำสะอาดเข้าในลำไส้ ไม่นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะอิเล็กโตรไลต์ไม่สมดุล หรือผู้ป่วยเด็ก
Soap sud enema (SSE) เป็นการสวนอุจจาระโดยใช้น้ำสบู่ผสมน้ำใช้น้ำสบู่เข้มข้น 15 ml. ในน้ำ 1,000 ml.
Normal saline solution enema (NSS enema) เป็นการสวนอุจจาระโดยใช้สารละลาย 0.9 % NSS นิยมใช้ ในผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยที่มีลำไส้อักเสบ
Fleet enema เป็นการสวนอุจจาระโดยน้ ายาส าเร็จรูปคือสารละลาย
Hypotonic บรรจุในขวดพลาสติก เหมาะส าหรับ การสวนอุจจาระแก่ผู้ใหญ่ และผู้ที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ
การคั่งของโซเดียมในร่างกาย
Oil enema เป็นการสวนอุจจาระโดยใช้น้ำมันพืช นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีอุจจาระอุดตัน ให้ผลหลังสวนประมาณ 30 นาที
Retention enema การสวนเก็บ เป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml
Oil-retention enema เป็นการสวนเก็บน้ำมัน เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว กระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวดีขึ้น
Medicated enema เป็นการสวนเก็บด้วยยา เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าไปในร่างกายทางทวารหนัก
วิธีปฏิบัติ
1.การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ครบถ้วน สะดวกในการปฏิบัติ
2.นำเครื่องใช้มาที่เตียง บอกผู้ป่วยให้ทราบถึงเหตุผลการสวน และวิธีการปฏิบัติตัวปิดม่าน
ปูผ้ายางรองก้นบริเวณก้นของผู้ป่วย ป้องกันไม่ให้ที่นอนเปรอะเปื้อนและเปียกน้ำ
4.จัดท่านอนให้ถูกต้อง คือนอนตะแคงซ้าย งอเข่าขวาไปข้างหน้า เลื่อนผู้ป่วยมาชิดขอบเตียง
คลุมผ้าเปิดเฉพาะบริเวณทวารหนักไม่เปิดเผย ลดอาการเกร็งของผู้ปุวยจากความเขินอายและทำให้เกิดความมั่นใจ
ล้างมือ สวมถุงมือ และต่อหัวสวนกับสายสวนให้แน่น
7.ปิด Clamp หัวสวนไว้ เทน้ำยาใส่หม้อสวน แขวนหม้อสวนสูงกว่าระดับทวารหนักของผู้ป่วย 1 ฟุต (12 นิ้ว) เหนือจากระดับที่นอน
8.เปิด Clamp เพื่อไล่อากาศในสายสวน และหัวสวน ปิด Clamp หัวสวน หล่อลื่นหัวสวนด้วย KY jelly ไล่อากาศเพื่อทดสอบว่าหัวสวนไม่อุดตัน
9.บอกให้ผู้ปุวยทราบว่าจะทำการสวนอุจจาระ โดยการแตะหัวสวนที่ทวารหนักอย่างนุ่มนวลเบา ๆ
10.สอดหัวสวนเข้าทวารหนักให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 3 นิ้วแล้วเบนปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส้
11.จับหัวสวนให้แน่กระชับมือ เปิด Clamp ให้น้ำไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10นาทีระหว่างทำการสวนให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจยาว ๆ สังเกตระดับน้ าในหม้อสวนปล่อยน้ำไปเรื่อย ๆถ้าผู้ป่วยทนไม่ได้ขณะน้ำยังไม่หมด ให้ปิดน้ำไว้สักครู่
12.ค่อย ๆ ดึงสายสวนออกเบา ๆ ปลดหัวสวนออก ห่อด้วยกระดาษชำระวางในชามรูปไต บอกให้ผู้ปุวยนอนท่าเดิมพยายามเก็บน้ำไว้ในลำไส้ 5-10 นาที
14.เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ถอดถุงมือ ล้างมือให้สะอาด
13.สอด Bed pan กั้นม่านให้มิดชิด หลังถ่ายเสร็จใช้ Bed pad ปิดคลุม Bed pan
15.ลงบันทึกทางการพยาบาล
อุปกรณ์เครื่องใช้
หม้อสวน
หัวสวนอุจจาระ
สารหล่อลื่น
ชามรูปไต
กระดาษชำระ
ผ้าปิดกระโถนนอน (Bed pad)
กระโถนนอน
ผ้ายางกันเปื้อน
สารละลายที่ใช้ในการสวนอุจจาระ
เหยือกน้ำ
เสาน้ำเกลือ
ถุงมือสะอาด 1คู่ และ Mask
ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
อุณหภูมิของสารน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 105˚F (40.5 ˚C)
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
ท่านอนของผู้ปุวย ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ (Sim’s position)
แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วย ควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน 1 ฟุตเหนือระดับที่นอน ในเด็กเล็กไม่ควรเกิน 3 นิ้ว
การปล่อยน้ำเปิด Clamp ให้น้ำไหลช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ถ้าสารละลายปริมาณมากอาจใช้เวลานาน 10-15 นาทีเพื่อให้ผู้ป่วยเก็บน้ำได้หมด
ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้และลักษณะของสายสวนอุจจาระ
การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น
ทิศทางการสอดหัวสวน
ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่
การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ
อาการแทรกซ้อนจากการสวนอุจจาระ
การระคายเคืองต่อเยื่อบุลำไส้
ผนังลำไส้ถลอก หรือทะล
ภาวะเป็นพิษจากน้ำ (Water intoxication)
การติดเชื้อ
การคั่งของโซเดียม เพราะปกติลำไส้จะดูดซึมโซเดียมได้ดีมาก
ภาวะ Methemoglobinemia
ข้อห้ามในการสวนอุจจาระการสวนอุจจาระมีข้อห้ามที่ไม่ควรทำในผู้ป่วยต่อไปนี้
ลำไส้อุดตัน (Bowel obstruction)
มีการอักเสบของลำไส้
มีการติดเชื้อในช่องท้อง (Infection of abdomen)
ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้ส่วนปลาย (Post rectal surgery)
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ(Fecal examination หรือ Stool examination)
การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง (Occult blood) ตรวจในรายที่สงสัยว่า มีเลือดแฝงในอุจจาระ
การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ (Stool culture) เพื่อน าไปเพาะเชื้อ เลี้ยงเชื้อแบคทีเรียและดูความไวต่อยาของเชื้อที่เพาะได้
อุปกรณ์เครื่องใช้
ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
ใบส่งตรวจ
ไม้แบน สำหรับเขี่ยอุจจาระ
กระดาษชำระ
หม้อนอน
วิธีปฏิบัติ
การเก็บอุจจาระส่งตรวจหาความผิดปกติและส่งตรวจหาเลือดแฝง
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บอุจจาระส่งตรวจ รวมทั้งวิธีการเก็บตัวอย่าง
ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในหม้อนอนที่สะอาดและแห้ง ใช้ไม้แบนเขี่ย
อุจจาระจำนวนเล็กน้อยใส่ภาชนะ รีบปิดภาชนะทันที และใส่ถุงพลาสติกหุ้มอีกชั้น
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
ลงบันทึกทางการพยาบาล ลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน
การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ
ให้ผู้ปุวยเบ่งถ่ายเล็กน้อย ใช้ไม้พันสำลีใส่เข้าไปในรูทวาร 1-2 นิ้ว แล้วจุ่มไม้พันสำลีลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ปิดฝาทันที
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
ลงบันทึกทางการพยาบาล ลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
1.การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
S: “ทานยาระบายก่อนนอนเป็นประจ าทุกคืน ไม่ชอบอาหารประเภทผัก และผลไม้”
O: จากการตรวจร่างกาย พบAbdomen: Distension, Tympanic sound, Decreasebowel sound 1-2 time/min
2.ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
ท้องผูกเนื่องจากมีพฤติกรรมใช้ยาระบายเป็นประจำ
3.การวางแผนการพยาบาล (Planning)
วางแผนให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพเรื่องการโรคของระบบทางเดินอาหารและลำไส้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
4.การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่มีกากใย
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้
5.การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
มีการถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ใช้ยาระบาย
เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใย และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน