Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดต้นทุน 37832421-creative-abstract-business-finance-tax-accounting…
แนวคิดต้นทุน
การจำแนกต้นทุนตามลักษณะการดำเนินงาน
ต้นทุนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต ( Non-Manifesting Cost )
ต้นทุนทางการตลาด ( Marketing Cost )
ต้นทุนที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการจำหน่ายสินค้า เช่น ค่าใช้จ่ายการส่งเสริมการขาย ค่านายหน้าพนักงาน ค่าโฆษณา
ต้นทุนทางการบริหาร ( Administrative Cost )
ต้นทุนที่เกิดจากบริหารกิจการ เช่น เงินเดือนผู้บริหาร ค่าเช่าสำนักงาน
ต้นทุนทางการเงิน ( Financial Cost )
ต้นทุนที่กิจการนำมาลงทุน เช่น ดอกเบี้ยเงินกู้
ต้นทุนการผลิต ( Manufacturing Cost )
ต้นทุนทางวัตถุทางตรง ( Direct Material Cost )
วัตถุหรือสิ่งของที่ถูกนำมาเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้า
ค่าแรงงานทางตรง ( Direct Labor Cost )
วัคถุหรือสิ่งที่นำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้า
ค่าใช้จ่ายในการผลิต ( Manufacturing Overhead )
ค้นทุนหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากต้นทุนทางวัตถุหรือค่าแรงทางตรง ซึ่งได้แก่ ต้นทุนวัตถุทางอ้อมและค่าแรงทางอ้อม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
การจำแนกต้นทุนตามความสำคัญที่มีต่อการผลิต
ต้นทุนขั้นต้น ( Prime Cost )
ต้นทุนที่เกิดขึ้นเบื้องต้นในการผลิตสินค้าและมีความสำคัญต่อการผลิต เช่น ต้นทุนวัตถุทางตรง ค่าแรงงานทางตรง
ต้นทุนแปรสภาพ ( Conversion Cost )
ต้นทุนที่เปลี่ยนสภาพวัตถุทางต้นให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายการผลิต
การจำแนกต้นทุนเพื่อจัดทำงบการเงิน
ต้นุทนผลิตภัณฑ์ ( Product Cost )
ต้นทุนที่เป็นส่วนประกอบโดยตรงของวินค้า ได้แก่ วัตถุทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายการผลิต
ต้นทุนงวดเวลา ( Period Cost )
ต้นทุนที่หมดประโยชน์ในงวดเวลานั้นและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อีกต่อไป ได้แก่ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกรายการที่ปรากฎในงบกำไรขาดทุน ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย
การจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน
ต้นทุนคงที่ ( Fixed Cost )
ต้นทุนที่จำนวนรวมไม่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม กล่าวคือไม่ว่าระดับกิจกรรมจะเพิ่มหรือลดลง ต้นทุนยังคงเท่าเดิม เช่น ค่าเสื่อมโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าประกันภัยโรงงาน เงินเดือนผู้บริหาร
ต้นทุนแปรผัน ( Variable Cost )
ต้นทุนซึ่งจำนวนรวมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางและสัดส่วนเดียวกัน กล่าวคือเมื่อระดับกิจกรรมเพิ่มขึ้นต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ต้นทุนวัตถุทางตรง ค่าแรงงานทางตรง
ต้นทุนกึ่งคงที่ ( Semi-Fixed Cost )
ต้นทุนกึ่งคงที่เป็นต้นทุนที่จะคงที่ในแต่ละช่วงกิจกรรมหรือต้นทุนที่มีลักษณะคงที่เป็นช่วงๆ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ต้นทุนเป็นชั้น ( Step Cost )
ต้นทุนผสม ( Mixed Cost )
ต้นทุนจำนวนหนึ่งคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ถึงแม้ว่ากิจกรรมจะเป็นศูนย์ ต้นทุนจำนวนนี้ยังคงมีเท่าเดิม ในขณะที่ต้นทุนอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามระดับกิจกรรม ต้นทุนผสมอาจเรียกอีกหนึ่งว่า ต้นทุนกึ่งผันแปร ( Semivariable Cost)
การจำแนกต้นทุนตามความสัมพันธ์กับหน่วยวัดต้นทุน
ต้นทุนทางตรง ( Direct Cost )
ต้นทุนที่สามารถคิดหรือติดตามเข้าหน่วยวัดต้นทุนได้ง่ายและชัดเจน คือ สามารถระบุต้นทุนและจำนวนเงินได้
ต้นทุนทางอ้อม ( Indirect Cost )
ต้นทุนที่ไม่สามารถคิดหรือติดตามเข้าหน่วยวัดต้นทุนได้ง่ายและชัดเจน คือไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นต้นทุนของหน่วยวัดต้นทุนได้
การจำแนกต้นทุนตามลักษณะความรับผิดชอบ
ต้นทุนที่ควบคุมได้ ( controllable Cost )
ต้นทุนที่สามารถระบุว่าต้นทุนหน่วยงานใดหรือบุคคลใดเป็นผู้รับผิดชอบ หรือมีอำนาวหน้าที่เปลี่ยนแปลงวงเงิน
ต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ ( Uncontrollable Cost )
ต้นทุนที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผู้บริหารระดับนั้นๆจะควบคุมได้ กล่าวคือ ไม่มีอำนาจที่จะทำให้ต้นทุนนั้นเปลี่ยนแปลงได้
การจำแนกต้นทุนจากการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ
ต้นทุนจม ( Sunk )
ต้นทุนที่เกิดจากการตัดสินใจในอดีต ซึ่งไม่มีผลต่อการตัดสินใจในปัจจุบัน เช่น ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร
ต้นทุนเสียโอกาส ( Opportunity Cost )
ผลตอบแทนของทางเลือกที่กิจการต้องสูญเสียไป เนื่องจากตัดสินใจเลือกทางเลือกอื่น เช่น การตัดสินใจจะนำเงินไปฝากหรือจะนำเงินไปลงทุน
ต้นทุนส่วนแตกต่าง ( Differential Cost )
ต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อวิเคราะห์แล้วเปลี่ยนไปจากเดิม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิธีทำ หรือเปลี่ยนระดับกิจกรรม เช่น การพิจารณาการซื้อของใหม่มาผลิตสินค้าแทนของเดิม
ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้และหลีกเลี่ยงไม่ได้
ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ ( Avoidable )
ต้นทุนไม่เกิดขึ้นหรือต้นทุนที่ประหยัดได้ หากกิจการยกเลิกหรือหยุดกิจการ
ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ( Unavoidable Cost )
ต้นทุนที่ยังคงเกิดขึ้นแม้ว่าจะยกเลิกกิจการหรือหยุดกิจการชั่วคราว เช่นค่าเสื่อมโรงงานและเครื่องจักร
ต้นทุนปิดโรงงาน ( Shut Down Cost )
ต้นทุนที่ยังคงเกิดขึ้น แม้ว่ากิจการหยุดการผลิต หรือปิดโรงงานชั่วคราว ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ถ้ากิจการดำเนินงานอาจทำให้กิจการประสบผลขาดทุน
ต้นทุนส่วนเพิ่มต่อหน่วย ( Marginal Cost )
ต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย หรือเรียกว่าต้นทุนหน่วยสุดท้าย