Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไบโอม (กิ่วแม่ปาน (ที่ตั้งตามการปกครอง ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง…
ไบโอม
กิ่วแม่ปาน
-
ที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์ พิกัด UTM (WGS 1984) X 445128.272036, Y 2051422.185034
ละติจูด 18.552764, ลองจิจูด 98.480032
ความสูงจากระดับนำทะเลปานกลาง 2,145.00 เมตร
-
-
-
เส้นทางนี้จะผ่านสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ ป่าดิบเขากับทุ่งหญ้าบนสันเขา ทางช่วงแรกผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาซึ่งมีบรรยากาศร่มครึ้ม มีแสงแดดส่องลงมาเพียงรำไรตามพื้นป่าเต็มไปด้วยเฟินหลากหลายชนิด มีมอสสีเขียวขึ้นคลุมตามโคนต้นไม้และบริเวณริมห้วยที่ชุมชื้น ทางจะเดินขึ้นเขาจนทะลุออกยังทุ่งหญ้าโล่งกว้างของสันกิ่วแม่ปานซึ่งมีแสง แดดจ้าและสายลมแรง ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไปจากสภาพที่ผ่านมาทันที ทุ่งหญ้าบริเวณนี้เคยเป็นป่าดิบเขามาก่อน แต่ได้ถูกบุกรุกทำลายไปจนมีสภาพดังเช่นปัจจุบัน จากนี้ทางเดินจะเลียบไปตามสันเขาที่มีดงต้นกุหลาบพันปี รวมทั้งไม้พุ่มขนาดเล็กอย่างช้ามะยมดอยและต่างไก่ป่า ซึ่งเป็นตัวอย่างของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ให้ศึกษา
-
ธรณีวิทยา ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์โดยทั่วไป ประกอบด้วยหินที่มีอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนขึ้นไป และหินส่วนใหญ่จะเป็นหินไนส์และหินแกรนิต ส่วนหินชนิดอื่นๆ ที่พบจะเป็นหินยุคออร์โดวิเชียนซึ่งได้แก่หินปูน จนถึงยุคเทอร์เซียรี่ได้แก่หินกรวดมน
ลักษณะ ภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ทอดตัวมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล เส้นทางนี้อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ดิน พื้นที่ภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นดินในกลุ่ม Reddish Brown Lateritic Soils และ Red Yellow Podzolic Soils ในหน่วยแผนที่ดินนี้ได้รวมพื้นที่หินโผล่ โขดหิน หน้าผาชัน และลักษณะภูมิประเทศอื่นๆ ที่เกิดอยู่ในบริเวณที่เป็นภูเขาสูงชันเข้าไว้ด้วยกัน พื้นที่ดังกล่าวนี้ปกคลุมไปด้วยป่าไม้หลายประเภท แต่บางแห่งได้ถูกโค่นถางทำลายลงเพื่อใช้พื้นที่ในการทำไร่เลื่อนลอย โดยทั่วไปแล้วหน่วยแผนที่ดินนี้ไม่เหมาะที่จะใช้ทำการเกษตรกรรม ควรที่จะรักษาไว้ให้คงสภาพป่า อันเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต่อไป
น้ำ กิ่วแม่ปาน เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่มีตาน้ำ และแหล่งต้นน้ำ มีลำธารอยู่ตลอดเส้นทาง น้ำสายนี้จะไหลไปรวมกับสายอื่นๆ ในพื้นที่ดอยอินทนนท์
ขยะ การจัดการขยะเป็นระบบการจัดการของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ และในพื้นที่นี้มีหน่วยย่อยที่ดูแลเฉพาะพื้นที่กิ่วแม่ปาน รวมทั้งมีกฎระเบียบสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ภูมิทัศน์ เส้นทางศึกษาธรรมชาตินี้มีจุดเด่นที่เป็นพืชกึ่งอัลไพล์ และต้นไม้ใส่เสื้อ ป่าทึบที่ปกคลุมด้วยต้นไม้ พร้อมทั้งยังมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นยอดดอยอื่นๆ รวมทั้งยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของกวางผาหรือม้าเทวดา
-
พืชพรรณ ป่าดิบเขาตอนบน ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,800 เมตรขึ้นไป สามารถแบ่งออกได้เป็น ป่าดงดิบ-ป่าก่อชื้น ป่าดงดิบ เขตอบอุ่น และป่าพรุเขตอบอุ่น สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ และหลายแห่งมีลักษณะของป่าดึกดำบรรพ์ พืชพื้นล่างไม่แน่นทึบ ทำให้ตามกิ่ง ยอด และลำต้นของไม้ในป่าจะมีมอส กล้วยไม้ เฟิน กุหลาบพันปี สำเภาแดง ขึ้นปกคลุม พันธุ์ไม้ในป่าดิบเขาหรือป่าก่อชื้น ได้แก่ ก่อดาน ก่อแอบ จำปีหลวง แกง นางพญาเสือโคร่ง กะทัง นอกจากนี้ ยังมีไม้พุ่มและไม้เกาะเกี่ยว เช่น คำขาว กุหลาบขาว คำแดง และยังมีต้นโพสามหาง กระโถนฤาษี เป็นต้น ในบริเวณแอ่งน้ำและรอบๆ ป่าพรุจะมีหญ้าชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ เช่น บัวทอง พญาดง เทียน ผักหนอกดอย มะ แหลบ วาสุกรี บันดงเหลือง ต่างไก่ป่า กุง กูดขน ฯลฯ และบริเวณชายขอบป่าพรุจะมีกุหลาบพันปีสีแดง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบเฉพาะบนยอดดอยอินทนนท์เท่านั้น
สัตว์ป่า สัตว์ป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกถางลงมาก ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ สัตว์ที่เหลืออยู่ส่วนมากเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก กระแตธรรมดา กระเล็นขนปลายหูสั้น อ้นเล็ก เม่นหางพวง อีเห็นข้างลาย ชะมดแผงสันหางดำ นกแซงแซวเล็กเหลือบ นกปรอดหัวสีเขม่า นกเด้าดินทุ่ง เหยี่ยว เพเรกริน ไก่ฟ้าหลังขาว นกเงือกคอแดง นก-พญาไฟสีกุหลาบ กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนเรียวจุดดำ ตุ๊กแกบ้าน งูลายสอคอแดง กบห้วยสีข้างดำ เขียดหนอง อึ่ง-กราย คางคกเล็ก ปาดแคระ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ยังคงความสำคัญในด้านของการเป็นแหล่งของนกป่าที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นแหล่งของสัตว์ป่าที่หายาก และมีอยู่เฉพาะถิ่นอยู่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ หนูหญ้าดอย กระท่าง เต่าปูลู นกศิวะหางสีน้ำตาล นกปีกสั้นสีนำเงิน นกกระจิ๊ดคอสีเทา และนกกินปลีหางยาว เป็นต้น
-
-
-
สภาพโดยรอบเป็นพื้นที่ภูเขาสูง ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ โดยมีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทางเหมาะแก่การเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาและวิจัย
สวนพฤกษศาสตร์
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,500 ไร่ เป็นสถานที่ อนุรักษ์และ รวบรวมพรรณไม้เป็นหมวดหมู่ตามวงศ์สกุลต่างๆ โดยจัดปลูกให้สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุดโดย เฉพาะกลุ่มอาคาร เรือนกระจกบนยอดเขาที่มีทั้ง ความสวยงามและความรู้ ทำให้สวนแห่งนี้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและ สถานที่ศึกษาธรรมชาติ ด้านพืช และ ภูมิทัศน์ที่โดดเด่นมากสวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เดิมเรียกว่า "สวนพฤกษศาสตร์แม่สา" นับว่าเป็น สวนพฤกษศาสตร์แห่งแรก ของประเทศไทย ที่มีการบริหารจัดการตามมาตรฐาน สากล มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิจัย และให้ความรู้ ทางด้านพฤกษศาสตร์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2537 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต จากสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถให้ใช้ชื่อสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ว่า "สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ได้สร้าง Canopy walkway หรือทางเดินลอยฟ้าเหนือเรือนยอดไม้ที่ยาวที่สุดใน ประเทศไทย ด้วยระยะทางกว่า 400 เมตร และระดับความสูงกว่า 20 เมตร โดยออกแบบให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติ โครงสร้างทำมาจากเหล็กกล้า แข็งแรง บางช่วงยังมีกระจกใส สามารถมองเห็นลงไปด้านล่างได้
-