Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โครงการพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
…
โครงการพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
- โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์
-
-
-
-
การเดินทาง : จากถนนสุขสวัสดิ์ ไปยังถนนนครเขื่อนขันธ์ วิ่งเข้าถึงตลาดพระประแดง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรหึงษ์ ตรงไปเรื่อยๆ ก็จะถึงสวนสุขภาพลัดโพธิ์และโครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์
โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2545 “ให้พิจารณาใช้คลองลัดโพธิ์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นทางลัดระบายน้ำเหนือ ซึ่งจะทำให้ช่วยระบายน้ำได้เร็วเพราะระยะทางสั้นเพียง 600 เมตร ก็ออกทะเลหากวันใดมีน้ำทะเลขึ้นสูงก็ปิดประตูไม่ให้น้ำทะเลเข้ามา” โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ฯ ตั้งอยู่ในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง สร้างเสร็จเมื่อปี 2548 สามารถร่นระยะทางการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาจาก 18 กิโลเมตร เหลือ 600 เมตร และลดเวลาจาก 5 ชั่วโมง เหลือเพียง 10 นาที ประสิทธิภาพการระบายน้ำสูงสุดเฉลี่ย 45-50 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน ทำให้ช่วยลดผลกระทบน้ำท่วมต่อพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
"คลองลัดโพธิ์" นอกจากจะช่วยป้องกันเรื่องภัยน้ำท่วมได้แล้ว ทุกวันนี้บริเวณละแวกคลองลัดโพธิ์ยังได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ที่มีความน่าสนใจและเชิญชวนให้ไปเที่ยวกัน เพราะบริเวณคลองลัดโพธิ์ได้จัดทำเป็นสวนสาธารณะ ชื่อ “สวนสุขภาพลัดโพธิ์” ที่มีความร่นรื่นด้วยต้นไม่น้อยใหญ่ ให้ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อยใจ ออกกำลังกายได้ โดยบริเวณใกล้เคียงกับคลองลัดโพธิ์ก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ อาทิ ชุมชนคลองบางกะเจ้า, สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า“สวนบางกระเจ้า” และ“ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง” เป็นต้น
- โครงการพัฒนาดอยตุง
-
-
เนื่องด้วยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีความสนพระทัยที่จะพัฒนาพื้นที่ดอยตุง จังหวัดเชียงรายให้เป็นพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด และเป็นโครงการทดลองรูปแบบการพัฒนาเบ็ดเสร็จ เพื่อจะขยายผลการช่วยเหลือประชาชน ในพื้นที่ต่าง ๆ เนื่องจากทรงเจริญพระชนมพรรษามาก แล้วการที่จะแปรพระราชฐานไปยังพื้นที่ต่าง ๆ คงไม่สามารถทรงงานเช่นเดิมได้
เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณที่เห็น สมควรจะ สร้างพระตำหนัก ได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับหม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ "ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง" จะไม่เสด็จฯไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากพระชนมายุ 90 พรรษา และ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก พร้อมกับทรงมีรับสั่งกับผู้เข้า เฝ้าทูลละอองพระบาทว่า "อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุง แต่คงจะต้อง ใช้ระยะเวลายาวนานมาก อาจจะเป็นเวลานานถึง 10 ปี"
จากพระราชประสงค์ดังกล่าว จึงมีรับสั่งในเรื่องการพัฒนาดอยตุงกับผู้บัญชาการทหารบกและคณะ ในการเข้าเฝ้า กราบบังคมทูล ขอถวายรายงาน การจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง เมื่อต้นเดือนมกราคม 2530 เพื่อพิจารณาดำเนินการพัฒนา ตามความเหมาะสม คณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุง จ.เชียงราย ได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานในพื้นที่ทรงงาน โครงการพัฒนาดอยตุงตามคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในที่ 55/2531 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2531 ให้มีหน้าที่พิจารณา กำหนดพื้นที่ทรงงานและวางแผนให้เหมาะสม การดำเนินงานในพื้นที่ทรงงานได้เริ่มในปลายปีงบประมาณ 2531 เป็นต้นมา
ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้เข้ามาสนับสนุนโครงการ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมนี้ได้มอบให้กรมป่าไม้เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารโครงการฯ คณะทำงานฯ ได้จัดทำแผนงานโครงการมี คณะกรรมการ กปร. ให้การสนับสนุนงบประมาณ 3 ปี คือตั้งแต่ปี 2532-2534
-
วัตถุประสงค์โครงการ :
พัฒนาสภาพแวดล้อมที่เคยเสื่อมโทรมให้กลับมีสภาพที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม การแก้ไขปัญหาความยากจนและสุขภาพอนามัย ของราษฎรในพื้นที่ ตลอดจนเป็นการลดความรุนแรงของปัญหาพืชเสพติดในพื้นที่
-
ผู้ได้รับประโยชน์ :
กลุ่มบ้านรวมทั้งสิ้น 27 หมู่บ้าน/กลุ่มบ้าน 1,602 ครัวเรือน มีครัวเรือนขนาดใหญ่เล็กต่างๆ กัน โดยเฉลี่ยประมาณ 59.30 ครัวเรือนต่อกลุ่มบ้าน โดยกลุ่มบ้านที่ใหญ่ที่สุด ได้แก่ บ้านห้วยน้ำขุ่นมีจำนวน 402 ครัวเรือน และครัวเรือนที่เล็กที่สุด ได้แก่ บ้านเล่าล่อโจ๋ มีจำนวน 6 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดประกอบด้วยชาว ไทยภูเขา ได้แก่ อีก้อ มูเซอ ลีซอ เย้า ลั้วะ และชนกลุ่มน้อย (ไทยใหญ่ จีนฮ่อ) ตลอดจนชาวไทย พื้นราบ โดยประชากรในพื้นที่มีรายได้ ส่วนใหญ่จากการ ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาได้แก่ การเกษตรกรรม
-
การดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้
-
2.พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่
-
4.พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่
5.พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่
6.พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่
-
-
-งานทดสอบปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ ดูแลไม้ดอกที่เป็นแม่พันธุ์ คัดพันธุ์ทดสอบพืชเศรษฐกิจ เพื่อค้นหาพันธุ์ ที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของ คพต.พ. งานทดลองปลูกและขยายพันธุ์ RHODODENDRON, AZALEA และงานปรับปรุง พันธุ์หน้าวัว
-
-ดำเนินการปลูก AZALEA จำนวน 89 สายพันธุ์ RHODODENDRON จำนวน 60 สายพันธุ์ และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกบริเวณสวน ทั้งหมดพร้อมต้นไม้ใหญ่ โดยกำจัดวัชพืชแปลงต่าง ๆ
-
-
-โดยการจัดส่งเจ้าหน้าที่ 10 คน เข้าไปประจำอยู่ใน 26 หมู่บ้าน เพื่อประสานงานกับส่วนราชการ และประสานการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ สำรวจข้อมูลสภาพเศรษฐกิจ - สังคม การประกอบอาชีพรายได้ - รายจ่ายของราษฎร เพื่อทำเป็นข้อมูลในการ วางแผนการพัฒนาต่อไป
-
-
-
-
-จัดประชุมสัมมนากลุ่มผู้นำประเพณีพื้นบ้าน ผู้นำหมู่บ้านและกรรมการหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมผู้ประสานงาน คพต. ประจำหมู่บ้าน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มพัฒนาสตรีประจำหมู่บ้าน
-
-จัดจ้างผู้ดูแลเด็ก เพื่อปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและจัดซื้อวัสดุ - อุปกรณ์ สำหรับการจัดทำ สื่อการเรียนการสอน
-
-จัดจ้างพี่เลี้ยงเด็กเพื่อดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กอ่อน และเชิญเจ้าหน้าที่พยาบาลจากโรงพยาบาล และสถานีอนามัยมาให้คำแนะนำ ตรวจสุขภาพให้กับเด็ก จัดซื้อวัสดุใช้สอยให้แก่ศูนย์เด็กอ่อน
-
-ให้คำปรึกษาและเจาะโลหิตตรวจหาเชื้อเอชไอวี ให้แก่ หญิงตั้งครรภ์ กลุ่มวัยเจริญพันธุ์ในรายที่สมัครใจ จัดนิทรรศการเผยแพร่ให้ ความรู้ให้แก่ราษฎร
-
-งานไม้หัว ได้มีการปลูกไม้หัวชนิดต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายและขยายพันธุ์ เช่น แกลดิโอลัส บอนชมพู บอนขาว เป็นต้น และได้ส่งผลผลิตจาก ไม้หัวให้บริษัท นวุตะ จำกัด คือ บัวดินขาว ว่านแสงอาทิตย์ ฯลฯ
-
-งานผักปลอดสารพิษ เช่น ผักสลัดชนิดต่าง ๆ คะน้า ถั่วลันเตา ฯลฯ หมุนเวียนตลอดปี เพื่อจำหน่าย และบริโภค
- งานพื้นที่ 30 ไร่ ได้ทำการปลูกไม้ยืนต้น และพืชผักเสริมชนิดต่าง ๆ
-งานไม้ดอกไม้ประดับ ผลผลิตที่ได้จะจัดแบ่งไว้เพื่อตกแต่งภายในบริเวณศูนย์ บางส่วนเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้และสนับสนุนหน่วยงานราชการต่าง ๆ
-งานการผลิตเห็ด เช่น เห็ดนางฟ้า นางรม ฮังการี ผลผลิตที่ได้ส่งจำหน่ายห้องอาหารของโครงการ และลูกค้าทั่วไป
-งานเกษตรอื่น ๆ มีผลผลิตส่งจำหน่ายได้ เช่น สิบสองปันนาต้นใหญ่ ยูคาลิปตัส บัว เฟิร์น ASPARAGUS เป็นต้น
-
การดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้
-
2.พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่
-
4.พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่
5.พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่
6.พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่
-
-
-งานทดสอบปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ ดูแลไม้ดอกที่เป็นแม่พันธุ์ คัดพันธุ์ทดสอบพืชเศรษฐกิจ เพื่อค้นหาพันธุ์ ที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของ คพต.พ. งานทดลองปลูกและขยายพันธุ์ RHODODENDRON, AZALEA และงานปรับปรุง พันธุ์หน้าวัว
-
-ดำเนินการปลูก AZALEA จำนวน 89 สายพันธุ์ RHODODENDRON จำนวน 60 สายพันธุ์ และบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกบริเวณสวน ทั้งหมดพร้อมต้นไม้ใหญ่ โดยกำจัดวัชพืชแปลงต่าง ๆ
-
-
-โดยการจัดส่งเจ้าหน้าที่ 10 คน เข้าไปประจำอยู่ใน 26 หมู่บ้าน เพื่อประสานงานกับส่วนราชการ และประสานการ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ สำรวจข้อมูลสภาพเศรษฐกิจ - สังคม การประกอบอาชีพรายได้ - รายจ่ายของราษฎร เพื่อทำเป็นข้อมูลในการ วางแผนการพัฒนาต่อไป
-
-
-
-
-จัดประชุมสัมมนากลุ่มผู้นำประเพณีพื้นบ้าน ผู้นำหมู่บ้านและกรรมการหมู่บ้าน จัดฝึกอบรมผู้ประสานงาน คพต. ประจำหมู่บ้าน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มพัฒนาสตรีประจำหมู่บ้าน
-
-จัดจ้างผู้ดูแลเด็ก เพื่อปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและจัดซื้อวัสดุ - อุปกรณ์ สำหรับการจัดทำ สื่อการเรียนการสอน
-
-จัดจ้างพี่เลี้ยงเด็กเพื่อดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กอ่อน และเชิญเจ้าหน้าที่พยาบาลจากโรงพยาบาล และสถานีอนามัยมาให้คำแนะนำ ตรวจสุขภาพให้กับเด็ก จัดซื้อวัสดุใช้สอยให้แก่ศูนย์เด็กอ่อน
-
-ให้คำปรึกษาและเจาะโลหิตตรวจหาเชื้อเอชไอวี ให้แก่ หญิงตั้งครรภ์ กลุ่มวัยเจริญพันธุ์ในรายที่สมัครใจ จัดนิทรรศการเผยแพร่ให้ ความรู้ให้แก่ราษฎร
-
-งานไม้หัว ได้มีการปลูกไม้หัวชนิดต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายและขยายพันธุ์ เช่น แกลดิโอลัส บอนชมพู บอนขาว เป็นต้น และได้ส่งผลผลิตจาก ไม้หัวให้บริษัท นวุตะ จำกัด คือ บัวดินขาว ว่านแสงอาทิตย์ ฯลฯ
-
-งานผักปลอดสารพิษ เช่น ผักสลัดชนิดต่าง ๆ คะน้า ถั่วลันเตา ฯลฯ หมุนเวียนตลอดปี เพื่อจำหน่าย และบริโภค
- งานพื้นที่ 30 ไร่ ได้ทำการปลูกไม้ยืนต้น และพืชผักเสริมชนิดต่าง ๆ
-งานไม้ดอกไม้ประดับ ผลผลิตที่ได้จะจัดแบ่งไว้เพื่อตกแต่งภายในบริเวณศูนย์ บางส่วนเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้และสนับสนุนหน่วยงานราชการต่าง ๆ
-งานการผลิตเห็ด เช่น เห็ดนางฟ้า นางรม ฮังการี ผลผลิตที่ได้ส่งจำหน่ายห้องอาหารของโครงการ และลูกค้าทั่วไป
-งานเกษตรอื่น ๆ มีผลผลิตส่งจำหน่ายได้ เช่น สิบสองปันนาต้นใหญ่ ยูคาลิปตัส บัว เฟิร์น ASPARAGUS เป็นต้น
ความสำเร็จของโครงการ :
การปลูกป่าพร้อมกับการสร้างอาชีพทางเลือกใหม่เปิดโอกาสให้คนบนดอยตุงมีอาชีพ มีรายได้ เกิดการจ้างงานมากขึ้น ผลผลิตและการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงอันเกิดจากการฝึกทักษะงานต่างๆ ให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่ราษฎรได้รับ จากการปลูกฝิ่น เป็นรายได้สุจริต ป่าเศรษฐกิจที่ปลูกพืชให้ผลผลิตราคาสูงคือ กาแฟและแมคคาเดเมีย หัตถกรรมงานฝีมือต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา งานเย็บปักทอผ้าหรือการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ ทุกวันนี้ผลผลิตของดอยตุงมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ดอยตุงชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวอบอุ่น ไม่มีการโยกย้ายถิ่นเพื่อความอยู่รอดไปทำงานในเมืองหรือจังหวัดอื่นๆด้วยอาชีพที่สังคมไม่ยอมรับ ดั่งเช่นการค้าประเวณี การป้องกันปัญหายาเสพติดคนบนดอยตุงจะช่วยกันเป็นหูเป็นตาสอดส่อง มีอาชีพที่มั่นคง ความรู้ทักษะใหม่ๆ ความสมบูรณ์ของป่าและต้นน้ำ จิตสำนึกรักป่า คุณภาพชีวิตที่ดี และที่สำคัญคือ ศักดิ์ศรีของความเป็นคนที่ยืนหยัดพึ่งตนเองได้ด้วยอาชีพที่สุจริต
- โครงการชั่งหัวมัน
โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ตั้งอยู่ใน อ.ท่ายาง จ. เพชรบุรี เกิดขึ้นจากความเอาพระทัยใส่ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีต่อเกษตรกรในการที่จะพัฒนาส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้ประสบความสำเร็จและสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
เนื้อที่ภายในโครงการกว้างไกลตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา ในพื้นที่แห่งนี้ สภาพเดิมโดยทั่วไปแห้งแล้งเจ้าของเดิมปลูกต้นยูคาลิปตัสตัดไม้ขายมีแปลงปลูก มะนาวเดิมอยู่ประมาณ 35 ไร่แปลงอ้อยประมาณ 30 ไร่ การพัฒนาพื้นที่ส่วนที่เป็นแปลงยูคาลิปตัสทั้งหมด แต่ปัจจุบันได้ จัดสรรทำการเกษตรเป็นอย่างดี มีทั้งแปลงพืชเศรษฐกิจที่ปลูกหลายชนิด อาทิ สับปะรด มะนาว มะพร้าว รวมทั้งมันเทศ นอกเหนือจากพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ ก็ยังมีการปลูกไม้ผล พืชไร่ และพืชผักต่างๆ อาทิ แก้วมังกร ชมพู่เพชร กล้วย ฟักทอง กะเพรา โหระพา พริก ฯลฯ มีแปลงปลูกข้าว ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ปลูกยางพารา โดยทั้งหมดนี้จะเน้นไม่ให้มีการใช้สารเคมี หรือหากต้องใช้ก็ต้องมีในปริมาณที่น้อยที่สุด มีฟาร์มโคนม ฟาร์มไก่ และแปลงเกษตรที่จัดเป็นสวน สวยให้คนที่แวะมาเยี่ยมชม
-
ที่มาของโครงการนี้ เริ่มตอนที่ตอนพระองค์ท่านประทับอยู่ ณ วังไกลกังวลแล้วมีชาวบ้านนำมันเทศมาถวาย ช่วงนั้นพระองค์ ต้องเสด็จกลับกรุงเทพ เลยรับสั่งให้เจ้าหน้าที่นำหัวมันเทศไปวางไว้บนตาชั่งในห้องทรงงาน เวลาล่วงเป็นเดือนเมื่อเสด็จกลับมาหัวหินทรงพบว่า มันเทศนั้นได้แตกใบ เลยตรัสว่า “มัน อยู่ที่ไหนก็ขึ้น”ดังนั้นจึงมีพระราชดำริให้จัดหาที่ดิน เพื่อทำโครงการด้านการเกษตร ปี พ.ศ. 2551 ก็ได้ซื้อที่ดินจำนวน 120 ไร่ และต่อมาในกลางปี 2552 ทรงซื้อที่ดินแปลงติดกันเพิ่มอีก ณ บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 250 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์รวบรวมพืชเศรษฐกิจนานาชนิด เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอท่ายางจังหวัดเพชรบุรี ที่มีพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทรงพระราชทานพันธุ์มันเทศซึ่งงอกออกมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งในห้องทรงงานที่วังไกลกังวล ให้นำมาปลูกไว้ที่ที่ดินแปลงนี้พระราชทาน ชื่อโครงการว่า “โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ” โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมโครงการนี้ด้วยพระองค์เอง มีพระตำหนักทรงงานที่ตั้งอยู่ภายในโครงการเป็นบ้านไม้สองชั้นเรียบง่ายที่ใช้ทรงงานและพักผ่อนพระอิริยาบถเมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมโครงการนี้ รวมถึงรถที่ทรงใช้ทรงงานก็จอดอยู่ภายในบริเวณพระตำหนักด้วย
นอกจากนี้ได้สร้างกังหันลมผลิตไฟฟ้าขาย ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และบริษัท พระพายเทคโนโลยี จำกัด ร่วมกันออกแบบติดตั้ง กังหันลมและระบบจำหน่ายไฟฟ้าจำนวน 20 ชุด ขนาดกำลังผลิตรวม 50 KW ได้รับการ สนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากกองทัพบก และได้รับพระราชทานวัวนมจากโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดามาเลี้ยงไว้ที่นี่ โดยใช้พื้นที่ใต้กังหันลมเป็น พื้นที่ปลูกหญ้าสำหรับ เลี้ยงวัว ด้านหน้ามีร้านโกลเด้นท์เพลส ซึ่งเป็นร้านขายสินค้าทางการเกษตรแบบปลอดสารพิษรวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆของโครงการ
ส่วนหนึ่งของโครงการนี้ได้ให้ชาวบ้านเข้ามาศึกษาดูงาน นับเป็นโครงการส่วนพระองค์ที่แท้จริงรวมถึงเป็นพื้นที่ให้ศึกษาดูงานสำหรับ ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา มาได้เป็นครอบครัวหรือหมู่คณะ โดยได้มีรถรงพานำชมทั่วไร่พร้อมวิทยากรบรรยายตามแต่ละจุด เปิดให้ชมตั้งแต่ 08.30 น.-18. 00 น. นอกจากนี้ยังมีบริการจักรยานรองรับผู้เข้าชมและห้องชมวีดิทัศน์ของโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ภายในโครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริจัดเตรียมไว้ สำหรับให้ความรู้ด้านการเกษตร รวมถึงมีจักรยานให้ปั่นรอบโครงการ ซึ่งโครงการฯได้ขอความร่วมมือเก็บค่าบริการเข้าชม สำหรับผู้ใหญ่ ( อายุ 15 ปีขึ้นไป ) ท่านละ 20 บาท นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในเครื่องแบบคนละ 10 บาท ส่วน พระสงฆ์ สามเณร แม่ชี นักบวช ผู้พิการ และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ได้รับการยกเว้นค่าบริการ หากต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะควรติดต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.032 472 700-1
- ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อน
พระราชดำริ
เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินมาเปิดศาลพระบวรราชานุสาวรีย์ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ณ ที่นั้น ราษฎร ๗ ราย ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน บริเวณหมู่ ๒ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน ๒๖๔ ไร่ เพื่อต้องการให้สร้างพระตำหนัก ด้วยเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปที่ไหนก็พยายามที่จะพัฒนาทำให้ที่ดินเจริญขึ้น เนื่องจากผืนดินเสื่อมโทรมไม่สามารถทำการเกษตรได้ ดังพระราชดำรัส
..ประวัติมีว่า ตอนแรกมีที่ดิน ๒๖๔ ไร่ ที่ผู้ใหญ่บ้านให้เพื่อสร้างตำหนัก ในปี ๒๕๒๒ ที่เชิงเขาหินซ้อนใกล้วัดเขาหินซ้อน ตอนแรก ก็ต้องค้นคว้าว่าที่ตรงนั้นคือตรงไหน ก็พยายามสืบถามก็ได้พบบนแผนที่พอดี อยู่มุมบนของระวางของแผนที่ จึงต้องต่อแผนที่ ๔ ระวาง สำหรับให้ได้ทราบว่าสถานที่ตรงนั้นอยู่ตรงไหน ก็เลยถามผู้ที่ให้ที่นั้นนะ ถ้าหากไม่สร้างตำหนัก แต่ว่าสร้างเป็นสถานที่ที่จะศึกษาเกี่ยวกับ การเกษตรจะเอาไหม เขาก็บอกยินดี ก็เคยเริ่มทำในที่นั้น...
การดำเนินงานของศูนย์ฯ เขาหินซ้อนฯ ได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมการศึกษา ทดลอง วิจัย และการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ดินทรายจัดเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีรูปแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว โดยให้บริการแก่ประชาชนและเกษตรกรที่เข้ามาศึกษาหาความรู้ ณ ที่แห่งเดียวในทุกสาขาวิชาชีพ เสมือน ”พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต” เป็นตัวอย่างแห่งความสำเร็จในด้านการเกษตรกรรม และการพัฒนาอาชีพ เพื่อเป็นต้นแบบ และแนวทางให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติในพื้นที่ต่อไป โดยเฉพาะหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน ๑๕ หมู่บ้าน เนื้อที่ ๑๑๓,๒๑๔ ไร่
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ในการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาแห่งนี้ มีลักษณะการดำเนินงานแบบผสมผสาน มีหน่วยงานต่างๆรวมกันดำเนินงานในพื้นที่ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมชลประทาน กรมพัฒนาชุมชน กรมโยธาธิการ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีฉะเชิงเทรา และมีหน่วยงานนอกศูนย์ฯ ตลอดจนภาคเอกชน สนับสนุนการดำเนินการอีกมาก โดยมีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหลักประสานการดำเนินการ และบริหารงานโดยคณะกรรมการ คณะทำงานต่างๆ ทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ
-
๑. พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ ประมาณ ๑,๒๕๐ ไร่
-
๓. หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ พื้นที่ลุ่มน้ำโจน จำนวน ๑๕ หมู่บ้านในเขตตำบลเขาหินซ้อน และตำบลเกาะขนุน มีเนื้อที่ประมาณ ๑๑๓,๒๑๔ ไร่
๔. พื้นที่ราษฎรน้อมเกล้าฯ ถวาย บริเวณตำบลบ้านซ่องและตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสาร คาม มีเนื้อที่ ๓๓ ไร่
๕. โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณเขาชะโงก จังหวัดนครนายก มีเนื้อที่ประมาณ ๒๓,๑๕๗ ไร่
การดำเนินงานภานในศูนย์ฯ
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์ฯ ได้ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติพื้นฐาน เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประกอบการเกษตรได้อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ กล่าวคือได้จัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง สร้างสภาพป่าและไม้ยืนต้นในบริเวณโครงการและพื้นที่ข้างเคียงเป็นการปรับสภาพแวดล้อมและเพิ่มความชุ่มชื้นให้มากขึ้น สร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดินซึ่งปัจจุบันพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้ใช้หญ้าแฝกในการดำเนินการดังกล่าว และปรับปรุงบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ขึ้นหลังจากนั้นได้ศึกษาหาเทคโนโลยีพัฒนาการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ โดยเน้นวิธีการผสมผสานเป็นการรักษาสมดุลธรรมชาติและประหยัด เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรเข้าศึกษาหาความรู้ นำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเองได้ ตลอดจนใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมศึกษาดูงานของผู้สนใจทั่วไป จากนั้นได้ขยายผลออกสู่หมู่บ้านบริเวณรอบศูนย์ให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ มีผู้เข้าสนใจเข้าเยี่ยมชมศูนย์ฯ รวมทั้งรับการฝึกอบรม รวมทั้งสิ้น ๑๓๓,๗๔๑ ราย โดยศูนย์ฯ มีผลการดำเนินงานสรุปได้ดังนี้
-
-
1 เกษตรกร และผู้สนใจ เข้าเยี่ยมชมแปลงสาธิตการพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งในด้านการเกษตร การพัฒนาและอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ในลักษณะแหล่งเรียนรู้และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำ ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตให้เกิดการพึ่งตนเองได้
2 เกษตรกรหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ บริเวณลุ่มน้ำโจนมีน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภคและเพื่อการเกษตร รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
3 นำผลการศึกษา ทดลอง วิจัยทางการเกษตรและการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทางกายภาพและสังคมมาเผยแพร่ ขยายผล
-
แผนที่การเดินทาง
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร ทางทิศตะวันออก อยู่บนฝั่งขวาของถนนฉะเชิงเทรา -กบินทร์บุรี ตามทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๐๔ ห่างจากที่ว่าการอำเภอพนมสารคาม ประมาณ ๑๕ กิโลเมตร