Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ขั้นตอนการประมวลความคิดเชิงทัศนศิลป์, พื้นที่ว่าง (Space),…
บทที่ 3 ขั้นตอนการประมวลความคิดเชิงทัศนศิลป์
ทัศนธาตุ
การใช้ที่ว่าง ในการออกแบบบริเวณว่างโดยรอบวัตถุ (Object) เรียกว่า พื้นที่ว่างทางลบ (Negative Space) และบริเวณว่างที่ตัวของวัตถุเรียกว่า พื้นที่ว่างทางบวก (Positive Space) ในการออกแบบงานต่างๆ จะต้องคำนึงถึงช่วงระยะ ให้มีความสัมพันธ์กัน ในการออกแบบงานประเภท 2 มิติ จะต้องกำหนดกรอบพื้นที่ (Space Frame) เป็นรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม หรือรูปร่างอิสระก่อน แล้วจึงจะสร้างรูปร่างรูปทรงตามที่ต้องการลงในกรอบพื้นที่อีกทีหนึ่ง
สี (Color)
- วรรณะของสี
วรรณะร้อน (Warm Color)
วรรณะเย็น (Cool Color)
สีกลาง (Neutral Color)
- ลักษณะการใช้สี
การใช้สีตัดกัน (Color Contrast)
-การใช้สีคู่ตรงข้าม (Complementary)
หลักการของอัตราส่วนเช่น 70:30 หรือ 80:20
- การใช้สีกลมกลืน
(Color Hamony
)
การใช้สีเอกรงค์ (Monochrome)
การใช้สีข้างเคียง (Analogus color)
การใช้สีให้สอดคล้องกับแนวความคิด/อารมณ์ของรู้สึกของผลงาน
จิตวิทยาของสี
เส้น(Line)
เส้นโครงสร้าง (Structural Line )
เส้นรายละเอียดในภาพ
เส้นอินทรีย์ (Organic Line)
เส้นเรขาคณิต (Geometric Line)
น้ำหนัก (Value)
ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ
ทำให้เกิดระยะความตื้น – ลึก และระยะไกล้ – ไกลของภาพ
ให้ความรู้สึกเป็น 2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
รูปร่าง / รูปทรง (Shape & Form)
รูปร่าง ( Shape )
หมายถึงการนำเส้นมาประกอบกันให้เกิดความกว้างและความยาว ไม่มีความหนาหรือความลึก มีลักษณะ 2 มิติรูปแบบที่เป็น 2 มิติแสดงพื้นที่ผิวเป็นระนาบแบนไม่แสดงความเป็นปริมาตร
รูปร่างธรรมชาติ (Organic Shape)
รูปร่างเรขาคณิต (Geometric Shape)
รูปร่างอิสระ (Free Shape)
รูปทรง (Form)
หมายถึง การนำเส้นมาประกอบกันให้เกิดความกว้าง ความยาว และความหนาหรือความลึก มีลักษณะ 3มิติ สิ่งที่มีลักษณะแน่นทึบแบบ 3 มิติ เช่นงานประติมากรรม สถาปัตยกรรม หรือลักษณะที่มองเห็นเป็น 3 มิติในงานจิตกรรม รูปทรงในทางศิลปะอาจแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
รูปทรงเรขาคณิต รูปร่างเรขาคณิต (Geometric Form)
รูปทรงอิสระ (Free Form)
รูปทรงธรรมชาติ (Organic Form)
การนำมาใช้เป็นสื่อแสดงรูปลักษณะที่ต้องการถ่ายทอด
เป็นการนำรูปร่าง รูปทรง มาใช้สื่อสิ่งที่ศิลปินได้รับรู้มาจากประสบการณ์ตรง ประสบการณ์อ้อม และจินตนาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อสะท้อนสิ่งที่รับรู้จากโลกภายนอก และจินตนาการจากโลกภายในสื่ออกมาเป็นรูป
การนำมาใช้เพื่อแสดงอารมณ์และความรู้สึกของผลงาน
เป็นการนำรูปร่าง รูปทรงมาใช้แสดงอารมณ์และความรู้สึกของผลงานศิลปะ เพื่อให้งานนั้นได้อารมณ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการแสดงออก
พื้นผิว (Texture)
พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยมือ
หรือกายสัมผัส เป็นลักษณะพื้นผิวที่เป็นอยู่จริง ๆ ของผิวหน้าของวัสดุนั้น ๆ ซึ่งสามารถสัมผัสได้จากงานประติมากรรม งานสถาปัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ
พื้นผิวที่สัมผัสได้ด้วยสายตา
จากการมองเห็นแต่ไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของผิว วัสดุนั้น ๆ เช่น การวาดภาพก้อนหินบนกระดาษ จะให้ความรู้สึกเป็นก้อนหิน แต่มือสัมผัสเป็นกระดาษ หรือใช้กระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือลายหินอ่อน เพื่อปะทับบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้ถือว่า เป็นการสร้างพื้นผิวลวงตาให้สัมผัสได้ด้วยการมองเห็นเท่านั้น
การสื่อความหมาย
ทางด้านแนวความคิดและอารมณ์ความรู้สึกของผลงาน
การจัดวางองค์ประกอบศิลป์
การเน้นและจุดเด่นในการออกแบบ
เอกภาพ ( unity)
ความสมดุลย์ ( ฺBalance)
3.การเน้นให้เกิดจุดเด่น ( Emphasis)
ความขัดแย้ง (Contrast)
ความกลมกลืน ( Harmony )
จังหวะ (rhythm)
ความลึก / ระยะ ( Perspective)
การซ้ำ ( Repetition)
กระบวนการสร้างความน่าสนใจ
การวางตำแหน่ง (Location)
โดยธรรมชาติการมองของมนุษย์เราจะเริ่มจากบริเวณกลางภาพ ถัดขึ้นบน เล็กน้อย จึงมี กฎของการจัดองค์ประกอบภาพ ให้เกิด ความน่าสนใจ หรือ ที่เรียกว่า กฎ 3 ส่วน (Rule of Third)
การแปรเปลี่ยน (Gradation)
การแปรเปลี่ยน หริอการลดหลั่นด้วยขนาด รูปร่าง สี น้ำหนัก โดยองค์ประกอบอื่น ยังคงเดิมนั้น เป็นการสร้างจุดเด่น ได้ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง
การสร้างจุดเด่นด้วยขนาด (Size)
วัตถุ หรือรูปร่าง รูปทรง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจะเป็นสิ่งสดุดตา ก่อให้เกิด จุดสนใจได้ทันที ในเบื้องแรก
กำนดสีและค่าน้ำหนัก
กำหนดบริเวณพื้นที่ของบรรยายกาศหรือกลุ่มรูปทรงที่ปรากฏเด่นชัด ให้มีสีและค่าน้ำหนักที่สว่าง/มืด ต่างกัน ในการเน้นจุดเด่นของภาพ
ความขัดแย้ง (Opposition)
ของ ส่วนประกอบมูลฐานที่อยู่ร่วมกัน (Juxtaposition) เช่น ขนาดใหญ่ / เล็ก, รูปร่างเหลี่ยม / มน, พื้นผิวหยาบ / ละเอียด ,น้ำหนักอ่อน / แก่ ,ทิศทางของเส้นตั้ง / นอน ,สีที่แตกต่างในวงล้อสี เช่น เขียว /แดง , น้ำเงิน / ส้ม เป็นต้น รวมทั้งความแตกต่างระหว่างส่วนประกอบมูลฐาน กับหลักการทัศนศิลป์ เพื่อสร้างให้ผลงานนั้น มีความงามเด่นชัด ช่วยเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในจุดสำคัญของการ ออกแบบ ให้เป็นจุดสน ใจขึ้น
พื้นที่ว่าง (Space
)
อาจารย์หนึ่งฤทัย ยิ้มประเสริฐ