Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
IOT - Coggle Diagram
IOT
IOT ในบ้าน
ระบบการระบบเตือนภัยอัจฉริยะ
เป็นระบบ IoT ที่จะทำการตรวจจับการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องใช้ภายในบ้าน และจะทำการเตือนภัยต่าง ๆ ผ่านไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น การลืมปิดน้ำ ปิดไฟ การพบควันและประกายไฟติดในบ้าน แก๊สรั่วซึม หรือน้ำล้นท่วมบ้าน นั้นเอง
ระบบไฟอัจฉริยะ
เป็นระบบ IoT ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดูแลสั่งการ การทำงานของระบบไฟส่องสว่างภายในบ้าน การปรับระดับแสงหรือสีไฟ รวมทั้งการตั้งเวลานับเปิดปิด ทั้งจากการสั่งการด้วยเสียงและระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว รวมทั้งการสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟน
ระบบสตาร์รถและควบคุมรถแบบไร้สาย
เป็นระบบ IoT แบบใหม่ในธุรกิจยานยนต์ที่เริ่มมีการจำหน่ายรถยนต์ที่รองรับระบบดังกล่าวออกมาใช้จริงแล้ว เริ่มจากเปิด ปิด ล็อค รถยนต์ จากระยะไกลผ่านแอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนนั้นเอง
ระบบการสั่งงานสมาร์ทโฟนด้วยเสียง
เป็นระบบ IoT ที่ถูกนำมาใช้กับการควบคุมสมาร์ทโฟนในสมัยใหม่ที่เราจะเห็นในมือถือแทบทุกยี่ห้อ อาทิ ระบบ Voice Access ของ ระบบปฏิบัติการ Android ที่บริษัท Google แทนการสั่งการด้วยการสัมผัสหน้าจอ
ระบบควบคุมเครื่องปรับอุณหภูมิภายในบ้าน
สำหรับเมืองไทยที่ร้อนและร้อนมากในแต่ละวัน ท่านจะสามารถสั่งงานเครื่องปรับอุณหภูมิได้ล่วงหน้าก่อนเดินทางกลับถึงบ้านทาง ระบบ IoT ให้เย็นได้ทันทีที่กลับบ้าน
IOT ในของใช้ส่วนตัว
อุปกรณ์ iot บนสมาร์ทโฟน ที่เห็นในการนำมาใช้งานอยู่บ่อย ๆ คือการใช้งานบนสมาร์ทโฟนด้วยเสียง ซึ่งที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันก็คือ การที่ Google นำระบบการสั่งงานด้วยเสียงเข้ามาใช้บนสมาร์ทโฟนเพื่อเข้าถึงในการใช้งานบนแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น การใช้เสียงในการสั่งงานในการพิมพ์ การใช้เสียงในการสั่งงานเปิดปิดหน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งการสั่งถ่ายรูปและการใช้งานแอปพลิเคชันต่าง ๆ ผ่านเสียง ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้นำเอาระบบของอุปกรณ์ iot เข้ามามีบทบาทในโทรศัพท์มือถือของเรา ซึ่งตัวอย่างอุปกรณ์ iot ในปัจจุบันที่เราเห็นได้ชัดบนโทรศัพท์มือถือก็คงหนีไม่พ้นแอปพลิเคชัน ที่พัฒนาออกมาให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตและทำงานร่วมกับสิ่งอื่น ๆ อย่างเช่นเสียง ที่ปรับให้สามารถสั่งการใช้งานต่าง ๆได้ผ่านการใช้เสียง
อุปกรณ์ iot รถยนต์อัตโนมัติ ที่มาพร้อมกับระบบที่สามารถสั่งการให้รถยนต์นั้นขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบการเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์การควบคุมทิศทางการเดินรถและระบบอุปกรณ์ iot ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเข้ากับระบบ inkaNet เครื่องมืออัจฉริยะแบบไร้สาย หรือแอปพลิเคชันที่รองรับการใช้งานทั้งในระบบ iOS และ Android เพื่อช่วยให้รถยนต์มีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการแจ้งเตือนข้อมูลความผิดปกติของรถยนต์ ช่วยควบคุมการใช้งานของรถยนต์ได้อย่างอัตโนมัติ ทั้งในเรื่องของการสั่งล็อกหรือปลดล็อกรถยนต์ ติดตามตำแหน่งของรถยนต์ ป้องกันการสูญหายสามารถมองเห็นรถยนต์ของเราได้แม้กระทั่งในที่มืด ด้วยระบบ Find my car สำหรับการสั่งงานให้รถยนต์เปิดไฟด้านหน้าเพื่อการมองเห็นรถยนต์ได้ง่ายขึ้น
ระบบการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ iot อย่างบลูทูธ ที่ช่วยให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปได้ง่ายดายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ด้วยประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นด้วยการนำระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างอุปกรณ์ iot หรือ Internet of thing ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ กล้อง แท็บเล็ต นาฬิกา ลำโพงไร้สาย และคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำการเชื่อมต่อและส่งต่อข้อมูลระหว่างกันได้ง่ายได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนา อุปกรณ์ iot อย่าง บลูทูธขึ้นมาอีกหนึ่งระดับภายใต้ชื่อที่เรียกว่า Bluetooth 5.0 ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งจุดเด่นของการใช้งานอุปกรณ์ iot ตัวนี้ก็คือ การรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์ iot ที่มากขึ้น และรวดเร็วมากกว่าเดิมถึง 2 เท่า เชื่อมต่อได้ไกลมากยิ่งขึ้น และรับส่งข้อมูลได้มากขึ้นถึงกว่า 8 เท่า นอกจากนี้ยังมีระบบ Bluetooth beacon ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันการนำทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ เช่น ร้านค้าภายในห้างสรรพสินค้า ตำแหน่งการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนถึงการหาสินค้าตามจุดต่าง ๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย
อุปกรณ์ iot ที่จอดรถอัตโนมัติ (Auto Parking) ที่มาพร้อมกับชุดอุปกรณ์ไม้กั้นรถยนต์ ที่สามารถควบคุมการทำงานด้วยระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่าง อุปกรณ์ iot ที่ติดตั้งอยู่บริเวณไม้กั้นของลานจอดรถ ที่ทำให้สามารถตรวจสอบการเข้าออกของรถยนต์ได้ผ่านกล้อง HD Camera พร้อมกับหน้าจอแสดงผล LCD ไป ที่แสดงรายละเอียดของรถยนต์ได้อย่างครอบคลุม ทั้งในส่วนของหมายเลขทะเบียนรถ เวลาในการใช้บริการ และอัตราค่าโดยสาร ให้สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วและไม่เสียเวลา พร้อมทั้งระบบใหม่ที่น่าสนใจที่นำ อุปกรณ์ iot เข้ามาใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างลานจอดรถและโทรศัพท์มือถือ ที่สามารถเช็คที่จอดรถล่วงหน้าก่อนเข้ามาจอดและจองที่จอดรถล่วงหน้าเอาไว้ได้ พร้อมทั้งตรวจสอบค่าบริการการจอดรถผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือได้แบบเรียลไทม์ และสามารถเข้าถึง นอกจากนี้ยังมีระบบการชำระเงินที่สามารถชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย
อุปกรณ์ iot ลำโพงอัจฉริยะที่มาพร้อมกับระบบเซนเซอร์อัจฉริยะที่ผสมผสานเข้ากันได้ดีกับการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ที่สามารถทำให้ลำโพงอัจฉริยะของเรานั้น สามารถสั่งปิดเปิดเพลงเองได้ ซึ่งในปัจจุบันลำโพงอัจฉริยะนี้ก็มาพร้อมกับฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ที่สามารถทำได้มากกว่าแค่การเปิดปิดเพลง ดังเช่นตัวอย่างอุปกรณ์ iot จากหลากหลายบริษัทเทคโนโลยี ที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพและฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย เช่น Google Home ลำโพงอัจฉริยะที่มาพร้อมกับหลอดไฟ อุปกรณ์ iot จาก Google ที่มาพร้อมกับระบบอัตโนมัติที่สามารถเปิดปิดเพลงและไฟฟ้าเองได้ อีกทั้งยังสามารถถามตอบปัญหาเรื่องต่าง ๆ เช่นสภาพอากาศในแต่ละวัน พร้อมทั้งฟังก์ชันการใช้งานอื่น ๆ อย่าง การตั้งนาฬิกาปลุก การจัดวางแผนการทำงานในแต่ละวัน หรือจะให้อ่านข่าวประจำวัน เล่นหนัง วิดีโอจากแอปพลิเคชันยอดนิยมต่าง ๆ ทั้ง Netflix หรือ YouTube ผ่านทางสมาร์ททีวีก็ทำได้เช่นกัน ซึ่งสำหรับการเชื่อมต่อในครั้งนี้สามารถติดตั้งการใช้งาน อุปกรณ์ iot ลำโพงอัจฉริยะตัวนี้บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อทำการเปิดใช้งาน ด้วยระบบการสั่งงานผ่านเสียงโดยใช้คำว่า Okay Google เพื่อให้อุปกรณ์ iot ลำโพงอัจฉริยะตัวนี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
องค์ประกอบของ IOT
สิ่งต่างๆ (Things) - อุปกรณ์ที่มีวิธีการในการเชื่อมต่อ (แบบใช้สายหรือแบบไร้สาย) เพื่อเข้าสู่เครือข่ายที่กว้างขวางกว่า
เครือข่าย (Networks) - คล้ายกับเราเตอร์ที่บ้านของคุณ ในเครือข่ายหรือเกตเวย์จะเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ ไปยังระบบคลาวด์ (Cloud)
ระบบคลาวด์ (Cloud) - เซิร์ฟเวอร์ระยะไกลในศูนย์ข้อมูลที่ทำหน้าที่ในการรวมและเก็บข้อมูลของคุณเอาไว้อย่างปลอดภัย
ข้อดี
เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานและการดำเนินชีวิต เช่น หลอดไฟที่เปิดหรือปิดเองได้เตามเวลาที่ตั้งไว้ผ่านมือถือ เป็นต้น
-
ช่วยลดต้นทุนในด้านต่าง ๆ ลงได้จากการใช้ IoT เช่น แผงเกษตรกรรมที่มีการใช้ IoT ให้รดน้ำตามเวลาและระดับความชื้นที่กำหนด
ข้อเสีย
เพิ่งพาระบบอินเทอร์เน็ต หากไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อาจเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ไม่สามารถสั่งงานอุปกรณ์ได้ เป็นต้น
ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากอุปกรณ์ถูกเชื่อมโยงกันด้วยเครือข่ายเดียวกัน ทำให้ต้องการบำรุงและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลกับซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์อยู่เสมอ
ความผิดพลาดที่เกิดจากการประมวลผลผิดพลาด อุปกรณ์ IoT อาจเกิดปัญหาประมวลผลผิดพลาดได้ เนื่องจากการเขียนโปรแกรมที่ไม่รัดกุม และ พอมีอุปกณ์ตัวไหนตัวหนึ่งประมวลผลผิดพลาดจะส่งผลทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ด้วยประมวลผลผิดพลาดไปตาม
Internet of Things (IoT) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล การเชื่อมโยงนี้ง่ายจนทำให้เราสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ไปจนถึงการเชื่อมโยงการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ากับการใช้งานอื่นๆ จนเกิดเป็นบรรดา Smart ต่างๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation ทั้งหลายที่เราเคยได้ยินนั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงสื่อกลางในการส่งและแสดงข้อมูลเท่านั้น
-
-