Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์ - Coggle Diagram
เทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์
ขั้นตอนและเทคนิคการคิดเชิงสร้างสรรค์
เทคนิคที่นำเสนอโดย อเล็กซานเดอร์ ออสบอร์น (Alexander Osborn) นักธุรกิจและนักคิดที่มีชื่อเสียงระดับโลก เทคนิคนี้ประกอบด้วย 10 ขั้นตอน ได้แก่
การระดมสมอง ควรใช้วิธีการระดมสมองเพื่อจะได้ความคิดที่หลากหลายซึ่งจะช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพมาก ลำดับขั้นตอนที่สำคัญในการระดมสมอง มีดังนี้
ขั้นที่ 2 กำหนดหัวข้อในการระดมความคิด หัวข้อในการระดมสมองควรเป็นหัวข้อที่เจาะจง ไม่กว้างจนเกินไป
ขั้นที่ 1 ตั้งผู้ดำเนินการหรือผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
ขั้นที่ 3 ระดมความคิด เพื่อให้ได้ความคิดมามากที่สุด โดยมีกฎว่าต้องจดทุกความคิดโดยไม่มีการประเมินใด ๆทั้งสิ้น
ขั้นที่ 4 สรุปผลการระดมสมอง สรุปออกมาเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ความคิดที่ดีพร้อมไปดำเนินการได้ ความคิดดีรอการพิจารณา และความคิดที่ต้องพิจารณา
ขั้นที่ 5 การติดตามผล หลังจากระดมสมองเสร็จแล้ว ควรมีการติดตามผลว่า ได้นำความคิดนั้นไปดำเนินการ แล้วผลเป็นอย่างไร เพื่อนำแนวคิดที่เหลือไปดำเนินการต่อ
องค์ประกอบของความคิดเชิงสร้างสรรค์
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2556) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ไว้ 6 ด้าน
3 ด้านความรู้
คนมีความรู้มักจะคิดสร้างสรรค์ได้ดีกว่า เพราะความรู้ทำให้เข้าใจธรรมชาติของปัญหาได้ดีกว่า ทำให้คิดงานที่มีคุณภาพเพราะมีรากฐานของความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นรองรับ
5 ด้านแรงจูงใจ
แรงจูงใจที่กระตุ้นจากภายในมีประโยชน์ต่อความคิดสร้างสรรค์ เพราะทำให้รู้สึกสนุกกับงานและรู้สึกว่างานมีความน่าสนใจ เช่น ความต้องการประสบความสำเร็จ ความต้องการสิ่งใหม่ ๆ
1 ด้านทัศนคติ (attitude) และบุคลิกภาพ (personality) 12 ประการ
เป็นคนเปิดกว้างในการรับประสบการณ์ใหม่ ๆ
มีอิสระในการคิดและตัดสินใจ
มีความเชื่อมั่นและเป็นตัวของตัวเอง
กล้าเผชิญความเสี่ยง
มีทัศนคติเชิงบวกต่อสถานการณ์
มีแรงจูงใจสูงที่จะทำให้สำเร็จ
สนใจสิ่งที่สลับซับซ้อน
ยินดีทำงานหนัก
บากบั่นอุตสาหะ
อดทนต่อปัญหาที่มองไม่เห็นคำตอบ
11 เรียนรู้จากประสบการณ์ความล้มเหลว
รับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
4 ด้านรูปแบบการคิด
ลักษณะการคิดที่เหมาะสมต่อการคิดสร้างสรรค์ เช่น ความสมดุลระหว่างการคิดแบบมองมุมกว้าง คือ คิดในระดับทั่วไปของปัญหา กับ การคิดแบบมองมุมแคบ คือ คิดแบบลงในรายละเอียดของปัญหา
2.ด้านสติปัญญา 4 ประการ
ความสามารถในการกำหนดขอบเขตของปัญหา สามารถให้นิยามหรือกำหนดขอบเขตของปัญหาที่ต้องการแก้ไขได้อย่างชัดเจน
ความสามารถในการใช้จินตนาการ เพราะการวาดภาพจากจินตนาการช่วยทำให้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ความสามารถในการคัดเลือกอย่างมียุทธศาสตร์ เช่น คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ความสามารถในการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ
6.ด้านสภาพแวดล้อม
บรรยากาศในสังคมที่ไม่มีการสร้างกรอบมาตรฐานเพื่อบีบรัดย่อมส่งเสริมให้สังคมมีความคิดสร้างสรรค์