Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายไบโอม ใน …
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายไบโอม ใน
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 43 ของถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จัดเป็นเส้นทางเดินที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ ได้ชมพันธุ์ไม้หายาก เช่น กุหลาบพันปี บีโกเนียป่าและสัตว์สงวนกวางผา นอกจากนี้กิ่วแม่ปานยังเป็นชุดชมทะเลหมอก และพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามสามารถมองเห็นพระอาทิตย์ขึ้นที่ด้านหลังของ พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ
เส้นทางกิ่วแม่ปานมีลักษณะเป็นวงรอบทางเดินลาดชันขึ้นไปทางทิศตะวันตก จนกระทั่งถึงบริเวณสันกิ่วแม่ปาน และอ้อมวกลงมาทางทิศใต้ตามสันกิ่วซึ่งเป็นทางลาดชันลงและสุดท้ายจะวกกลับมาทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นทางลาดชันขึ้นอีกครั้งหนึ่งเพื่อไปบรรจบกับทางเดินที่เดินเข้ามาครั้งแรก มีความยาวประมาณ 3.2 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง ทางเดินทั้งเดินขึ้นเขา ลงเขา และพื้นราบผ่านป่า
ในระหว่างทางจะมีแผ่นป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับผื่นป่ากิ่วแม่ปานทั้งหมด 21 จุด และมีที่ให้นั่งพักตลอดเส้นทาง
เส้นทางนี้ผู้ที่สนใจต้องติดต่อคนนำทางที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวด้านหน้าทางเข้ากิ่วแม่ปาน ส่วนมากจะเป็นชาวบ้านบนดอย มีค่าใช้จ่าย 200 บาท ต่อหนึ่งกลุ่ม (ไม่เกิน 10 คน) ทางอุทยานฯ ห้ามเดินเองโดยที่ไม่มีคนนำทาง
จุดชมทิวทัศน์ เป็นพื้นที่โล่ง มีระเบียงยื่นออก บางวันจะมองเห็นทะเลหมอกได้ที่บริเวณนี้ และวันที่ฟ้าเปิดจะมองเห็น อ.แม่แจ่มที่อยู่เบื้องหน้าได้ชัดเจน จุดชมวิวตรงนี้เป็นประเด็นในโลกโซเชียลเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปยืน – นั่งที่รั้วกันตก อาจทำให้เกิดอันตรายได้
ไบโอมในน้ำ
ไบโอมน้ำจืด
ป่าต้นน้ำ กำเนิดสายธาร มีน้ำตกขนาดเล็ก ไหลมาเป็นลำห้วย ในยุคแรกน้ำตกไหลรุนแรง เกิดเป็นหลุมลึก และในยุคปัจจุบันสายน้ำเปลี่ยนทางไหล ปริมาณน้ำลดลง น้ำที่ไหลจากน้ำตกเป็นน้ำสะอาด มีธาตุอาหารสูง ปลายทางของน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง
สายน้ำ ยอดเขาสูงสุดของไทย ห้วยสายเล็กๆ ปกคุลมด้วยป่าดิบเขาอุดมสมบูรณ์มีฝนตกชุก อากาศชื้นมาก ต้นไม้คายน้ำได้น้อย ใบไม้ย่อยสลายช้า มีสภาพเหมือนผ้าห่มพร้อมซับน้ำฝน
ใบโอมบนบก
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
ทุ่งหญ้าเมืองหนาว
ปกติที่ความสูง 4000 เมตร จากระดับน้ำทะเลในเขตหนาว จะมีเฉพาะไม้ล้มลุก เรียกว่า “ทุ่งหญ้าอัลไพน์” แต่ที่ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก และ ดอยเชียงดาว เป็นภูเขาสูง 2,000-2,500 เมตร มีปรากฏการณ์พิเศษ มีไม้ล้มลุกปะปนกับไม้พุ่มขนาดเล็ก เรียกพงไม้นี้ว่า “ทุ่งหญ้ากึ่งอัลไพน์”
ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น
ป่าเมฆ
ป่าที่ถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกหลายเดือน อากาศหนาวชื้น ลมแรง ดินเป็นกรดสูง พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้บริเวณนี้ จะมีแต่กลุ่มไม้เมืองหนาว เช่น หว้า กุหลาบพันปี กุหลาบขาว กล้วยไม้ เฟิร์น มอส
พืชพรรณธรรมชาติที่พบ
กู๊ดเกี๊ยะ
เฟิร์นทนไฟ ขึ้นบริเวณทุ่งหญ้าเมืองหนาว เฟิร์นชนิดนี้มีใบหนาแข็ง ลดการคายน้ำ ซ่อนลำต้นไว้ใต้ดิน เมื่อมีไฟป่าใบที่อยู่พ้นดินจะไหม้ และจะงอกขึ้นใหม่อีกครั้งจากลำต้นที่อยู่ได้ดิน
มอส
ชอบน้ำแต่ทนแล้ง มอสมักขึ้นตามโคนไม้ และที่ชื้นฉ่ำ ช่วงแล้งก็พักตัวรอความชื้นก็ฟื้นกลับมา สามารถแพร่พันธุ์ด้วยสปอร์
กูดต้น
เฟิร์นสัญลักษณ์ป่าบริสุทธิ์ กูดต้น เป็นเฟิร์นใบใหญ่เรียงเวียนรอบปลายต้น เรือนยอดกว้าง พบตามลุ่มน้ำริมห้วยชื้นแฉะ ใต้ร่มเงาแสงรำไรเท่านั้น การไม่พบกูดต้นในที่แดดจัด จึงสัญนิษฐานว่า กูดต้นเป็นพืชสัญลักษณ์ของป่าบริสุทธิ์
กุหลาบพันปี ปรับตัวเองให้อยู่ได้ในอากาศหนาวเย็น และลมแรง ใบเป็นแผ่น เหนียวหนา ลดการคายน้ำ กิ่งโปร่งลมผ่านสะดวก ดอกสีแดงเข้ม จะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม
เฟิร์นยุคโบราณ บริเวณรอบๆ เป็นป่ามีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น มีแสงแดดรำไรส่งลงมา เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของเฟิร์นใบบางที่สุดในโลก มีมาแต่โบราณประมาณ 230 ล้านปี ช่วงอากาศแล้งเฟิร์นจะพักตัว ใบเหี่ยวแต่ไม่ตาย และจะฟื้นเขียวอีกครั้งเมื่อได้ละอองหมอก
สัตว์ป่า
กวางผา ปลอดภัยในบ้านผาหิน กวางผาเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันตามทุ่งหญ้าบนภูเขา และหน้าผาในเทือกเขาสูง ปัจจุบันกวางผาดอยอินทนนท์เป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว นักท่องเที่ยวมีโอกาสเจอได้ยาก