Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ความเป็นครู: คุณสมบัติของการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพ - Coggle…
บทที่ 4 ความเป็นครู: คุณสมบัติของการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้อ่าน (นักศึกษาครู) สามารถ
• เข้าใจและสื่อได้ถึงคุณสมบัติพื้นฐานของการเป็นครูที่ประสิทธิภาพ
• ขยายขอบข่ายความชํานาญไปสู่การมีคุณสมบัติขั้นสูงของการเป็นครูที่ประสิทธิภาพ
• คุณสมบัติของการเป็นครูที่จะเป็นแม่แบบด้านค่านิยมที่ดีแก่ลูกศิษย์
บทนำ
ความรับผิดชอบและหน้าที่เป็นงานที่จับต้องไม่ได้และระบุได้อย่างชัดเจนในอาชีพการเป็นครู คําถามที่ ได้รับอยู่เสมอในอาชีพการเป็นครูคือคุณสมบัติของการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพได้แก่อะไรบ้าง คุณสมบัติหรือคุณ ลักษณ์ทางธรรมชาติใดบ้างที่สื่อให้เห็นถึงอาชีพการเป็นครู คําตอบของคําถามดังกล่าวนั้น ซับซ้อนและยังหา ข้อสรุปไม่ได้ว่าคุณสมบัติที่ทําให้ประสบความสําเร็จในการสอนหนังสือคืออะไรบ้าง มีผู้แสดงความเห็นถึง ธรรมชาติของอาชีพการเป็นครูไว้หลากหลาย ได้แก่ บุคลิกลักษณะ คุณสมบัติ คุณภาพ อารมณ์ ความสามารถ การดําเนินงาน และกระบวนการสอนของครู เป็นต้น
ครูที่มีประสิทธิภาพในศตวรรษที่ 21
ครูควรต้องมีคุณสมบัติหลากหลายโดยต้องอาศัยหลักปฏิบัติตน ดังนี้
•อุทิศตนต่อการปฏิรูปในระดับชาติ
•หล่อหลอมผู้เรียนให้เป็นนักคิดสร้างสรรค์
•เสริมสร้างขีดความสามารถถึงขีดสุดด้วยกระบวนทัศน์ในการสอน
สแกนด้วย CamScanner
•ปรับตัวให้เป็นผู้มีความคิดเชิงวิเคราะห์ และมีความคิดริเริ่ม
•ทําให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความรู้ได้อย่างถาวร
• เชื่อมโยงความรู้ทางวิชาชีพกับสภาพแวดล้อมแบบยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ
•ให้ผู้เรียนทํากิจกรรมที่ต้องใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์และความร่วมมือระหว่างกัน
•บูรณาการการเรียนรู้โดยยึดคอมพิวเตอร์ในหลักสูตรการสอน
• ขยายขอบเขตการเรียนรู้นอกเหนือจากในชั้นเรียนปกติโดยการใช้การเรียนรู้ผ่านอิเล็กทรอนิกส์
• ช่วยเหลือผู้เรียนและเพิ่มเติมด้านคุณค่าการศึกษาระดับชาติในหลักสูตร
ความเป็นครู
ทุกคนสามารถเป็นครูได้ แต่มิใช่ทุกคนที่สามารถเป็นครูในสถาบันการศึกษาได้ และน้อยกว่านั้นคนที่ สามารถเป็นครูที่มีประสิทธิภาพได้มีไม่มาก ครูทุกคนต่างก็มีคุณลักษณ์ ความรู้และทักษะในการถ่ายทอดความรู้ สู่บรรดาลูกศิษย์ที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี กีฬา นาฏศิลป์ ศาสนา ฝึกสัตว์ พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ก็ ล้วนเป็นครูทั้งสิ้น
สําหรับการเป็นครูในสถาบันการศึกษานั้น ต้องผ่านกระบวนการประเมิน ทดสอบและอบรมหลัก วิชาการสอนและการวางหลักสูตร รู้จักการทํางานในองค์กรที่บริหารและจัดแบ่งเป็นลําดับชั้น
ครูที่มีประสิทธิภาพ คือ ครูที่สนับสนุนลูกศิษย์ให้อยากเรียนรู้ เสริมองค์ความรู้ ด้านสังคม และพัฒนาบุคคลให้เป็นไปตามความชํานิชํานาญของครูด้านหลักการและการเรียนการสอนความสามารถของครู
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญมีดังนี้
ครูมีความรู้ความเข้าใจรู้เป้าหมายของการจัดการศึกษา และหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
ครูมีการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ครูมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและผู้เรียน
ครูมีการประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการ - ของผู้เรียน
ครูมีการนําผลการประเมินมาปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
ครูมีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของผู้เรียนและนําผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน
คํานิยาม
การสอนที่มีประสิทธิภาพหมายถึง ความสามารถในการช่วยให้ผู้เรียนประสบความสําเร็จตามที่วาดหวังหรือต้องการจากการเรียนการสอน
ประสิทธิภาพ หมายถึง การมีพลังอํานาจที่จะทำให้เกิดผลตามที่วาดหวังหรือต้องการ
ครูที่มีประสิทธิภาพ หมายถึงครูที่สนับสนุนลูกศิษย์ให้อยากเรียนรู้ เสริมองค์ความรู้ ด้านสังคม แลtพัฒนาบุคคล
ให้เป็นไปตามความชํานิชํานาญของครูด้านหลักการและการเรียนการสอน
1คุณสมบัติ หมายถึง คุณภาพโดยธรรมชาติที่พบได้ในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ความมีประสิทธิภาพของครู หมายถึง ผลลัพธ์ที่ครูได้รับหรือระดับการพัฒนาของผู้เรียนกระบวนการเรียนการสอนของครู เพื่อไปถึงเป้าประสงค์ที่วางไว้ ทั้งนี้สามารถประเมินได้จากพฤติกรรมและการพัฒนาของผู้เรียนเพียงอย่างเดียว อาทิ การที่ผู้เรียนเปลี่ยนเจตคติในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของตนเอง และมี คะแนนสอบที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
ความสามารถของครู หมายถึง พฤติกรรมเฉพาะที่สามารถระบุได้ คือ ความรู้ ความสามารถ และความเชื่อมั่นในการ ดําเนินงานในชั้นเรียน โดยทั่วไปแล้ว ความสามารถของครูมักจะวัดจากการสอนในชั้นเรียน และแบบแผนการสอนที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผนการสอน การปิดคอร์ส การเริ่มบทเรียน การสรุป และการตั้งคําถามและเฉลย เป็นต้น
การดําเนินงานของครู หมายถึง พฤติกรรมของครูขณะที่ดําเนินการสอนในชั้นเรียน เช่นการแสดงความใส่ใจ ห่วงใย และมีอารมณ์ขัน
ครูที่มีประสิทธิภาพในความทรงจํา
และภาพลักษณ์
ภาพลักษณ์ของครูนั้นได้ผ่านการหล่อหลอมมาอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะผ่านจากความทรงจําในวัยเยาว์ บุคคลในประวัติศาสตร์ สื่อมวลชน ผู้เรียน ผู้กํากับภาพยนตร์ นักเขียนบท และพ่อแม่ ภาพลักษณ์เหล่านี้มีผลต่อ ความคาดหวังที่สังคมมีต่ออาชีพครู และมาตรฐานการอบรมและเตรียมความพร้อมให้แก่ครูของชาติ
ครูที่มีประสิทธิภาพตามผลการศึกษาวิจัย
บทสรุปของคุณสมบัติของครูที่มีประสิทธิภาพอ้างอิงมาจากผลการวิจัยด้านพฤติกรรมของครูเกี่ยวกับ ความสําเร็จในการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียน วิธีในการเรียนการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน บุคลิกลักษณะของครู ความสามารถและผลกระทบจากครูผู้สอน
แนวโน้มการวิจัยก่อนทศวรรษที่ 70
กวรรษที่ 70 การวิจัยกล่าวว่าการสอนที่มีประสิทธิภาพ จัดทําขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานการให้คะแนนด้านลักษณะการ บริหารจัดการของครู เช่น การให้ความร่วมมือ การพึ่งพาตนเองได้ ความมานะแข็งขัน พฤติกรรมที่มี จรรยาบรรณ แต่เนื่องด้วยผลการวิจัยซึ่งไม่มีความสม่ําเสมอและอัตวิสัยทําให้นักวิจัยไม่สามารถสรุปลักษณะของ ครูที่มีประสิทธิภาพได้ ผลการวิจัยของ Barr and Ryan (1960) นับเป็นผลการศึกษาวิจัยแรกๆ ที่มีความ ครบถ้วนสมบูรณ์ในการนําเสนอพฤติกรรมของครูที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนําเสนอแนวทางอันดีทั้งสําหรับครูมือใหม่ และครูที่มีประสบการณ์แล้ว
แนวโน้มการศึกษาวิจัยระหว่างทศวรรษที่ 70 และ ทศวรรษที่ 80
ช่วงเวลานี้นับว่าเป็นยุคที่ 2 ของการศึกษาวิจัย ซึ่งเน้นด้านผลการเรียนการสอน การปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ครูและผู้เรียน และ คุณลักษณ์ของครูต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยต้องสะดุดลง เนื่องจาก ความสําเร็จของผู้เรียนมีความเกี่ยวเนื่องกับสถานะทางเศรษฐกิจสังคมของผู้เรียนมากเกินขึ้น ในขณะที่ปัจจัย อาทิ ขนาดของชั้นเรียน คุณภาพของหนังสือเรียน อุปกรณ์ของโรงเรียน ลักษณะนิสัยและประสบการณ์ของครู กลับมีผลกระทบน้อยมาก
การศึกษาวิจัยในปัจจุบัน
การศึกษาวิจัยในยุคปัจจุบันหันมาให้ความสําคัญกับกระบวนทัศน์การสอนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ “กระบวนการ” ควบคู่ไปกับ “ผลงาน/ความรู้ที่ได้” (Process-product teaching) กระบวนการ หมายถึง สิ่งที่ ครูปฏิบัติและสั่งสอน สําหรับผลงาน/ความรู้ที่ได้ หมายถึง ผลลัพธ์ในลักษณะของทักษะและความรู้ที่ผู้เรียน ได้รับโดยวัดจากการประเมินทดสอบ การสอนได้ผันเปลี่ยนจากวิธีการและสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบดั้งเดิม ไม่ว่าแบบการสอนที่ให้ ความสําคัญของครูในการเป็นสื่อ (Instructivist) การสอนโดยมีครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-centered instruction) การสอนโดยใช้สื่อเดียว (Single-medium) และ การตั้งคําถามให้ผู้เรียนตอบฝ่ายเดียว เปลี่ยน ไปสู่สภาพแวดล้อมแบบใหม่ซึ่งให้ความสําคัญกับการสร้างความรู้ (Constructivist) อาทิ การยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้ การใช้สื่อผสมในการเรียนการสอน การถามตอบปัญหาระหว่างครู ผู้เรียน และการ จัดลําดับความคิด นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยด้านการสอนกับเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสอนที่เหนือไป กว่าการให้ท่องจําข้อมูล กล่าวคือ ผู้เรียนต้องสามารถสะท้อนคิด สร้างสรรค์และคิดวิเคราะห์ได้ การสอนที่มี กิจกรรมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด และการสอนที่ทําให้ผู้เรียนสามารถสร้างแนวทางการเรียนรู้ของตนเองได้ผ่าน
คุณสมบัติของครูที่มีประสิทธิภาพ : มุมมองที่แตกต่าง
ครูจะต้องพัฒนาคุณสมบัติในการสอนอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้การสอนของตนนั้นมีประสิทธิภาพ คุณสมบัติดังกล่าวเกิดจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการสอนและการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงของข้อเรียกร้อง
ทางสังคม และเป้าหมายของชาติ ดังนั้น มุมมองที่แตกต่างด้านคุณสมบัติของครูที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
• กระบวนทัศน์ด้านการสอนและการเรียนรู้ (Ornstein and Lasley, 2000)
• ลักษณะนิสัย (Arends, Winitzky and Tannenbaum, 1998)
• คุณภาพของบุคคล (Elliot, 2000)
• ผลลัพธ์การเรียนรู้ (National Institute of Education, Singapore, 2002)
คุณภาพของบุคคล
ในยุคต้นๆ การศึกษาวิจัยมักจะโยงการสอนที่ประสบความสําเร็จกับลักษณะของครูผู้สอน อย่างไรก็ ตาม นักวิจัยแต่ละท่านต่างก็มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับคุณสมบัติของครูที่ดี สําหรับคุณภาพของ ครูนั้น สามารถบรรยายได้หลากหลายและกว้างขวางมาก อาทิ สามารถสื่อสารได้ดี มีระเบียบ มีความรู้ เข้าถึง ได้ ร่าเริง กระตือรือร้น มีอารมณ์ขัน ปรับตัวได้ง่าย มีเจตคติที่ดี มีแรงบันดาลใจ มีความลึกซึ้ง มีเชาวน์ปัญญา คล่อง ตื่นตัว มีความชัดเจน และปฏิบัติต่อผู้เรียนแต่ละบุคคล
คุณสมบัติของคุณภาพบุคคลก็มีมิติที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึง การกล้าที่จะยอมรับการท้าทาย การมี หลักการและความยุติธรรมทางสังคม ความอดทนจนกว่าจะได้รับผลที่ดี ความเชื่อว่าตนเองจะสร้างความ เปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ได้ ใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็น และความมุ่งหมั่นที่จะเอาชนะ อุปสรรคการเรียนรู้ ของผู้เรียน นอกจากนี้ครูยังต้องมีคุณสมบัติในการมีความรับผิดชอบ อุทิศตนเพื่อการสอน ชื่อสัตย์มั่นคง
สมรรถนะของกระบวนทัศน์ด้านการสอนและการเรียนรู้
“กระบวนทัศน์” หมายถึง กระบวนการที่ครูเข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้เรียนโดยนัยทางการเรียนการสอน ซึ่ง ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ การสอน การให้ความรู้ และการเรียนรู้ ทั้งนี้ “การสอน” หมายถึง การพัฒนา พฤติกรรมของครูระหว่างกระบวนการสั่งสอน โดยอาศัยรูปแบบการสอน ปรัชญาส่วนบุคคล ประสบการณ์และ บุคลิกของตนเอง สําหรับ “การให้ความรู้” หมายถึง การใช้กิจกรรม กลยุทธ์และสมรรถนะเพื่อเสริมการสอน ของตนเอง และ “การเรียนรู้” หมายถึง การที่ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของตนเองทั้งทางด้านองค์ ความรู้และพฤติกรรม ดังนั้น การสอนเพื่อให้ได้รับความรู้จึงเป็นนิยามโดยรวมของการสั่งสอนและกระบวนทัศน์ ในการสอนนั่นเอง และด้วยเหตุนี้ครูที่มีประสิทธิภาพจึงต้อง
• ปฏิบัติตนเป็นผู้นําเสนอและถ่ายทอดข้อมูล โดยไม่ยึดติดกับรูปแบบดั้งเดิม
. เป็นผู้กําหนดความสามารถของผู้เรียน โดยการนําประสบการณ์เดิมมาคิดวิเคราะห์เพื่อประเมิน สถานการณ์ปัจจุบัน และทําให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้น
ลักษณะนิสัย
ลักษณะนิสัยที่มีต่อเด็กและเยาวชน
ลักษณะนิสัยที่มีต่อองค์ความรู้และกระบวนการคิดอ่าน
ลักษณะนิสัยที่มีต่อเพื่อนร่วมงานและผู้อื่น
ผลลัพธ์การเรียนรู้
เจตคติและคุณค่า
• แสดงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในนโยบายและข้อปฏิบัติของการศึกษา
•ตระหนักในประเด็นระดับชาติและภูมิภาค และผลกระทบที่มีต่อประเด็นทางการศึกษา
•อุทิศตนเพื่อผู้เรียนและการพัฒนาของแต่ละบุคคล
•รับผิดชอบต่ออาชีพและพัฒนาตนเอง
•หล่อหลอมคุณค่าและทัศนคติของผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีและประพฤติตนเป็นประโยชน์
ทักษะและสมรรถนะ
• ใส่ใจต่อสวัสดิภาพของผู้เรียน
•กระตุ้นให้ผู้เรียนทําเต็มความสามารถ
•ใช้ตัววัดประเมินที่หลากหลาย
•บริหารเวลาและความเครียด
•ใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ
•นําผลการวิจัยมาปรับใช้กับการเรียนการสอน
ความรู้และความเข้าใจ
ต้องมีความรู้ที่ดีและมีความเข้าใจในวิชาการและสาระสําคัญ จิตวิทยาการศึกษาเบื้องต้น สังคม ปรัชญา และวิชาที่สอน
คุณสมบัติของครูมือใหม่และครูที่มีประสบการณ์
ครูมือใหม่จึงควรพยายามเพิ่มเติมคุณสมบัติของตนเอง คือ รักษาความกระตือรือร้น มองโลกใน แง่ดี รับการเปลี่ยนแปลงได้ สร้างประสบการณ์และวางบทบาทที่หลากหลาย สร้างความชํานาญในการสอนและ สมรรถนะของตน เข้ากันได้กับเพื่อนร่วมงานผู้เรียนและผู้ปกครอง มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยน และเรียนรู้ตลอดชีวิต ทํางานภายใต้การบริหารจัดการที่ดี ผสานทฤษฎีเข้ากับการปฏิบัติ ประยุกต์ใช้ผลการวิจัย กับการเรียนการสอนและรู้จักปฏิเสธ
สําหรับครูที่มีประสบการณ์ในงานสอนแล้ว จะต้องพัฒนาภาพลักษณ์ของตนในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อยอมรับแนวทางการสอนและสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยีสูง ทั้งนี้จะต้องมีทักษะในงานสอนและ ความสามารถในการวิจัยเพื่อนํามาใช้ในการสอนของตนอีกด้วย