Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 3 เรื่อง การพยาบาลมารดาทารกหลังคลอดปกติ - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 3
เรื่อง การพยาบาลมารดาทารกหลังคลอดปกติ
จากข้อมูลแรกรับที่ตึกหลังคลอด สัญญาณชีพของมารดารายนี้เป็นอย่างไร จงอธิบาย และควรให้
การพยาบาลอย่างไร
สัญญาณชีพ
-BP 120/88 mmHg (ค่าปกติ 120-129/80-81 mmHg)
-PR 100 bpm (ค่าปกติ 360-100 bpm)
-RR 18 bpm (ค่าปกติ 16-20 bpm)
-BT 38 มารดามี Reactionary fever ซึ่งพบได้ใน 24 ชม. หลังคลอด (อุณหภูมิสูงถึง 37.7 แต่ไม่เกิน 38 )
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้พักผ่อนบนเตียงจนครบ 8-10 ชม. เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ จากอาการอ่อนเพลียเนื่องจากสูญเสียน้ำ เกลือแร่ และเลือดในระยะคลอด
2.ดูแลให้ได้รับอาหารและน้ำดื่มอย่างเพียงพอ
3.ช่วยเหลือในการดูแลทารกบ้างบางเวลา ในระยะที่มารดายังอ่อนเพลียมาก
4.ติดตามสัญญาณชีพและประเมิน BUBBLE-HE อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย
• B : Breast and Lactation ประเมินลักษณะของหัวนมว่าปกติ สั้น แบน บุ๋ม หรือไม่
• U : Uterus ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกว่าหดรัดตัวแข็งดีหรือไม่ ระดับยอดมดลูกอยู่ที่ระดับใด และตำแหน่งของยอดมดลูกอยู่บริเวณใด
• B : Bowel ประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้
• B : Bladder ประเมินกระเพาะปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะ
• L : Lochia ประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอด ในวันแรกเรียกว่า Bleeding และระยะหลัง 24 ชม.หลังคลอดเป็นต้นไปจะเรียกว่า น้ำคาวปลา (Lochia)
• E : Episiotomy/Laceration ประเมินแผลฝีเย็บหรือการฉีกขาดของช่องคลอด
• H : Homan’s sign ประเมินภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอุดตัน
• E : Emotional การประเมินความพร้อมทางด้านจิตใจและอารมณ์ของมารดาหลังคลอด
มารดาปวดแผลฝีเย็บ Pain score = 7 คะแนน ควรให้การพยาบาลอย่างไร
1.ให้ยาแก้ปวดกลุ่ม non steroidal anti-inflammatory drugs (NSAID) เพื่อใช้ระงับปวดภายใน 24 ชม. หลังคลอด
2.แนะนำให้มารดาหลังคลอดไม่นั่งทับแผลฝีเย็บโดยตรง โดยอาจหาห่วงยางเล็กๆหรือหมอนโดนัทรองนั่ง ส่วนท่านอนแนะนำให้นอนตะแคงไปในด้านฝั่งตรงข้ามกับแผลฝีเย็บ เพื่อไม่ให้แผลฝีเย็บถูกกดทับ ทำให้การไหลเวียนของเลือดปกติ ส่งเสริมการหายของแผล และหลีกเลี่ยงการนั่งที่ทำให้ขาหนีบแยกออกจากกัน
3.แนะนำให้บริหารฝีเย็บ ได้แก่ การทำ Kegel exercise โดยการขมิบช่องคลอด ควรทำวันละ 100-300 ครั้ง เพื่อช่วยส่งเสริมการหายของแผล และช่วยให้กล้ามเนื้อรอบช่องคลอดและฝีเย็บหดรัดตัวดีและแข็งแรง
มารดามีแผลฝีเย็บบวมเล็กน้อย REEDA scale = 2 คะแนน ปกติหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย และ
ควรให้การพยาบาลอย่างไร
1.ในช่วง 24 ชม. แรกหลังคลอด แนะนำให้ประคบเย็นที่แผลฝีเย็บทันทีหลังเย็บแผลเสร็จ ที่อุณหภูมิ 10-14 องศาเซลเซียส ประคบนาน 15 นาที และประคบทุก 15 นาทีต่อเนื่องจนครบ 2 ชม. หลังคลอด เพื่อลดอาการบวมของแผลฝีเย็บ ลดอาการปวด และลดการใช้ยาแก้ปวด เพราะความเย็นจะทำให้เส้นเลือดบริเวณที่ประคบเกิดการหดรัดตัว และยังช่วยลดการนำกระแสประสาท ลดการถูกกระตุ้นของปลายประสาทจึงทำให้ความเจ็บปวดลดลง
2.หลังคลอด 24 ชม.ไปแล้ว แนะนำให้อบแผลฝีเย็บ โดยใช้โครมไฟแสงอินฟาเรด ส่องที่แผลฝีเย็บโดยตรง ระยะห่าง 1 ฟุตครึ่ง อบนาน 15 นาที เพื่อทำให้แผลฝีเย็บแห้ง ลดบวม ลดปวดและส่งเสริมให้แผลหายเร็วขึ้น
จงอธิบายหลักการประเมินแผลฝีเย็บด้วย REEDA scale ว่าประเมินอะไรบ้าง และแปลผล
อย่างไร
จากข้อมูลที่ตึกหลังคลอด พยาบาลคลำพบลอนนิ่มบริเวณระดับสะดือ ภายหลังคลอดมารดายังไม่
ถ่ายปัสสาวะ ถือเป็นภาวะปกติหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ผิดปกติ เพราะโดยปกติจะต้องคลำพบลอนกลมแข็งที่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าระดับสะดือ แต่ถ้าคลำพบลอนนิ่มแสดงว่ามดลูกหดรัดตัวไม่ดี เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะเต็มจะไปขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งหลังคลอดมารดาควรปัสสาวะได้เองภายใน 6-8 ชม. จากกรณีศึกษาพบว่า ผ่านมา 8 ชม. มารดาก็ยังไม่ปัสสาวะ ดังนั้นพยาบาลจะต้องกระตุ้นให้มารดานั่งปัสสาวะบนเตียง ราดน้ำอุ่นหรือประคบเย็นบริเวณหัวเหน่าเพื่อกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะและให้ดื่มน้ำปริมาณมากๆ 2-3 แก้วทันที เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะเต็มอย่างเต็มที่ หากพยามกระตุ้นแล้วไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้จะต้องรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาสวนปัสสาวะทิ้ง ภายหลังสวนปัสสาวะทิ้งต้องติดตามประเมินการขับถ่ายปัสสาวะเองของมารดาภายใน 4-6 ชม. โดยปกติภายหลังการสวนทิ้งมารดาจะสามารถปัสสาวะได้เอง และสอนให้มารดาคลึงมดลูกด้วยตนเองเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากคลำพบลอนนิ่มบริเวณระดับสะดือ
มารดาบอกว่า “เมื่อทารกดูดนมข้างซ้าย จะมีน้ำนมไหลจากเต้านมข้างขวาด้วย และมีอาการปวด
มดลูกขณะทารกดูดนม” ควรให้คำแนะนำและการพยาบาลแก่มารดารายนี้อย่างไร
เป็นภาวะปกติ เนื่องจากกลไกการหลั่งน้ำนมเกิดขึ้นเมื่อให้ทารกดูดนม การดูดนมของทารกเป็นตัวกระตุ้นเบื้องต้น (primary stimulus) เมื่อเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำนมได้สร้างและหลังน้ำนมเข้าสู่ถุงน้ำนมแล้ว การที่จะให้น้ำนมไหลไปตามท่อน้ำนมและขับออกจากเต้านมได้นั้นต้องอาศัยกลไกการทำงานของประสาทและต่อมไร้ท่อที่เรียกว่า ปฏิกิริยาเล็ตดาวน์ (Let-down Reflex) ปฏิกิริยานี้จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อทารกดูดที่หัวนมและลานนมของมารดา ซึ่งบริเวณนี้จะมีเส้นประสาทมาเลี้ยงมากมาย การสัมผัสที่หัวนมและลานนมระหว่างการดูดของทารกจะเป็นผลให้กระแสประสาทวิ่งไปตามไขสันหลังไปสู่ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) กระแสประสาทจากไฮโปทาลามัสจะไปกระตุ้นต่อมพิทูทารีส่วนหลัง (posterior pituitary gland) ให้มีการหลังฮอร์โมนออกซิโตซิน (Oxytocin) เข้าสู่กระแสเลือดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในขณะที่ทารกดูดนมและกระตุ้นให้ไมโอเอพิทิเลียลเซลล์ (Myoepithelial cells) ที่อยู่รอบๆถุงน้ำนมบีบตัวขับน้ำนมที่ขังอยู่ในถุงน้ำนมไหลออกจากท่อสู่รูเปิดที่บริเวณหัวนม เมื่อทารกดูดบริเวณลานนม น้ำนมก็จะไหลออกจากท่อน้ำนม การทำหน้าที่ของปฏิกิริยาเล็ตดาวน์จึงมีความสำคัญเพราะทำให้น้ำนมถูกขับออกจากถุงน้ำนมจึงทำให้เต้านมว่าง นอกจากปฏิกิริยาเล็ตดาวน์จะเกิดจากการดูดกระตุ้นของทารกบริเวณหัวนมและลานนมของมารดาแล้ว อาจทำให้มีน้ำนมไหลก่อนเวลาให้นมบุตรโดยจะรู้สึกเจ็บคล้ายกับถูกของแหลมหรือเข็มทิ่มในเต้านม และสังเกตเห็นได้ว่ามีน้ำนมหยดออกมา หรือระหว่างที่ให้นมบุตรข้างหนึ่งอีกข้างหนึ่งอาจมีน้ำนมไหลออกมา ดังนั้นสำหรับมารดาที่มีน้ำนมมากจะสังเกตได้ว่าเมื่อลูกดูดนมข้างนึงแล้วน้ำนมอีกข้างก็จะไหลออกมาเอง ทุกครั้งที่ทารกดูดนมมารดาจะมีการหลั่ง Oxytocin ออกมาทุกครั้ง ดังนั้นมารดาจะรู้สึกเจ็บปวดทุกครั้งที่ทารกดูดนมจากการหดรัดตัวของมดลูก
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้คำแนะนำและช่วยเหลือให้มารดามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการอุ้มทารกที่ถูกต้องในท่าต่างๆเพื่อให้ทารกสามารถอมหัวนมและลานนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากการอุ้มทารกในท่าที่ไม่ถูกต้อง โดยท่าที่ใช้ในช่วงแรกหลังคลอดควรเป็นท่าที่มารดารู้สึกสบาย โดยปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั้งท่านั่งและท่านอน รวมถึงสอนการใช้มือจับประคองเต้านมเมื่อนำทารกเข้าเต้า พยาบาลควรสังเกตว่ามารดาปฏิบัติได้อย่างถูกต้องหรือไม่และให้การช่วยเหลือทันทีหากปฏิบัติไม่ถูกต้อง และพยาบาลควรให้กำลังใจและเสริมแรงเพื่อให้มารดาเกิดความมั่นใจว่าตนเองสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
2.อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงลักษณะของการอมหัวนมที่ถูกต้อง 4 ประการ (4 key signs for Attachment) คือ
1.ปากทารกอ้ากว้างจนอมหัวนมได้ลึกมากพอจนคางแนบเต้านม
2.ริมฝีปากล่างบานออก
3.คาง จมูกและแก้มทารกสัมผัสกับเต้านมมารดา
4.ขณะทารกดูดนมมองเห็นลานนมเหนือริมฝีปากบนมากกว่าด้านล่าง พร้อมกับประเมินว่ามารดาปฏิบัติได้อย่างถูกต้องหรือไม่ และให้การช่วยเหลือจนมารดาสามารถปฏิบัติได้เองอย่างถูกต้อง
3.อธิบายให้มารดามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูดเกลี้ยงเต้าเพื่อให้ทารกได้รับน้ำนมส่วนหลังที่มีไขมันมากกว่าอันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งการดูดแต่ละครั้งของทารกโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที นอกจากนี้พยาบาลควรแนะนำมารดาไม่ให้น้ำ นมผสม หรืออาหารอื่นแก่ทารก เนื่องจากจะทำให้ทารกอิ่มไม่ยอมดื่มนมแม่ ส่งผลให้การสร้างและการหลั่งน้ำนมลดลง รวมถึงแนะนำไม่ให้ทารกดูดจุกนมยาง จุกนมหลอด ซึ่งกลไกการดูดแตกต่างจากการดูดนมแม่อาจทำให้ทารกเกิดความสับสน (Nipple confusion) และปฏิเสธการดูดนมแม่ อันเป็นสาเหตุสำคัญของการยุติของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
4.แนะนำให้มารดาบีบน้ำนมเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม ป้องกันอาการคัดตึงเต้านม รวมถึงคงสภาพการสร้างและการหลั่งน้ำนมในกรณีที่มารดาและทารกต้องแยกห่างจากกันชั่วคราว เช่น ทารกเจ็บป่วย การทำงาน เป็นต้น ซึ่งการบีบน้ำนมแม่มีหลายวิธี เช่น การบีบน้ำนมจากเต้าด้วยมือ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีและสะดวกที่สุด การบีบน้ำนมด้วยเครื่องปั๊มนม ซึ่งมารดาส่วนใหญ่รู้สึกว่าบีบได้เร็วและได้ปริมาณมากกว่าบีบด้วยมือ แต่ในมารดาบางรายอาจรู้สึกเจ็บขณะใช่เครื่องปั๊มนม
5.แนะนำให้บีบน้ำนมก่อนลูกดูด เพื่อให้ปริมาณน้ำนมลดลง และคสรใช้ท่านอนให้นมเพื่อลดอัตราการไหลของน้ำนมลง
6.แนะนำการเก็บน้ำนมที่ถูกต้อง อธิบายวิธีการเก็บน้ำนมที่ถูกต้อง ระยะเวลาในการเก็บน้ำนม รวมถึงการนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้เพื่อให้นมยังคงคุณค่าทั้งสารอาหารและภูมิคุ้มกัน
จากข้อมูล 2 วันหลังคลอด คลำพบมดลูกกลมแข็งต่ำกว่าระดับสะดือ 1 นิ้ว น้ าคาวปลาสีแดง
จางๆ เป็นภาวะปกติหรือไม่ จงอธิบาย และควรให้การพยาบาลอย่างไร
ปกติเนื่องจาก หลังคลอดบุตรมดลูกจะมีขนาดเล็กลงทันทีสามารถคลำบริเวณหน้าท้องที่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าสะดือเล็กน้อยจะพบลักษณะเป็นก้อนแข็ง และน้ำคาวปลาใน 1-3 วันแรกจะมีลักษณะสีแดงเข้ม ในวันที่ 3-10 จะเป็นสีแดงจางลงปนมูกหรือเป็นสีชมพู และวันที่ 10 เป็นต้นไปจะเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีครีมปนมูกสีขาวใสหรือไม่มีสี แล้วจะค่อยๆลดลงจนไม่มีน้ำคาวปลา
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำให้มารดาอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง สระผมได้ตามปกติ และไม่ควรแช่น้ำในอ่างหรือแม่น้ำลำคลอง เพราะในระยะหลังคลอดร่างกายได้รับบาดเจ็บจากการคลอด จึงมีช่องทางจากบาดแผลที่ให้เชื้อโรคสามารถเข้าไปฟักตัวและก่อให้เกิดโรคได้
2.แนะนำให้เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมงหรือเมื่อชุ่ม โดยใส่ผ้าอนามัยจากหัวหน่าวไปยังทวารหนัก เพื่อป้องกันอุจจาระจากทวารหนักเข้าสู่ช่องคลอด
3.แนะนำให้สังเกตลักษณะของน้ำคาวปลา โดยในช่วง 1-3 วันแรกน้ำคาวปลาจะมีสีแดงอาจมีก้อนเลือดแดงๆปนได้ แต่หลังจากนี้ไม่ควรมีก้อนเลือดแล้ว และสีของน้ำคาวปลาจะค่อยๆจางลง กลิ่นจะเป็นกลิ่นคาวเลือด ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า ซึ่งน้ำคาวปลาจะหมดภายใน 3 สัปดาห์
4.แนะนำให้มารดาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งที่มีการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ โดยล้างน้ำสบู่และล้างด้วยน้ำสะอาดจากหัวหน่าวไปยังทวารหนัก ไม่ถูย้อนไปมาและซับให้แห้ง
5.แนะนำให้ออกกำลังอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 30 นาที เพื่อช่วยให้น้ำคาวปลาไหลดีและมดลูกเข้าอู่ได้เร็ว ซึ่งใน 3 วันแรกหลังคลอดแนะนำให้บริหารท่าที่ 1-5 สำหรับวันที่ 4 เป็นต้นไปแนะนำให้บริหารท่าที่ 1-7 ดังนี้
1.ฝึกการหายใจและบริหารปอด
2.บริหารไหล่และแขน
3.การบริหารคอและกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ เพื่อลดความเครียด
4.ท่าบริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อก้นและกล้ามเนื้อบริเวณฝีเย็บเพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็วและลดอาการปวดหลัง
5.การบริหารกล้ามเนื้อน่องและข้อเข้า
6.การบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องและอุ้งเชิงกราน
7.การบริการเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกแข็งแรง และเต้านมไม่หย่อนยาน มี 2 ท่า
7.1 นั่งขัดสมาธิกับพื้น หลังตั้งตรง ยกมือทั้งสองข้างพนมมือเข้าหากันโดยไม่ชิดหน้าอก
7.2 วิดพื้นแบบเข่าแตะพื้น โดยนอนคว่ำแล้วใช้มือสองข้างยันลำตัวให้ส่วนบนลอยสูงพ้นพื้น
6.แนะนำงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากหลังคลอดแผลภายในโพรงมดลูกยังไม่หายดี ผนังช่องคลอดบาง แผลฝีเย็บยังมีความไวต่อความเจ็บปวดและปากมดลูกยังปิดไม่สนิท เสี่ยงต่อการติดเชื้อในโพรงมดลูกมากยิ่งขึ้น
มารดามีสีหน้าวิตกกังวล หงุดหงิดง่าย บางครั้งร้องไห้คนเดียว มารดารายนี้มีภาวะใด จงอธิบาย
และควรให้การพยาบาลอย่างไร
ภาวะที่มารดาเศร้าหลังคลอด (Postpartum blues หรือbaby blues) พบในช่วง 10 วันแรกหลังคลอด พบมากในครรภ์แรก (Skala, 2000) ซึ่งพบว่ามารดาหลังคลอด ไม่ได้เตรียมตัวรับความรู้สึกเศร้า แต่ความรู้สึกนี้จะค่อยๆ เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจเนื่องมาจากปัจจัยดังนี้
มีการลดลงทันทีของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วง 72 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ผิดหวังเกี่ยวกับรูปร่างของตนเองในช่วงหลังคลอด เช่น หน้าท้องห้อยหย่อนยาน รู้สึกเบื่อหน่าย คิดว่าตนเองมีรูปร่างที่ไม่น่าดูไม่เป็นที่ดึงดูดใจจากผู้อื่นและมักคิดว่าไม่สามารถทำรูปร่างให้เหมือนเดิมได้
มีความเครียดทางร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย เจ็บแผลฝีเย็บ ปวดจากเต้านมคัดตึง เจ็บริดสีดวง ทวาร
มีความเครียดด้านจิตใจในช่วงรับบทบาทการเป็นมารดา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องคงไว้ซึ่งบทบาท การเป็น ภรรยาที่ดี
มีความขัดแย้งระหว่างบุคคล เช่น มีความขัดแย้งระหว่างตนเองกับสามีกับสมาชิกคนอื่นๆ ภายในบ้านกับ เพื่อนหรือเพื่อนบ้าน
รู้สึกถูกละเลยไม่ได้รับความสนใจ เนื่องจากช่วงหลังคลอด บุคคลแวดล้อมจะแสดงความชื่นชม ยินดีกับทารกมากกว่าที่จะแสดงความชื่นชมยินดีหรือสนใจหญิงระยะหลังคลอด ทำให้หญิงระยะหลังคลอด มักมีความรู้สึก เศร้าและเสียใจ
กิจกรรมการพยาบาล
1.พยาบาลควรรับฟังปัญหาต่าง ๆ ของมารดาหลังคลอด (emotional support) พร้อมทั้งให้คำแนะนำ แก่มารดาหลังคลอดและครอบครัวเพิ่มเติมหากพบ ว่ายังไม่สามารถดูแลตนเองได้
2.พยาบาลช่วยดูแลทารก (instrumental support) เมื่อมารดายังไม่พร้อมในการดูแลบุตรหรือพบว่ามีอารมณ์เศร้า (postpartum blues)
3.แนะนำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้มารดาที่เคยซึมเศร้าหลังคลอดมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (informational support)
4.พยาบาลมีการวางแผนจำหน่าย (discharge plan) เพื่อการดูแลต่อเนื่อง
เมื่อพยาบาลสอนวิธีการอาบน้ำทารก มารดาบอกว่า “ทำไม่ถูก กลัวลูกจมน้ำ” การปรับตัวด้าน
จิตสังคมระยะหลังคลอดเหมาะสมหรือไม่อย่างไร จงอธิบาย และควรให้การพยาบาลอย่างไร
การปรับตัวด้านจิตสังคมของมารดาในระยะหลังคลอด ไม่เหมาะสม เนื่องจากการปรับตัวด้านจิตสังคมไม่เกิดทันทีหลังการคลอดแต่จะค่อยๆเกิดตามลำดับโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญในการปรับตัว ได้แก่ สภาพร่างกายของ มารดาหลังคลอด การได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากสามีและการสนับสนุนทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างความคุ้นเคยระหว่างมารดากับทารกซึ่งความ รักใคร่ความผูกพันของมารดาต่อทารกในระยะหลังคลอด คือช่วง 30- 60 นาทีหลังคลอด เป็นช่วงเวลาที่ ทารกไวต่อความรู้สึกของการเกิดความรักใคร่ผูกพัน (sensitive period) ทารกตื่นตัว เปิดตากว้าง พร้อม จะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ระยะนี้จึงควรสร้างความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก ความรักใคร่ผูกพันของมารดาต่อทารก (bonding) หมายถึง ความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีต่อทารก ซึ่งเกิดขึ้นทันทีหลังคลอด ความรักใคร่ผูกพันระหว่างมารดาและทารก (attachment) หมายถึง ความรู้สึกพิเศษที่ค่อยๆ พัฒนาโดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด โดยอารมณ์รักจะมากขึ้นเมื่อมารดาและ ทารกตอบสนองซึ่งกันและกัน ซึ่งการปรับตัวด้านจิตสังคมในมารดารายนี้ มารดาบอกว่า “ทำไม่ถูก กลัวลูกจมน้ำ” ในการปรับบทบาทต่อการเป็นมารดาหลังคลอด อยู่ในระยะที่1. Taking in phase ระยะเริ่มเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดาหรือระยะพึ่งพา เป็นระยะ 1-2 วัน แรกหลังคลอด ร่างกายมีความอ่อนล้า ไม่สุขสบายจากการปวดมดลูกเจ็บปวดแผลฝีเย็บและคัดตึงเต้านม บางรายอาจปวดร้าวกล้ามเนื้อ บริเวณตะโพกและฝีเย็บจนกระทั่งเดินไม่ได้ในช่วงวันแรกช่วยเหลือตนเองได้ น้อย ในช่วงนี้จึงสนใจแต่ตนเองมีความต้องการพึ่งพาผู้อื่น
กิจกรรมการพยาบาล
1.พยาบาลต้องให้การดูแลช่วยเหลือประคับประคองและตอบสนองความต้องการของมารดาหลังคลอดทางด้านร่างกายและด้านจิตใจเนื่องจากมารดายังมีความรู้สึกไม่สุขสบายและปวดจากการคลอดอยู่
2.ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่อบอุ่นเห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกด้วยความจริงใจ เพื่อให้มารดา หลังคลอดมีความรู้สึกว่ามีผู้สนใจเอาใจใส่ตนเองเกิดความอบอุ่นใจ
เปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดได้ระบายความรู้สึกและรับฟังด้วยความสนใจจะช่วยให้มารดาหลัง คลอดสบายใจขึ้น
4.พยาบาลควรอธิบายให้สามีและญาติเข้าใจถึงความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ของ มารดาหลังคลอดและสนับสนุนให้มารดาหลังคลอดได้พูดคุยกับสามีญาติรวมทั้งมารดาหลังคลอดรายอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการคลอด
5.สังเกตอาการผิดปกติทางด้านจิตใจที่อาจจะเกิดขึ้นให้ความสนใจทั้งคำพูดและพฤติกรรมที่ แสดงออกเพื่อประเมินสภาพจิตใจและให้การพยาบาลช่วยเหลือแต่เนิ่นๆ ก่อนที่อาการทางจิตจะรุนแรง มากขึ้น
พยาบาลควรส่งเสริมบทบาทบิดารายนี้อย่างไร
1.ส่งเสริมให้บิดามีส่วนร่วมในการเลี้ยงบุตร
2.ส่งเสริมบิดาให้กำลังใจมารดาในการปรับตัวเป็นแม่
จงสรุปการประเมินสุขภาพมารดาหลังคลอดด้วยหลักการ 12B
การประเมินสุขภาพอนามัยของมารดา-ทารกในระยะหลังคลอด การประเมินมารดา-ทารกควรจะครอบคลุมในทุกระยะของการตั้งครรภ์ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดและหลังคลอดที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจในระยะหลังคลอด โดยใช้หลัก BUBBLERS ดังนี้
Background เป็นการประเมินภูมิหลังของมารดาหลังคลอด การปรับตัวของมารดาและสมาชิกในครอบครัวต่อสมาชิกใหม่ ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการตั้งครรภ์ในอดีตแลปัจจุบัน ประวัติการคลอด ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติทารกเกิดใหม่ ข้อมูลและคำแนะนำที่มารดาได้รับตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์
Body condition เป็นการประเมินสภาวะทั่วไปของมารดาหลังคลอด ได้แก่ ลักษณะทั่วไป สีหน้า ท่าทาง อาการอ่อนเพลีย ความสุขสบาย ภาวะซีด การอักเสบของหลอดเลือดดำ การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการน้ำและอาหาร
Body temperature and blood pressure ประเมินสัญญาณชีพหลังคลอด 24 ชั่วโมงแรก อุณหภูมิอาจสูงแต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส เนื่องจาก reactionary fever จะกลับสู่ภาวะปกติ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส ในวันที่ 2-3 หลังคลอดอาจเกิดการอักเสบติดเชื้อ ชีพจรถ้าเร็วมากกว่าหรือเท่ากับ 100 ครั้งต่อนาที อาจเนื่องจากมี ภาวะแทรกซ้อน เช่นตกเลือด ติดเชื้อ เป็นต้น ถ้าพบชีพจรเร็วร่วมกับความดันโลหิตต่ำ อาจมีภาวะตกเลือด ภาวะช็อคได้ หากพบความดัน โลหิตต่ำกว่าปกติอาจเกิดภาวะ orthostatic hypotension
Breast and lactation การประเมินหัวนม เต้านมและการหลั่งน้ำนม
หัวนม ประเมินลักษณะของหัวนม ได้แก่ หัวนมปกติ หัวนมสั้น หัวนม แบน หรือหัวนมบุ๋ม หัวนมแตก และซักถามอาการเจ็บปวดบริเวณหัวนม
เต้านม ประเมินอาการคัดตึงเต้านม เต้านมอักเสบ ความไม่สุขสบาย ใน ระยะ 1-2 วันหลังคลอด อาจคลำพบว่าเต้านมตึงดี ไม่พบก้อน อาจกดเจ็บเล็กน้อยจากการคัดตึงเต้านม ใน วันที่ 3 หลังคลอดอาจมีอาการคัดตึงเต้านมจากน้ำนมคั่งอาจมีผลให้มีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
น้ำนม ประเมินลักษณะ ชนิด และปริมาณน้ำนม ทารกได้รับนมมารดา เพียงพอหรือไม่ สามารถประเมินได้จากพฤติกรรมของทารก เช่น หลับได้นาน 2 ชั่วโมงหลังให้นม ไม่ร้องกวน ถ่ายปัสสาวะบ่อยประมาณ 6-10 ครั้งต่อวัน อุจจาระ 2-3 ครั้งต่อวันและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ประมาณ 15-30 กรัมต่อวัน
Belly and uterus ประเมินหน้าท้องและมดลูก
หน้าท้อง ได้แก่ pendulus abdomens striae gravidarum linea Nigra และ diastasis recti วิธีประเมิน diastasis recti โดยให้มารดาหลังคลอดนอนหงาย ชันเข่า 45 องศา ผู้ตรวจวางฝ่ามือตามแนวยาวบนผนังหน้าท้องของมารดาบริเวณรอยต่อของกล้ามเนื้อ rectus แล้วให้มารดา สูดลมหายใจเข้าช้าๆ พร้อมทั้งยกศีรษะและไหลขึ้น จากนั้นสอดนิ้วมือที่อยู่บนผนังหน้าท้องเพื่อประเมินการ แยกของกล้ามเนื้อ rectus ถ้าพบการแยกมากกว่า 3 fingerbreadths (2 นิ้วฟุต) แสดงว่ามีภาวะ diastasis recti
มดลูก ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ระดับของยอดมดลูกและอาการ ปวดมดลูก ปกติมดลูกเป็นก้อนกลมแข็ง ระดับยอดมดลูกลดลงประมาณวันละ 0.5-1 นิ้วฟุตต่อวัน ถ้ามดลูกนิ่ม แสดงว่าอาจมีการหดรัดตัวไม่ดีเนื่องจากกรเพาะปัสสาวะเต็มหรือมีภาวะตกเลือด ถ้าระดับของมดลูกลดลงช้า หรือไม่ลดลงแสดงว่ามีภาวะ subinvolution ถ้ามีอาการกดเจ็บและมีอาการปวดมดลูกอย่างรุนแรงอาจมี ภาวะ endometritis
Bladder ประเมินการขับถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะที่เหลือค้างและภาวะกระเพาะ ปัสสาวะเต็ม
การขับถ่ายปัสสาวะ มารดาหลังคลอดควรถ่ายปัสสาวะภายใน 6-8 ชั่วโมงหลังคลอด หากไม่ถ่ายปัสสาวะภายในเวลาดังกล่าวควรพิจารณาสวนปัสสาวะ เพราะการมีกระเพาะ ปัสสาวะเต็มจะไปขัดขางการหดรัดตัวของมดลูกส่งผลให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด ถ้ามีปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อยอาจเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ถ้ามีปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม หัวเราะหรือยกของหนัก อาจมีกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะปัสสาวะหย่อนหรือผนังช่องคลอดด้านหน้าหย่อน
ปัสสาวะที่เหลือค้าง ถ้ามีปัสสาวะค้างมากกว่า 100 มิลลิลิตร ให้สงสัย ว่ามีปัสสาวะค้าง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
การประเมินกระเพาะปัสสาวะเต็ม ถ้ามีกระเพาะปัสสาวะเต็มจะ สังเกตเห็นเป็นลอนทางหน้าท้องและดันยอดมดลูกให้ลอยตัวสูงขึ้น ซึ่งจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูกอาจ ส่งผลให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด
Bleeding and lochia การประเมินลักษณะและปริมาณน้ำคาวปลาในระยะแรกน้ำคาวปลาจะมีกลิ่นคาวเลือด ถ้าน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นเน่า อาจเกิดการติดเชื้อ ถ้ามีกลิ่นอับอาจ เกิดจากการรักษาความสะอาดไม่ดี ปริมาณน้ำคาวปลาปลาสามารถประเมินได้จากรอยซึมของน้ำคาวปลาบนผ้าอนามัย
Bottom ประเมินฝีเย็บ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและทวารหนัก สามารถ ประเมินความเจ็บปวด อาการบวมและลักษณะการหายของแผลฝีเย็บ อาการแสดงของการติดเชื้อ บริเวณแผลฝีเย็บ พยาบาลสามารถประเมินแผลฝีเย็บตามอาการแสดงที่เรียกว่า “REEDA” บริเวณอวัยวะ สืบพันธุ์สามารถประเมินอาการบวม ก้อนเลือดคั่ง (hematoma) varicose vein และการหย่อนของกล้ามเนื้อ พื้นเชิงกราน นอกจากนี้บริเวณทวารหนัก พยาบาลควรมีการประเมินขนาด จำนวนและอาการปวดริดสีดวง ทวาร ในระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอดอาจมีอาการปวดริดสีดวงทวาร
Bowel movement ประเมินการทำงานของลำไส้ ในระยะ 1-2 วันแรกหลัง คลอด มารดาหลังคลอดมักมีอาการท้องอืดและท้องผูกเนื่องจากลำไส้ยังทำงานได้ไม่ดี จึงควรมีการประเมิน การทำงานขอลำไส้โดยการฟัง bowel sound และการเคาะหน้าท้อง
Blues ประเมินภาวะด้านจิตสังคมของมารดาหลังคลอด ประเมินพัฒนกิจใน ระยะหลังคลอด ได้แก่ การยอมรับบุตร การปรับตัวในการดูแลบุตร การตอบสนองของบุตร การปรับตัวของ มารดา การดำรงบทบาทการเป็นมารดา ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของมารดาหลังคลอดและครอบครัว รวมทั้งการปรับตัวของบิดาและสมาชิกอื่นในครอบครัวในระยะหลังคลอด
Bonding and attachment ประเมินสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกและ พฤติกรรมที่บ่งชี้ถึงสัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างมารดากับทารก
Baby ประเมินลักษณะทั่วไปของทารก ได้แก่ ศีรษะและใบหน้า ผิวหนัง ทรวง อก หน้าท้อง อวัยวะสืบพันธุ์ ทวารหนัก ลักษณะแขนขาของทารก เพื่อค้นหาความผิดปกติ รวมทั้งประเมิน สัญญาณชีพ การดูด การกลืน การขับถ่าย และน้ำหนักของทารก
น้ำนมในระยะ 2 วันหลังคลอดอยู่ในระยะใด มีส่วนประกอบใดบ้าง
การสร้างน้ำนมระยะที่ 1 (lactogenesis I)
เกิดขึ้นระหว่างช่วงตั้งครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ก่อนคลอดจนถึง 2-3 วันแรกหลังคลอด เป็นระยะที่ต่อมน้ำนมสร้างหัวน้ำนม (colostrum) และเก็บไว้ในต่อมน้ำนม แต่ยังไม่มีการหลั่งน้ำนมในระยะตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนโปรแลกตินจะถูกยับยั้งด้วย prolactin inhibiting factor (PIF) ได้แก่ โปรเจสเตอโรน เอสโตรเจน อินซูลิน human placental lactogen และ cortisol การสร้างน้ำนมระยะนี้จะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนเป็นหลัก
นักศึกษาคิดว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้มารดารายนี้มีน้ำนมไหลน้อย
-ความเครียด
-ความวิตกกังวล
-ความอ่อนเพลีย
-ความปวด
-ขาดการกระตุ้นเต้านมที่ถูกวิธี กล่าวคือมารดาบอกว่าไม่อยากให้ลูกดูดนม
พยาบาลจะใช้หลักการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยแม่เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดารายนี้อย่างไร
“บันได 10 ขั้น สู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่” ในบันไดขั้นที่ 4 เริ่มส่งเสริมการทำกิจกรรมช่วยแม่ในการให้ลูกดูดนมทันทีภายหลังคลอดและให้ลูกอยู่กับแม่นานที่สุดอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยมีการปฏิบัติได้แก่ เมื่อทารกคลอดปกติในห้องคลอด และไม่มีภาวะแทรกซ้อน ให้วางทารกที่ตัดสายสะดือ ดูดเสมหะ และซับตัวให้แห้งแล้วบนหน้าอกแม่ที่เปลือย เปล่า ให้หน้าอกลูกแนบกับหน้าอกแม่ทันทีให้แม่โอบ กอดลูกไว้และใช้ผ้าห่มห่อตัวลูกกับแม่ไว้ด้วยกันเพื่อป้องกันการพลัดตกของลูกและการสูญเสียอุณหภูมิกายของลูก พยาบาลเฝ้าสังเกตความตื่นตัวของแม่ลูก การคืบของลูกเพื่อหาเต้านมของแม่การดูดนมจากเต้าของลูกและลงข้อมูลการทำกิจกรรมไว้ในสมุดเก็บข้อมูล และบันทึกทางการพยาบาล หลังจากนั้นจึงนำทารกไป ชั่งน้ำหนัก ตรวจร่างกาย ทำความสะอาดร่างกายและ กิจกรรมอื่นๆ ตามการดูแลทารกแรกเกิดปกติเมื่อ มารดาได้รับการซ่อมแซมแผลฝีเย็บเรียบร้อยและ อยู่ในระหว่างนอนพักผ่อนพยาบาลอุ้มลูกมาให้กระตุ้น การดูดนมแม่อีกครั้งเพื่อให้มารดาได้เริ่มให้นมแม่ครั้งแรก และทำการลงบันทึกข้อมูลในสมุดเก็บข้อมูล และในบันทึกทางการพยาบาลทุกราย
ภายหลังคลอด 45 นาทีพยาบาลนำทารกแรกเกิดไปดูดนมมารดา นักศึกษาคิดว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
ไม่เหมาะสม เพราะ มารดาและลูกไม่ได้ทำ skin to skin contact และ eyes to eyes contact กันในช่วง30นาทีแรกหลังคลอด การที่นำทารกมาดูดนมแม่หลังคลอดทันที 30 นาทีแรกหลังคลอดจะเป็นระยะที่แม่และลูกมีความตื่นตัวมากที่สุด การนำลูกมาให้แม่ได้ โอบกอดสัมผัสอ้อมอกของแม่จะกระตุ้นให้ร่างกายแม่ หลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความรัก ทำให้เริ่มต้นความรู้สึกของการเป็นแม่มีความรักความ ห่วงหาอาทรอยากเลี้ยงลูกและไม่อยากทิ้งลูกแม่จะรู้สึก เป็นสุขและเกิดความภาคภูมิใจในบทบาทของความเป็นแม่ เกิดความมั่นใจในการที่จะเลี้ยงดูลูกต่อไป และ ฮอร์โมนออกซิโตซิน ยังกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้รกลอกตัวออกจากผนังมดลูกลดการตกเลือดหลังคลอดและมดลูกเข้าสู่อุ้งเชิงกรานได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันสัมผัสของแม่และไออุ่นจากกายแม่จะช่วยรักษาความอบอุ่นให้ลูกทำให้ลูกไม่หนาวรู้สึกผ่อนคลาย สงบ การหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอ
ขณะที่มารดาแจ้งว่าไม่อยากให้ลูกดูดนมสีเหลือง พยาบาลจะให้คำแนะนำมารดารายนี้อย่างไร
อธิบายให้มารดาฟังว่านมสีเหลืองคือน้ำนมหยดแรกจากอกแม่จะเป็นน้ำนมที่อุดมด้วยภูมิคุ้มกันและสารอาหารที่ สำคัญครบถ้วน ช่วยป้องกันการติดเชื้อ พัฒนาระบบ ภูมิคุ้มกันของลูกให้ดียิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นการทำงานของ ลำไส้และช่วยการขับถ่ายของลูก
จากข้อมูลในระยะ 3 วันหลังคลอด นักศึกษาจะกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลและวางแผนการพยาบาลแก่มารดาและทารกรายนี้อย่างไร
ข้อวินิจฉัย : ทารกแรกเกิดมีภาวะ Neonatal jaundice เนื่องจากได้รับนมมารดาช้าและไม่เพียงพอ
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตและประเมินอาการตัวเหลืองโดยใช้นิ้วกดบนผิวหนังบริเวณกระดูก จมูก หน้าผาก หน้าอกหรือหน้าแข้ง ถ้าสังเกตเห็นอาการตัวเหลืองอย่างรวดเร็วภายใน 6-24 ชั่วโมงหลังคลอด หรือทารกมีอาการเหลืองร่วมกับภาวะอื่น เช่น ซีดมาก บวม ตับม้ามโต หรือมีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ ได้แก่ ซึม ไม่ดูดนมอุณหภูมิร่างกายต่ำ ให้รายงานแพทย์อย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทารกได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ดูแลให้ทารกได้รับสารน้ำสารอาหาร และนมอย่างเพียงพอตามแผนการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะ
น้ําตาลในเลือดต่ำ
ดูแลให้ทารกได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ โดย
3.1 ถอดเสื้อผ้าทารกออกและจัดให้ทารกอยู่ในท่านอนหงาย หรือนอนคว่ำ การพลิกตะแคงทุก 4 ชั่วโมง
3.2 ดูแลให้ทารกได้นอนอยู่บริเวณตรงกลางของแผงหลอดไฟ หากใช้หลอดแสงสีฟ้าชนิดพิเศษสลับกับแสงสีขาวให้อยู่ห่างจากตัวเด็ก 20-30 เซนติเมตร
3.3 บันทึกและรายงานการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพทุก 2-4 ชั่วโมง ถ้าพบว่าอุณหภูมิกายของทารกต่ำมาก ปลายมือปลายเท้าเย็น ใช้เครื่องทําความอบอุ่น (radiant warmer) หรืออยู่ในตู้อบ เพื่อช่วยให้อุ่นขึ้น ส่วนทารกที่มีอุณหภูมิสูงอาจมีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดน้ำ ต้องตรวจดูความตึงตัวของผิวหนังกระหม่อม และการชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน หรือถ้ามีภาวะติดเชื้อ ควรประเมินอาการผิดปกติ เช่น ดูดนมไม่ดี ซึมลง เคลื่อนไหวน้อย มีอาเจียนหลังดูดนม ควรรายงานให้แพทย์ทราบ
3.4 ปิดตาทารกด้วยผ้าปิดตา (eyes patches) เพื่อป้องกันการระคายเคืองของแสงต่อตา เช็ดทำความสะอาดตา และตรวจตาของทารกทุกวัน เพราะอาจมีการระคายเคืองจากผ้าปิดตา ทำให้ตาอักเสบ ควรเปิดตาทุก 4 ชั่วโมง และเปลี่ยนผ้าปิดตาทุก 8-12 ชั่วโมง ระหว่างให้นมควรเปิดผ้าปิดตาเพื่อให้ทารกได้สบตากับมารดา เป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกันระหว่างมารดากับทารก
3.5 สังเกตลักษณะอุจจาระ เพราะทารกอาจจะมีอาการถ่ายเหลวสีเขียวปนเหลืองจากบิลิรูบินและน้ำดี ระหว่างการส่องไฟทารกอาจถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น ให้บันทึกลักษณะและจำนวนอุจจาระอย่างละเอียดเพื่อประเมินภาวะสูญเสียน้ำ และดูแลให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
3.6 ดูแลให้ทารกได้รับการตรวจเลือดหาระดับบิลิรูบินในเลือดอย่างน้อยทุก 12 ชั่วโมง เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโรคอย่างต่อเนื่องและได้ผลชัดเจน จนกว่าบิลิรูบินจะลดลงเป็นปกติ
นักศึกษาจะกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลและวางแผนการพยาบาลแก่มารดาและทารก ในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอดรายนี้อย่างไร
ข้อวินิจฉัย : ขาดทักษะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
กิจกรรมการพยาบาล
พูดคุยแนะนำถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีต่อลูกและต่อแม่ แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือน เพราะน้ำนมมารดามีประโยชน์ มีคุณค่าทางสารอาหารสูง เหมาะสำหรับเลี้ยงทารก สะอาด ประหยัด และมีภูมิต้านทานโรค
สอนและฝึกปฏิบัติการให้นมบุตรในท่าที่ถูกต้อง เพื่อช่วยให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และประสบผลสำเร็จสอนวิธีการให้นมอย่างถูกวิธี โดยอุ้มให้ถูกต้อง ใช้มือจับเต้านม โดยใช้นิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบน และนิ้วอื่นๆ รองรับเต้านม ปากทารกอยู่บริเวณลานหัวนม
3.ให้ญาติและสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการให้นมบุตร เช่น การประคองหัวเด็กช่วยขณะมารดาให้นมบุตร
พูดคุยให้กำลังใจมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
5.สอนเทคนิคการนวดเต้านมให้แก่มารดาเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม
การให้อาหารให้ทารกกินนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือน แล้วจึงให้อาหารเสริมตามวัย
สอนและจัดท่านอนที่ถูกต้องหลังการดูดนม อุ้มทารกเรอแล้ว 15 นาที จัดให้ทารกนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักนม และยกศีรษะสูงเล็กน้อย