Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์ปกติ - Coggle Diagram
การตั้งครรภ์ปกติ
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์
1.การซักประวัติ อาการและอาการแสดงต่างๆของการตั้งครรภ์
1.1การขาดระดู
-ซักประวัติระดูอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีระดูสม่ำเสมออยู่แล้ว
-ประวัติระดูครั้งสุดท้ายซักให้ละเอียดว่ามีมาตรงและจำนวนเท่าที่เคยมีตามปกติหรือไม่
-ซักถามประวัติการใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งยาคุมกำเนิดอาจทำให้ระดูคลาดเคลื่อน
1.2อาการของการตั้งครรภ์
-อาการคลื่นไส้ หรือรู้สึกพะอืดพะอม อ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
-อาการเปลี่ยนแปลงที่เต้านม
-การรู้สึกเด็กดิ้นในครรภ์แรกประมาณ 18-20 สัปดาห์ และในครรภ์หลังประมาณ 16-18 สัปดาห์
2.การตรวจร่างกาย และการตรวจภายใน
2.1การเปลี่ยนแปลงที่เต้านม เต้านมจะใหญ่และตึงขึ้น บริเวณรอบเต้านมมีสีคล้ำขึ้น montgomery tubercles นูนขึ้นอย่างชัดเจน ถ้าครรภ์ 3-4 เดือนขึ้นไปบีบหัวนมจะได้น้ำนมเหลือง
2.2การเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะสืบพันธุ์ อวัยวะสืบพันธ์ภายนอก คือ vulva และช่องคลอดมีสีคล้ำขึ้น montgomery tubercles นูนขึ้นอย่างชัดเจน ถ้าครรภ์ 3-4 เดือนขึ้นไปบีบหัวนมจะได้น้ำนมเหลือง
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
การทดสอบการตั้งครรภ์โดยการตรวจหาฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (HCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างในขณะที่มีการตั้งครรภ์สามารถตรวจพบได้ทั้งในปัสสาวะและในเลือดดังนี้
3.1 การตรวจปัสสาวะควรใช้ปัสสาวะตื่นนอนครั้งแรกเพื่อให้ปัสสาวะเข้มข้นระดับฮอร์โมนจะพบได้สูงสามารถตรวจได้ตั้งแต่ 4-7 วันหลังขาดประจำเดือนขึ้นกับความไวของชุดตรวจสอ
3.2 การตรวจเลือดสามารถตรวจพบได้เร็วกว่าในปัสสาวะโดยสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ 7-9 วันหลังจากที่มีการปฏิสนธิ
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตสังคมของการตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย
ต่อมไร้ท่อ เพิ่มปริมาณฮอร์โมน ต่างๆ
อวัยวะสืบพันธ์ มดลูกอ่อนนุ่มลง รูปร่างรูปแพร์ เต้านมใหญ่ แข็งขึ้น
ทางเดินปัสสาวะ อาจติดเชื้อปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย
กล้ามเนื้อ กระดูกและผิวหนัง ปวดหลัง มีhyperpimentation , Chloasma , Gravidarum
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตสังคม
:red_flag:First Trimester
1-3 month, 1-13 weeks
เกิดความรู้สึกขัดแย้ง ลังเลใจ
:red_flag:Second Trimester
4-6 month, 14-26 weeks
ยอมรับการตั้งครรภ์ อารมณ์คงที่มากขึ้น
:red_flag:Third Trimester
7-9 month, 27-40 weeks
เกิดความกังวล เนื่องจากอายุครรภ์มากขึ้น ความไม่สุขสบายมากขึ้น
การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของทารกในครรภ์
Embryonal period
2-8 สัปดาห์หลังปฏิสนธิเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เป็นระยะที่มีความสำคัญสามารถเกิดความพิการได้ตั้งแต่เกิด
12-24 ชม. หลังจาก ovulation จะมีการปฏิสนธิ Zygote
วันที่ 2-3 จะมีลักษณะคล้ายน้อยหน่า
วันที่ 4-5 Blastocyte
วันที่ 6-7 เริ่มฝังตัวที่ผนังชั้นในโพรงมดลูก
วันที่ 14 ฝังตัวเสร็จสิ้นสมบูรณ์
สัปดาห์ที่3 : เริ่มมีการเจริญเติบโตของระบบไหลเวียนโลหิต
ปลายสัปดาห์ที่ 4 : หัวใจ & เยื่อหุ้มหัวใจเริ่มเห็นชัด
สัปดาห์ที่ 5 : สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เริ่มมีตุ่มแขน ขา & ตา
ปลายสัปดาห์ที่ 6 : เริ่มมีกระดูกอ่อน และใบหู
สัปดาห์ที่ 7-8 : รูปร่างเป็นคนชัดเจน อวัยวะภายในเกิดครบทุกอย่าง อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกมีแล้วแต่ยังไม่สามารถแยกเพศได้
Fetal period
สัปดาห์ที่ 9 จนถึง 40+-2 สัปดาห์หลังปฏิสนธิจะเป็นเรื่องของ growth & maturation ช่วงแรกจะเป็นการเพิ่มขนาดในช่วงหลังเป็นการเพิ่มน้ำหนัก
สัปดาห์ ที่ 12 : เริ่มมีขนอ่อน & เล็บเกิดขึ้น แยกเพศจากอวัยวะภายนอกได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย
สัปดาห์ ที่ 16 : มีผม & ขนคิ้ว เริ่มได้ยินเสียงหัวใจ มีการเคลื่อนไหวรุนแรง (quickening) รู้สึกได้ในมารดาที่เคยตั้งครรภ์
สัปดาห์ที่ 18-20 : มีการเคลื่อนไหว (quickening) รู้สึกได้ในมารดาครรภ์แรก ล าตัวเริ่มมีไขปกคลุม มีขนอ่อนเกิดขึ้น
สัปดาห์ที่ 24 : ยาว 30 ซม. หนัก 600 กรัม ศีรษะและล าตัวเริ่มได้สัดส่วน ฟังเสียงหัวใจได้ชัดเจน ตาทารกเริ่มลืม และนิ้วมือเริ่มมีลายนิ้วมือ เล็บเริ่มมีขนจิ๋ว ผิวหนังเหี่ยวย่น ไขมันบริเวณลำตัวหนาขึ้นถ้าทารกคลอดก่อนกำหนดในเดือนดังกล่าวนี้โอกาสจะเลียงรอดยากมาก
สัปดาห์ที่ 28 : ยาว 35 ซม. หนัก 1000-1100 กรัมระยะนี้คลอดออกมาอาจสามารถเลี้ยงรอดชีวิตยากมาก
สัปดาห์ที่ 32 : ยาว 40 ซม. หนัก 1700-1800 กรัม ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจาม ดูดมือ ดูดนิ้วเท้า
สัปดาห์ที่ 36 : ยาว 45 ซม. หนัก 2200 กรัม ขนอ่อนตามตัวจะค่อยๆหายไป ผมจะหนาและนุ่มขึ้นใบหูมีกระดูกอ่อน เด็กผู้ชายอัณฑะจะเคลื่อนมาอยู่บริเวณ Inguinal canal ถุงอัณฑะมีรอยย่นเล็กน้อย
สัปดาห์ที่ 40 : ยาว 50 ซม. หนัก 2500 กรัมผิวหนังสีชมพูมีไขมันตามล าตัวมาก ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง มีอวัยวะทุกอย่างครบถ้วน
อาการและอาการแสดงของการตั้งครรภ์
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1.Positive signs คือ อาการแสดงที่บ่งว่ามีการตั้งครรภ์อย่างแน่นอน
2.Probable signs คือ อาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
3.Presumptive signs คือ อาการแสดงที่บ่งชี้ว่าอาจจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
1.Positive signs ของการตั้งครรภ์ มี3ประการคือ
1.1ตรวจพบการเต้นของหัวใจทารก
1.2ตรวจพบการเคลื่อนไหวของทารกโดยแพทย์ ซึ่งเริ่มตรวจได้ทางหน้าท้องเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์
1.3ตรวจพบทารกโดยภาพทางรังสี หรือโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง จะเริ่มได้ยินเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 17 ถึง 19 สัปดาห์ อัตราการเต้นของหัวใจทารกประมาณ 120-160 ครั้งต่อนาที
2.Probable signs ของการตั้งครรภ์ อาการแสดงนี้บ่งว่าน่าจะมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ อาการแสดงนี้ประกอบด้วย
2.1 Abdominal enlargement ท้องขยายขนาดใหญ่ขึ้นประมาณอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขนาดมดลูกจะเริ่มอยู่เหนือระดับหัวหน่าวและจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ในครรภ์หลังจะสังเกตเห็นได้ชัดกว่าครรภ์แรกเนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อน
2.2 การเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง (shape) ขนาด (size) และความนุ่ม (consistency) ใน 2-3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์มดลูกจะโตขึ้นในแนวหน้าหลังต่อมาตัวมดลูกจะกลมขึ้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตรเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์การตรวจภายในอาจพบอาการแสดงที่ส่อว่ามีการตั้งครรภ์เช่นของมดลูก
-Goodel's sign มีลักษณะคือปากมดลูกนุ่มลงเขียวคล้ำขึ้นซึ่งอาจเกิดเร็วตั้งแต่อายุครรภ์ 4 สัปดาห์
-Ladin's sign ตรวจภายในพบว่ามดลูกนุ่มลงที่แนวกลางด้านหน้าตามแนวรอยต่อปากมดลูกและตัวมดลูก
-Piskacek's sign คือการตรวจภายในพบว่ามดลูกขยายใหญ่ออกไปข้างหนึ่งคล้ายมดลูกโตไม่สม่ำเสมอซึ่งเกิดจากการที่รกเกาะด้านข้างของมดลูกทำให้นูนเด่นออกไป แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นมดลูกจะโตสม่ำเสมอเท่า ๆ กัน
-Hegar's sign คือการที่ส่วน isthmus นุ่มมากสามารถกดเข้าหากันได้จากการตรวจภายในในขณะที่อีกมือหนึ่งกดทางหน้าท้องจะตรวจพบประมาณอายุครรภ์ 6 – 8 สัปดาห์
-McDonald's sign คือการที่มดลูกยืดหยุ่นหักงอได้ที่ตำแหน่ง uterocervical junction
-Von Ferwald's คือการที่มดลูกบริเวณยอดมดลูกในตำแหน่งที่รกเกาะนุ่มลง
2.3 การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกปากมดลูกจะนุ่นมากขึ้นเหมือนริมฝีปากแทนที่จะเหมือนกระดูกอ่อนของจมูกในสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่ถ้ารับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดปากมดลูกอาจจะนุ่มได้เหมือนกันถ้ามีการอักเสบหรือเป็นมะเร็งปากมดลูกอาจจะตรวจพบว่าปากมดลูกแข็งได้จนกว่าจะเข้าสู่ระยะคลอด
2.4 Braxton hicks contraction มดลูกของสตรีตั้งครรภ์จะหดตัวเป็นครั้งเป็นคราวไม่สม่ำเสมอโดยไม่มีอาการเจ็บปวดพบได้ในระยะแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ถ้านวดคลึงมดลูกจะหดรัดตัวถี่ขึ้นและแข็งแรงขึ้นได้ลักษณะการหดตัวแบบนี้อาจจะพบได้ใน hematoma และ pedunculated submucous myoma เป็นต้น
2.5 Ballottement เมื่อทารกมีขนาดโตขึ้นถึง mid pregnancy ทารกจะแช่อยู่ในน้ำคร่ำซึ่งมีปริมาณมากเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเด็กถ้าออกแรงกดบนตัวมดลูกจะทำให้ทารกจมลงไปในน้ำคร่ำแล้วลอยย้อนกลับมากระทบที่เดิมเรียกว่า ballottement สิ่งตรวจพบดังกล่าวอาจตรวจได้จากการตรวจภายใน
2.6 Outlining คลำได้ขอบเขตของทารกจะเริ่มคลำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 22 สัปดาห์โดยเฉพาะถ้าหน้าท้องไม่หนาผนังหน้าท้องหย่อนยิ่งอายุครรภ์มากขึ้นจะคลำได้ชัดขึ้น แต่อาจผิดพลาดได้ในกรณีของ subserous myoma
2.7 ผลการทดสอบทางฮอร์โมนให้ผลบวกการทดสอบโดยการตรวจหาฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (HCG) เป็นการทดสอบการตั้งครรภ์ที่ใช้กันในทางปฏิบัติมากที่สุดอาจตรวจจากเลือดหรือปัสสาวะถ้าตรวจพบ HCG แสดงว่ามี active trophoblast
3.Presumptive signs ของการตั้งครรภ์ ประกอบด้วยอาการและอาการแสดงต่างๆ มีดังนี้
3.1อาการแพ้ท้อง มักจะเริ่มปรากฏขึ้นขณะอายุครรภ์ 6 สัปดาห์ และจะหายไปเองในอีก 6-12 สัปดาห์ต่อมา
3.2ปัสสาวะบ่อย ในไตรมาสแรกมดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะมากดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย
3.3อ่อนเพลีย พบในการตั้งครรภ์ระยะแรก เป็นอาการหนึ่งของการตั้งครรภ์
3.4รู้สึกว่าเด็กดิ้น จะเริ่มรู้สึกประมาณอายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวจะบ่อยขึ้นและแรงขึ้น การดิ้นของทารกในครรภ์ที่มารดารู้สึกได้เป็นครั้งแรก เรียกว่า quickening ในครรภ์แรกเริ่มรู้สึกประมาณอายุครรภ์ 18-20สัปดาห์
3.5การขาดประจำเดือน สตรีที่มีประจำเดือนมาเป็นรอบสม่ำเสมอดีมาตลอด ถ้าประจำเดือนขาดหายไปทันทีหรือเกิน 10 วันแล้วยังไม่มา ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะตั้งครรภ์
3.6 การเปลี่ยนแปลงของเต้านมชัดเจนในครรภ์แรกมากกว่าครรภ์หลังบริเวณ areola จะกว้างออกมีสีคล้ำเนื่องจากมี pigment มากขึ้น sebaceous glands บริเวณ areola ขยายขนาดโตขึ้นเรียก montgomery tubercles เต้านมใหญ่ขึ้นคัดตึงขึ้นอาจเกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนหลายตัวเช่นเอสโตรเจนโปรเจสเตอโรนและโปรแลคตินเป็นต้น
3.7 สีของเนื้อเยื่อบุช่องคลอดและปากมดลูกคล้ำขึ้นเป็นสีน้ำเงินหรือม่วงแดงเนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก (congested) เรียกว่า Chadwick's sign ภาวะนี้อาจพบได้ในภาวะอื่นที่มี congestion ของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
3.8 ผิวหนังมีเม็ดสีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องมี pigmentation เพิ่มขึ้นเรียกว่า abdominal striae ถ้าเป็นที่บริเวณหน้าโหนกแก้มหน้าผากและจมูกเรียกว่า chloasma หรือ the mask of pregnancy ถ้าเป็นแถบสีดำกลางท้องน้อยเรียกว่า linea nigra การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด