Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต - Coggle Diagram
การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต
การเตรียมรับวาระสุดท้าย
แห่งชีวิต
ความหมายของความตาย
การตาย
คือ ภาวะสมองและก้านสมองขาดเลือด ทำให้สมองหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง และนำไปสู่การหยุดทำงานของหัวใจในที่สุด
ความตายในความหมายของพุทธศาสนา
ความตายเชิงพุทธปรัชญาถือว่าเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นเรื่องธรรมดา ให้เผชิญกับความตายอย่างไม่หวั่นไหวและยอมรับสภาพ คือการเตรียมตัวตายอย่างมีสติ
ความตายในความหมายของคริสต์ศาสนา
“ความตาย” คือภาวะที่ร่างกายและวิญญาณแยกออกจากกันชาวคาทอลิกยังมีความเชื่อเรื่ องการกลับฟื ้นคืนชีพภายหลังความตาย
ความตายในความหมายของศาสนาอิสลาม
ถือว่า มิใช่การดับสูญหรือการสูญเสียแต่เป็นการเคลื่อนย้ายสถานที่จากโลกหนึ่งไปสู่อีกโลกหนึ่ง
ความหมายของการตายดี (Good death)
การตายดี คือ การตายที่ปลอดจากความทุกข์ทรมานที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ของผู้ป่วย ญาติ และผู้ให้การรักษา
สิทธิการตาย
แสดงความประสงค์ที่จะไม่รับบริการทางการแพทย์
เช่น การการใช้เครื่องมือทางการแพทย์เพื่อยื้อความเจ็บป่วย
บุคคลทั่วไปหรือผู้ป่วยที่มีสติสัมปชัญญะดี สามารถทำ
หนังสือแสดงเจตนาตามมาตรา 12 ได้ด้วยตนเอง
ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาควรแจ้งให้ คนในครอบครัว ญาติมิตร คนใกล้ชิดรับทราบ
แพทย์ พยาบาล ที่ดูแลผู้ป่วยตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
เพราะ ตามความประสงค์ของผู้ป่วย
แพทย์ พยาบาลควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหรือสภาพของผู้ป่วยแก่ผู้ป่วยหรือญาติตามความเป็นจริง
แพทย์ พยาบาลควรจัดทำแบบฟอร์มหนังสือแสดงเจตนา และควรอธิบายขั้นตอนการทำหนังสือแสดงเจตนาดังกล่าวให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบ
ประโยชน์ในการทำหนังสือแสดงเจตนา
ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ทำหนังสือสามารถแจ้งความประสงค์ของตนให้แพทย์ ญาติคนใกล้ชิดทราบ และ ช่วยลดข้อขัดแย้งระหว่างแพทย์และญาติในการวางแผนการรักษา
ทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่ต้องทุกข์ทรมานจากการใช้เครื่องกู้ชีพต่างๆ
ทำให้ผู้ป่วย ญาติ คนในครอบครัว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการรักษาที่ไม่จำเป็น
ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสสื่อสาร ล่ำลาคนในครอบครัว
วิธีการจัดการวาระสุดท้ายของชีวิต
รูปแบบการจัดการเผชิญความตายหรือการเตรียมตัวก่อนตาย
การเตรียมตัวด้านร่างกาย (Physical preparation)
-การเลือกวิธีการรักษาทางการแพทย์
-การเลือกสถานที่สำหรับพักรักษาตัว
-การเลือกสถานที่ตาย
-การบริจาคอวัยวะของร่างกาย
-การวางแผนเกี่ยวกับการจัดงานศพของตน
การเตรียมตัวด้านจิตใจ (Psychological preparation)
-การตระหนักว่าความตายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะ
-การเลือกผู้ให้การดูแลตนเองในภาวะใกล้ตาย
-การพร้อมที่รับความจริงจากแพทย์ถ้าตนเองอยู่ในภาวะใกล้ตาย
-การไปเยี่ยมเยียนและปลอบโยนผู้ที่อยู่ในภาวะใกล้ตาย
-การใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยการเสริมสร้างคุณค่าและประโยชน์
การเตรียมตัวด้านจิตวิญญาณ (Spiritual preparation)
-การเล่าเรื่องราวในอดีตให้คนอื่นฟัง เพื่อถ่ายทอด
ประสบการณ์ในชีวิตของตนเองให้ผู้อื่น
-ปฏิบัติตามความเชื่อของศาสนา
-การสนทนากับสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับการจัดพิธีศพที่ตนเองต้องการ
-การมอบสิ่งของที่เป็นของรักของตนให้ผู้อื่น
การเตรียมตัวด้านสังคม (Social preparation)
-การพบปะสังสรรค์กับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน
-การจัดการธุรกิจที่คั่งค้างให้เสร็จเรียบร้ อยและการมอบหมายงานให้ผู้อื่นเป็นผู้รับผิดชอบ
-การทำพินัยกรรม การทำประกันชีวิต การจัดการเรื่องการเงิน
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนา
ผู้เก็บรักษาหนังสือแสดงเจตนาของผู้ใดไว้ เมื่อผู้แสดงเจตนาเข้ารับการรักษาตัวในสถานพยาบาลใด ให้แสดงหนังสือแสดงเจตนาของผู้ ป่ วย
ในกรณีที่ผู้ป่วยยังมีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะสื่อสารกับผู้อื่นได้ตามปกติ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาผู้ป่วย
กรณีที่มีปัญหาการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาควรปรึกษาหารือกับบุคคลใกล้ชิดหรือญาติผู้ป่วย
เพื่อกำหนดแนวทางการดูแลรักษาต่อไป
ในกรณีที่ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอยู่ระหว่าง
การตั้งครรภ์
ให้หนังสือแสดงเจตนามีผลก็ต่อเมื่อผู้นั ้นพ้นจากสภาพการตั้งครรภ์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวเกี่ยวกับความตาย
-ทัศนคติเกี่ยวกับความตาย
-ค่านิยมเกี่ยวกับความตายในแต่ละวัฒนธรรม
-ความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับความตายและชีวิตหลังความตาย
-การยึดมั่นศรัทธาในหลักคำสอนทางศาสนา
-เพศหญิงและเพศชายจะมีทัศนคติต่อความตายและ
การเตรียมตัวเกี่ยวกับความตายแตกต่างกัน
-อายุ
-สถานภาพสมรส
-ระดับการศึกษา
-ภาวะสุขภาพ
แนวคิดและหลักการการดูแลในระยะ
ท้ายของชีวิต
รูปแบบบริการการดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้าย
การดูแลผู้ป่วยใน (In-Patient Unit)
การบรรเทาอาการเจ็บป่วยมากกว่าการรักษาพยาบาล
และบริการนี้จะให้การดูแลในระยะสั้นๆ
การดูแลที่บ้าน/การดูแลโดชุมชน(Community-based Care)
เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นบริการที่ตอบสนองความต้องการของคนในชุมชนและสอดคล้องกับวิถีชุมชน
การควบคุมอาการเจ็บป่วยด้วยทีมสุขภาพ (Symptom Control Team)
มีแพทย์เป็นผู้ ควบคุมดูแลและรับผิดชอบผู้ป่วยทั้งภายในโรงพยาบาลและภายในชุมชน
บริการให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ครอบครัวของผู้ป่วยสูงอายุ
บางครั้งครอบครัวอยู่ในอาการตกใจ และไม่สามารถปรับตัวได้
การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
มีเป้าหมายให้ผู้ป่ วยและครอบครัวสามารถเผชิญความเจ็บป่วยที่มีอยู่ได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
รูปแบบสถานพยาบาลกึ่งบ้าน (Hospice Care)
เป็นสถานที่พักและให้บริบาลผู้ที่เจ็บป่วยอยู่ในระยะท้าย ผู้มีชีวิตอยู่ได้ ในเวลาจำกัด
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life care)
เป็นการดูแลผู้ป่ วยที่รู้ว่ามีระยะเวลาประมาณ 6 เดือนก่อนเสียชีวิต
การดูแลผู้ป่วยช่วงใกล้เสียชีวิต (Terminal care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยช่วงใกล้เสียชีวิต คือ ประมาณ 1 สัปดาห์สุดท้าย
การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุระยะสุดท้ายใกล้ตาย
บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน ช่วยให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขมากที่สุด
สนองความต้องการในด้านต่างๆ ของผู้ป่วย ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้ตายอย่างสมศักดิ์ศรี
ประคับประคองให้ครอบครัวของผู้ป่วยสามารถปรับตัวรับในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายใกล้ตาย และเสียชีวิต
บทบาทหน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุในระยะสุดท้าย
บุคลากรด้านกฎหมาย
ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ทรัพย์สินและพินัยกรรม
ผู้สนับสนุนด้านการเงิน
-ให้เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลและค่าพิธีการศพ
-ประสานงานหรือเป็ นผู้ แทนติดต่อสมาคมฌาปนกิจที่ผู้ สูงอายุเป็น
สมาชิก
บุคลากรทางด้านการแพทย์
-ให้การรักษาระยะการเจ็บปวดและบรรเทาอาการเจ็บปวด
-ให้การดูแลผู้สูงอายุ
-ให้ผู้สูงอายุได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพมากที่สุด
นักสังคมสงเคราะห์และนักอาชีวบำบัด
-ช่วยให้มีสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว
-ช่วยป้องกันแก้ไขปัญหาที่จะเป็นปัญหาสังคมต่อไป
-ทeงานกับครอบครัวผู้สูงอายุในด้านการปลอบใจและให้คำแนะนำ
จิตแพทย์และนักจิตวิทยา
ให้คำแนะนำ คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจของผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว ดูแลพูดคุยปลอบใจให้ผู้สูงอายุที่ใกล้ สิ้นชีวิต
บุคลากรทางด้านศาสนา
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านจิตใจและจิตวิญญาณ และแนะนำด้านพิธีการศพ
สมาชิกในครอบครัวของผู้สูงอายุและบุคลากรอื่นๆ ที่จำเป็น
ดูแลผู้สูงอายุในทุกๆ ด้านให้กำลังใจ
การดูแลประคับประคองจิตใจญาติผู้ป่วย
ความต้องการของญาติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ด้านข้อมูล
ต้องชัดเจน ตรงไปตรงมา
,ด้านการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
,
การสนับสนุนทางอารมณ์
ญาติผู้ดูแลจึงต้องการการปลอบโยนและกำลังใจ,
ความต้องการด้านอื่นๆ
ได้แก่ ความต้องการการดูแลสุขภาพของญาติผู้ดูแล
ด้านการดูแลผู้ป่วย
ให้การเป็นดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วย เคารพในความเป็นบุคคล
การเข้าถึงบุคลากรสุขภาพได้ง่าย
ขอความช่วยเหลือเมื่อมีข้อสงสัย
บทบาทของพยาบาลในการดูแลประคับประคองจิตใจญาติผู้ป่วย
ประชุมปรึกษาหารือกับแพทย์ ,อธิบายให้ญาติและครอบครัวผู้ป่วยได้รับรู้ข้อมูล ,เปิดโอกาสให้ซักถาม , ประเมินสภาพจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วย
เปิดโอกาสให้ญาติได้มีส่วนร่วมในการประเมินอาการผู้ป่วย ,อนุญาตให้ครอบครัวได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยตามความต้องการ , ควรปล่อยให้ญาติได้อยู่กับผู้ป่วยด้วยความเงียบสงบ , แนะนำการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือญาติได้เลือกสถานที่ที่ต้องการอยู่เมื่อถึงเวลาสุดท้ายของชีวิต , อนุญาตให้ญาติแสดงความรู้สึกเศร้าโศก เสียใจ แสดงความรัก ,แสดงความเห็นอกเห็นใจ , ภายหลังผู้ป่ วยเสียชีวิตแล้ว พยาบาลควรสร้างการมีส่วนร่วมกับญาติ
การพยาบาลภายหลังผู้ป่วยสูงอายุเสียชีวิต
-บันทึกสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง แจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบทุกครั้ง
-ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลตามแผนการพยาบาลและแผนการรักษา
-แพทย์ พยาบาล และญาติผู้ป่วยร่วมปรึกษาหารือกัน และให้ญาติเป็นผู้ตัดสินใจในการให้แพทย์ช่วยฟื้นคืนชีพหรือไม่
-จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยได้อยู่กับญาติตามลำพัง และกั้นม่านให้ตามความเหมาะสม
-เมื่อความดันโลหิตเริ่มต่ำมากจะแนะน าให้ญาติผู้ป่วยบอกทางให้ผู้ป่วย โดยให้ญาติจับมือผู้ป่วย และกระซิบบอกทาง ตามความเชื่องทางศาสนาของผู้ป่วยและครอบครัว
-เมื่อผู้ป่วยจากไปพยาบาลกล่าวแสดงความเสียใจกับญาติผู้ป่วยและให้เวลากับญาติประมาณ 15–30 นาที
-พยาบาลควรกระทำด้วยความนุ่มนวล ให้เกียรติสมศักดิ์ศรี
-ดูแลจัดสภาพผู้ป่ วยและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดีก่อนที่จะให้ญาติเข้าเยี่ยม
-ทำความสะอาดร่างกาย แต่งตัวให้เรียบร้อย
-หลังดูแลผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว ควรอนุญาตให้ญาติเยี่ยมโดยจัดให้เป็นส่วนตัว
-เขียนใบมรณะบัตร พร้ อมทั ้งอธิบายขั ้นตอนต่างๆ ตามกฎหมาย แนะนำขั้นตอนและวิธีการในการรับศพออกจากโรงพยาบาล การแจ้งตาย (ภายใน 24 ช,ม นับแต่เวลาตาย)
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุในภาวะใกล้ตาย
ด้านร่างกาย
การทำงานของอวัยวะต่างๆทุกระบบของร่างกาน จะทำงานด้วยประสิทธิภาพที่ลดลง
ด้านจิตใจ
ในด้านบวก จะมองชีวิตว่าเป็นสิ่งที่เต็มไปด้วยความหมายและมีคุณค่าในทางลบ ผู้สูงอายุจะเสียใจผู้ ปวยใกล้ตายกลัวมากคือ การอยู่อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย
ด้านสังคม
ความตายและภาวะใกล้ตาย เป็นสิ่งที่มองว่าเป็นข้อห้ามในการนำมาพูด หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บุคคลที่อยู่ในภาวะใกล้ตาย ทำให้รู้สึกสบายใจขึ้น
ด้านจิตวิญญาณ
ความต้องการความรักและความสัมพันธ์ ความต้องการค้นหาความหมายของชีวิตและความเจ็บป่ วย ต้องการขออโหสิกรรมหรือการให้อภัย ต้องการการปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา ต้องการมีความหวัง