Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้ของแบนดูรา (Bandura Social Cognitive theory) - Coggle…
ทฤษฎีการเรียนรู้ของแบนดูรา
(Bandura Social Cognitive theory)
อัลเบิร์ต แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นเกิดจากพฤติกรรมบุคคลนั้นมีการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลนั้น (Person) และสิ่งแวดล้อม (Environment) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ (Learning Through Modeling) โดยผู้เรียนจะเลียนแบบจากตัวแบบ และการเลียนแบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการณ์ตอบสนองและปฏิกิริยาต่าง ๆ ของตัวแบบ สภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการกระทำ คำบอกเล่า และความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้
กระบวนการต่าง ๆ ของการเลียนแบบของเด็ก ประกอบด้วย 4 กระบวนการ
กระบวนการคงไว้ (Retention Process)
กระบวนการบันทึกรหัสเป็นความจำ การที่เด็กจะต้องมีความแม่นยำในการบันทึกสิ่งที่ได้เห็นหรือได้ยินเก็บเป็นความจำ ทั้งนี้ เด็กดึงข้อมูลที่ได้จากตัวแบบออกมาใช้กระทำตามโอกาสที่เหมาะสม
การะบวนการแสดงออก (Motor Reproduction Process)
การแสดงผลการเรียนรู้ด้วยการกระทำ คือ การที่เด็กเกิดผลสำเร็จในการเรียนรู้จากตัวแบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความแม่นยำ เด็กจะต้องแสดงพฤติกรรมได้จากการเรียนรู้ด้วยการเคลื่อนไหวออกมา
กระบวนการดึงดูดความสนใจ (Attentional Process)
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เด็กได้สังเกตตัวแบบ และตัวแบบนั้นดึงดูดให้เด็กสนใจที่จะเลียนแบบ ควรเป็นพฤติกรรมง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน ง่ายต่อการเอาใจใส่ของเด็กที่เกิดการเลียนแบบและเกิดการเรียนรู้
กระบวนการจูงใจ (Motivational Process)
ระบวนการเสริมแรงให้กับเด็กเพื่อแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบได้ถูกต้อง โดยเด็กเกิดการเรียนรู้จากการเรียนรู้จากการเลียนแบบตัวแบบที่จะมาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงมากกว่าบุคคลที่ไม่มีชื่อเสียง
แนวคิดของแบนดูรา เน้นพฤติกรรมใด ๆ ก็ตามสามารถปรับหรือเปลี่ยนได้ตามหลักการเรียนรู้ เป็นการกระตุ้นเด็ก มีการเรียนรู้พัฒนาการทางด้านสังคม โดยใช้การสังเกตตัวแบบที่เด็กเห็น เด็กมีระดับการเรียนรู้แล้ว เด็กจะมีทางเลือกใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อเก็บสะสมพฤติกรรมที่เป็นไปได้เอาไว้ และยิ่งกว่านั้นตัวแปรจะช่วยให้เขาเลือกสถานการณ์ที่ดีที่สุดไว้ใช้ปฏิบัติต่อไป
ขั้นตอนการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือเลียนแบบมี 2 ขั้น
ขั้นที่ 1 ขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition)
ขั้นที่ 2 เรียกว่าขั้นการกระทำ (Performance)
การนำทฤษฎีมาประยุกต์
ให้คำอธิบายควบคู่กันไปกับการให้ตัวอย่างแต่ละอย่าง
ชี้แจงขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกตแก่นักเรียน
แสดงตัวอย่างของการกระทำหลายๆอย่าง
จัดเวลาให้นักเรียนมีโอกาสที่แสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
บ่งชี้วัตถุประสงค์ที่จะให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมหรือเขียนวัตถุประสงค์เป็นเชิงพฤติกรรม
ให้เสริมแรงแก่นักเรียนที่สามารถเลียนแบบได้อย่างถูกต้อง
ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดีหรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วยแบนดูรา จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา
พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดขึ้นนั้น ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 3 ด้าน
ปัจจัยส่วนบุคคล ( Personal factor = P )
เงื่อนไขเชิงพฤติกรรม ( Behavior condition = B)
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ( Environment factor = E)