Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การกำหนดตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า - Coggle Diagram
การกำหนดตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
การบอกตำแหน่งบนโลก
สมบัติบางประการของโลก
โลกหมุนรอบตัวเอง แต่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ไม่ได้หมุน
วงกลมใหญ่บนผิวโลกที่อยู่ห่างจากขั้วเหนือและขั้วใต้เท่ากันเป็นเส้นศูนย์สูตร
ระนาบของเส้นศูนย์สูตร คือ ระนาบศูนย์สูตร
การบอกตำแหน่งโลก
ใช้วงกลมเล็กที่ขนานเส้นศูนย์สูตรและตั้งฉากกับเมริเดียน คือ ละติจูดขนาน
วงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือขั้วใต้ และตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตร คือ เมริเดียน
ลองจิจูดและละจิจูด
ลองจิจูด
ค่าของระยะทางตามมุมที่วัดจากเมริเดียนกรีนิชไปทางตะวันออก/ตะวันตก ตามเส้นศูนย์สูตรจนถึงเมริเดียน
ละติจูด
ค่าของระยะทางตามมุมที่วัดจากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือ/ใต้
ตามเมริเดียนที่ผ่านตำแหน่งนั้น
สมบัติของทรงกลมท้องฟ้า
1.ทรงกลมท้องฟ้าคล้ายวงกลมกลวง โดยมีวัตถุท้องฟ้าอื่นอยู่ ณ ผิวใน
2.รัศมีไกลสุดสายตา/มีค่าอนันต์ นิยมให้เท่ากับ 1 หน่วย
3.ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของทรงกลมท้องฟ้าไม่แน่นอน
4.การบอกตำแหน่งให้ระยะทางตามมุม คิดเป็นมุมจุดศูนย์กลาง
6.ถ้าต่อแนวแกนสมมติของโลก
ไปทางขั้วเหนือและขั้วใต้
จะได้ตำแหน่งขั้วเหนือท้องฟ้า (NCP) และขั้วใต้ท้องฟ้า (SCP)
ขยายเส้นศูนย์สูตร
จะได้เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า และระนาบศูนย์สูตรท้องฟ้า
5.ทรงกลมท้องฟ้าหมุนรอบตัวเองในเวลา 1 วันเหมือนโลกแต่ทิศสวนกัน
ระบบการบอกตำแหน่ง
ระบบขอบฟ้า
บอกตำแหน่งดาว เพื่อให้รู้ว่าดาวอยู่เหนือขอบฟ้าเป็นระยะทางเท่าใด
สะดวกแก่การบอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
คำที่ใช้ในระบบขอบฟ้า
1.เซนิท (Zenith)
ตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้าในแนวตรงกลางศีรษะ
2.เนเดอร์ (Nedir)
ตำแหน่งตรงข้ามกับเซนิท
3.เส้นขอบฟ้า
วงกลมใหญ่บนท้องฟ้าที่อยู่ห่างจากเซนิทและเนเดอร์เท่ากัน
4.วงกลมดิ่ง
วงกลมใหญ่บนท้องฟ้าที่ลากผ่านเซนิทกับเนเดอร์ และตั้งฉากกับเส้นขอบฟ้า
5.เมริเดียนท้องฟ้า
วงกลมดิ่งที่ผ่านเส้นขอบฟ้า
6.วงกลมดิ่งตัน
วงกลมดิ่งที่ผ่านเส้นขอบฟ้า ณ ตำแหน่งตะวันออกและตะวันตก
7.แอซิมัท (Azimuth)
ระยะทางตามมุมที่วัดจากตำแหน่งเหนือไปตามเส้นขอบฟ้าถึงวงกลมดิ่ง
8.อัลติจูด (Altitude)
ระยะทางตามมุมที่วัดจากเส้นขอบฟ้าขึ้นไปตามวกลมดิ่งจนถึงดาวดวงนั้น
9.ระยะทางจากเซนิท
ระยะทางตามมุมที่วัดจากจุดเซนิทตามวงกลมดิ่งจนถึงดาว
ระบบศูนย์สูตร
ตำแหน่งบนทรงกลมท้องฟ้ามีการเคลื่อนที่พร้อมกับการหมุนของทรงกลมท้องฟ้า
คำที่ใช้ในระบบศูนย์สูตร
1.วงกลมชั่วโมง
วงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วเหนือและขั้วใต้ท้องฟ้า และตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า
2.เวอร์นัล อีควินอกซ์
ตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์โคจรบนสุริยวิถี ตัดกับเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า
3.ไรท์แอสเซสชัน
ระยะทางตามมุมที่วัดจากจุดเวอร์นัลอีควินอกซ์ ไปทางตะวันออกตามเส้นศูนย์สูตร จนถึงวกลมชั่วโมงที่ผ่านดาวที่ต้องการบอกตำแหน่ง
4.เดคลิเนชัน
ระยะทางตามมุมที่วัดขึ้นไปทางเหนือ/ใต้ ของเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า ตามวงกลมชั่วโมงที่ผ่านดาวที่ต้องการบอกตำแหน่ง
บอกค่าไรท์แอสเนชันกับเดคลิเนชัน และมุมชั่วโมงกับเดคลิเนชันได้
นิยมใช้บอกตำแหน่งดาวในแคตาล็อก แผนที่ดาว และตำแหน่งของดาวหาง
แบ่งเมริเดียนท้องฟ้าออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนบนและส่วนล่าง
มุมชั่วโมงท้องถิ่น (LHA)
ระยะทางตามมุมวัดจากส่วนบนของเมริเดียนท้องฟ้าไปทางตะวันตก
มุมชั่วโมงท้องฟ้า
วัตถุท้องฟ้าเคลื่อนที่ผ่านเมริเดียนท้องฟ้าไปนานเท่าไร
ระบบสุริยวิถี
เส้นทางเดินของดวงอาทิย์ผ่านกลุ่มดาวต่างๆ ในรอบปี มาจากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
เส้นทางนี้จะปรากฏย้ายตำแหน่งบนท้องฟ้าในบริเวณนี้ เรียกว่า แถบจักรราศี
จุดตัดของระนาบ เรียก อีควินอกซ์
เวอร์นัล อีควินอกซ์
ออตัมนัล อีควินอกซ์
เกิดตำแหน่งที่ระนาบทั้งสองอยู่ห่างกันมากสุด เรียก ซอลสทิซ
คำที่ใช้ในระบบสุริยวิถี
1.ขั้วเหนือสุริยวิถีและขั้วใต้สุริยวิถี
ส่วนตัด เป็นระนาบสุริยวิถี อยู่ห่างกัน 90 องศา
2.ลองจิจูดท้องฟ้า
ระยะทางตามมุมที่วัดจากตำแหน่งเวอณนัลอีควินอกซ์ไปทางตะวันออกตามแนวสุริยวิถี
3.ละติจูดท้องฟ้า
ระยะทางตามมุมที่วัดจากสุริยวิถีไปทางเหนือ/ใต้ ตามวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วทั้งสองและผ่านตำแหน่งดาว