Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิชาชีพการพยาบาลฯ - Coggle Diagram
วิชาชีพการพยาบาลฯ
สภาการพยาบาล
-
-
คณะกรรมการสภาการพยาบาลจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อ ครบวาระ ลาออก ตาย ขาดคุณสติตพระราชบัญญัติการเป็นสมาชิกสามัญ เช่น ถูกพักใช้เพิกถอนใบอนุญาต หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
หากตำแหน่งกรรมการสภการพยาบาลว่างลงจากตำแหน่งที่มาจากการแต่งตั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอชื่อเข้ามาแทนและแต่งตั้งใน 30 วันนับ แต่ตำแหน่งนั้นได้ว่างลง
-
-
-
- กรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาการพยาบาลมีได้ไม่เกิน 8 คนตำรงวาระคราวละ4ปืตามการแต่งตั้งซึ่งกรรมการที่ปรึกษาอาจไม่ใช่สมาชิกสามัญก็ได้
- คณะกรรมการสภาการพยาบาลมีทั้งหมด 32 คน จะมี 33 คนได้ใน กรณีนายกสภาการพยาบาลเลือกเลขาธิการจากสมาชิกสามัญ
- กรรมการที่ไม่ต้องเป็นสมาชิกสามัญ ได้แก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกรรมการที่ปรึกษา
4 บุคคลที่เป็นคณะกรรมการสภาการพยาบาลโดยตำแหน่ง ได้แก่นายกสมาคมการพยาบาลแห่งประเทศไทย
- ถ้าคณะกรรมการจากการแต่งตั้งและรับเลือกตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 2 วาระ ต้องเว้นไป 1วาระจึงมีสิทธิกลับเข้ามาเป็นกรรมการใหม่ได้
- คณะกรรมการที่มาจากการแต่งตั้งของนายกสภาการพยาบาล ได้แก่เลขาธิการสภาการพยาบารองเลขาธิการสภาการพยาบาลประชาสัมพันธ์เหรัญญิก
- นายกสภาการพยาบาลมีอำนาจถอดถอนเลขาธิการสภาการพยาบาลก่อนครบวาระได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสภาการพยาบาล
- กรรมการที่ปรึกษาจะอยู่ในตำแหน่งกี่วาระก็ได้ โดยสาเหตุที่ทำให้พ้น
จากตำแหน่งก่อนครบวาระได้มีดังนี้
(1) พ้นจากการเป็นสมาชิกสามัญ (ในกรณีคนที่เป็นพยาบาล)เพิกถอนใบอนุญาต
(2)ขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการที่ปรึกษา เช่น ถูกพักใช้
(3) ลาออก
-
ผู้ประกอบวิชาชีพ
-
-
เงื่อนไขการได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ :ต้องสอบให้ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ ร้อยละ 60 ทั้ง 6วิชาตามทีตภาการพยาบาลกำหนดโดยต้องสอบให้ผ่นทั้งหมดภายใน 3 ปีหากไม่ผ่านตามเวลากำหนดต้องสอบใหม่ทั้ง 6 วิซา
หมวด 1 สภาการพยาบาล
- มาตรา 6 ให้มีสภาการพยาบาล มีวัตถุประสงค์และอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สภาการ พยาบาลเป็นนิติบุคคล
- มาตรา 7 สภาการพยาบาล มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
- ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- ส่งเสริมการศึกษา การบริการ การวิจัยและความก้าวหน้า
- ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
- ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่น
- ให้คําปรึกษา หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล
- เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลในประเทศไทย
- ผดุงความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
- มาตรา 8 สภาการพยาบาลมีอํานาจหน้าที่
- รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
- ให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในระดับอุดมศึกษา
- รับรองหลักสูตรต่างๆ สําหรับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตร
- รับรองหลักสูตรต่างๆ สําหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
- รับรองวิทยฐานะของสถาบันท่ีทําการสอนและฝึกอบรมตาม ข้อ 4 และข้อ 5
- รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาหรือวุฒิบัตร
- ออกหนังสืออนุมัติ เกี่ยวกับความรู้หรือความชํานาญเฉพาะทาง และหนังสือแสดงวุฒิอื่น
หมวด 2 สมาชิก
1. สมาชิกสามัญ
1.1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์
1.2 มีความรู้ในวิชาชีพการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์โดยได้รับปริญญาประกาศนียบัตร เทียบเท่าปริญญา
1.3ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย
1.4 ไม่เคยต้องโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุด
1.5 ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบหรือไม่เป็นโรคที่กําหนดไว้ในข้อบังคับ
2. สมาชิกกิตติมศักดิ์: ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภาการพยาบาลเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
-
หมวด 3 คณะกรรมการ
มาตรา 14 ให้มีคณะกรรมการสภาการพยาบาล ประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข 5 คน ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 3 คน ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย 1 คน ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย 4 คน ผู้แทน กรุงเทพมหานคร 1 คน ผู้แทนสภากาชาดไทย 1 คน นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระบรม ราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมาชิกสามัญสภาการพยาบาลอีก 16 คน
มาตรา 15 คณะกรรมการอาจแต่งตั้งสมาชิกกิตติมศักดิ์หรือสมาชิกสามัญเป็นกรรมการที่ปรึกษาได้ ท้ังน้ีจํานวนที่ปรึกษาต้องไม่เกิน 1 ใน 4 ของคณะกรรมการ
มาตรา 16 ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเพื่อการดํารงตําแหน่งนายกสภาการพยาบาล อุปนายก สภาการพยาบาลคนท่ีหน่ึงและอุปนายกสภาการพยาบาลคนที่สอง ตําแหน่งละ 1 คน
มาตรา 17 การเลือกต้ังกรรมการตามมาตรา 14 การแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา 15 และการ เลือกกรรมการเพื่อดํารงตําแหน่งต่างๆ ตามมาตรา 16 ให้เป็นไปตามข้อบังคับ
มาตรา 18 กรรมการนอกจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกรรมการที่ปรึกษา ต้องมีคุณสมบัติ 1. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล2. ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต3. ไมเ่คยเป็นบุคคลล้มละลาย
มาตรา 19 ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและเลือกต้ังมีวาระในตําแหน่งคราวละ 4 ปี หรือรับเลือกตั้งใหม่แต่จะดํารงตําแหน่งเกินสองครั้งติดต่อกันไม่ได้
มาตรา 20 นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระ กรรมการซ่ึงได้รับแต่งตั้งและรับเลือกต้ัง พ้นจาก ตําแหน่งเม่ือ สมาชิกภาพส้ินสุดลงตามมาตรา 13 ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 18 หรือ ลาออก
มาตรา 22 ให้คณะกรรมการมีอํานาจหน้าที 1. บริหารกิจการสภาการพยาบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดตามมาตรา7
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมคณะอนุกรรมการสอบสวนและคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อทํากิจการ
มาตรา 23 นายกสภาการพยาบาล อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่ง อุปนายกสภาการพยาบาลคน ที่สอง เลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์และเหรัญญิก มีอํานาจหน้าที่
-
-
-
บทลงโทษ
-
-
- มาตรา 32 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต้องรักษาจริยธรรมตามที่ได้กําหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
- มาตรา 33 บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ประพฤติผิดจริยธรรมมีสิทธิกล่าว หาผู้ ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น โดยทําเรื่องยื่นต่อสภาการพยาบาลกรรมการมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯ ว่าประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์โดยแจ้งเรื่องต่อสภาการพยาบาลสิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง หรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสอง สิ้นสุดลงเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เร่ืองการประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพดังกล่าวและรู้ตัวผู้ประพฤติผิด ทั้งนี้ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่มีการประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพน้ันดการถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษที่ได้ยื่นเรื่องหรือแจ้งไว้แล้วนั้นไม่เป็นเหตุให้ระงับการ ดําเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
- มาตรา 34 เมื่อสภาการพยาบาลได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษตามมาตรา 33 หรือใน กรณีที่คณะกรรมการมีมติว่ามีพฤติกรรมอันสมควรให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมแห่งวิชาชีพของผู้ ประกอบวิชาชีพการพยาบาลการผดุงครรภ์ให้เลขาธิการเสนอเรื่อง ดังกล่าวต่อประธานอนุกรรมการจริยธรรมโดยไม่ชักช้า
- มาตรา 35ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมจากสมาชิกสามัญประกอบด้วย ประธานคนหนึ่งและอนุกรรมการมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่า 3 คน มีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่ได้รับ ตามมาตรา 34 แล้วทํารายงานพร้อมท้ังความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
- มาตรา 36 เมื่อคณะกรรมการได้รับรายงานและความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1) ให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
2) ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทําการสอบสวน ในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษน้ันมีมูล
3) ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษในกรณีท่ีเห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล
- มาตรา 37 ให้คณะกรรมการแต่งต้ังคณะอนุกรรมการสอบสวนจากสมาชิกสามัญ ประกอบด้วยประธานคนหนึ่งและอนุกรรมการมีจํานวนรวมกันไม่น้อยกว่า 3 คน มีหน้าที่สอบสวนสรปุ ผลการสอบสวน และ เสนอสํานวนการสอบสวนพร้อมท้ังความเห็นต่อคณะกรรมการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
- มาตรา 38 ในการปฏิบัติหน้าท่ีของคณะอนุกรรมการจริยธรรมและของคณะอนุกรรมการสอบสวน ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมและของคณะอนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา มีอํานาจเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคําและมีหนังสือแจ้งให้บุคคลใดๆ ส่งเอกสารหรือ วัตถุเพื่อประโยชน์แก่การดําเนินงานของคณะอนุกรรมการดังกล่าว
- มาตรา 39 ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ พร้อมทั้งส่งสําเนาเรื่อง ที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนเริ่มทําการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษ มีสิทธิทําคําชี้แจงหรือนําพยานหลักฐานใดๆ มาให้คณะอนุกรรมการ สอบสวน คําชี้แจงหรือพยานหลักฐานนั้นให้ย่ืนต่อประธานอนุกรรมการสอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานอนุกรรมการสอบสวนหรือภายในกําหนดเวลาที่คณะอนุกรรมการสอบสวนจะขยายให้
- มาตรา 40 เมื่ออคณะอนุกรรมการสอบสวนทําการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอสํานวนการสอบสวน พร้อมท้ังความเห็นเสนอต่อคณะกรรมการโดยไม่ชักช้าเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
- มาตรา 41 เม่ือคณะกรรมการได้รับสํานวนการสอบสวนและความเห็นของคณะอนุกรรมการสอบสวน แล้วให้คณะกรรมการพิจารณาสํานวนการสอบสวนและความเห็นดังกล่าว
คณะกรรมการอาจให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทําการสอบสวนเพิ่มเติมก่อนวินิจฉัยชี้ขาดได้ คณะกรรมการมีอํานาจวินิจฉัยชี้ขาด อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1) ยกข้อกล่าวหาหรือกล่าวโทษ
2) ว่ากล่าวตักเตือน
3) ภาคทัณฑ์
4) พักใช้ใบอนุญาตมีกําหนดเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน2ปี
5)เพิกถอนใบอนุญาต
- มาตรา 42 ให้เลขาธิการแจ้งคําสั่งสภาการพยาบาลตามาตรา 41 ไปยังผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษเพื่อทราบโดยไม่ชักช้าและให้บันทึกข้อความตามสั่งนั้นไว้ในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
- มาตรา 43 ภายใต้บังคับมาตรา 27ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกส่ังพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพดังกล่าวหรือแสดงด้วยวิธีใดๆให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าวนับแต่วันที่ทราบคําสั่งสภาการพยาบาลที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตน้ัน
- มาตรา 44 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลการผดุงครรภ์ ซึ่งอยู่ ในช่วงสั่งพักใบอนุญาต ผู้ใดกระทําการฝ่าฝืนมาตรา 43 และถูกลงโทษจําคุกตามมาตรา 46 โดยคําพิพากษาถึง ที่สุด ให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้น้ัน ตั้งแต่วันที่ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุด
- มาตรา 45 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ถูกสั่ง เพิกถอนใบอนุญาต อาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้น 2 ปีนับแต่วันที่ถูกส่ังเพิกถอนใบอนุญาต ถ้า คณะกรรมการได้พิจารณาคําขอรับใบอนุญาตและปฏิเสธการออกใบอนุญาต ผู้นั้นจะยื่นคําขอรับใบอนุญาตได้ อีกต่อเมื่อสั้นระยะเวลาหนึ่งปี นับแต่วันที่คณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต ถ้าคณะกรรมการปฏิเสธ การออกใบอนุญาตเป็นคร้ังที่สองแล้ว ผู้นั้นเป็นอันหมดสิทธิขอรับใบอนุญาตอีกต่อไป
- มาตรา 46 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 หรือมาตรา 43ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสอง หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
- มาตรา 47 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 วรรคสามต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
- มาตรา 48 ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคําหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ ตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่งตาม มาตรา 38 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน หนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
- มาตรา 48 ทวิ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในมาตรา 45 เบญจ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
-