Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลอดลมอักเฉียบพลัน (Acute bronchitis) - Coggle Diagram
หลอดลมอักเฉียบพลัน (Acute bronchitis)
พยาธิสภาพ
การอักเสบของเยื่อบุผิวภายในหลอดลม ทำให้ต่อมเมือก (mucous gland) โตขึ้นและหลังเมือก (เสมหะ) ออกมามากกว่าปกติ อุดกั้นให้ช่องทางเดินหลอดลมแคบลง ส่งผลให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ บางครั้งอาจมีอาการหอบเหนื่อยร่วมด้วย
Acute bronchitis
พบได้บ่อยในทุกวัย มักพบหลังเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้นและในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่หรือสัมผัสถูกสิ่งระคายเคืองส่วนใหญ่มักหายได้เองและไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงมีอาการไอ มีเสมหะเป็นระยะเวลามากกว่า 1 สัปดาห์
ผู้ป่วยมีอาการหลังจาก เป็นไข้หวัด
Chronic bronchitis
อาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ (โรคหืด asthma) หรือเกิดจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน [อยู่ในกลุ่มของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstruction pulmonary disease : COPD) คือมีอาการไอ มีเสมหะมากกว่า 3 เดือน/ปี เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ]
ภาวะแทรกซ้อน
ถ้าให้การรักษาไม่ถูกต้อง การติดเชื้อจากหลอดลมอาจลามไปที่ปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบเฉียบพลัน อาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือถุงลมโป่งพองได้
สาเหตุ
จากการติดเชื้อ
ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับที่ก่อให้เกิดไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ และติดต่อแบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย มักพบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ
จากการถูกสิ่งระคายเคือง
ที่พบบ่อย คือ การสูบบุหรี่ ซึ่งทำให้ขนอ่อน (Cillia) ที่เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหวน้อยลง เยื่อบุหลอดลมถูกระคายเคือง ทำให้ต่อมเมือกโตขึ้น มีเสมหะมากขึ้น
นอกจากนี้อาจเกิดจากควัน ไอเสียรถยนต์ฝุ่นละออง สารเคมีรวมทั้งการระคายเคืองจากน้ำย่อยในผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน พบได้บ่อยในผู้ที่สูบบุหรี่ หรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งระคายเคือง อาตเป็นๆหายๆ บ่อยและอาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
อาการ
ระยะที่ 2 (tracheobronchial phase)
ระยะเวลา 4-6 วัน เป็นช่วงที่มีอาการทางหลอดคอและหลอดลม เริ่มด้วยไอแห้ง ต่อมาไอมีเสมหะ อาจมีไข้ได้
ระยะที่ 1 (prodromal phase)
ระยะเวลา 2-3 วัน เป็นช่วงที่มีอาการไข้ น้ำมูก คัดจมูก ไอ
ระยะที่ 3 (recovery phase)
ระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ อาการไอและมีเสมหะจะค่อยๆ ลดลงและหายไป ในระยะนี้อาจมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้
อาการของกรณีศึกษา
มีอาการหายใจเหนื่อย
ไอ มีเสมหะ 3 วัน
มีไข้
การตรวจวินิจฉัย
ในรายที่อาการไม่รุนแรง มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ บางรายอาจมีไข้ต่ำๆ (38.3 - 38.8 องศาเซลเซียส) หรือ เป็นไข้หวัดร่วมด้วย
กรณีศึกษาแรกรับมีไข้ 38 องศาเซลเซียส
การฟังปอด
เสียงอี๊ด (Rhonchi)
ฟัง lung พบ Rhoncho at both lung
เสียงกรอบแกรบ (Crepitation)
Coarse breath sound ได้ยินเสียงหายใจหยาบ
เสียงวี๊ด (Wheezing)
การรักษา
ให้ยารักษาตามอาการ
ให้ยาขับเสมหะ เพื่อละลายเสมหะ
ให้ยาลดไข้ เพื่อลดไข้
ให้ยาแก้ไอ เพื่อบรรเทาอาการไอ
สงสัยปอดอักเสบแทรกซ้อน (ไข้สูง หายใจหอบ) มีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์ น้ำหนักลด ไอเป็นเลือด หรือ มีอาการกำเริบมากกว่า 3 ครั้ง/ปี ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้อง X-ray ปอด ตรวจเสมหะ บางรายแพทย์อาจใช้กล้องส่องตรวจหลอดลม และให้การรักษาตามสาเหตุ
แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองหรือสิ่งกระตุ้นการไอ
ของมัน ของทอด
ฝุ่น ควัน อากาศเสีย ลมจากพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
ความเย็น
น้ำเย็น
น้ำแข็ง
แนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากขึ้น
แนะนำให้จิบน้ำอุ่นให้มากๆ เพื่อช่วยขับเสมหะ
การรักษาของกรณีศึกษา
Gb 5 ml oral tid pc
Paracetamal syr 10 mg prn q 4-6 hr
CPM 1.5 ml oral tid pc
Ventolin 1 NB + NSS up to 4 ml NB q 20 min + 3 dose then q 4 hr