Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สิทธิ จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ - Coggle Diagram
สิทธิ จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
สิทธิขั้นพื้นฐาน
สิทธิผู้ป่วย
1.ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการรักษาพยาบาลและการดูแลด้านสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2.ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำ เป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต
3.ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำ เป็นแก่กรณีโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
4.ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบชื่อ สกุล และวิชาชีพของผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน
5.ผู้ป่วยมีสิทธิขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นที่มิได้เป็นผู้ให้การรักษาพยาบาลแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพหรือเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่มีอยู่
6.ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับการปกปิดข้อมูลของตนเอง เว้นแต่ผู้ป่วยจะให้ความยินยอมหรือเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อประโยชน์โดยตรงของผู้ป่วยหรือตามกฎหมาย
7.ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้เข้าร่วมหรือผู้ถูกทดลองในการทำ วิจัยของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
8.ผู้ป่วยมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอตามขั้นตอนของสถานพยาบาลนั้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็นการละเมิดสิทธิหรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของผู้อื่น
9.บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่เป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทากายหรือจิต ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิด้วยตนเองได้
สิทธิพยาบาล
1.พยาบาลมีสิทธิที่จะสร้างรูปแบบการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาลตามที่เห็นสมควรและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามหลักการของวิชาชีพ และมีสิทธิได้รับการยอมรับ เชื่อถือความเคารพและรางวัลตามที่สมควรจะได้
2.พยาบาลมีสิทธิที่จะเข้าใจและยอมรับความรู้สึกของตนเอง ซึ่งการตระหนักและเข้าใจถึงความรู้สึกของตนเองย่อมจะควบคุมความรู้สึกของตนเองได้
3.พยาบาลมีสิทธิที่จะดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและการแสดงออกของตนเอง หมายถึง พยาบาลมีสิทธิที่จะรับฟัง ซักถาม สงสัยหรือไม่ตอบในกรณีที่จะต้องใช้เหตุผลเลือกตัดสินใจทางจริยธรรม และพยาบาลมีสิทธิที่จะได้รับคำแนะนำ ช่วยเหลือร่วมมือจากผู้อื่นและให้ผู้อื่นรับรู้และขจัดความหวาดกลัวคับข้องใจของตนเองได้เช่นเดียวกัน
4.พยาบาลมีสิทธิที่จะพ้นจากสภาพการทำงานที่มีผลต่อการบั่นทอนสุขภาพอนามัยที่ดีของตนเอง ในฐานะของปุถุชน เพราะการให้การบริการพยาบาลอย่างมีคุณภาพต้องอาศัยสภาวะที่ดี (Wellbeing) ของตัวบุคคลผู้เป็นพยาบาลสิทธิของบุคคลแต่ละคนมีพื้นฐานสำคัญอยู่บนความรู้สึกยอมรับ เคารพสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นเช่นเดียวกับตนเอง ในการปฏิบัติการพยาบาลจะต้องยึดถือหลักสำคัญของกระบวนการพยาบาลที่มุ่งเน้นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วย
สิทธิมนุษยชน
ประเภทของสิทธิมนุษยชน แบ่งได้ 5 ประเภท
สิทธิพลเมือง (Civil Rights) ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต ไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกทำร้ายหรือฆ่า สิทธิในความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย สิทธิที่จะได้รับสัญชาติ เป็นต้น
สิทธิทางสังคม (Social Rights) ได้แก่ สิทธิการได้รับการศึกษา สิทธิการได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ ได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มที่ ได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครอง และสร้างครอบครัว เป็นต้น
สิทธิทางเศรษฐกิจ (Economic Rights) ได้แก่ สิทธิการมีงานทำ ได้เลือกงานอย่างอิสระ และได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นต้น
5.สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Rights) ได้แก่ การมีเสรีภาพในการใช้ภาษาหรือสื่อความหมายในภาษาท้องถิ่นของตน มีเสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา การพักผ่อนหย่อนใจทางศิลปวัฒนธรรมและการบันเทิงได้โดยไม่มีใครมาบีบบังคับ เป็นต้น
2.สิทธิทางการเมือง (Political Rights) ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ สิทธิการเลือกตั้งอย่างเสรี
สิทธิเด็ก
2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา – มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่ดี และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
3.สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง - ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การล่วงละเมิด การละเลย การนำไปขาย การใช้แรงงานเด็ก และการแสวงประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบอื่นๆ และ
4.สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม – ในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง
1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด – ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย
จรรยาบรรณวิชาชีพ
ข้อที่ 1 พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพพยาบาลรับผิด
ข้อที่ 2พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
ข้อที่ 3 พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนของบุคคล
ข้อที่ 4 พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์
ข้อที่ 5 พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ
ข้อที่ 6 พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ
ข้อที่ 7 พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อ
วิชาชีพการพยาบาล
ข้อที่ 8 พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล
จริยธรรมวิชาชีพ 6 ด้าน ได้แก่
1.สิทธิของผุ้ป่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
2.การกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
3.การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
4.การกระทำด้วยความซื่อสัตย์ตามพันธะสัญญาของวิชาชีพ
5.การกระทำต่อผู้ป่วยและครอบครัวด้วยความยุติธรรม
6.การบอกความจริงกับผู้ป่วย
มาตรฐานการพยาบาล
มาตรฐานการพยาบาลที่สำนักการพยาบาลกำหนดมี 2 มาตรฐานหลัก คือ
1.มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล เพื่อให้องค์กรพยาบาลของโรงพยาบาลนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานการพยาบาลระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ
2.มาตรฐานการพยาบาลในชุมชน เพื่อให้องค์กรพยาบาลที่ปฏิบัติงานในชุมชน นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานการพยาบาลระดับปฐมภูมิ
การเสริมสร้างความเป็นเอกภาพของวิชาชีพ
การให้ความรักและให้เกียรติแก่ผู้ร่วมวิชาชีพ ไม่คิดร้าย หรือทำลายเกียรติ ไม่ว่าจะเป็นทาง
ความคิดพูดหรือการกระทำ
ร่วมกันสร้างเสริมเพื่อการผดุงเกียรติ ชื่อเสียงขององค์กรที่ทำงานและวิชาชีพของตน
ให้ความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพทุกระดับอย่างจริงใจ และทุกโอกาส
ร่วมกระทำกิจกรรมเกี่ยวกับวิชาชีพทั้งด้านความคิด แรงงาน และทรัพย์สินตามศักยภาพของตน
เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
มีแนวทาง หรือแสวงหาวิธีการผดุงความสามัคคีในกลุ่มผู้ร่วมวิชาชีพ และธำรงรักษาไว้อย่าง
เข้มแข็ง
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น เพียรพยายามแสวงหาวิถีทางเพื่อคลี่คลาย หรือแก้ไขปัญหาด้วยความ
อดทน และจริงใจ ให้บังเกิดสันติสุขในสังคม
การเสริมสร้างและธำรงรักษาความเป็นเอกสิทธิของวิชาชีพ
มีเอกสิทธิ์การประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย ปฏิบัติการพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนดอย่าง
เป็นอิสระและด้วยความรับผิดชอบในการกระทำ
สิทธิในการปฏิเสธการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือการกระทำที่มีกฎหมายรองรับ หาก
กระทำนั้นเกินขีดความสามารถของตน และอาจจะบังเกิดผลเสียหายต่อผู้ใช้บริการได้
สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติจากผู้ร่วมงานในฐานะมนุษย์ และผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเท่าเทียมกัน
และมีสิทธิที่จะปกป้องชื่อเสียงเกียรติยศของตนและครอบครัว หากถูกหมิ่นเกียรติ
สิทธิในการรับเลือกเข้าทำงาน หรือดำรงในตำแหน่งต่าง ๆ โดยชอบตามหลักของคุณธรรม
และจริยธรรม
สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมูลต้องมี
ความชัดเจนและเพียงพอต่อการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ
สิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม คือ เหมาะสมกับภาระหน้าที่ และลักษณะวิชาชีพที่ต้องดำเนินชีวิตอย่างมีผลกระทบต่อแบบแผนดำเนินชีวิตส่วนบุคคลและครอบครัว
สิทธิที่จะได้รับสวัสดิการที่พัก ความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิต ในการปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างเหมาะสมกับคุณค่าของมนุษย์ที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
สิทธิในการรวมตัวกันเป็นสหพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพฯ เพื่อพิทักษ์ปกป้องสิทธิประโยชน์ของ
ผู้ประกอบวิชาชีพโดยรวม
สิทธิที่จะกระทำผิดพลาดได้ในฐานมนุษย์โดยมิได้เจตนา และควรได้รับการปฏิบัติดูแลอย่าง
เหมาะสม รวมทั้งการพัฒนา และเสริมเติมเต็มให้ความรู้ ประสบการณ์ อย่างต่อเนื่อง
ดำรงรักษาสิทธิในการพิจารณาตัดสินใจเลือกสรรผู้แทน ผู้ประกอบวิชาชีพฯ ผู้บริหารองค์กรวิชาชีพในทุกระดับ มิควรให้มีการใช้อำนาจแทรกแซงโดยผู้อื่นใด
สิทธิในการฟ้องร้อง หรือร้องเรียน ขอความเป็นธรรมได้ตามกฎหมาย หากได้รับการปฏิบัติที่มิชอบ และไม่เป็นธรรม
การคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลจากรัฐบาล
1.สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับข้าราชการและบุคคลในครอบครัว ได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อเจ็บป่วยสามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลของรัฐ โดยมีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ดูแลระบบออกกฎระเบียบ
2.สิทธิประกันสังคม คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนตามสิทธิ สามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลได้ที่โรงพยาบาลที่เลือกลงทะเบียน โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ทำหน้าที่ดูแลระบบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
3.สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท คุ้มครองบุคคลที่เป็นคนไทยมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการข้าราชการ หรือ สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ หรือสิทธิอื่น ๆ จากรัฐ เพื่อให้ได้รับบริการสาธารณสุข ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบ เพื่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึง ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด