Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้ออื่น ๆ…
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
เกิดจากการติดเชื้อ hepatitis A virus
ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรค
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ
ตับเหลือง ตาเหลือง
ตรวจพบ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น
อาการจะมีอยู่ 10-15 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพักฟื้น
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV
ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารก
ไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
การป้องกันและการรักษา
สตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อในระยะใกล้คลอด ทารกมีโอกาสติดเชื้อหลังคลอดได้
พิจารณาให้ immune serum globulin (ISG)
ทารกที่คลอดจากสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอด
ควรได้รับ ISG ขนาด 0.5 mg แก่ทารกทันทีหลังคลอด
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัด
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen
และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
เกิดจากการติดเชื้อ rubella virus (German measles virus)
ติดต่อผ่านทางเดินหายใจ
มีระยะฟักตัว 14-21 วัน ระยะติดเชื้อ 7 วันก่อนผื่นขึ้นและ 4 วันหลังผื่นขึ้น
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ
และต่อน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ
หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular)
มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจาย
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก
ทั้งสองกลุ่มสามารถทำให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้
เชื้อจะเข้าไปในเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว ทำให้เซลล์ติดเชื้อ
ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
การสร้างอวัยวะต่าง ๆ บกพร่อง เกิดเป็นความพิการแต่กำเนิด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น
ไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง
โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ ปอดบวม กระดูกบาง เป็นต้น
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ
ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกัน เน้นการฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน
ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจ
การพยาบาล
ให้วัคซีน และหลังจากให้วัคซีนจะต้องคุมกำเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัย
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดำเนินของโรค
ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์และต่อทารกในครรภ์ และการรักษาพยาบาล
กรณีที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ให้พร้อม
รายที่ตัดสินใจดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ และคลอดทารกที่มีความพิการ ดูแลด้านจิตใจ
สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีน
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
เมื่อไวรัส CMV ในถูกกระตุ้น (reactivated virus) ในขณะตั้งครรภ์
หรือเมื่อสตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อซ้ำ(reinfection)
เชื้อไวรัสก็จะแพร่ไปสู่ทารกในครรภ์ได้
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวม ตับอักเสบ และอาการทางสมอง
การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นการติดเชื้อในครรภ์ตรวจได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ผลกระทบต่อทารก
แท้ง fetal distress คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค
แนะนำและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี
วิธีการหลักในการป้องกันคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่
การรักษา
ให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegalo viral human
ให้ยาต้านไวรัส เช่น Valtrex, Ganciclovil, Valavir
ประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ
พยาธิสรีรภาพ
ทารกได้รับเชื้อจากมารดาในครรภ์ ในระยะคลอด ในระยะให้นม การถ่ายเลือด
การปลูกถ่ายอวัยวะ เพศสัมพันธ์ ทางหายใจ (โดยสัมผัสละอองฝอยในอากาศ)
และทางการสัมผัส (โดยสัมผัสน้ำลาย ปัสสาวะ)
แหล่งของเชื้อ CMV พบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิด เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ น้ำอสุจิ
สารคัดหลั่งจากปากมดลูก น้ำนม น้ำตา อุจจาระ และเลือด
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii
มีพาหะหลักคือ แมว ส่วนพาหะชั่วคราวคือ หนู กระต่าย แกะ รวมทั้งคน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกติดเชื้อในครรภ์ ทารกหัวบาตร ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่ติดเชื้อ สมองและตาจะถูกทำลาย
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์
หากจำเป็นต้องทำความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้าง
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนำให้สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ
กลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง
แนะนำเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
เกิดจากเชื้อฟลาวิไวรัส (Flavivirus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา ระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด
และระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท ร่วมกับการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย
การรักษา
ทำได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และรักษาตามอาการ
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค
ใช้ยากำจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
นอนในมุ้ง และปิดหน้าต่าง ปิดประตูหรือใช้มุ้งลวดติดป้องกันยุงเข้าบ้าน
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
หากมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ
หรืออาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์ ควรให้การพยาบาลดังนี้
อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป ยึดหลัก universal precaution
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป
อาการและอาการแสดง
ไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด
เลือดออกตามผิวหนัง และอาการทางระบบทางเดินหายใจ
ผลกระทบต่อทารก
มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
เกิดจากเชื้อไวรัสตระกูล Corona ชื่อ SARS-CoV-2
ติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การคลอดก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด
การพยาบาล
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิด
รักษาระยะห่าง social distancing
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ
หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น
ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดนานอย่างน้อย 20 วินาที
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด
งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น
กรณีเจ็บครรภ์คลอด ต้องไปโรงพยาบาลทันที
การดูแลทารกแรกเกิด ทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 จัดเป็นผู้มีความเสี่ยง
ต้องสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน
สามารถกินนมแม่ได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด
ข้อแนะนำการปฏิบัติสำหรับมารดาหลังคลอด
ก่อนการเตรียมนมและการปั๊มนม อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที
สวมหน้ากากอนามัย
ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ ทำการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ
ต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากร เน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPE
การดูแลรักษา
สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19 ถ้ามีไข้ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรง ให้ยาต้านไวรัส
สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรง ให้ยาต้านไวรัส
การดูแลรักษากรณีฉุกเฉิน รักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เข้าข่ายการสืบสวนโรค และบุคลากรใส่ชุด full PPE
การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การตัดสินใจผ่าตัดคลอดควรพิจารณาให้เร็วและลดเกณฑ์ลง
กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ให้ corticosteroids สำหรับกระตุ้นปอดทารกในครรภ์
ให้ magnesium sulfate สำหรับ neuroprotection ได้
การดูแลทารกแรกเกิด ขึ้นกับนโยบายของโรงพยาบาล และใช้การตัดสินใจระหว่างมารดากับทีมแพทย์ผู้ดูแล
การดูแลมารดาหลังคลอด หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด
การดูแลด้านจิตใจ เฝ้าระวังและประเมินความเครียดและอาการซึมเศร้า
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus
ผ่านทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก
พยาธิสรีรภาพ
ระยะแรก
เมื่อได้รับเชื้อ เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดง
ตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA (viral load) จำนวนมาก
ระยะที่สอง
ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ ร่างกายจะสร้าง anti-HBe ขึ้นมาเพื่อทำลาย HBeAg
ดังนั้นหากตรวจเลือดจะพบ anti-HBe ให้ผลบวกและจำนวน Hepatitis B virus DNA ลดลง
ระยะที่สาม
เป็นระยะที่ anti-HBe ทำลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL)
ตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ anti-HBe ให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ ตับปกติ
ระยะที่สี่
เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase)
ตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด
และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน)
มีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง ปวดบริเวณชายโครงขวา
คลำพบตับโต กดเจ็บ
ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่
แนวทางการป้องกันและรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจซ้ำอีกครั้งในไตรมาสที่ 3
กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus
ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทำงานหนัก หรือออกกำลังกาย
แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus และมีค่า HBeAg เป็นบวก
ให้การรักษา ด้วยยา Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) ต่อเนื่องจนครบ 4 สัปดาห์หลังคลอด
ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus แต่ค่า HbeAg เป็นลบ ไม่จำเป็นต้องรักษา
พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอด
เมื่อทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด
ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด โดยฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG)
ให้การดูแลผู้คลอดโดยยึดหลักการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาด
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Varicella-zoster virus (HZV)
ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง สัมผัสกับของใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ
ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน
โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome
อาการและอาการแสดง
จะมีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วัน
มีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม เป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง
เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal)
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ
การรักษาแบบเจาะจง โดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม
ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ อาจทำให้ทารกเกิดความพิการก่อนกำเนิดได้
การติดเชื้อปริกำเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด
ใช้หลัก universal precaution
มารดามีการตกสะเก็ดแล้ว สามารถแนะนำเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนำการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันที
เน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด