Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพองค์รวม เพื่อการพึ่งตนเองระดับบุคคล - Coggle…
บทที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพองค์รวม
เพื่อการพึ่งตนเองระดับบุคคล
หลักคำสอนในพระพุทธศาสนากับสุขภาวะ4 มิติ
วิสุทธิ
คือ ความสะอาด หมดจด บริสุทธิ์ ผ่องใส ปลอดโปร่ง
สันติ
คือ ความสงบ ราบเรียบ ไม่มีอะไรมารบกวนให้ระคายเคือง
วิมุตติ
คือ ความหลุดพ้นเป็นอิสระ ไม่ถูกผูกมัด ไม่ติดขัดเคลื่อนไหว ได้อย่างเสรี เป็นอิสระจากสิ่งต่างๆ อย่างแท้จริง
วิชชา
คือ ความสว่างไสว กระจ่างแจ่มแจ้งมองเห็นได้ชัดเจน มีความรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างตรงตามสภาวะตามความเป็นจริงซึ่งเป็นลักษณะของปัญญา
สุขภาวะตามแนววิถีพุทธ
สุขจากการได้ทำสิ่งสร้างสรรค์
ความสุขที่เกิดจากการให้และประพฤติในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม ความสุขชนิดนี้เป็นความสุขร่วมกันระหว่างผู้ให้และผู้รับ
สุขจากจิตใจเป็นบุญกุศล
สุขที่เกิดจากการที่บุคคลมีจิตใจ สะอาดบริสุทธ์อย่างสม่ำเสมอ จากการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา
นั่งสมาธิ เจริญปัญญา
สุขจากธรรมชาติ และการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล
ความสุข
ในการใช้ชีวิตให้ถูกต้องตามหลักของธรรมชาติ ลดพฤติกรรม
การบริโภคเกินจำเป็น และไม่หลงใหลในโลกที่ตนเองสมมุติขึ้น
สุขจากจิตที่สงบเป็นสมาธิจนถึงระดับฌาน
ความสุขที่เกิดจากการปรุงแต่งในจิตใจ เป็นความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยวัตถุภายนอก
สุขจากการได้และเสพวัตถุ**
การเสพวัตถุผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น และกายของมนุษย์ที่อิงอาศัยวัตถุภายนอกเป็นตัวกลางสำคัญ
ในการสร้างความสุข
สุขจากการมีปัญญารู้เท่าทันตามเป็นจริงและมีจิตใจเป็นอิสระ
ความสุขที่เหนือจากการปรุงแต่ง
ธรรม 3 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์)
อกุศลธรรม (ธรรมที่เป็นอกุศล)
อัพยากตธรรม (ธรรมที่เป็นอัพยากฤต)
กุศลธรรม (ธรรมที่เป็นกุศล)
อนวัชชะ
คือความไม่มีโทษ เป็นภาวะจิตที่สมบูรณ์ ไม่ขุ่นมัว สะอาด
โกศลสัมภูต
เกิดจากปัญญา ความรู้ความเข้าใจ
อาโรคยะ
เป็นความไม่มีโรค
สุขวิบาก
มีสุขเป็นวิบาก
ภาวนา 4(การพัฒนา 4ด้าน)
ศีลภาวนา
: การพัฒนาพฤติกรรมให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย
ไม่เบียดเบียน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสันติ
จิตตภาวนา
: การฝึกอบรมพัฒนาจิตให้เข้มแข็งมั่นคง
กายภาวนา
: การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ปัญญาภาวนา :
การฝึกอบรมปัญญา
ให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง
อัตถะ 3(จุดหมายของชีวิต)
จุดหมายขั้นเลยตามองเห็น
หรือประโยชน์เบื้องหน้า
(สัมปรายิกัตถะ) ได้แก่ มีความอบอุ่น
จุดหมายสูงสุด
หรือประโยชน์อย่างยิ่ง (ปรมัตถะ) แม้จะถูกโลกธรรมกระทบ ถึงจะพบความผันผวนปรวนแปรก็ไม่หวั่นไหว
จุดหมายขั้นตาเห็น
หรือประโยชน์ปัจจุบันทันตา (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) คือ จุดหมายเพื่อตนหรือประโยชน์ตน ได้แก่ การมีสุขภาพดี
สุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธ
“ร่างกายเป็นรังแห่งโรค”
การที่ร่างกายเป็นฐานหรือที่ตั้งแห่งโรคย่อมจะเจ็บป่วยอย่างใดอย่างหนึ่งไม่มากก็น้อยเป็นธรรมดา
อีกคำหนึ่งคือ คำว่า
“อโรคฺย”
ไม่มีโรค ดังพุทธภาษิตว่า
“อาโรคฺยา ปรมา ลาภา”
แปลว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ