Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระยะของไข้เลือดเลือดและการพยาบาล - Coggle Diagram
ระยะของไข้เลือดเลือดและการพยาบาล
ระยะของไข้เลือดออก
ระยะไข้ (Febrile phase)
อาการ
อาการทางผิวหนัง
อาการเลือดออก
ตรวจพบว่าหลอดเลือดเปราะ แตกง่าย
มีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้
การทำ tourniquet test ให้ผลบวกได้ตั้งแต่ 2–3 วันแรก
ในรายที่รุนแรงอาจมีอาเจียนและถ่ายอุจจาระเป็นเลือดซึ่งมักจะเป็นสีดำ
อาการตับโต
พบตับโตได้ประมาณวันที่ 3–4 นับแต่เริ่มป่วย
ในระยะที่ยังมีไข้อยู่ตับจะนุ่มและกดเจ็บ
อาการผื่น
erythema
maculopapular
อาการทางระบบทางเดินอาหาร
เบื่ออาหาร อาเจียน อาจมีอาการปวดท้อง
ไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนใหญ่ไข้จะสูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส
ส่วนใหญ่ไข้จะสูงลอยอยู่ 2–7 วัน
ระยะวิกฤต/ช็อก (Critical phase )
ภาวการณ์ไหลเวียนล้มเหลวเกิดขึ้น
เนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาออกไปยังช่องปอด/ช่องท้องมาก
เกิด hypovolemic shock ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่มีไข้ลดลงอย่างรวดเร็ว
อาการ
ความดันโลหิต
ความดัน diastolic เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
(BP 110/90, 100/80 มม.ปรอท)
ตรวจพบ pulse pressureแคบ เท่ากับหรือน้อยกว่า20 มม.ปรอท
ชีพจรเบาเร็ว
เริ่มมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น
เป็นระยะที่มีการรั่วของพลาสมาซึ่งจะพบทุกราย
โดยระยะรั่วจะประมาณ 24–48 ชั่วโมง
ระยะฟื้นตัว (Recovery or convalescent phase)
อาการที่พบ
ชีพจรช้าลงและแรงขึ้น
อาจพบ
พบชีพจรช้า (bradycardia)
ความดันโลหิตปกติมี pulse pressure กว้าง
Hct จะลงมาคงที่
จำนวนปัสสาวะจะเพิ่มมากขึ้น (diuresis)
มีconfluent petechial rash
ลักษณะเฉพาะ
เป็นวงกลมเล็กๆสีขาวของผิวหนังปกติท่ามกลางผื่นสีแดง
ระยะฟื้นตัวนี้จะใช้เวลาประมาณ 2–3วัน
เป็นระยะที่การรั่วของพลาสมาหยุด
การพยาบาล
ระยะวิกฤต/ช็อก (Critical phase )
การพยาบาลในระยะวิกฤตที่เสี่ยงต่อภาวะช็อก
สังเกตความเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ อุณหภูมิร่างกายลดลงหรือสูงขึ้น การหายใจผิดปกติอาจช้าหรือเร็วกว่าปกติ ความดันโลหิตลดลง
ประเมินปริมาณสารน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและปริมาณปัสสาวะที่ออกมาอย่างน้อย 8ชั่วโมง ปัสสาวะควรออกอย่างน้อย 1 ml/kg/hr หากไม่มีปัสสาวะออกมาให้เห็นควรรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อประเมินการขับปัสสาวะของผู้ป่วย
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางคลินิก เช่น อ่อนเพลีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ระดับความรู้สึกตัวลดลง ในราบที่รุนแรงอาจมีภาวะชักได้
ประเมินอาการของภาวะน้ำเกิด เช่น อาการบวมตามร่างกาย อาการกระสับกระส่าย อาการหายใจหอบเหนื่อย
ผู้ป่วยที่มี PLT Count ต่ำ (<100000)
ตรวจสอบภาวะ Bleeding สังเกตอาการอาเจียน หรืออุจจาระว่ามีสีดำหรือแดงหรือไม่ ประเมินจุดจ้ำเลือดตามร่างกาย
ในรายที่ต้องได้รับเลือดและส่วนประกอบเลือดควรปฎิบัติดังนี้
เลือดแต่ละถุงไม่ควรให้นานเกิน 4 ชั่วโมง
Plasma แต่ละถุง ไม่ควรให้นานเกิด 2 ชั่วโมง
PLT Conc. 1 Unit (30-50ml) ไม่ควรให้นานเกิน 10 นาที
ประเมินอาการผิดปกติที่อาจพบได้เช่น มีไข้หนาวสั่น ผื่นไข้ สัญญาณชีพผิดปกติ ควรหยุดการให้และรีบรายงายแพทย์โดยด่วน
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ระยะฟื้นตัว (Recovery or convalescent phase)
เฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะ Heart failure หรือ Pulmonary edema
สังเกตอาการของภาวะน้ำเกิน เช่นเปลือกตา ท้องอืด หายใจแน่น อึดอัด เพื่อประเมินอาการภาวะน้ำเกินและสามารถช่วยเหลือได้ทันที
สังเกตอาการของภาวะ Hypervolemia เช่น ความดันโลหิตสูง Puise Pressure กว้าง ชีพจรเต้นช้าและแรงกว่าปกติ
ติดตามประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
คำแนะนำก่อนให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
แนะนำให้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อป้องกันการเป็นโรคไข้เลือดออก
หากพบว่ามีคนในบ้านมีไข้สูงควรแนะนำให้มาพบแพทย์เพราะเนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อได้เช่นเดียวกับผู้ป่วย
หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกอย่างรุนแรงเป็นเวลา 3-5 วันหลังออกจากโรงพยาบาลเนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติ
ระยะไข้
การพยาบาล
ดูแลให้ยา PCM ลดไข้ (ขนาด 10-15 mg/kg/dose) ห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรใช้ยากลุ่ม NSAIDs เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่กระเพาะอาหารได้
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอย่างน้ำเท่ากับความต้องการของร่างกาย โดยคิดจาก น้ำหนักตัว 10 kg แรก 100ml/kg 10 kg ต่อมา 50ml/kg และที่เหลือ 20ml/kg
ตัวอย่าง
น้ำหนัก 21 kg คิดเป็น 1000+500+20=1520 ml
เช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี (เช็ดด้วยน้ำอุ่น เช็ดย้อนรูขุมขนเพื่อให้รูขุมขนเปิดช่วยในการระบายความร้อน และนำผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆมาซับหรือประคบไว้บริเวณที่มีเส้นเลือดใหญ่ ควรใช้เวลาในการเช็ดประมาณ 15-20นาที) หลังจากเช็ดตัวเสร็จควรวัดไข้ซ้ำ หลังจากเช็ดเสร็จ 30 นาที
หากมีการเจาะเลือด หลังจากการเจาะเลือดทุกครั้ง ต้องกดห้ามเลือดให้นานพอจนแน่ใจว่าเลือดหยุด
กรณีที่มี Petecthiae (จุดเลือดออกตามร่างกาย) ต้องคอยดูแลความสะอาด ดูแลไม่ให้อับชื้น และห้ามให้ผู้ป่วยเกา ควรตรวจสอบดูเล็บมือของผู้ป่วยให้สั้นและรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการเกาะเนื่อจากหากผู้ป่วยเกาอาจทำให้เกิดแผลหรือเกิดเลือดออกได้
กรณีที่มี Epistaxis (เลือดกำเดาไหล) ควรรีบรายงานแพทย์ให้ทราบ พร้อมกับให้ผู้ป่วยนอนราบใช้ Cold pack ห่อผ้า หรือ ผ้าเย็น วางบริเวณหน้าผา และบีบดั้งจมูกเพื่อให้เส้นเลือดหดรัดตัว เพื่อหยุดเลือด
ในผู้ป่วยหญิงทีมีประจำเดือน ควรตรวจสอบและประเมินภาวะ Hypermennorrhea ร่วมด้วย สอบถามปริมาณของประจำเดือน ถ้ามากกว่าปกติ(มากกว่า3-4 pad/day หรือ มากกว่า 80 ml/day)ต้องรีบรายงานแพทย์
ผู้ป่วยที่เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่ครบห้าหมู่ งดอาหารสีดำแดงอาหารที่ย่อยง่าย รสชาติไม่จัด เพื่อลดการระคายเคืองกระเพาะอาหารและแนะนำให้รับประทานครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
ปัญหาที่พบ
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
ปวดท้อง
ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อกล้ามเนื้อ
เลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในช่องท้อง
มีการเปลี่ยนแปลงของเกร็ดเลือด และความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง