Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทบาทสตรีในประวัติศาสตร์ไทย - Coggle Diagram
บทบาทสตรีในประวัติศาสตร์ไทย
ช่วงเวลานับแต่มีการบันทึกหลักฐานมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
บทบาททางการเมืองในประวัติศาสตร์ไทยมีการกล่าวถึงสตรีที่มีบทบาทเกี่ยวข้องด้านการเมืองการปกครองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงและความสงบในประเทศตลอดจนเพื่อความอยู่รอดของพระราชวงศ์
1.1บทบาทด้านการปกครอง สตรีผู้มีบทบาทสำคัญและโดดเด่นส่วนใหญ่จะเป็นสตรีชั้นสูงที่อยู่ในฐานะพระราชมารดาและพระมเหสีของพระมหากษัตริย์การเข้ามาของสตรีกลุ่มนี้มักจะเป็นในช่วงเวลาที่เกิดช่องว่างทางอำนาจเช่นถาดผู้นำใช้สตรีที่มีบทบาทโดดเด่นในด้านนี้คือ
1 พระนางมหาเทวีสุโขทัยจารึกในสมัยสุโขทัยและตำนานชิ้นกาลมาลีปกรณ์ได้ปรากฏพระนามของพระน้องนางในพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ที่มีบทบาทในการปกครองกรุงสุโขทัยในระหว่างที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 ไปปกครองเมืองสรลวงสองแควเรานอกจากนี้พระนางยังทรงอยู่ในฐานะพระเทวีของขุนหลวงพะงั่วด้วย
1.2 กรมหลวงโยธาเทพ(เจ้าฟ้าศรีสุพรรณ) พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระองค์ได้รับการเฉลิมพระเกียรติจากพระราชบิดาให้เป็นเจ้านายทรงกลมสามารถจัดเก็บส่วยสาอากรขนอนตลาดมีเลกสมสังกัดนอกจากนี้ยังมีกองทหารและทหารสังกัดในพระองค์อีกจำนวนมากพระองค์ทรงมีอิทธิพลอำนาจซิ่นขาดปกครองดูแลราชสำนักฝ่ายในและอาจมีอิทธิพลมาถึงขายหน้าโดยผ่านทางภริยาของขุนนางผู้ใหญ่
1.2 บทบาทในด้านการลบและการทำสงครามบทบาทนี้จะเกิดขึ้นในยามที่บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะคับขัน
1 สตรีสูงศักดิ์แห่งล้านนาในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่เจ้านายสตรีได้มีบทบาทในการรบเพื่อปกป้องบ้านเมืองและช่วยแผ่ขยายอํานาจ
2 สมเด็จพระสุริโยทัยพระมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระองค์ได้โดยเสด็จพระสวามีในการป้องกันบ้านเมืองจากศึกพม่า
1.3 บทบาทในการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีทางเครือญาติสตรีที่มีบทบาทในด้านนี้มักเป็นประดับพระราชธิดาและพระราชวงศ์ระดับสูงของรัฐและแว่นแคว้นต่างๆการแต่งงานเป็นกลไกในการสร้างสัมพันธภาพทางการเมืองจากหลายมูลเหตุได้แก่
1 การเสริมสร้างสัมพันธไมตรีการสร้างความเป็นเครือญาติทั้งในและนอกราชอาณาจักรเช่นการสมรสในช่วงก่อตั้งรัฐไทยยุคแรกแต่ในบางกรณีก็เป็นการปูนบำเหน็จแก่บุคคลที่สร้างความดีความชอบต่อบ้านเมืองเช่นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิพระราชทานพระราชธิดาพระวิสุทธิกษัตรีย์ให้แก่ขุนพิเรนทรเทพพระมหาธรรมราชาเพื่อสร้างความจงรักภักดีและความมั่นคงของบัลลังก์
2 การแสวงหาพันธมิตรเช่นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างทรงพระราชทานพระเทพกระษัตรีและพระแก้วฟ้าให้ไปอภิเษกกับสมเด็จพระไชยเชษฐ์ตราธิราชพระเจ้ากรุงล้านช้างถึงแม้การอภิเษกจะถูกขัดขวางจากพม่าแต่อาณาจักรทั้งสองก็ยังคงมีไมตรีต่อกัน
3 เมื่อตกอยู่ใต้อำนาจอาณาจักรอื่นการสร้างสัมพันธไมตรีจะเป็นการถวายพระราชธิดาเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดี
4 เมื่อมีการเปลี่ยนผู้นำการประสานสัมพันธไมตรีผ่านการแต่งงานระหว่างผู้นำใหม่และสตรีในราชวงศ์เก่าเพื่อให้เกิดการยอมรับในอำนาจเพื่อสร้างความชอบธรรมในการสืบราชบัลลังก์
2 บทบาททางสังคมจำแนกออกเป็นด้านต่างๆตามลักษณะของการเข้าไปมีบทบาทกล่าวคือ
1 ด้านการศึกษาเจ้านายสตรีและสตรีสูงมีความเชี่ยวชาญในเรื่องวิชาหนังสือและรอบรู้ในวิชาการแขนงต่างๆเจ้านายที่มีบทบาทด้านนี้เช่น
1 เจ้าฟ้าพินทวดีพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงรอบรู้เชี่ยวชาญในขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณีพระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการจัดทำตำราโบราณราชประเพณีที่ชำระเรียบเรียงขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1
2.ด้านวรรณกรรมสตรีที่มีความรู้แตกฉานในวิชาหนังสือได้นิพนธ์หนังสือและบทร้อยกรองต่างๆเป็นมรดกวรรณกรรมของชาติ
1 เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงนิพนธ์บทละครเรื่องดาหลังและอิเหนา
2 พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ามณฑาพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุบลในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชนิพนธ์กุมารคำฉันท์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดํารงราชานุภาพรับสั่งถึงหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นตัวอย่างที่แสดงว่าสตรีไทยโดยเฉพาะสมาชิกราชสกุลมีการศึกษาที่รุ่งเรืองมาแต่โบราณ
3.ด้านการศาสนา สตรีสูงศักดิ์ของไทยนับแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาจะมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งปรากฏในจารึกต่างๆก่อสร้างและปฏิสังขรณ์พระอารามพระพุทธรูปและทำนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์เป็นประจำ
สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2.
1 คุณพระมเหสีเทวีของรัชกาลที่ 5
1 สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรีพระอัครราชเทวี พระองค์ทรงเชี่ยวชาญด้านอักษรศาสตร์ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากรัชกาลที่ 5 ให้ดำรงตำแหน่งราชเลขานุการฝ่ายใน
2 พระอรรคชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการสำนักของพระองค์จึงเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชาแม่เรียนที่สำคัญสำหรับคุณและสติแต่ก็มิได้ละเลยความรู้วิชาการที่ทันสมัยรวมทั้งปลูกฝังเรื่องศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะด้านดนตรีไทย
2 กลุ่มสตรีที่ได้รับการศึกษาแผนใหม่
1 ด้านการแพทย์และสังคมสงเคราะห์ตัวอย่างบุคคลที่มีผลงานโดดเด่นแก่สังคมและประเทศชาติในช่วงนี้เช่น
1 หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพกมลาศน์พระปรีชาด้านการศึกษาทำให้สามารถสอบแข่งขันชิงทุนเล่าเรียนหลวงได้ได้รับหน้าที่บริหารโรงเรียนพยาบาลและสถานการณ์พยาบาลท่านหญิงได้จัดระเบียบแบบแผนการรักษาพยาบาลและประเมินมาตรฐานการศึกษาให้ทันสมัย
2.แพทย์หญิง ดร.คุณเพียรเวชบุลบทบาทโดดเด่นด้านการแพทย์ของท่านคือการบำบัดรักษาและป้องกันการบริโภคทั้งแก่บุรุษและหญิงขายบริการ
2 ด้านการประกอบอาชีพและกิจกรรมสังคมผลจากการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมในสมัยรัชกาลที่ 5 สตรีได้รับการศึกษาแบบใหม่ได้รับโอกาสการเข้าสมาคมประกอบอาชีพต่างๆและมีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมเป็นจำนวนมาก
1 กลุ่มสตรีที่ประกอบอาชีพด้านกฎหมายสตรีกลุ่มนี้นับว่ามีบทบาทสำคัญในการดำเนินการเรียกร้องสิทธิสตรีและยกระดับสถานภาพให้ทัดเทียมบุรุษซึ่งปรากฏบทบาทการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2.สตรีจากราชสกุลกุญชร คือหม่อมหลวงบุปผานิมมานเหมินทร์เจ้าของนามปากกาดอกไม้สดมีผลงานคือการเขียนนวนิยายนับเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าทางภาษาและเนื้อหาที่สะท้อนสภาพสังคมไทยในยุคนั้น