การรับผู้ป่วยใหม่และการจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล

ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่

การส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่

สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย

บทบาทพยาบาลในการจำหน่วยผู้ป่วยโดยใช้หลัก D-METHOD

ข้อบ่งชี้ และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้ป่วยถึงแก่กรรม

หลักการพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณีและศาสนา

ผู้ป่วยใน

ระยะเวลาของการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 24ชั่วโมง

ประเภทของผู้ป่วยใน

วางแผนเป็นผู้ป่วยในหรือกรณีไม่เร่งด่วน

การรับแบบฉุกเฉิน

การรับโดยตรง

ผู้ป่วยนอก

ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24ชั่วโมง

ความแปลกใหม่ต่อสถานที่สิ่งแวดล้อมบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ต่างๆ

ต้องช่วยผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยการอธิบายและแนะนำถึงข้อปฏิบัติตัวต่างๆ

ความกังวลต่อความเจ็บป่วย

พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรคและการรักษา

พยาบาลควรจะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล

พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสมซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อและมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม

ควรให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของผู้ป่วย

การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ

ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน

ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง

ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล

ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น

ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง

ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่

เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่

สร้างสัมพันธภาพ

ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย การลงทะเบียนรับเป็นผู้ป่วยใน

ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง

นำผู้ป่วยไปที่เตียง

วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิต

อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย และให้คำแนะนำ

ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิตามกฎหมายเซ็นอนุญาตหรือยินยอม

เก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย

นำป้ายข้อมือติดที่ข้อมือผู้ป่วย

แจ้งแพทย์เจ้าของผู้ป่วยหรือแพทย์ประจ าหอผู้ป่วยรับทราบการเข้ารับการรักษา

ลงทะเบียนรับผู้ป่วยใหม่

ประเภทการจำหน่ายผู้ป่วย

การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย

การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบ

การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ

การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม

การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเมื่อกลับไปอยู่บ้าน

เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง

เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียม และความเชื่อทางศาสนา

เพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมมีร่างกายสะอาด

เพื่อได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย

Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน

Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลเห็นความสำคัญของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน

Treatment แนะนำผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแลให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา

Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ญาติ มีส่วนร่วม

Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด

Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

Algor mortis อุณหภูมิของร่างกายลดลง 1◦C

Livor mortis เมื่อการไหลเวียนเลือดหยุด ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำๆ

Rigor mortis คือการแข็งทื่อของร่างกายหลังเสียชีวิต ประมาณ 2-4 ชั่วโมง

การพยาบาลภายหลังถึงแก่กรรม

การแต่งศพ หมายถึง การดูแลศพให้เรียบร้อยพร้อมเคลื่อนย้ายไปยังห้องศพ

วัตถุประสงค์ของการแต่งศพ

เตรียมศพให้สะอาด

ดูแลจัดการตามข้อกฎหมาย

ดูแลจัดเก็บของใช้

ประสานงานหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง

เขียนบันทึกรายงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง

การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรมตามประเพณี และศาสนาของผู้ป่วย

ศาสนาอิสลาม ใช้น้ำผสมการบูรหรือใบพุทราอาบน้ำให้ศพ และใช้ผ้ากะพัน(ผ้าห่อศพ) แทนการสวมเสื้อผ้า

คนจีน ใช้น้ำผสมธูป ยอดทับทิมและใบเซียงเช่า เช็ดตัวศพเพื่อให้วิญญาณขึ้นสู่สวรรค์ และสวมเสื้อผ้าสวยงามพร้อมทั้งหมวกและรองเท้าให้กับผู้ตาย

หลักปฏิบัติทางกฎหมายและระเบียบของโรงพยาบาล

ถ้าผู้ป่วยถึงแก่กรรมภายหลังที่รับเข้ารักษาในโรงพยาบาล กรณีที่เป็นอุบัติเหตุ ฆาตกรรม ให้แจ้งนิติเวช เพื่อหาสาเหตุการตาย

ถ้าผู้ตายเป็นโรคติดต่อ ทางโรงพยาบาลต้องแจ้งหน่วยราชการสาธารณสุข และทำความสะอาดห้องและอุปกรณ์ของใช้ตามหลักการควบคุมการติดเชื้อของโรงพยาบาลนั้นๆ

นำหลักฐานต่างๆ มายื่นให้กับเจ้าหน้าที่ในหอผู้ป่วย

นำใบรายงานของแพทย์ไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขตท้องถิ่นที่ที่บ้านตั้งอยู่เพื่อแก้ไขทะเบียนบ้านภายใน 24 ชั่วโมง และขอใบมรณะบัตร

นำใบมรณะบัตรไปแจ้งที่วัดเพื่อเผาศพ

ในกรณีขอเคลื่อนย้ายศพออกจากเขตหรือข้ามจังหวัด ให้นำใบมรณะบัตรไปแจ้งเทศบาลหรือที่ว่าการเขต

ผู้ตายไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ ได้อีกต่อไป