Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning…
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning Theory)
ได้รับความนิยมจนได้รับการยกย่องว่าเป็น“บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม”
ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข(Conditioned emotion)
พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
และการเรียนรู้จะคงทนถาวร หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
วัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของ Pavlov มาเป็นหลักสำคัญ ในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้แนวความคิดของ Watson ก็คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน
การวางเงื่อนไขกลับ(Counter Conditioning) วัตสันคิดหาวิธีที่จะลบความกลัวนั้นให้หายไป แต่เขาก็ไม่สามารถทำการทดลองกับอัลเบรอร์ตต่อไปได้เนื่องจากอัลเบรอร์ตได้มีผู้รับไปอุปการะในอีกเมืองหนึ่งเสียก่อน วัตสันจึงได้เสนอให้โจนส์ ทำการทดลองเพื่อลบความกลัวของเด็กอายุ 3 ปี ผู้หนึ่งชื่อ ปีเตอร์
ปีเตอร์เป็นเด็กที่มีสุขภาพดี แต่เป็นเด็กขี้กลัวมาก เขากลัวทั้งขนสัตว์และสิ่งของหลายชนิด เช่น หนูขาว กระต่าย เสื้อขนสัตว์ ขนนก สำลี กบ ปลา เป็นต้น วัตสันเปรียบปีเตอร์เหมือนเป็นอัลเบรอร์ตตอนโตขึ้นแล้ว
โจนส์ได้พยายามลบความกลัวกระต่ายของปีเตอร์หลายๆวิธี เช่น ให้ปีเตอร์ดูเด็กอื่นเล่นกระต่าย หรือให้ปีเตอร์เห็นกระต่ายบ่อยๆ แต่ก็ไม่เป็นผล วิธีที่โจนส์ให้ความสนใจและพบว่าได้ผลมากก็คือ การวางเงื่นไขกลับ (Counter Conditioning) การวางเงื่อนไขกลับนี้ เป็นการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขใหม่ ที่ตรงข้ามกับสิ่งเร้าเก่า เพื่อให้เกิดการตอบสนอง ที่ตรงข้ามกับการตอบสนองเดิม
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ ผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียนได้
การล้างพฤติกรรมที่วางเงื่อนไขในแง่ลบ เช่น การที่นักเรียนกลัวครู ครูอาจเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์มีการตอบสนองไม่เท่ากัน การจัดการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
สามารถนำความรู้ไปแก้ไขปัญหาด้านความกลัวของเด็กหรือวางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการตอบสนองในเรื่องที่ต้องการให้แสดงพฤติกรรม
การประยุกต์ใช้ในด้านการพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผนการตอบสนองได้ไม่เท่ากัน จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
การวางเงื่อนไข เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ให้ตัวเสริมแรงก่อน แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล
รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจำเป็นต่อการวางเงื่อนไข
การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือไม่ได้จงใจ
ไม่ต้องทำอะไรกับผู้เรียน เพียงแต่คอยจนกระทั่งมีสิ่งเร้ามากระตุ้นจึงจะเกิดพฤติกรรม
การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้า หรือสิ่งเร้าเป็นตัวดึงการตอบสนองมา
เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์ ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล