Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กิ่วแม่ปาน (เฟิร์นยุคโบราณ บริเวณรอบๆ เป็นป่ามีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น…
- เฟิร์นยุคโบราณ บริเวณรอบๆ เป็นป่ามีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น มีแสงแดดรำไรส่งลงมา เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของเฟิร์นใบบางที่สุดในโลก มีมาแต่โบราณประมาณ 230 ล้านปี ช่วงอากาศแล้งเฟิร์นจะพักตัว ใบเหี่ยวแต่ไม่ตาย และจะฟื้นเขียวอีกครั้งเมื่อได้ละอองหมอก
- ป่าเมฆ ป่าที่ถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกหลายเดือน อากาศหนาวชื้น ลมแรง ดินเป็นกรดสูง พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้บริเวณนี้ จะมีแต่กลุ่มไม้เมืองหนาว เช่น หว้า กุหลาบพันปี กุหลาบขาว กล้วยไม้ เฟิร์น มอส
- ป่าต้นน้ำ กำเนิดสายธาร มีน้ำตกขนาดเล็ก ไหลมาเป็นลำห้วย ในยุคแรกน้ำตกไหลรุนแรง เกิดเป็นหลุมลึก และในยุคปัจจุบันสายน้ำเปลี่ยนทางไหล ปริมาณน้ำลดลง น้ำที่ไหลจากน้ำตกเป็นน้ำสะอาด มีธาตุอาหารสูง ปลายทางของน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง
- พรรณพืชไม้ป่าเมฆ ต้นก่อ (ต้นโอ๊ค) ต้นทะโล้ ต้นหว่าอ่างกา (พืชเฉพาะท้องถิ่น) ในป่านี้เป็นต้นไม้เมืองหนาว มีการปรับตัวให้อยู่ได้ในป่าหนาวและชุ่มชื้นสูง
- ป่าซ่อมป่า ป่าเมฆที่มีลมพัดแรง มักมีไม้หักโค่น ต้นไม้ใหญ่ที่ล้มทำให้เกิดแสงส่องลงมายังพื้นดิน ต้นไม้รุ่นใหม่จึงงอกมาซ่อมแซม เป็นวงจรการพื้นฟูตนเองของป่า
- เถาวัลย์ เป็นต้นไม้ที่ชอบแดดจัด โตเร็ว เลื้อยพันต้นไม้ใหญ่อย่างรวดเร็ว กระรอกและสัตว์หากินบนต้นไม้ใช้เป็นเส้นทางเดิน
- ทุ่งหญ้าเมืองหนาว ปกติที่ความสูง 4000 เมตร จากระดับน้ำทะเลในเขตหนาว จะมีเฉพาะไม้ล้มลุก เรียกว่า “ทุ่งหญ้าอัลไพน์” แต่ที่ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก และ ดอยเชียงดาว เป็นภูเขาสูง 2,000-2,500 เมตร มีปรากฏการณ์พิเศษ มีไม้ล้มลุกปะปนกับไม้พุ่มขนาดเล็ก เรียกพงไม้นี้ว่า “ทุ่งหญ้ากึ่งอัลไพน์”
- กู๊ดเกี๊ยะ เฟิร์นทนไฟ ขึ้นบริเวณทุ่งหญ้าเมืองหนาว เฟิร์นชนิดนี้มีใบหนาแข็ง ลดการคายน้ำ ซ่อนลำต้นไว้ใต้ดิน เมื่อมีไฟป่าใบที่อยู่พ้นดินจะไหม้ และจะงอกขึ้นใหม่อีกครั้งจากลำต้นที่อยู่ได้ดิน
- จุดชมทิวทัศน์ เป็นพื้นที่โล่ง มีระเบียงยื่นออก บางวันจะมองเห็นทะเลหมอกได้ที่บริเวณนี้ และวันที่ฟ้าเปิดจะมองเห็น อ.แม่แจ่มที่อยู่เบื้องหน้าได้ชัดเจน จุดชมวิวตรงนี้เป็นประเด็นในโลกโซเชียลเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปยืน – นั่งที่รั้วกันตก อาจทำให้เกิดอันตรายได้
- กวางผา ปลอดภัยในบ้านผาหิน กวางผาเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันตามทุ่งหญ้าบนภูเขา และหน้าผาในเทือกเขาสูง ปัจจุบันกวางผาดอยอินทนนท์เป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว นักท่องเที่ยวมีโอกาสเจอได้ยาก
- ผาแง่มน้อย เป็นแท่งหินแกรนิต เมื่อสองร้อยล้านปีที่ผ่านมาได้หลอมเหลว ดันตัวตัดผ่าหินไนส์ที่มีอายุกว่า 500 ล้านปี เมื่อเย็นตัวลงปรากฎรอยแตกตรงข้ามอีกครั้งเป็นการผุกร่อน กัดกร่อน ผลคือ หินแง่มน้อยมีเนื้อหินแข็งกว่า จึงคงทน เด่น เป็นสัญลักษณ์ของกิ่วแม่ปาน
- กิ่วแม่ปาน (ป่าสองมุมบนสันเขา) “กิ่ว” ภาษาเหนือแปลว่าแคบ “กิ่วแม่ปาน” เป็นพื้นที่บนสันเขาส่วนที่แคบที่สุด ลาดเขาสองด้านเป็นป่าต่างชนิดกัน ฝั่งด้านนอกโดนแดดส่อง และลมปะทะแรงจะมีแต่ต้นไม้ขนาดเล็ก ส่วนฝั่งด้านในเป็นป่าชุ่มชื้น
- กุหลาบพันปี ปรับตัวเองให้อยู่ได้ในอากาศหนาวเย็น และลมแรง ใบเป็นแผ่น เหนียวหนา ลดการคายน้ำ กิ่งโปร่งลมผ่านสะดวก ดอกสีแดงเข้ม จะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม
- ป่าร้อน ป่าหนาว เชิงดอยอินทนนท์อากาศร้อนชื้น แต่ยอดดอยอากาศหนาว ลมพัดแรง และมีหมอกหนา ด้วยสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ป่าร้อนจะมีพันธุ์ไม้ใบกว้าง ชอบแดดจัด ทนแล้ง ส่วนป่าหนาวจะเป็นพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย ใบมัน
- สายน้ำ ยอดเขาสูงสุดของไทย ห้วยสายเล็กๆ ปกคุลมด้วยป่าดิบเขาอุดมสมบูรณ์มีฝนตกชุก อากาศชื้นมาก ต้นไม้คายน้ำได้น้อย ใบไม้ย่อยสลายช้า มีสภาพเหมือนผ้าห่มพร้อมซับน้ำฝน
- มอส ชอบน้ำแต่ทนแล้ง มอสมักขึ้นตามโคนไม้ และที่ชื้นฉ่ำ ช่วงแล้งก็พักตัวรอความชื้นก็ฟื้นกลับมา สามารถแพร่พันธุ์ด้วยสปอร์
- ป่าสองรุ่น ในป่ามีไม้หลายชนิด มีอายุ และความสูงไม่เท่ากัน บ่งบอกได้ว่าป่านี้ในอดีตเคยโค่นล้มจากพายุ แล้วมีต้นไม้รุ่นใหม่เกิดพร้อมกัน
- สูงใหญ่แต่ล้มง่าย ป่าเขาสูงชัน หน้าดินถูกน้ำฝนชะล้างจนมีความหนาเพียง 1-2 เมตร ส่วนด้านใต้เป็นชั้นหิน ต้นไม้สูงใหญ่มักไม่พบรากแก้ว เพราะไม่สามารถเจาะลงหินได้ เมื่อมีพายุใหญ่มาต้นไม้ก็ล้มได้ง่าย
- กูดต้น เฟิร์นสัญลักษณ์ป่าบริสุทธิ์ กูดต้น เป็นเฟิร์นใบใหญ่เรียงเวียนรอบปลายต้น เรือนยอดกว้าง พบตามลุ่มน้ำริมห้วยชื้นแฉะ ใต้ร่มเงาแสงรำไรเท่านั้น การไม่พบกูดต้นในที่แดดจัด จึงสัญนิษฐานว่า กูดต้นเป็นพืชสัญลักษณ์ของป่าบริสุทธิ์
- เสียงป่า ลองหยุดนิ่งแล้วหลับตา จะได้ยินเสียงใบไม้หล่น เสียงลมพัด เสียงสายน้ำ นกร้อง เปรียบเสมือนวงดนตรีวงใหญ่
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-