Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อำนาจอธิปไตย - Coggle Diagram
อำนาจอธิปไตย
ประเภทของอำนาจอธิปไตย
- อำนาจอธิปไตยทางกฎหมาย (Legal Sovereignty) ได้แก่ ผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ สามารถที่จะบังคับให้มีการปฏิบัติตามความปรารถนาของผู้มีและผู้ใช้อำนาจอธิปไตยนั้น ๆ ได้ กล่าวคือ บุคคลใดก็ตามหรือองค์กรใดก็ตามที่มีอำนาจอธิปไตยแล้ว ย่อมมีอำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายมาใช้บังคับในรัฐได้
- อำนาจอธิปไตยทางการเมือง (Political Sovereignty) ถ้าพิจารณาแล้วจะเห็นว่าอำนาจอธิปไตยทางการเมืองนี้ จะเป็นผู้กำหนดตัวผู้ใช้อำนาจสูงสุดทางกฎหมาย กล่าวคือ ประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งก็ได้ ใช้อำนาจทางการเมืองเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเข้าไปดำรงตำแหน่งในสภานิติบัญญัติ ทำหน้าที่ออกกฎหมายต่อไป จึงอาจจะกล่าวได้ว่า ประเทศประชาธิปไตยนั้นสภานิติบัญญัติเป็นผู้แสดงเจตนารมณ์ของปวงชน ภายใต้อำนาจทางการเมืองของปวงชนนั้นเอง อำนาจทางการเมืองจึงอยู่เหนืออำนาจทางกฎหมาย ทั้งสองอย่างนั้นจะสอดคล้องไปในแนวเดียวกัน
- อำนาจอธิปไตยตามข้อเท็จจริง (De Facto Sovereignty) หมายถึง อำนาจอธิปไตยที่ได้มาโดยการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจผู้ปกครองซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกรณีดังนี้คือ เมื่อมีกลุ่มบุคคลทำการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลด้วยการใช้กำลังและยึดอำนาจได้สำเร็จสามารถบังคับประชาชน ชุมชน และประเทศให้ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของคณะผู้ยึดอำนาจกลุ่มบุคคลดังกล่าวจะได้ชื่อว่า มีอำนาจอธิปไตยตามความเป็นจริงอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งรัฐบาลนั้นสามารถปกครองประเทศได้อย่างมั่นคงประชาชนให้การยอมรับโดยทั่วไปแล้วก็จะกลายเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายแทนรัฐบาลเดิมต่อไป
- อำนาจอธิปไตยในเชิงนิตินัย (De Jure Sovereignty) เป็นอำนาจอธิปไตยที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่การได้มาโดยการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ รัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยในลักษณะนี้ เป็นรัฐบาลที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการทางการเมืองและวิถีทางทางการเมือง เช่น รัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยที่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดหลักการและกระบวนการไว้อย่างชัดเจนว่า รัฐบาลนั้นจะต้องเป็นรัฐบาลที่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งอาจจะกำหนด 5 ปี เลือกครั้งหนึ่งหรือ 4 ปีเลือกครั้งหนึ่ง ฉะนั้นจึงเรียกรัฐบาลที่เกิดขึ้นในทำนองนี้ว่า รัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายหรือรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยในเชิงนิตินั
- อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มีไว้เพื่อคุ้มครองป้องกันรัฐ ไม่ให้รัฐอื่นเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในรัฐได้รัฐมีความสามารถที่จะดำเนินการใด ๆ ในรัฐของตนได้อย่างอิสรภาพเสรีภาพ รวมถึงอำนาจของรัฐในการที่จะดำเนินกิจการระหว่างประเทศ การแก้ปัญหาระหว่างประเทศ เช่น ประเทศไทยดำเนินการแก้ปัญหาในประเทศกัมพูชาอยู่ในปัจจุบัน และรวมไปถึงการประกาศสงครามและอื่น ๆ ที่เป็นนโยบายระหว่างประเทศ อันแสดงออกถึงความเป็นเอกราชของรัฐนั้น ๆ ท่ามกลางสังคมรัฐในโลกนั้นเอง
-
ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
-
-
ความถาวร (Permanence)
อำนาจอธิปไตยย่อมอยู่กับรัฐเสมอไปโดยไม่สูญหาย นักปรัชญาการเมืองกล่าวว่าการมีอำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบข้อหนึ่งของรัฐ เพราะฉะนั้นถ้าสูญสิ้นอำนาจอธิปไตยก็เท่ากับว่าสูญสิ้นความเป็นรัฐ
-
-