Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรับผู้ป่วยใหม่ - Coggle Diagram
การรับผู้ป่วยใหม่
ชนิดของการรับผู้ป่วยใหม่
1 ผู้ป่วยใน (Inpatient)
ระยะเวลาของการนอนพักรักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 24 ชั่วโมง
2 ผู้ป่วยนอก (Outpatient)
ระยะเวลาของการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า 24 ชั่วโมง เช่น กลุ่มที่มาตรวจเป็นครั้งๆ ที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอก เมื่อตรวจเสร็จแล้วแพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ หรือกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดเล็ก การให้ยาเคมีบำบัดแบบเป็นครั้งๆ เป็นต้น
หลักการส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล
1 ความแปลกใหม่ต่อสถานที่ สิ่งแวดล้อม บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องช่วยผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยการอธิบาย และแนะนำถึงข้อปฏิบัติตัวต่างๆ ที่ผู้ป่วยต้องการทราบ
2 ความกังวลต่อความเจ็บป่วย พยาบาลช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้โดยบอกให้ผู้ป่วยทราบถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ การพยากรณ์โรค และการรักษา
3 ประสบการณ์ในอดีตมีความสำคัญต่อการแสดงออกของผู้ป่วย พยาบาลควรจะพูดคุย กับผู้ป่วยโดยการซักถามถึงประสบการณ์ในอดีตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาล
4 การคำนึงถึงความเป็นบุคคลของผู้ป่วย พยาบาลจะต้องให้เกียรติผู้ป่วยตามความเหมาะสม ซึ่งการเรียกผู้ป่วยควรเรียกชื่อ และมีคำนำหน้านามที่เหมาะสม ไม่ควรเรียกผู้ป่วยโดยใช้ หมายเลขเตียง
5 ความเชื่อและพฤติกรรมต่างๆ เป็นของผู้ป่วย
6 การวางแผนให้การพยาบาลโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการซักถามต่างๆ
วัตถุประสงค์และขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
วัตถุประสงค์
1) ผู้ป่วยและญาติมีความรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบและกิจวัตรของโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
2) ผู้ป่วยมีเครื่องใช้ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล เหมาะสม ครบถ้วน
3) ผู้ป่วยได้รับการประเมินปัญหาและความต้องการทางร่างกาย และจิตสังคมได้ถูกต้อง
4) ผู้ป่วยและญาติคลายความวิตกกังวล เต็มใจและให้ความร่วมมือใน การรักษาพยาบาล
5) ผู้ป่วยมีความปลอดภัยและสุขสบายเพิ่มขึ้น
6) ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
ขั้นตอนการรับผู้ป่วยใหม่
1) เตรียมสิ่งแวดล้อมเพื่อรับผู้ป่วยใหม่โดย นำเหยือกน้ำ แก้วน้ำ กระโถน ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดันโลหิต หูฟัง และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
2) สร้างสัมพันธภาพ ให้การต้อนรับผู้ป่วยและญาติด้วยถ้อยคำสีหน้า แววตา กิริยาท่าทางที่เป็นมิตร สุภาพ อ่อนโยน
3) ตรวจสอบชื่อ นามสกุลของผู้ป่วย
4) ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง ตามสภาพอาการของผู้ป่วย
5) นำผู้ป่วยไปที่เตียง แนะนำให้รู้จักผู้ป่วยอื่นที่อยู่ร่วมห้อง
6) วัดอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตเพื่อเป็นการประเมินสภาพแรกรับ
7) อธิบายกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่จะให้ผู้ป่วย
สาเหตุและอุปกรณ์การจำหน่ายผู้ป่วย
1) การจำหน่ายผู้ป่วยเมื่อมีอาการทุเลาลงจากภาวะที่อันตราย ฟื้นหายจากโรค ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นลายลักษณ์อักษรจึงจะจำหน่ายได้
2) การจำหน่ายโดย ไม่สมัครอยู่พยาบาลจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์จะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น และต้องเซ็นชื่อเป็นหลักฐานไว้ว่าไม่สมัครใจ อยู่ในใบเซ็นไม่สมัครใจรับการรักษา
3) การจำหน่ายเนื่องจากผู้ป่วยหนีกลับ
4) การจำหน่าย เนื่องจากผู้ป่วยถึงแก่กรรม
5) การจำหน่ายผู้ป่วยเนื่องจากมีการส่งต่อให้ไปรับการดูแลรักษายังสถานบริการสุขภาพอื่น
บทบาทพยาบาลในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยตามรูปแบบ D-M-E-T-H-O-D
D = Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M = Medication ให้ความรู้เกี่ยวกับยาที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ชื่อยา ฤทธิ์ของยา วิธีการใช้ ขนาด จำนวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ผลข้างเคียงข้อห้ามสำหรับการใช้ยา และการเก็บรักษายา
E = Environment & Economic กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล เห็นความสำคัญ ของการใช้สถานบริการสุขภาพในชุมชน การจัดการสิ่งแวดล้อม
T = Treatment แนะนำผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเป้าหมายการรักษา แนะนำให้ปฏิบัติกิจกรรมการรักษา
H = Health ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจ ากัดในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ กระตุ้นให้ผู้ป่วย/ ญาติ มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
O = Outpatient referral ชี้แจงให้ผู้ป่วย/ ครอบครัว/ ผู้ดูแล ตระหนักและเข้าใจถึง ความสำคัญของการมาตรวจตามนัดและอาการผิดปกติที่ต้องมาก่อนนัด
D = Diet ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค หลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ