Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade) (อาการและอาการแสดง (อาการเหนื่อย,…
ภาวะบีบรัดหัวใจ (Cardiac Tamponade)
ความหมาย
ภาวะบีบรัดหัวใจ (cardiac tamponade) เป็นภาวะฉุกเฉินทางโรคหัวใจที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการช็อกและเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วน สาเหตุมีได้มากมายทั้งจากการได้รับอุบัติเหตุ บาดเจ็บบริเวณทรวงอก และโรคต่างๆ ทางอายุรกรรม ในบทความนี้จะได้กล่าวเฉพาะสาเหตุทางด้านอายุรกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดมีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจและเกิดการบีบรัดหัวใจ
พยาธิสรีรวิทยา
ในคนปกติปริมาณน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจจะมีไม่มากโดยเฉลี่ยประมาณ 15-30 มล. เพื่อให้หัวใจสามารถบีบและคลายตัวได้ปกติ อาการแสดงของภาวะบีบรัดหัวใจจะเกิดข้ึนเมื่อมีน้ำหรือเลือดสะสมในเยื่อหุ้มหัวใจเป็นปริมาณมาก พบว่าผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มหัวใจที่ปกติจะสามารถรองรับปริมาตรน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจได้มากถึง 80-200มล.โดยที่ไม่เกิดมีภาวะบีบรัดหัวใจ แต่ถ้าปริมาตรน้ำมากกว่า 200 มล.จะทำให้เริ่มมีแรงดันในช่องเยื่อหุ้มหัวใจสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเกิดภาวะบีบรัดหัวใจ
สาเหตุ
น้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardial effusion)
เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยที่ที่สุดในปัจจุบัน คือ มะเร็ง และวัณโรค
อาการและอาการแสดง
อาการเหนื่อย
แน่นหน้าอกตลอดเวลา
อ่อนเพลีย
กระสับกระส่าย
ปัสสาวะลดลง
ความรู้สึกตัวลดลง
หัวใจเต้นเร็ว
ความดันเลือดต่ำ
Neck vein engor
การวินิจฉัย
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
พบมี low voltage QRS complex และมี T-waves ต่ำหรือแบนราบ ลักษณะที่สำคัญคือ electrical alternans เกิดจากหัวใจแกว่งอยู่ในถุงหุ้มหัวใจในช่วงหัวใจบีบและคลายตัว ซึ่งจะบ่งบอกว่ามีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจปริมาณมาก
ภาพถ่ายรังสีทรวงอก
พบมีเงาหัวใจ (cardiac silhouette) กว้างขึ้น โดยเฉพาะถ้ามีน้ำมากกว่า 250 มล.ขึ้นไป5ลักษณะที่ชัดเจนคือ เงาหัวใจโตเป็นถุงน้ำ (globular หรือ water bottle-shaped heart) และในบางรายจะเห็นรอยแยกระหว่างเงาของ parietal pericardium และชั้นของ epicardial fat (มากกว่า 1-2 มม.)
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทรวงอก
เป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการวินิจฉัยภาวะนี้ เนื่องจากมีความถูกต้องและแม่นยำสูง ทำได้ง่ายได้ผลรวดเร็วทันทีสามารถเห็นน้ำใน pericardial sac สิ่งตรวจพบที่บ่งบอกว่ามีภาวะบีบรัดหัวใจเกิดขึ้น คือ ในช่วงหัวใจคลายตัว (diastolic phase) จะมี right atrial และ right ventricle collapse รวมทั้ง left atrial collapse ในระยะสุดท้ายจะเห็นเงาหัวใจแกว่งในถุงหุ้มหัวใจ (swinging heart)
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
มีความไวในการินิจฉัยเช่นกัน มักใช้ตรวจดูหากว่าเป็น loculated effusion หรือวัดความหนาของเยื่อหุ้มหัวใจ หรือดูก้อนเนื้องอกในเยื่อหุ้มหัวใจหรือพยาธิสภาพอื่นๆ ของอวัยวะใน mediastinum และในทรวงอกที่อาจเป็นสาเหตุ
การสวนหัวใจข้างขวา (right-heart catheterization)
สามารถบ่งบอกว่ามีความผิดปกติทางด้าน hemodynamic เกิดขึ้นจากภาวะบีบรัดหัวใจได้เช่นกัน
การรักษา
การเจาะถุงน ้าระบาย หรือ
pericardiocentesis ทันที
การดูแลหลังจากการเจาะถุงน้ำหัวใจ
สายสวนควรเย็บให้ติดที่บริเวณผิวหนังและทายาปฏิชีวนะ
(antibiotic ointment) บริเวณรอบๆ แผล
สังเกตอาการเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงหลังเจาะ
ทำความสะอาดแผลทุกๆ2-3 วัน ในวันแรกๆ
ทำการดูดระบายผ่านสายสวนทุกๆ6 ชั่วโมง
บันทึกปริมาตรน้ำที่ออกมาในแต่ละวัน