Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 การวางแผนเเละการประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ เพื่อการส่งเสริมแล…
บทที่ 11 การวางแผนเเละการประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การวางเเผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์
หมายถึง การวางแผนการสื่อสารให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวิสัยทัศน์ขององค์กร โดยกำหนดกระบวนการ รายละเอียดต่างๆในการดำเนินงานเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นระบบ
ลักษณะสำคัญ
1.เป็นเรื่องเกี่ยวกับการคาดการณ์ในอนาคต
2.เป็นการตัดสินใจล่วงหน้าเกี่ยวกับทางเลือก
3.เป็นกระบวนการ
4.เป็นการมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์
5.เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากร
ขั้นตอน
1.การวิเคราะห์สภาพเเวดล้อมทั้งภายในภายนอกองค์กร
2.การวางทิศทางองค์กร
3.การกำหนดกลยุทธ์
4.การดำเนินกลยุทธ์
5.การประเมินกลยุทธ์โดยใช้ตัวชี้วัด
กระบวนการ
1.การวิเคราะห์สถานการณ์
2.การกำหนดเเนวทางกลยุทธ์
3.การเตรียมการสู่การปฏิบัติจริง
แผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์เเละกลยุทธ์การสื่อสาร
ความสัมพันธ์ของแผนการสื่อสาร
ภายในหน่วยงาน
ระหว่างหน่วยงานภายในกับหนวยงานภายนอก
ระหว่างหน่วยงานกับเกษตรกร
กลยุทธ์การสื่อสาร
1.กลยุทธ์การสื่อสารเเบบมีส่วนร่วมเพื่อการส่งเสริมเเละพัฒนาการเกษตร
กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชน
กลยุทธ์การสื่อสารโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง
กลยุทธ์การดำเนินงานชุมชน
2.การดำเนินกลยุทธ์การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
การประยุกต์แผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ในการรณรงค์
1.การทำความเข้าใจลักษณะของการรณรงค์
2.ขั้นตอนการรณรงค์
3.กลยุทธ์การรณรงค์
4.องค์ประกอบที่นำไปสู่การรณรงค์ที่ประสบความสำเร็จ
การประยุกต์แผนการสื่อสารเชิงกลยุทธ์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์
1.การทำความเข้าใจลักษณะที่สำคัญของภาพลักษณ์
2.ความสำคัญของภาพลักษณ์
3.ประเภทของภาพลักษณ์
4.วิธีการสร้าง รักษา และแก้ไขภาพลักษณ์
การประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์
หมายถึง การตัดสินหรือสรุปผลที่ได้จากการวัดผล ทั้งที่เป็นปริมาณหรือคุณภาพว่าสิ่งนั้นดีมากน้อยเพียงใด มีคุณค่าอยู่ในระดับใด
ความสำคัญ
1.ทำให้ทราบผลสำเร็จขั้นต้นเเละขั้นสุดท้าย
2.ช่วยตัดสินใจว่าจะไปต่อหรือยุติ
3.ช่วยปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้ก้าวหน้า
4.ช่วยตัดสินใจในการปรับกลยุทธ์
5.ช่วยในการพิจารณาขยายโครงการ
6.ช่วยจัดสรรทรัพยากร
7.ช่วยในการตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธทฤษฎีที่นำมาใช้
8.ทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา
ประเภทของการประเมินผล
จำแนกตามระยะเวลา
ก่อนเริ่มโครงการ
ระหว่างโครงการ
หลังดำเนินโครงการ
จำแนกตามจุดมุ่งหมาย
ประเมินความก้าวหน้า
สรุปผลโครงการ
จำแนกตามสิ่งที่ถูกประเมิน
ประเมินสภาวะเเวดล้อม
ประเมินปัจจัยนำเข้า
ประเมินผลกระบวนการ
ประเมินผลผลิต
จำแนกตามการยึดวัตถุประสงค์โครงการ
ประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์
ประเมินโดยไม่ยึดวัตถุประสงค์
แนวคิดใหม่ในการประเมินผล
1.แนวคิดการประเมินผลแบบมีส่วนร่วม
2.แนวคิดการประเมินผลในระบบเปิด
กระบวนการ
1.การวิเคราะห์บริบท
2.การออกแบบการประเมินผล
3.การดำเนินการประเมินผล
4.การเขียนรายงานและการใช้ประโยชน์