Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิด - Coggle Diagram
การพยาบาลทารกแรกเกิด
-
การประเมินสภาวะของทารกแรกเกิด การประเมินสภาวะของทารกแรกเกิดเป็นหน้าที่ของผู้ทำคลอด โดยทั่วไปนิยมใช้ Apgar scoring system เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาพของทารกแรกเกิด วิธีนี้คิดขึ้นโดย Dr. Virginia Apgar(1952) เป็นวิธีที่ง่าย ถูกต้องและใช้เป็นหลักในการสังเกตทารกได้ละเอียด Apgar scoring system ประกอบด้วยอาการแสดง 5 อย่าง ซึ่งปกติจะประเมินใน 1และ5 นาทีแรกเกิด บางแห่งอาจทำซ้ำใน 10 นาทีแรกเกิด แต่ละอาการจะประเมินตามลักษณะที่เกิดขึ้น โดยให้คะแนน 0,1และ2 โดยมีคะแนนรวมทั้งหมด 10 คะแนน 1. สีของผิวหนัง (Appearancel การตรวจดูส่วนผิวหนังจะดูได้จากเล็บฝ่ามือฝ่าเท้าลิ้นและริมฝีปาก 2.อัตราการเต้นของหัวใจ (Pulse rate) เป็นอาการที่สำคัญที่สุดและถ้าไม่มีก็แสดงว่าทารกไม่มีชีวิตอยู่การประเมินทำได้โดยใช้นิ้วมือคลำชีพจรของสายสะคือหรือสังเกตชีพจรตรงรอยต่อของสายสะดือบนหน้าท้อง 3. การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น (Grimace) โดยการกระตุ้นที่รูจมูกขณะดูดเสมหะทารกที่แข็งแรงจะตอบสนองโดยการไอหรือจามหรือดูการตอบสนองต่อการกระตุ้นทารกโดยการพูดหรือขีดบนฝ่าเท้า 4.ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity) ตรวจได้โดยดูระดับของการงอและแรงด้านทานของส่วนต่างๆของร่างกายเมื่อพยายามจะยืดขยายส่วนนั้น ๆ เช่นแขนขาเป็นต้นทารกที่มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อดีจะมีการเคลื่อนไหวได้ดี
5.การหายใจ (Respiration) ทารกที่ร้องเสียงดังหลังคลอดแสดงว่าไม่มีสิ่งกีดขวางทางเดินหายใจปกติการหายใจจะเกิดภายใน 1 นาทีแรกคลอดการหายใจที่ไม่สม่ำเสมอหายใจช้าหายใจลำบากตลอดจนไม่มีการหายใจ
คะแนน Apear score จะบอกสภาพทั่วไปของทารกตลอดจนวิธีการเลือกใช้วิธีช่วยเหลือทารกได้ถูกต้องและทันท่วงทีการแบ่งกลุ่มคะแนน Appar score จะแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม
1) คะแนน 8-10 แสดงว่าสภาพของทารกปกติดีไม่มีภาวะขาดออกซิเจนทารกหายใจได้เองหัวใจเต้นเป็นปกติตอบสนองต่อการกระตุ้นและผิวสีชมพู แต่ปลายมือปลายเท้าเขียวอาจไม่จาเป็นต้องให้การช่วยเหลือพิเศษใด ๆ 2)คะแนน 5-7 ทารกกลุ่มนี้มีอาการขาดออกซิเจนเล็กน้อยส่วนใหญ่การเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้ง / นาทีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นดีมีการหายใจตื้นหรือไม่สม่ำเสมออาจมีหน้าเขียวตัวนิ่มดูปวกเปียก
3) คะแนน 3-4 ทารกกลุ่มนี้มีการขาดออกซิเจนในระดับปานกลางและมีความเป็นกรดมากกว่าทารกมีตัวเขียวคล้ำทั้งตัวความสามารถในการหายใจอ่อนมากตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นน้อยกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกไม่มีความดึงตัวอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 100 ครั้ง / นาทีการพยาบาลต้องรีบดูดมูกขี้เทาทางปากและจมูกด้วยสายยางเพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
4) คะแนน 0-2 ทารกกลุ่มนี้ขาดออกซิเจนอย่างมากมีความเป็นกรดสูงทารกมีลักษณะเขียวคล้ำอย่างมากไม่มีความสามารถในการหายใจหรือมีเพียงการหายใจเฮือก (gasping) ไม่มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
การประเมินสภาวะทารกแรกเกิด อาการแสดง
- สีของผิวหนัง เขียว-ซีด คลอดทั้งตัว 0 คะแนน
ตัวสีชมพู แขน ขาสีเขียว 1 คะแนน
สีชมพูตลอดทั้งตัว 2 คะแนน
- อัตราการเต้นของหัวใจ
ไม่มี 0 คะแนน
ต่ำกว่า 100 ครั้ง 1 คะแนน
มากกว่า 100 ครั้ง 2 คะแนน
- การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
ไม่มีการตอบโต้ 0 คะแนน
มีการเปลี่ยนแปลงทางสีหน้า 1 คะแนน
ไอหรือจาม 2 คะแนน
-ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
เนื้อตัวอ่อนปวกเปียก 0 คะแนน
แขน ขา งอได้เล็กน้อย 1 คะแนน
เคลื่อนไหวดี 2 คะแนน
- การหายใจ
ไม่มี 0 คะแนน
ช้า, ไม่สม่ำเสมอ 1 คะแนน
ร้องเสียงดัง 2 คะแนน
-
-
-
-
การสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกในระยะหลังคลอด
ความผูกพันหรือสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคมของทารกซึ่งอีริกสัน (Erikson) ได้กล่าวเน้นว่าพื้นฐานของพัฒนาการในขั้นต่อ ๆ ไปของเด็กนั้นขึ้นอยู่กับพัฒนาการในช่วงขวบปีแรกของชีวิตซึ่งเป็นระยะที่เด็กจะเกิดความรู้สึกรักใคร่ผูกพันและไว้วางใจต่อบุคคลอันเป็นที่รักทารกเมื่อพ้นจากสิ่งแวดล้อมในครรภ์มารดาที่คุ้นเคยออกมาสู่โลกภายนอก
ในระยะหลังคลอค 30-45 นาทีแรกเป็นช่วงเวลาที่มารดามีความรู้สึกไวเกี่ยวกับบุตร (sensitive period) มารดาจะมีความตื่นเต้นที่จะได้เห็นทารกเป็นครั้งแรกส่วนทารกจะเป็นช่วงที่มีความตื่นตัวได้อย่างมาก (active alert) จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในกระบวนการสร้างความผูกพันระหว่างมารดากับทารกแม้สภาพร่างกายของมารดาในระยะนี้ยังคงอ่อนเพลียมาก แต่ควรให้มารดาได้มีโอกาสสัมผัสอุ้มบุตรและให้บุตรดูดนมเป็นครั้งแรกหรือให้อยู่ด้วยกันภายใต้อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่น
การสร้างสัมพันธภาพกับบุตรวันที่ 2-3 หลังคลอดยังเป็นพฤติกรรมที่สำคัญต่อเนื่องจากการสร้างสัมพันธภาพตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์หลังคลอดบุตรทันทีเนื่องจากในระยะนี้มารดาส่วนมากเริ่มสนใจบทบาทมารดาดังนั้นพยาบาลควรจัดให้มารดาแสดงบทบาทมารดา
1) ปัจจัยด้านมารดา ได้แก่ มารดาที่ได้รับยาในขณะคลอดเช่นยาระงับปวดยาสลบหรือยาชายาเหล่านี้จะทำให้ทั้งมารดาและทารกซึมและหลับไม่สามารถตอบสนองซึ่งกันและกันได้ปัญหาทางด้านร่างกายจากการตั้งครรภ์การคลอดยากหรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง
2)ปัจจัยด้านทารก มารดาจะเกิดสัมพันธภาพกับบุตรได้ดีเมื่อบุตรคลอดออกมามีลักษณะคล้ายกับที่มารตาคาดหวังไว้และจะเกิดแรงจูงใจในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตร
3) ปัจจัยด้านบิดา บิดาที่ไม่สามารถปรับตัวทำบทบาทบิดาได้ดีจะมีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกได้เพราะบิดาที่ไม่สามารถปรับตัวในบทบาทบิดา จะโยนความรับผิดชอบทั้งหมดในการเลี้ยงทารกให้แก่มารดา และไม่สามารถที่สร้างสัมพันธภาพกับทารกได้
4) ปัจจัยด้านโรงพยาบาล ระบบการทำงานให้การพยาบาลและพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลมีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างมารดากับทารกได้ ได้แก่ การแยกมารดาและทารกจากกันหลังคลอดทันทีและเป็นระยะเวลานาน การจำกัด เวลาของมารดาในการดูแลทารกการ จำกัดเวลาเยี่ยม เนื่องจากมารดาต้องการกำลังใจจากญาติและคนใกล้ชิด