Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระยะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
ระยะตั้งครรภ์
คำศัพท์ต่างๆที่ใช้ในการตรวจครรภ์
Gravida,Gravidity- จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์
Primigravidarum- การตั้งครรภ์ครั้งแรก
Multigravida- การตั้งครรภ์ครั้งหลัง
Para,Pararity- การตั้งครรภ์ที่สิ้นสุดด้วยการคลอด
Nullipara- หญิงที่ไม่เคยผ่านการคลอดมาก่อน
Primipara- หญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตรที่พอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นครั้งแรก
Elderly primigravidarum- ครรภ์แรกอายุ ≥ 35ปี
Teenage pregnancy- การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น < 20ปี
Gravida Para - G (จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์) P (เคยคลอดครบกำหนด, คลอดก่อนกำหนด, แท้ง,ลูกมีชีวิตอยู่กี่คน) ปกติ จำนวนGมากกว่าPเสมอ
Gจำนวนการตั้งครรภ์ P term:pre term:Abortion:Alive เช่น G10 P6-1-2-7 การตั้งครรภ์รวมครั้งนี้ครั้งที่10 คลอดครบกำหนด6ครั้ง คลอดก่อนกำหนด1ครั้ง เเท้ง2ครั้ง มีชีวิต7ครั้ง
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาระยะตั้งครรภ์
ระบบอวัยวะสืบพันธ์ุ (Reproductive system)
ช่องคลอด (vagina) เยื่อบุผิวมีสีคล่ำขึ้น นุ่ม มีสารคัดหลั่งหรือตกขาวใสเพิ่มขึ้น และเซลล์ของเยื่อบุช่องคลอดจะมี glyclogenสะสมมากขึ้นมีการผลิตกรด lactic มากขึ้น สภาพภายในช่องคลอดมีสภาวะเป็นกรด ค่าpH อยู่ระหว่าง3.5-6
ปากมดลูก (cervix) ผิวหนังและกล้ามเนื้อบริเวณ perrineum จะมีเลือดไปหล่อเลี้ยงมากขึ้น connective tissue บริเวณนี้จะอ่อนนุ่มลง เกิดจากปากมดลูกมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้นและมีการบวมน้ำเรียกว่า Goodell's sign เยื่อบุช่องคลอดมีการเปลี่ยนสีจากสีชมพูเป็นม่วงคล้ำเนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น เรียกว่าchadwick's sign มีมูกปากมดลูกมากและมีลักษณะ eversion ของเยื่อบุภายในที่ขยายรุกออกมาด้านนอก
มดลูก (Uterus) ขนาดใหญ่ขึ้น เส้นเหลือดไปเลี้ยงเพิ่มขึ้น รูปร่างของมดลูกเปลี่ยนจากลูกแพร์ เป็นรูปรี เซลล์กล้ามเนื้อมดลูกจะขยายใหญ่ขึ้นและยืดยาวออก
ท่อนำไข่ (fallopain tube)และ รังไข่ (ovary) จะมีขนาดใหญ่ขึ้น รังไข่จะไม่ตกไข่ตลอดการตั้งครรภ์ แต่รังไข่จะสร้าง hCG และ relaxin ตลอดการตั้งครรภ์
เต้านม (Brests) ขนาดจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 8 สัปดาห์แรก หัวนมลานนมโตขึ้น สีคล้ำขึ้น อาจพบ montgomery glands ใหญ่ขึ้น อาจรู้สึกตึงหรือเจ็บในช่วงตั้งครรภ์ ต่อมน้ำนมจะเริ่มสร้างน้ำนมภายใต้การทำงานของ Growth hormone และ glucocorticoid ทำให้มีการทำงานของฮอร์โมน Prolactin
ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular System)
หัวใจจะยกสูงขึ้นและเอียงไปทางซ้าย (left axis deviation apex) วางอยู่ในแนวนอนมากขึ้นทำให้ apex ชี้ไปทางด้านข้าง เนื่องจากระบังลมยกสูงขึ้นเพราะอวัยวะในช่องท้องโดนมดลูกที่โตเบียดขึ้นมาด้านบน ขนาดของหัวใจโดยรวมโตขึ้นร้อยละ 12 จากกล้ามเนื้อหัวใจที่หนาขึ้นและปริมาตรภายในที่เพิ่มขึ้นตามมา โดยประมาณ 80 มิลลิลิตร
Blood volume การขยายปริมาตรของเลือดเริ่มต้นตั้งแต่อายุครรภ์ 6-8 สัปดาห์ และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไตรมาสที่สองและค่อยๆคงที่ในไตรมาสสุดท้ายที่อายุครรภ์ 30-32 สัปดาห์ เพิ่มสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 45
cardiac output เพิ่มขึ้นร้อยละ 30-50 เพิ่มสูงสุดในช่วงอายุครรภ์ 20-24 สัปดาห์ ในไตรมาสเเรกเป็นผลจากการเพิ่มของ stoke volume ส่วนในช่วงครึ่งหลังเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ heart rate ในขณะที่stoke volume ลดลงสู่ปกติ
stroke volume เปลี่ยนแปลงตามปริมาตรของเลือดที่เพิ่มและ systemic vascular resistance ที่ลดลงจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบของเลือดหลอด ซึ่งเป็น vasodilation effect จากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
Heart rate เพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ประมาณ 10-15 ครั้งต่อนาที ทั้งนี้อาจสูงขึ้นอีกถ้ามีปัจจัยกระตุ้นอื่น เช่น ออกกำลังกาย เครียด การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือยา เป็นต้น
ในช่วงไตรมาสที่สาม cardiac output อาจลดลงได้ ทั้งนี้เกิดจากการที่เส้นเลือด inferior vena cana ถูกกด ลดการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจปริมาตรที่ถูกส่งออกมาน้อยลงร้อยละ 10 จะเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำในท่านอนหงาย (supine hypotension syndrome) ได้ในช่วงนี้ ในครรภืแฝดต้องมีการไหลเวียนของเลือดมากขึ้นกว่าครรภ์เดี่ยวจึงทำให้ cardiac output เพิ่มมากขึ้นอีกร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับครรภ์เดี่ยว ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ stroke volume ร้อยละ 15 และ heart rate อีกร้อยละ 3.5 ในระยะคลอด ช่วงที่มีการหดตัวของมดลูก แรงเบ่ง และอาการปวดจะทำให้ cardiac output อาจเพิ่มได้อีก ร้อยละ 40 สูงกว่าในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ และจะเพิ่มสูงขึ้นทันทีหลังคลอด เพราะมดลูกลดขนาดลงไม่มีการกดทับที่ inferior vena cava เลือดจึงไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้เพิ่มขึ้น
Blood pressure จะลดลงในระหว่างตั้งครรภ์
ระบบทางเดินหายใจ (Respiratory System)
ระบบทางเดินหายใจส่วนบน
เยื่อบุบริเวณ nasopharyx จะบวมน้ำ และมีเลือดมาล่อเลี้ยงมาก ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมน estrogen ที่เพิ่มสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้เกิดอาการคัดจมูกและเลือดกำเดาออก ได้บ่อยๆ บางรายอาจพบ polyposis ของช่องจมูกหรือโพรงจมูกได้ และจะยุบไปได้เองหลังคลอด
ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
รูปร่างของทรวงอก จะขยายขนาดขึ้น เนื่องจากกระบังลมที่ถูกมดลูกดันให้สูงขึ้นประมาณ 4 ชม. เส้นผ่านศูนย์กลางทรวงอกเพิ่ม 2 ซม.
มีภาวะหายใจลำบาก (dyspnea of pregnancy) พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 60-70 ของหญิงตั้งครรภ์ปกติ มักมีอาการในช่วงปลายไตรมาสเเรก หรือ ช่วงต้นไตรมาสที่2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบ แต่น่าจะเป็นผลจากหลายปัจจัย ได้เเก่ การเพิ่มของ tidal volumn
อัตราการหายใจไม่มีการเปลี่ยนแปลที่ชัดเจนในระหว่างการตั้งครรภ์
ระบบโลหิต (Hematological system)
ในขณะการตั้งครรภ์มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณเลือดตั้งแต่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดย plasma จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 โดย จะเพิ่มตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์จนกระทั้งสูงสุดที่อายุครรภ์ 30-34 สัปดาห์ หลังจากนั้นจนกระทั่งคลอด โดยปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นจะมากกว่าปกติถึงร้อยละ 40-45 โดยที่เม็ดเลือด จะเพิ่มปริมาณขึ้น 450 มิลลิลิตร ดังนั้นจึงเกิดภาวะที่เรียกว่า physiologic anemia จากการที่ปริมาณพลาสมาเพิ่มมากกว่าเม็ดเลือดแดง
สำหรับการเปลี่ยนแปลงของ hematocrit นั้น เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของพลาสมามากกว่าการเพื่อมขึ้นของเม็ดเลือดแดง ดังนั้นความเข้มข้นของ hemoglobin และ hematocrit ในหญิงตั้งครรภ์ จึงต่ำกว่าปกติสำหรับภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ตามนิยามของ WHO จะถือเอาค่าระดับ hemoglobin ที่น้อยกว่า 10 g/dl ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สาม หรือ น้อยกว่า 10.5 g/dl ในไตรมาสที่สอง ถือว่ามีภาวะโลหิตจาง
white blood cell ในขณะตั้งครรภ์จะพบว่าเพิ่มขึ้นกว่าปกติอยู่ในช่วง 5,000-12,000 cell/ml และ กลับมาปกติหลังคลอด ในขณะคลอดและหลังคลอดอาจสูงขึ้นไปได้สูงถึง 25,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร (ค่าเฉลี่ยประมาณ 14,000 - 16,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ) สัมพันธ์กับ granulocyte ที่เพิ่มขึ้น platelet จะลดลงเล็กน้อย
ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด (clotting factor) จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดย Factor I หรือ fibrinogen จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 รวมทั้ง factor Vll,Vlll, lX และ X ส่วน Factor ll หรือ prothrombin, factor V , Xll, protein C และ antithrombin lll ไม่เปลี่ยนแปลง
ระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary system)
ไตจะเริ่มขยายขนาดตั้งแต่ปลายไตรมาส ด้านขวาโตมากกว่าซ้าย เพราะถูกกดจากมดลูกที่เอียงและหมุนมาทางด้านขวามากว่า ท่อไตและกรวยไตจะขยายเต็มที่ในกลางไตรมาสที่2ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นผลจากโปรเจสเตอโรนที่ทำให้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่ท่อไต จึงยืดขยายได้ง่าย และยังส่งผลไปกระเพาะปัสสาวะ มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้ปริมาณปัสสาวะเหลือค้างมากขึ้น
ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงที่ไตเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกและสูงสุดช่วงกลางของการตั้งครรภ์ เป็นผลจากการที่ปริมาณเลือดเพิ่มมากขึ้นและเลือดไปที่ไตเพิ่มขึ้น ทำให้มีน้ำตาลถูกขับออกมาในปัสสาวะ ได้ปริมาณเล็กน้อย
ไตรมาสเเรกจะมีอาการปัสสาวะบ่อย โดยจะค่อยๆดีขึ้นเมื่อมดลูกพ้นเชิงกรานไปเเล้ว แต่พอระยะท้ายของการตั้งครรภ์ เมื่อส่วนนำของทารกลงต่ำจะกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีการคั่งของเลือด
ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal System)
ในขณะครรภ์ มดลูกที่มีขนาดขยายใหญ่ขึ้น จะเบียดลำไส้และกระเพาะอาหาร ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของกระเพาะอาหารและลำไส้ไปจากปกติ แต่ไม่มีการเปลี่ยนเเปลงขนาด หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น โดยจะเริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์และจะคงอยู่ตลอดการตั้งครรภ์
ในสตรีตั้งครรภ์เกิด gastroesophageal reflux ได้ง่าย เพราะความไม่สมดุลของเเรงดันระหว่างกระเพาะอาหารที่เพิ่มขึ้นและหลอดอาหารที่ลดลงทำให้มีการไหลย้อนกลับของอาหารขึ้นมาในหลอดอาหารได้ เกิดอาการเเสบยอดอกจากกรดไหลย้อนแรกว่า heartburn หรือ pyrosis
การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ลดลง เป็นผลจากขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้น
ระบบตา (Ophthalmological System)
ขณะตั้งครรภ์ความตันภายในลูกจะลดลง ซึ่งจะส่งผลให้เพิ่มการไหลเวียนของ vitreous cornea มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก (Musculoskeleton System)
อายุครรภ์เพิ่มมากขึ้น มดลูกมีขนาดใหญ่จะทำให้กระดูกแอ่นมาข้างหน้ามากขึ้นทำให้เกิดอาการปวดที่หลังได้
กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องอาจถูกแยกจากกันแนวกลางตัวจากการที่ถูกมดลูกใหญ่ขึ้นดัน เรียกว่า diastatis recti
Psychological change
second trimester
ยอมรับการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้น (Acceptace) ยอมรับการมีตัวตนของทารกในครรภ์
เริ่มเสาะเเสวงหาข้อมูลในการตั้งครรภ์จากคนรอบข้าง
มีความสุขและตื่นเต้นต่อการตั้งครรภ์
สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับตัวเอง
การพยาบาล
เปิดโอกาสให้แสดงตวามรู้สึกต่อรูปร่างที่เปลี่ยนไปอธิบายถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
เปิดโอกาสให้ทั้งคู่ฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์เพื่อช่วยเฝ้าระวังทารกในครรภ์เพื่อสร้างเสริมสัมพันธภาพ
เปิดโอกาสให้สามีหรือญาติมีส่วนร่วมในการเข้ารับฟังคำแนะนำ
third trimester
กลัวเเละวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดมากขึ้น
หมกมุ่น คิดถึงแต่ตนเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
อารมณ์แปรปรวน บางครั้งก็สนุก บางครั้งก็ซึม
การพยาบาล
ส่งเสริมครอบครัวช่วยดูแลหญิงตั้งครรภ์
แนะนำการเตรียมตัวเพื่อการคลอดและเลี้ยงดูทารก
กระตุ้นให้ทั้งคู่แสดงออกถึงความรู้สึกบทบาทการเป็นพ่อแม่ และการปรับตัวในบทบาทใหม่
ให้ความรู้เรื่องการเจ็บครรภ์คลอด การลดปวดขณะคลอด
การปฏิบัติตัวเพื่อบรรเทาความไม่สุขสบายต่างๆจากอาการเปลี่ยนเเปลงในระยะใกล้คลอด
first trimester
มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย (Ambivalence) ไม่แน่ใจว่าตนตั้งครรภ์หรือไม่
กลัวและตื่นเต้นกับการรับบทบาทใหม่
กลัวการตั้งครรภ์ การเจ็บครรภ์เเล้วการคลอด
มักจะนึกถึงตนเองและการตั้งครรภ์เท่านั้นไม่ได้นึกถึงทารกในครรภ์
การพยาบาล
ประเมินภาวะจิตสังคมตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์
รับฟังและเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกต่างๆ
ให้คำแนะนำ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม และการปฏิบัติตนในระยะตั้งครรภ์
ให้ความมั่นใจว่าความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย (Ambivalence) เป็นสิ่งปกติ
เปิดโอกาสให้สามี,ญาติมีส่วนร่วมในการเข้ารับฟังคำแนะนำ
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางLab
กลุ่มอาการแสดงสงสัยการตั้งครรภ์ (presumptive signs of pregnancy) เป็นอาการแสดงที่บ่งชี้ว่าอาจจะตั้งครรภ์ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดจากโรคหรือภาวะอื่นๆที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์
การขาดประจำเดือน (Cessation of menstruation or Amenorrhea) เป็นอาการที่น่าเชื่อถือว่าน่าจะตั้งครรภ์ ในกรณีมีประวัติ ประจำเดือนปกติ สุขภาพปกติ และ การขาดประจำเดือนมากกว่าปกติ 10 วันขึ้นไปหรือประจำเดือนขาดนับจากประจำเดือนครั้งสุดท้ายมากกว่า 45 วัน
สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
ร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและระงับการตกไข่ ส่งผลให้ตลอดระยะการตั้งครรภ์ จะไม่มีประจำเดือนเลยเนื่องจากไม่มีการสุกของไข่ ไม่มีการลอกหลุดของเยื่อบุมดลูกมีแต่เยื่อบุมดลูกจะ เจริญขึ้นเพื่อให้เป็นที่ฝังตัวของไข้ที่ผสมแล้ว และเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญที่จะนำไปสู่ทารกในครรภ์ด้วยรกที่เกิดติดกับผนังมดลูก
สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้อง
การตั้งครรภ์เทียม (psuedocyesis)
การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ร่างกายเหนื่อยล้า
โรคของต่อมไร้ท่อ (psuedocyasis) อาการผิดปกติของรังไข่ ต่อมธัยรอยด์
การเจ็บป่วยเรื้อรัง
การติดเชื้อ
ความผิดปกติของการมีประจำเดือน
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด สภาพอารมณ์ ภาวะซึมเศร้า
การใช้ยาบางชนิด เช่น corticosteroid , ยารักษาโรคซึมเศร้า antidepressants, antipsychotics, ยารักษาโรคไทรอยด์ และเคมีบำบัดบางชนิด
ผลของการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด ภาวะเบื่ออาหาร
อาการคลื่นไส้ อาเจียน (nausea and vomiting) / อาการแพ้ท้อง (morning sickness หรือ nausea gravidarum) เป็นอาการที่พบอันดับแรกของการตั้งครรภ์ อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง พบได้ในสัปดาห์ที่4-14 ของการตั้งครรภ์
สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
กลไกที่ร่างกายป้องกันทารกในครรภ์จากสารพิษที่ได้รับในระยะแรกของการตั้งครรภ์
เกิดจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน
เอสโตรเจน
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
HCG (human chorionic gonadotropin)
ภาวะด้านจิตใจ
สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้อง
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น การอักเสบของไส้ติ่ง โรคกระเพาะอาหาร
ภาวะความแปรปรวนทางอารมณ์และความเครียด
การมีน้ำตาลในเลือดต่ำจากภาวะโรคเบาหวาน
การรับประทานยาบางอย่าง
การทำหน้าที่ของต่อมธัยรอยด์
การขาดสารอาหาร
การติดเชื้อ helicobacter pylori 8 การตั้งครรภ์เทียม
อาการถ่ายปัสสาวะบ่อย(urinary frequency or disturbance in urination)มักเกิดขึ้นในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มีความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อยโดยมีอาการปวดแสบหรือมีไข้
สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
เกิดจากมีการกรองน้ำปัสสาวะที่ไตเพิ่มขึ้น
มดลูกมีขนาตโตขึ้นกดเบียดกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อทำให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง ทำให้แรงดันกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้นจนรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย
สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้อง
ดื่มน้ำมาก
ภาวะโรคเบาหวาน
มีก้อนเนื้องอกที่มดลูก(myomnauteri)
ภาวะมดลูกหย่อน(prolapsed uteri)
การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ(cystitis)
อาการอ่อนเพลีย (fatigue)มักเกิดขึ้นในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสตอโรนและการเผาผลาญสารอาหารที่เปลี่ยนไป
สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้อง
เจ็บป่วย มีความเครียดสูง นอนไม่พอ
ความรู้สึกว่าทารกดิ้นครั้งแรก เป็นความรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหว(quickening) ภายในท้อง
สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
ทารกมีการเจริญเติบโต และมีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น การขยายตัวของมดลูกที่โตขึ้นพ้นอุ้งเชิงกราน ทำให้ผนังมดลูกขิดผนังหน้าท้อง
เมื่อทารกดิ้นกระทบผนังมดลูกจึงทำให้รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนไป
สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้อง
เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้เนื่องจากมีแก๊สมากเกินไป มีความกังวลมากเกินไป จากการกลัวตั้งครรภ์หรือต้องการมีบุตรมาก