Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน, รหัสประจำตัว 623210416-7 ชื่อ…
สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
สถานการณ์พลังงานโลก
ในยุคแรก ๆ มนุษย์ใช้พลังงานส่วนใหญ่เพียงเพื่อการดำรงชีพ การขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วง ศตวรรษที่ 18-19 ยุคของการเปลี่ยนแปลงจากระบบสังคมและเศรษฐกิจฐานการเกษตรกลายไปเป็นสังคมและเศรษฐกิจฐาน อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
ปัจจัยที่มีผลลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์พลังงานโลก
การเพิ่มจำนวนประชากรโลก
ผลจากการเพิ่มจำนวนประชากร และการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้ความต้องการพลังงานในปี 2050 มีแนวโน้มขยายตัวตามไปด้วย ทั้งนี้ เมื่อดูจากการประมาณของ International Energy Agency พบว่า ความต้องการพลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 50% จากปี ค.ศ 2010
ปริมาณการใช้พลังงานในปัจจุบันและความต้องการใช้พลังงานในอนาคต
น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน ยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก อย่างน้อยสำหรับในอนาคตอีก 12 ปีข้างหน้านี้ ส่วนการใช้พลังงานทดแทนนั้นยังเป็นแค่กรณีศึกษา มากกว่าจะเป็นตัวเลือกในเชิงนโยบายอย่างจริงจัง
ปริมาณสำรองของแหล่งพลังงานที่มีเหลืออยู่
จากรายงานของ US energy information administration (2014) พบว่าแหล่งน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ในตะวันออก กลางมีประมาณ 803.60 BBL (49%) รองลงมาอเมริกาใต้รวมกับอเมริกากลางที่มีประมาณ 328.26 BBL (20%) อเมริกา เหนือมีประมาณ 219.79 BBL (13%) บริเวณยุโรปรวมกับยูโรเชียมีปริมาณ 131.17 BBL (8%) ส่วนบริเวณที่มีเหลือค่อนข้าง น้อยคือ บริเวณแอฟริกามีประมาณ 126.73 BBL (8.0%) และเอเชียแปซิฟิกมีเหลืออยู่เพียง 46.01 BBL (3%)
สถานการณ์พลังงานของแต่ละภูมิภาค
สหภาพยุโรป จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 0.4%
อเมริกาเหนือ จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 0.7%
เอเชียจะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 3.7%
กลุ่มประเทศลาตินอเมริกามีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นปีละ 2.4%
สถานการณ์การใช้พลังงานในประเทศไทย
ปริมาณการใช้พลังงานและแหล่งพลังงาน
การใช้พลังงานของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะเดียวกับการใช้ พลังงานของประเทศต่าง ๆ ในโลก กล่าวคือ พลังงานเชิงพาณิชย์ (commercial energy) ซึ่งพลังงานที่มีการใช้มากที่สุดได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้า เป็นต้น
รายงานสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย
มีแนวโน้มการใช้พลังงานในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานรวมกันสูงถึงกว่าร้อยละ 70 และภาคส่วนอื่นๆ รวมกัน อีกประมาณร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าพลังงานชนิดต่างๆ ทั้งไฟฟ้า ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เพื่อรองรับการใช้งานภายในประเทศ
ผลกระทบของพลังงานกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทำให้มีการปล่อยก๊าซหลายชนิด ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ เช่น ซัลเฟอร์ ไนโตรเจนออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนรวมทั้งสารโลหะหนักต่างๆ และที่สำคัญคือปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นทุกปีจนถึง 35.1 billion metric tons (BMT)
ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาจากการใช้พลังงานที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อ สภาพแวดล้อมของโลก ได้แก่ การเกิดปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน สภาวะอากาศของโลกเปลี่ยนไป และ มลพิษทางอากาศ
รหัสประจำตัว 623210416-7 ชื่อ นางสาว ณัฐพร โพธิ์จันทร์ section 8 กลุ่มย่อยที่ 2 ลำดับที่ 10