Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคลอดปกติ (Normal labour) - Coggle Diagram
การคลอดปกติ (Normal labour)
ความหมาย
กระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อขับทารก รก เยื่อหุ้มทารก เเละน้ำคร่ำที่อยู่ภายในโพรงมดลูกผ่านช่องทางคลอดออกสู่ภายนอก
องค์ประกอบ
1.เเรงผลักดัน(power)
primary power :
การหดรัดตัวของมดลูกส่วนบนเพื่อขับไล่ทารกออกสู่ภายนอก ถ้าเเรงผลักดันมีน้อยกวาปกติจะทำให้คลอดยาวนานหรือถ้าเเรงดันนี้มากหรือรุนเเรงกว่าปกติ ทำให้เกิดการคลอดเฉียบพลัน มดลูกเเตก หรือทารกในครรภ์ขาดออกซิเจนได้
secondary power :
เเรงเบ่งคลอด เมื่อปากมดลูกเปิดหมดเเล้วมีความสำคัญเพราะจะทำให้เกิดเเรงดันในโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น ทำให้ทารกมีการเคลื่อนต่ำลงมาอย่างรวดเร็ว
2.สิ่งที่คลอดออกมา(passagers) :
ทารก เนื่องจากขนาด รูปร่างเเละลักษณะของทารกต้องเหมาะสมกับช่องทางคลอด ใช้ศีรษะเป็นส่วนนำ อยู่ในทรงก้มเเละท่าปกติ ถ้าผิดปกติ ศีรษะจะมีขนาดโตกว่าส่วนอื่นๆ
3.ช่องทางคลอด(passage)
ช่องทางคลอดส่วนที่เป็นกระดูก เเบ่งออกเป็น 3 ส่วน
pelvic inlet ช่องเข้าเชิงกราน
pelvic outlet ช่องออกเชิงกราน
mild pelvis ช่องเชิงกราน
ช่องทางคลอดส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อ ประกอบด้วย มดลูกส่วนล่าง ปากมดลูก ช่องคลอด กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเเละฝีเย็บ
4.ท่าของผู้คลอด(position of labour)
ท่าในเเนวตรง เช่น ท่ายืน ท่านั่งยองๆจะทำให้การหดรัดตัวของมดลูก การออกเเรงเบ่งเเละการเคลื่อนต่ำของทารกดีกว่าท่าในเเนวราบ เช่น นอนหงายราบ ท่านอนตะเเคง
5. ภาวะร่างกาย(physical condition)
ที่มีอาการอ่อนเพลีย หมดเเรงจะมีเเรงเบ่งน้อย ทำให้คลอดล่าช้าได้
6. ภาวะจิตใจ(psychological condition)
มีความวิตกกังวล ความเครียด ความกลัวต่างๆ จะทำให้มดลูกหดรัดตัวผิดปกติ มีเเรงเบ่งน้อย เป็นสาเหตุให้เกิดการคลอดยาวนาน
การคลอดในลักษณะต่างๆ
อายุครรภ์ครบกำหนด ตั้งเเต่ 38 สัปดาห์ - 42 สัปดาห์
อายุครรภ์อายุครรภ์ก่อนกำหนด(premature labour) ครบ 37 สัปดาห์หรือก่อนต้นสัปดาห์ที่ 38
อายุครรภ์เกินกำหนด(postterm labour) อายุครรภ์มากกว่า 42 สัปดาห์
ทารกมียอดศีรษะเป็นส่วนนำ(vertex presentation) ขณะคลอดท้ายทอยต้องอยู่ทางด้านหน้าช่องเชิงกราน หรืออยู่ใต้กระดูกหัวหน่าว
ขบวนการคลอดทั้งหมดเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ใช้เครื่องมือหรือวิธีการพิเศษใดๆที่ช่วยในการทำคลอด เช่น การใช้คีม
ระยะเวลาตั้งเเต่เริ่มเจ็บครรภ์จริงจนกระทั่งคลอดรวมกันไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ไม่มีภาวะเเทรกซ้อนใดๆเกิดขึ้นในระยะคลอด เช่น การตกเลือดในระยะคลอด รกค้าง มดลูกปลิ้น
อาการเเละอาการเเสดงเมื่อใกล้คลอด
อาการท้องลด(lightening)
มีสารคัดหลั่งจากช่องคลอด(mucous show)
การนุ่มของปากมดลูก(ripening of cervix)
อาการปวดหลัง(persistent backache)
ถุงน้ำทูนหัวเเตก(spontaneous rupture of membranes)
อาการน้ำหนักลดลงเละการเปลี่ยนเเปลงของระบบทางเดินอาหาร(weight loss and gastrointestinal upset)
การทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น(increase in level of activity)
เจ็บครรภ์เตือน(false labour pain)