Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล, Thanapon, :pencil2:, image - Coggle…
ความรู้เกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูล
Bit ย่อมาจาก binary digit คือลำดับชั้นของข้อมูลที่เล็กที่สุด
Byte หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เป็นเลขฐานสองจำนวน 8 หลัก หรือ 8 บิต
Character หมายถึง หน่วยของคำในข้อมูลที่ใช้พิมพ์หรือเขียนข้อความและมีความหมายที่เข้าใจง่ายได้
Field หมายถึง ที่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลเฉพาะในโปรแกรมประเภทการจัดการฐานข้อมูล
Attribute เป็นข้อมูลอธิบายคุณสมบัติของสิ่งที่พูดถึงนั้น เช่น ไฟล์ ฐานข้อมูล เป็นต้น
Record คือ การบันทึก , การเก็บรักษาข้อมูลไว้ในแฟ้มข้อมูลเป็นต้น
Tupel คือ แถวข้อมูลในตาราง
File หมายถึง ข้อสนเทศหรือข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในสื่อที่มีคุณสมบัติเป็น แม่เหล็กไม่ว่าจะเป็นจานบันทึกธรรมดา หรือจานแข็งก็ตาม ข้อสนเทศที่นำไปเก็บนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้เป็นเรื่อง ๆ ไป
Table หมายถึง การจัดเสนอข้อมูลในรูปที่มีช่องแนวตั้งที่เรียกว่า แถว และแนวนอนที่เรียกว่า คอลัมน์
Entity หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม อาจได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ
Database หมายถึง โครงสร้างสนเทศ ที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบงานต่าง ๆ
ชนิดของข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access
Text
ข้อมูลประเภทตัวอักษรหรือตัวเลขที่ไม่นำไปใช้การคำนวณ จะถูกกำหนดด้วยขนาด หน่วยเป็นจำนวนตัวอักษร
Memo
ข้อมูลประเภทรายละเอียดหรือการบันทึกบทความ สามารถเก็บได้ 64,000 Byte
Number
ข้อมูลเชิงตัวเลขจำนวนเต็ม 0 – 9 หรือตัวเลขทศนิยมที่มีทั้งค่าบวกและค่าลบ และยังสามารถนำไปใช้คำนวณได้
Date/Time
ข้อมูลประเภทวันที่ที่ระบุตามรูปแบบ dd/mm/yy หรือ mm/dd/yy หรือข้อมูลประเภทเวลาที่ระบุตามรูปแบบ h:m:ss
Currency
ข้อมูลประเภทตัวเลขหรือทศนิยมที่ต้องการสัญลักษณ์ทางการเงิน – และ , กำกับตัวเลข
AutoNumber
การสร้างตัวเลขที่ใช้ในการนับแบบอัตโนมัติ เช่น 1,2,3,.. หรือค่าตัวเลขที่เกิดจาการสุ่ม
Yes/No
ข้อมูลเชิงตรรกะ หรือข้อมูล 2 ลักษณะ เช่น Yes/No, True/Fault , On/Off หรือ ชาย/หญิง ฯลฯ
OLE-Object
ข้อมูลประเภทแฟ้มรูปภาพ หรือภาพกราฟิก รวมทั้งข้อมูลประเภทแฟ้มเอกสารที่สร้างจากโปรแกรมอื่นๆ
Hyperlink
การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังแฟ้มอื่นๆ ภายนอก เช่น แฟ้มข้อมูลอื่น เว็บไซต์ หรือ E – Mail
Attachmenะ
ข้อมูลประเภทที่แนบแฟ้มข้อมูลกับรายการ เช่น แฟ้มรูปภาพหรือภาพกราฟิก รวมทั้งข้อมูลประเภทแฟ้มเอกสาร
คีย์ (Key)
ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งมีหลายรูปแบบ และหลายคำนิยามมาก ซึ่งแต่ละแบบก็จะถูกนำไปใช้เรียกตามวาระโอกาสต่าง ๆ หรือในสถานการณ์นั้น ๆ โดยขอยกตัวอย่างคีย์พื้นฐานดังนี้
Super Key คือ คีย์หลัก ที่ใช้ระบุกลุ่มของข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในตารางข้อมูล โดยข้อมูลมีความเป็นเอกลักษณ์สามารถแยกข้อมูลในแต่ละแถวได้
Primary Key คือ คีย์ต้น ที่ใช้ระบุให้กับข้อมูลที่มีความเป็นเอกลักษณ์ หรือไม่ซ้ำกับข้อมูลในแถวอื่น ๆ เช่น รหัสบัตรประจำตัวนักเรียน
Foreign Key คือ คีย์เชื่อม หรือ คีย์นอกมีไว้สำหรับเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตารางข้อมูลอย่างน้อย 2 ตาราง
Candidate Key คือ คีย์คู่แข่ง เวลาที่เราทำการเลือกให้ข้อมูลใดเป็น Primary Key นั้นอาจจะเป็นไปได้มากกว่า 1 ข้อมูลซึ่งข้อมูลเหล่านั้นเรียกว่า คีย์คู่แข้ง หรือ Candidate Key
Alternate Key คือ คีย์สำรอง เป็นผลสืบเนื่องมาจาก Candidate Key เมื่อเราทำการเลือกให้ข้อมูลใดเป็น Primary Key เรียบร้อยแล้ว ข้อมูลทั้งหมดที่ไม่ได้ถูกเลือกจะเป็น คีย์สำรอง หรือ Alternate Key
ความสัมพันธ์ (Relationships)
หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษา และเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ จึงอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ผู้เช่า 1 คน สามารถเช่าหนังสือได้เพียง 1 เล่ม หรือ1 ชุดเท่านั้น ในขณะเดียวกัน หนังสือ 1 เล่ม หรือ 1 ชุด ก็จะมีผู้เช่าเพียงคนเดียว เพราะมีเพียงเล่มเดียวหรือชุดเดียวเท่านั้น
ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม ตัวอย่างเช่น หนังสือ 1 เรื่องจะมีผู้ยืมหนังสือได้มากกว่า 1 คน ในขณะเดียวกัน ผู้ยืมหนังสือ 1 คน ก็สามารถยืมหนังสือได้มากกว่า 1 เรื่อง
ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many Relationships) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์ข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูล ในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ตัวอย่าง เช่น ผู้เช่า 1 คนสามารถเช่าหนังสือได้เพียง 1 เล่มหรือ 1 ชุด แต่หนังสือรหัสเดียวกันสามารถมีผู้เช่ามากกว่า 1 คน เพราะมีหนังสือให้เช่ามากกว่า 1 เล่ม หรือมากกว่า 1 ชุด
Entity Relationship Model (ERD) คือแบบจำลองที่ใช้อธิบายโครงสร้างของฐานข้อมูลซึ่งเขียนออกมาในลักษณะของรูปภาพ อธิบายโครงสร้างและความสัมพันธ์ของข้อมูล
เอนทิตี้ หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุที่เราสนใจ ซึ่งอาจจับต้องได้และเป็นได้ทั้งนามธรรม โดยทั่วไป เอนทิตี้จะมีลักษณะที่แยกออกจากกันไป เช่น เอนทิตี้พนักงาน จะแยกออกเป็นของพนักงานเลย เอนทิตี้เงินเดือนของพนักงานคนหนึ่งก็อาจเป็นเอนทิตี้หนึ่งในระบบของโรงงาน
รูปสัญลักษณ์ของเอนทิตี้ คือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอย่างเช่น
แอททริบิวท์ (Attribute)
Attribute คือ คุณสมบัติของวัตถุหรือสิ่งของที่เราสนใจ โดยอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของเอนทิตี้ โดยคุณสมบัตินี้มีอยู่ในทุกเอนทิตี้ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ แผนก เป็น Attribute ของเอนทิตี้พนักงาน
รูปสัญลักษณ์ของ Attribute คือ รูปวงรีโดยที่จะมีเส้นเชื่อมต่อกับเอนทิตี้ ตัวอย่างเช่น
ความสัมพันธ์ (Relationship) เอนทิตี้แต่จะต้องมีความสัมพันธ์ร่วมกัน โดยจะมีชื่อแสดงความสัมพันธ์ร่วมกันซึ่งจะใช้รูปภาพสัญลักษณ์สี่เหลี่ยมรูปว่าวแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้และระบุชื่อความสัมพันธ์ลงในสี่เหลี่ยม
รูปนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้อาจารย์กับกลุ่มเรียน
Thanapon
:pencil2: