Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกําหนดตําแหน่งวัตถุท้องฟ้า, นายนฤเบศ ผิอ่อนดี 6120602062 F76-3 - Coggle…
การกําหนดตําแหน่งวัตถุท้องฟ้า
การบอกตําแหน่งบนโลก
โลกหมุนรอบตัวเอง ในขณะเดียวกันก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ การเคลื่อนที่ของโลกดังกล่าว ทําให้เกิดผลบางประการเกี่ยวกับการรักษารูปทรงของโลก คือ ทําให้โลกมีลักษณะเป็นทรงกลมตันมีลักษณะเป็นผิวโค้งจึงไม่สะดวกและไม่เหมาะสมที่จะใช้ระยะทางตามเส้น
สมบัติบางประการของโลก
การบอกตําแหน่งบนผิวโลกยังต้องใช้วงกลมเล็กที่ขนานกับเส้นศูนย์สูตรและตั้งได้ฉากกับเมริเดียนอีก วงกลมเล็กเหล่านี้คือละติจูดขนาน (parallel of latitude) หรือเส้นรุ้ง
ลองจิจูดและละจิจูด
ลองจิจูดของตําแหน่งใด ก็คือ ค่าของระยะทางตามมุมที่วัดจากเมริเดียนของกรีนิชไปทางตะวันออกหรือตะวันตก ตามเส้นศูนย์สูตรจนถึงเมริเดียนที่ผ่านตําแหน่งนั้น
ละติจูดของตําแหน่งใด ก็คือ ค่าของระยะทางตามมุมที่วัดจากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือ หรือทางใต้ตามเมริเดียนซึ่งผ่านตําแหน่งนั้น
สมบัติของทรงกลมท้องฟ้า
ท้องฟ้าที่เรามองเห็นมีลักษณะผิวโค้งเกือบครึ่งทรงกลม ในขณะเดียวกันคนที่อยู่ตรงข้ามของเรา ก็จะเห็นท้องฟ้าอีกส่วนหนึ่งเป็นครึ่งทรงกลมเช่นเดียวกัน จึงคิดรวมได้ว่าท้องฟ้ามีลักษณะเป๊นทรงกลมกลวง เรียกว่า
ทรงกลมท้องฟ้า (Celestial sphere
ทรงกลมท้องฟ้ามีลักษณะคล้ายทรงกลมกลวง โดยมีดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และวัตถุท้องฟ้าอื่นปรากฏอยู่ ณ ผิวในของทรงกลม
ผิวทรงกลมท้องฟ้าปรากฏอยู่ไกลสุดสายตา จึงมีรัศมีไกลสุดสายตาหรือมีค่าอนันต์ เพื่อความสะดวกในการคํานวณ บางครั้งนิยมให้เท่ากับ 1 หน่วย
ตําแหน่งจุดศูนย์กลางของทรงกลมท้องฟ้าไม่แน่นอน
การบอกตําแหน่งบนผิวทรงกลมท้องฟ้า ให้ระยะทางตามมุม คิดเป็นมุม ณ จุดศูนย์กลาง
ทรงกลมท้องฟ้าปรากฏหมุนรอบตัวเองครบรอบในเวลา 1 วันเช่นเดียวกับโลก แต่หมุนในทิศทางที่สวนกัน
ถ้าต่อแนวแกนสมมติของโลกออกไปทางขั้วเหนือและขั้วใต้จนจรดท้องฟ้าจะได้ตําแหน่งขั้วเหนือท้องฟ้า (north celestial pole “NCP”) และขั้วใต้ท้องฟ้า (south celestial pole “SCP”)
ระบบการบอกตําแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้า
ระบบขอบฟ้า
ระบบขอบฟ้า เป็นการบอกตําแหน่งดาวเพื่อให้รู้ว่าดาวอยู่เหนือขอบฟ้า (celestial horizon) เป็นระยะทางตามมุมเท่าใด และอยู่ห่างจากตําแหน่งเทียบบนขอบฟ้ามากน้อยเพียงใด
ระบบศูนย์สูตร
ตําแหน่งต่าง ๆ บนทรงกลมท้องฟ้า ดาวฤกษ์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ (ยกเว้นโลก) มีการเคลื่อนที่ในรอบวันไปพร้อมกับการหมุนของทรงกลมท้องฟ้า จึงมีตําแหน่งอยู่นิ่งเทียบกับเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า
ระบบสุริยวิถี
สุริยวิถี หมายถึง เส้นทางเดินปรากฏของดวงอาทิตย์ผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ ในรอบปี ซึ่งเป็นผลมาจากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ (ดวงอาทิตย์จะปรากฏเคลื่อนที่จากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกวันละประมาณ 1 องศา)
นายนฤเบศ ผิอ่อนดี 6120602062 F76-3