Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บน เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน…
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บน
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
เฟิร์นยุคโบราณ
บริเวณรอบๆ เป็นป่ามีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น มีแสงแดดรำไรส่งลงมา เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของเฟิร์นใบบางที่สุดในโลก
ช่วงอากาศแล้งเฟิร์นจะพักตัว ใบเหี่ยวแต่ไม่ตาย และจะฟื้นเขียวอีกครั้งเมื่อได้ละอองหมอก
ป่าเมฆ
ป่าที่ถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกหลายเดือน อากาศหนาวชื้น ลมแรง ดินเป็นกรดสูง พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้บริเวณนี้ จะมีแต่กลุ่มไม้เมืองหนาว
หว้า กุหลาบพันปี กุหลาบขาว กล้วยไม้ เฟิร์น มอส
ป่าต้นน้ำ
กำเนิดสายธาร มีน้ำตกขนาดเล็ก ไหลมาเป็นลำห้วย ในยุคแรกน้ำตกไหลรุนแรง เกิดเป็นหลุมลึก และในยุคปัจจุบันสายน้ำเปลี่ยนทางไหล ปริมาณน้ำลดลง น้ำที่ไหลจากน้ำตกเป็นน้ำสะอาด มีธาตุอาหารสูง ปลายทางของน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง
พรรณพืชไม้ป่าเมฆ
ต้นก่อ (ต้นโอ๊ค) ต้นทะโล้ ต้นหว่าอ่างกา (พืชเฉพาะท้องถิ่น)
ป่านี้เป็นต้นไม้เมืองหนาว มีการปรับตัวให้อยู่ได้ในป่าหนาวและชุ่มชื้นสูง
ป่าซ่อมป่า
ป่าเมฆที่มีลมพัดแรง มักมีไม้หักโค่น ต้นไม้ใหญ่ที่ล้มทำให้เกิดแสงส่องลงมายังพื้นดิน ต้นไม้รุ่นใหม่จึงงอกมาซ่อมแซม เป็นวงจรการพื้นฟูตนเองของป่า
เถาวัลย์
ต้นไม้ที่ชอบแดดจัด โตเร็ว เลื้อยพันต้นไม้ใหญ่อย่างรวดเร็ว กระรอกและสัตว์หากินบนต้นไม้ใช้เป็นเส้นทางเดิน
ทุ่งหญ้าเมืองหนาว
ปกติที่ความสูง 4000 เมตร จากระดับน้ำทะเลในเขตหนาวแต่ที่ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก และ ดอยเชียงดาว เป็นภูเขาสูง 2,000-2,500 เมตร มีปรากฏการณ์พิเศษ
ปกติจะมีเฉพาะไม้ล้มลุก เรียกว่า “ทุ่งหญ้าอัลไพน์”แต่ที่ดอยอินทนนท์มีไม้ล้มลุกปะปนกับไม้พุ่มขนาดเล็ก เรียกพงไม้นี้ว่า “ทุ่งหญ้ากึ่งอัลไพน์”
กู๊ดเกี๊ยะ เฟิร์นทนไฟ
ขึ้นบริเวณทุ่งหญ้าเมืองหนาว
เฟิร์นชนิดนี้มีใบหนาแข็ง ลดการคายน้ำ ซ่อนลำต้นไว้ใต้ดิน เมื่อมีไฟป่าใบที่อยู่พ้นดินจะไหม้ และจะงอกขึ้นใหม่อีกครั้งจากลำต้นที่อยู่ได้ดิน
กุหลาบพันปี
ปรับตัวเองให้อยู่ได้ในอากาศหนาวเย็น และลมแรง ใบเป็นแผ่น เหนียวหนา ลดการคายน้ำ กิ่งโปร่งลมผ่านสะดวก ดอกสีแดงเข้ม
ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม
ป่าร้อน ป่าหนาว
เชิงดอยอินทนนท์อากาศร้อนชื้น แต่ยอดดอยอากาศหนาว ลมพัดแรง และมีหมอกหนา ด้วยสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ป่าร้อนจะมีพันธุ์ไม้ใบกว้าง ชอบแดดจัด ทนแล้ง ส่วนป่าหนาวจะเป็นพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย ใบมัน
สายน้ำ
ยอดเขาสูงสุดของไทย ห้วยสายเล็กๆ ปกคุลมด้วยป่าดิบเขาอุดมสมบูรณ์มีฝนตกชุก อากาศชื้นมาก ต้นไม้คายน้ำได้น้อย ใบไม้ย่อยสลายช้า มีสภาพเหมือนผ้าห่มพร้อมซับน้ำฝน
มอส
ชอบน้ำแต่ทนแล้ง มอสมักขึ้นตามโคนไม้ และที่ชื้นฉ่ำ ช่วงแล้งก็พักตัวรอความชื้นก็ฟื้นกลับมา สามารถแพร่พันธุ์ด้วยสปอร์
ป่าสองรุ่น
ป่ามีไม้หลายชนิด มีอายุ และความสูงไม่เท่ากัน บ่งบอกได้ว่าป่านี้ในอดีตเคยโค่นล้มจากพายุ แล้วมีต้นไม้รุ่นใหม่เกิดพร้อมกัน
ป่าเขาสูงชัน
สูงใหญ่แต่ล้มง่าย หน้าดินถูกน้ำฝนชะล้างจนมีความหนาเพียง 1-2 เมตร ส่วนด้านใต้เป็นชั้นหิน ต้นไม้สูงใหญ่มักไม่พบรากแก้ว เพราะไม่สามารถเจาะลงหินได้ เมื่อมีพายุใหญ่มาต้นไม้ก็ล้มได้ง่าย
กูดต้น
การไม่พบกูดต้นในที่แดดจัด จึงสัญนิษฐานว่า กูดต้นเป็นพืชสัญลักษณ์ของป่าบริสุทธิ์
กูดต้น เป็นเฟิร์นใบใหญ่เรียงเวียนรอบปลายต้น เรือนยอดกว้าง
พบตามลุ่มน้ำริมห้วยชื้นแฉะ ใต้ร่มเงาแสงรำไรเท่านั้น