Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
6.2กระดูกหักและข้อเคลื่อน - Coggle Diagram
6.2กระดูกหักและข้อเคลื่อน
ภาวะกระดูกหัก fracture หมายถึง การที่มีแรงมากระทำกระดูก แล้วทำให้ส่วนประกอบกระดูกแตกแยกหรือขาดจากการเชื่อมต่อกัน
กลไก มี2กลุ่ม
Direct trauma
กระแทกหรือตี tapping แรงกระแทกลักษณะนี้มักทำให้กระดูกหักตามแนวขวาง
แรงอัดหรือแรงบดทับ crush ทำให้กระดูกแตกหลายชิ้น
แรงจากกระสุน ระเบิดได้รับบาดเจ็บมาก
indirect trauma
การดึงของกล้ามเนื้อ traction /tension fracture
กระดูกท่อนถูกกระแทกทำให้โค้งงอ
แรงที่ทำให้เกิดการแตกหักมักเป็นแรงบิดตามแนวแกนยาวของกระดูก
แรงกดหรือแรงอัดทำให้เกิดกรดูกยุบ
การจำแนกชนิดของกระดูกหัก
ชนิดของกระดูกหักตามรูปแบบของการหัก ตามยาว ตามขวาง เฉียง บิดรอบกระดูก หักแล้วอัดเข้าหากัน
ตามขอบเขต แยกออกจากกัน ไม่แยกออกจากกัน complete/incomplete
ตามภาวะแทรกซ้อน uncomplicated/complicated
ความสัมพันธ์ non displaced/displaced ไม่เคลื่อนออก/เคลื่อนออก
หักกับสิ่งแวดล้อม close/open fracture
พยาธิสภาพ หากมีการหักของกระดูกเชิงกรานเสียเลือดมากสุด 4000ml รองลงมาคือกระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง กระดูกต้นแขนและไหล่
ข้อเคลื่อน dislocation หมายถึง ภาวะข้อเคลื่อนหลุดออกจากเบ้ากระดูกผิวของข้อไม่สัมผัสกันเลย หายังสัมผัสกันอยู่ เรียก ภาวะข้อเคลื่อนบางส่วน subluxation อาการอาการแสดง จะปวดจนกว่าจะถูกดึงเข้าที่
ภาวะแทรกซ้อนระยะเฉียบพลัน
ระบบทางเดินหายใจ ภาวะออกรวน flail chest ภาวะที่มีลม/เลือดในเยื่อหุ้มปอด Hemo-Pneumothorax
ระบบไหลเวียนเวียนเลือด การบาดเจ็บต่อหัวใจ หลอดเลือด กลไกการแข็งตัวของหลอดเลือด เป็นสาเหตุสำคัญของภาวะไตวายและสมองขาดเลือด
ระบบประสาท กระดูสันหลังส่วนคอที่ 4หักทำให้หยุดหายใจต้องพึ่งช่วยหายใจตลอดชีวิต
การบาดเจ็บของอวัยวะในช่องท้องจากกระดูกซี่โครงหักทิ่มแทง
ระบบทางเดินปัสสาวะระบบสืบพันธุ์
Fat embolism syndrome พบในผู้ป่วยที่กระดูกหักหลายแห่ง โดยเฉพาะถ้ามีกระดูกหักร่วมกับเชิงกรานหัก
กลุ่มอาการความดันในช่องกล้ามเนื้อสูง compartment syndrome เกิดจากการบาดเจ็บเนื้อเยื่ออย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อถูกบีบรัดชอกช้ำมาก พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีกระดูกหน้าแข้งและกระดูกน่องหัก มักเกิดภายใน1-2วันหลังบาดเจ็บ อาการสำคัญคือ 5ps ปวด pain ชา paresthesia ซีด pallor ชีพจรเบา/คลำไม่ได้ pluselessness อัมพาต paralysis pressure or swelling บวมตึง ความดันไม่ควรเกิน 20mmhg
ภาวะแทรกซ้อนระยะหลัง
กระดูกผิดรูป malunion ไม่สามารถจัดกระดูกให้เข้าที่ได้ระยะแรกของการบาดเจ็บ อาจทำให้กนและข้อบริเวณนั้นผิดปกติด้วย
กระดูกติดช้า delayed union ซ่อมแซมใช้เวลานานกว่าปกติ
กระดูกไม่ติด non union
หลักการรักษาพยาบาล
ระยะฉุกเฉิน
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนนำส่งโรงพยาบาลต้องประเมินสภาพ เริ่มจากซักประวัติ หากพบว่ามีการเสียเลือดต้องมีการห้ามเลือดก่อนและให้การรักษาตามอาการ จากนั้นประเมินว่าผู้ป่วยมีกระดูกหักเคลื่อนที่ใดบ้าง
จำกัดการเคลื่อนไหว ต้องจัดหาอุปกรณ์สำหรับดามกระดูกเพื่อเป็นการเข้าเฝือกชั่วคราว splint ประโยชน์คือ ป้องกันไม่ให้กระดูกหักป้องกันการบาดเจ็บเพิ่ม
การดูแลผู้ป่วยเมื่อมาถึงโรงพยาบาล หลังตรวจร่างกายแล้วต้องทำการใส่ splintบริเวณที่หัก ส่ง x-ray เพื่อลดปวดและอันตรายต่อเนื้อเยื่อใกล้เคียง
ในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักแบบเปิด แผลขนาดเล็กทำความสะอากด้วยnss แล้วใช้ผ้าผันแผลก่อนส่ง x-ray ถ้าแผลเปิดมากเลือดออกมาก ควรทำการห้ามเลือด ป้องกันภาวะช้อกรายงานศัลย์แพทย์
การรักษาเฉพาะเจาะจง
ปัญหากระดูกหักแบบปิด ใช้หลัก 5R
การวินิจฉัย recognition
Reduction การจัดกระดูกให้เข้าที่
close reduction อาศัยแรงดึงจากภายนอกด้วยแรงดึงจากศัลย์แพทย์ open reduction ต้องอาศัยการผ่าตัด เอาสิ่งขัดขวางออก
Retention ดามกระดูกให้อยู่นิ่งกับที่
External immobilization การคล้องด้วยผ้า การดึงถ่วงน้กหนักที่ผิวหนัง Internal immobilization การยึดตรึงด้วยโลหะพิเศษที่ไม่ศึกหรอเข้าไปในร่างกาย
Rehabilitation การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ จิตวิญญาณ
การสร้างส่วนที่ชำรุดขึ้นมาใหม่หลังการรักษากระดูกหัก Reconstruction
ปัญหากระดูกหักแบบมีแผลเปิด วัตถุประสงค์หลัก คือ การป้องกันการติดเชื้อที่กระดูก การซ่อมแซมเนื้อเยื่่ออ่อน จึงจำเป็นต้องผ่าตัดล้างแผลภายใน 6 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บ
การรักษาข้อเคลื่อน เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องดึงข้อให้เข้าที่ให้เร็วที่สุด
้การรักษาด้วยการจำกัดการเคลื่อนไหว
การเข้าเฝือกและกาบเฝือก การเข้าเฝือกต้องคลุมให้เพียงพอ คือคลุมที่อยู่เหนือและต่ำลงไป 1ข้อ เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวนั้นให้อยู่นิ่งๆ
ชนิดของเฝือก
การเข้าเฝือกแขน
การเข้าเฝือกต้นแขนถึงอุ้งมือ Hanging arm cast ห้ามใช้ในการรักษากระดูกหักที่ไม่เคลื่อนที่ เพราะจะทำให้กระดูกแยกห่างจากกันเป็นผลให้กระดูกติดช้า คล้ายกับ long arm cast แต่ไม่สายพยุง
short arm cast เข้าบริเวณแขนท่อนล่างครอบคลุมบริเวณอุ้งมือ
ีu-shaped slab ใช้ในกรณีกระดูกต้นแขนหักที่ไม่มีการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่เพียงพอเล็กน้อย กึ่งกลางกระดูกไหปลาร้าลงไปตามความยาวของต้นแขน อ้อมข้อศอกและจรดรักแร้
การเข้าเฝือกขา
short leg cast
long leg cast
walking cast
cylinder cast โคนขาถึงข้อเท้า
ชนิดสั้นรวมข้อเข่า PTB cast
การเข้าเฝือกลำตัว
spica cast เข้าเฝือกที่รวมเอาลำตัวกับแขนใดข้างหนึ่ง
ิbody cast/body jacket
การพยาบาล
การรักษาด้วยการถ่วงน้ำหนัก การใช้แรงดึงส่วนต่างๆ ของร่างกายใช้ในการรักษาบริเวณที่มีอาการบวมมากจนกระทั่งไม่สามารถผ่าตัดได้ในทันที
ชนิดของการถ่วงน้ำหนัก
skin traction การใช้แรงดึงโดยอาศัยแรงเสียดทานระหว่างแถบพลาสเตอร์ Adhesive tape bandages กับผิวหนังผู้ป่วยแล้วผูกกับเชือกที่ใช้ถ่วง ใช้น้ำหนักประมาณ 1/10ของน้ำหนักตัวของผู้ป่วย ไม่ควรเกิน 5 kg ระยะเวลาดึงไม่ควรเกิน 3-4 wk
ข้อบ่งใช้ ใช้ในการรักษากระดูกหักในเด็ก การตรึงกระดูกชั่วคราวในผู้ใหญ่ ข้อห้าม ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีแผลถลอก ภาวะแทรกซ้อน แพ้พลาสเตอร์ ผิวหนังหลุดลอก ผิวหนังอักเสบ ไหลเวียนเลือดไม่ดี
skeletal traction การดึงผ่านกะโหลกโดยใช้เข็มหรือลวดแทงทะลุผ่านกระดูกเข้าไป ใช้กับแขนขา กรณีแขนขาหักจะใช้ steinmann pin or krischner wire กรณีกระดูกคอหักจะดึงผ่านกะโหลกศรีษะโดยใช้ crutchfield tongs or Gardner well tong ถ่วงได้ถึง 20 kg
ยึดตรึงภายในและภายนอก
การยึดตรึงภายใน internal fixation หมายถึง การยึดกระดูกหักโดยการผ่าตัด จัดกระดูกให้เข้าที่ ต้องเปิดแผลผ่าตัดให้ถึงบริเวณกระดูกหักและข้อเคลื่อน จัดกระดูกให้ใกล้เคียงสภาพเดิมที่สุด
ชนิดของโลหะ
ลวด wires รัดกระดูก จัดฟัน
เข็ม pins ใช้สำหรับยึดกระดูกขนาดเล็ก
หมุดเกลียวโลหะ screws เหมือนตะปูเกลียวโลหะ ใช้ในผู้ป่วยที่กระดูกหักแยกออกจากกัน มักใช้ร่วมกับเหล็กแผ่น
เหล็กแผ่น plates ใช้ในผู้ป่วยที่กระดูกหักแยกจากกันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
แท่งเหล็กที่สอดใส่ในโพรงกระดูก Nails คล้ายดอกจิก