Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Hydrocephalus ภาวะน้ำคั่งโพรงสมอง (ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด…
Hydrocephalus ภาวะน้ำคั่งโพรงสมอง
แบ่งเป็น
Communicating hydrocephalus
ความหมาย
การที่มีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำโดยที่น้ำไขสันหลังสามารถติดต่อกันระหว่างช่องโพรงสมอง (ventricle) กับช่องระหว่างกลับสมองและช่องทางรอบๆไขสันหลัง หรือเกิดจากการอุดตันบริเวณตำแหน่งนอกโพรงสมองหลัก หรือเกิดการอุดตันเกิดขึ้นหลังหรือหลังจากทางเดินน้ำไขสันหลังผ่านส่วนช่องทางออกของช่องโพรงสมองที่ 4 ที่เรียกว่า foramina of Lushka และ foramina of Magendie ออกมาแล้ว
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ เช่นเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดผลจากกาารติดเชื้อ หนอง
มีเลือดออกในสมองในชั้นเยื่ออแรชนอยด์ (Subarachnoid hemorrhage )
ผ่าตัดสมองหรือหลังการเกิดอุบุติเหตุแล้วเกิดเลือดออกในสมอง ไปอุดตันทางระบายออกทางน้ำไขสันหลังนอกโพรงสมองหรือรบกวนหระบวนการดูดซึม
มีการผลิตน้ำไขสันหลังที่มากเกินไป เช่นมีก้อนเนื้องอก choroid plexus papilloma
ผู้ป่วย : Communicating hydrocephalus มีการดูดซึมน้ำไขสันหลังเข้าสู่ arachnoid ลดลง สาเหตุจากการติดเชื้อ SIRS septic
Non-communicating hydrocephalus หรือ
obstructive hydrocephalus
หมายถึง
ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำนั้นไม่มีทางติดต่อไปช่องระหว่างกลีบสมองหรือช่องสมองและช่องทางรอบๆไขสันหลัง
สาเหตุ
Aqueductal stenosis เป็นการคั่งโดยกำเนิด เกิดการอุดตันที่ระดับ cerebral aqueduct จากสาเหตุเจริญในครรภ์ผิดปกติ, เกิดการอักเสบติดเชื้อในครรภ์ , เกิดมีเยื่อหรือพังผืดบางๆมาอุดกั้นของน้ำไขสันหลังที่ cerebral aqueduct ,
อาการและอาการแสดง
ความดันในกะโหลกศีรษะสูง( increase intracranial pressure)
ปวดศีรษะ
อาเจียนพุ่งโดยไม่มีคลื่นไส้นำ
ตามัว ตาพร่ามัวเห็นฟ้าซ้อน (diploma)
ระดับความรู้ตัวลดลง
Cushing's reflex
ความรู้สติเปลี่ยนแปลง(Conciousness change) สับสน,ซึมลง ,หมดสติ(Coma)
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองที่ความดันในกะโหลกศีรษะปกติ(Normal pressure hydrocephalus:NPH) อาการจำเพาะ(Triad of NPH)ได้แก่ การเดินผิดปกติ เดินไม่ได้(Gait disturbance) อาการสมองเสื่อม(Dementia) กลั้นปัสสาวะไม่ได้(Urinary incontinence)
ผู้ป่วย ญาติให้ประวัติว่า มีอาการขาขวาอ่อนแรง ไม่ลุกยืนเดิน อ่อนเพลีย 1 สัปดาห์ก่อนมาโรงพยาบาล ขณะอยู่โรงพยาบาลระดับความรู้สึกตัวลดลง ความจำลดลง กลั้นปัสสาวะไม่ได้
การวินิจฉัย
การซักประวัติ การตรวจร่างกาย
การตรวจด้วยภาพทางรังสีวินิจฉัย (diagnostic lmaging)
การถ่ายภาพกะโหลกศีรษะ (skull x-ray) อาจช่วยในการวินิจฉัยเฉพาะโรค
MRI brain เพื่อตรวจหาสาเหตุของการเกิดภาวะน้ำคั่งของโพรงในสมอง
การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (computerized tomography scan)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษ
การตรวจอัลตราซาวด์สมอง (Ultrasound)
การตรวจด้วยการส่องไฟฉาย (transillumination test)
การฉีดสีเข้าโพรงสมอง (ventriculography)
การฉีดสีเข้าเส้นเลือดสมอง (cerebral angiography)
ผู้ป่วย : CT scan วันที่ 21 พ.ค. 61 ที่ รพ.สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 พบ - Generalized ventricular system dilatation at both lateral ventricle , third ventricle and fourth ventricle could be communicating hydrocephalus -Old lucunar infarction at left basal ganglia , left internal capsule and left periventricular white matter วันที่ 14 มิ.ย.61 พบ Evidence of VP shunt via right parietal burr hole ,Tip of VP shunt is atrium of right lateral ventricle , Moderate amount of pneumocephalus ,Moderate hydrocephalus
การรักษา
การให้ยา
ยาในกลุ่ม osmotic diuretics ขับน้ำจากสมองออกทางงปัสสาวะ
ยาในกลุ่ม non osmotic diuretics เช่น Furosemide ขัดขวางการดูดซึมโซเดียม
สเตียรอยด์ มักได้ผลดีในภาวะสมองบวมจาก vasogenic edema ได้แก่ Dexamethasone
การให้ยากันชัก เนื่องจากการชักจะเพิ่มเมตาบอลิซึมของสมองจะไหลเวียนสู่สมองมากขึ้น
carbonic anhydrase inhibitor เป็นการให้ยาเพื่อลดปริมาณการสร้างน้ำไขสันหลัง
การเจาะน้ำไขสันหลัง (lumbar puncture) ร่วมกับการให้ยาลดการสร้างน้ำไขสันหลัง
การผ่าตัด
การผ่าตัดแก้ไขสาเหตุของโรค เช่น เอาเนื้อนอกออก
การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย (external ventricular drainage : EVD ,ventriculostomy)
การผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำไขสันหลัง (shunting)
เพื่อให้ความดันในกะโหลกศีรษะกลับไปเหมือนเดิม ส่งผลให้เนื้อสมองขยายตัวได้
การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำจากโพรงสมองลงช่องท้อง (ventriculo-peritoneal shunt :VP shunt)
ภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับการใส่ท่อระบายน้ำในโพรงสมอง
ปวดศีรษะ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงความดันในช่องโพรงสมอง (หายใน 1 wks) ในช่วงนี้ควรนอนพักผ่อนให้มากที่สุด
การติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
การติดเชื้อของสายระบายน้ำในโพรงสมอง
ท่อระบายน้ำในโพรงสมองตัน
ภาวะระบายน้ำในสมองมากเกินไป
การผ่าตัดใส่สายระบายจากโพรงสมองลงช่องหัวใจห้องบนขวา (ventriculo-atrial shunt :VA shunt)
การผ่าตัดใส่สายระบายจากโพรงสมองลงช่องปอด (ventriculo-pleural shunt :VP shunt)
การผ่าตัดระบายจากโพลงสมองลงช่องใต้เยื่อหุ้มสมอง (ventriculo-pleural shunt :VP shunt)
ผู้ป่วย : การผ่าตัดใส่สายระบายน้ำจากโพรงสมองลงช่องท้อง (ventriculo-peritoneal shunt :VP shunt)
ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
การทำงานผิดปกติของสายระบายน้ำในโพรงสมอง(Shunt malfunction ) มีการอุดตันหรือระบายมากเกิน เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การเลือกวาล์วผิด,การติดเชื้อ
การติดเชื้อของสายระบายน้ำในโพรงสมอง(Shunt infection)
การอุดตันสายระบายน้ำในโพรงสมอง(Shunt obstruction) เนื่องจากChoroid plexus หรือ Omentum
ภาวะโพรงสมองตีบแคบ(Slit ventricle)
ภาวะเลือดออกในศีรษะ เกิดเลือดออกในโพรงสมอง(Intraventricular hemorrhage)หรือเนื้อสมอง(Intracerebral hemorrhage)จากการผ่าตัด(Iatrogenic injury) หรือ การระบายมากเกิน(Overdrainage)
ไตอักเสบ(Shunt nephritis)